Get Started. It's Free
or sign up with your email address
100308 by Mind Map: 100308

1. นิยาม ประเภท ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

1.1. ความหมาย

1.1.1. เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการหรือกระบวนการ เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ

1.1.2. สารสนเทศ (information) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าและสาระ

1.1.3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและการส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำข้อมูลกลับไปใช้ใหม่

1.2. ประเภท

1.2.1. 1. เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (Information Technology, IT) คือ การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อทำการ จัดเก็บ ค้นหา จัดส่ง กระจายออก ติดตาม รวบรวม และจัดการข้อมูลต่างๆ

1.2.2. 2. เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) คือ เทคโนโลยีดิจิตัลประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ “การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร(Transfer of Information)” ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ เสียง หรือ ทางด้านข้อมูล สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นเครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก

1.2.3. 3. เทคโนโลยีคมนาคม (Telecommunication Technology) หมายถึง การสื่อสารระยะใกล้และไกล โดยการรับส่งสัญญาณเสียง ข้อความและภาพ ผ่านสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นไฟฟ้า แสง หรือวิธีอื่นใดที่ทำงานร่วมกัน เช่น โทรสาร วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต

2. Visual Literacy

2.1. ความหมาย

2.1.1. ความสามารถในการเรียนรู้เพื่อที่จะแปลความข้อมูลข่าวสารที่เป็นภาพหรือสิ่งที่มองเห็นนั้นได้อย่างถูกต้อง สามารถสร้างสรรค์ข้อมูลข่าวสารให้เป็นภาพได้ โดยจะช่วยเพิ่มความชำนาญต่างๆ ทางด้านภาษาพูดและภาษาเขียนให้กับผู้เรียน ส่งเสริมการแสดงออก การจัดหรือเรียงลำดับความคิดของผู้เรียน

2.2. ความสำคัญ

2.2.1. ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่าย รวดเร็ว ตรงกับที่ต้องการ

2.2.2. ช่วยให้ความคิดเป็นรูปธรรม

2.2.3. ทำให้ข้อมูลที่ยาก ง่ายต่อการเข้าใจ

2.2.4. เมื่อนำภาพไปใช้ประกอบการพูดและเขียน จะช่วยเพิ่มช่องทางในการเรียนรู้มากขึ้น

2.3. องค์ประกอบ

2.3.1. 1. ส่วนประกอบ (Elements) เช่น ภาพจริง ภาพจำลอง ภาพองค์กร ระยะห่างจากตัววัตถุ เป็นต้น

2.3.2. 2. แบบ (Patterns) เช่น การวางแนว ของภาพ การจัดรูปแบบการแสดง การจัดองค์ประกอบแบบสมดุล ลักษณะการจับคู่สี เป็นต้น โดยมีจุดสำคัญ คือ การคิดสร้างแบบ

2.3.3. 3. การจัดภาพ (Arrangement)การจัดกลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น กลุ่มผลไม้ กลุ่มสัตว์ ทิศทาง การจัดสีพื้นหลัง ความสม่ำเสมอของภาพ เส้น พื้นที่ หัวข้อต่างๆ เป็นต้น

2.4. การออกแบบ

2.4.1. จัดองค์ประกอบดี

2.4.2. สื่อความหมายได้ชัดเจน

2.4.3. สี่ที่เห็นจริงจัง หรือ สีที่เหมือนกับสีของจริง เช่น ใบไม้สีเขียว ใบไม้แห้งสีน้ำตาล

2.4.4. มีความตัดกันและความคมชัด

2.5. วิธีการพัฒนา

2.5.1. สอนให้ ถอดรหัส (decode) เข้ารหัส (encode

2.5.2. ถอดรหัส (decode) ความสามารถในการแปลความหมาย ของสิ่งที่เห็น ให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง

2.5.3. เข้ารหัส (encode) ความสามารถในการแปรสภาพสิ่งที่รับรู้ ให้เป็นภาพได้อย่างเหมาะสม

3. ทฤษฎีการเรียนรู้

3.1. ความหมาย

3.1.1. แนวความคิด หลักการรวมทั้งกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า และทดลองจนเป็นที่ยอมรับว่า สามารถอธิบายถึงลักษณะของการเกิดการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

3.2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Learning Theory : Behaviorism)

3.2.1. 1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)

3.2.2. 2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)

3.2.3. 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)

3.3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

3.3.1. 1.ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ

3.3.1.1. การรับรู้ (Perception)

3.3.1.2. การหยั่งเห็น (Insight)

3.3.2. 2.ทฤษฎีสนาม(Field Theory) การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ)

3.3.3. 3.ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)

3.3.4. 4.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Inlellectual Development Theory)

3.3.5. 5.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ( A Theory of Meaningful Verbal Learning)

3.4. ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory)

3.4.1. กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive constructivism)

3.4.2. กลุ่มแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม (Social constructivism)

3.5. ทฤษฎีคอนเนคติวิสต์ (Connectivism).

3.5.1. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ซึ่งการนำทฤษฎีนี้มาใช้ต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ มากมาย และเป็นองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

4. วัสดุ อุปกรณ์ สื่อ โสตทัศนูปกรณ์

4.1. เครื่องฉาย

4.1.1. ความหมายและควาสำคัญ

4.1.1.1. เป็นสื่อกลางหรือตัวผ่านในการถ่ายทอดข้อมูลเนื้อหาจากโสตทัศนวัสดุที่ ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง ทำให้เนื้อหา ข้อมูลปรากฏขึ้นบนจอรับภาพให้มองเห็นได้

4.1.2. องค์ประกอบในการฉาย

4.1.2.1. เครื่องฉาย (Projector)

4.1.2.2. โสตทัศนวัสดุ (Materials)

4.1.2.2.1. วัสดุโปร่งแสง (Transparency)

4.1.2.2.2. วัสดุกึ่งโปร่งแสง (Translucent)

4.1.2.2.3. วัสดุทึบแสง (Opaque)

4.1.2.3. จอรับภาพ (Screen)

4.1.3. ระบบฉาย

4.1.3.1. ระบบฉายตรง (Direct projection)

4.1.3.2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection)

4.1.3.3. ระบบฉายสะท้อน (Reflected Projection)

4.2. เครื่องเสียง

4.2.1. ความหมายและควาสำคัญ

4.2.1.1. เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาประเภทเสียงจากมนุษย์และแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ให้ดังมากขึ้น

4.2.1.2. เป็นสื่อกลางของการเพิ่มความดังของเสียง

4.2.2. หลักการทำงานของเครื่องเสียง

4.2.2.1. ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal)

4.2.2.2. ภาคขยายสัญญาณ (Amplifier)

4.2.2.3. ภาคสัญญาณออก (Output Signal)

4.3. การรองรับ การบันทึก การจัดแสดง

4.3.1. กระดานชอล์ค

4.3.2. บอร์ดนิทรรศการ

4.3.3. ป้ายนิเทศ

4.3.4. บูธจัดนิทรรศการ

4.4. ดิจิทัล

4.4.1. ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทางสื่อโสตทัศนูปกรณ์ได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โสตทัศนูปกรณ์จึงมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี และความหลากหลายมากขึ้น

4.4.2. จอมอนิเตอร์วอลล์

4.4.3. เครื่องฉายภาพดิจิทัล

4.4.4. เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัล

4.4.5. แทปเล็ต สมาร์ทโฟน