จิตวิทยาการศึกษา การจัดการศึกษาพิเศษ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
จิตวิทยาการศึกษา การจัดการศึกษาพิเศษ by Mind Map: จิตวิทยาการศึกษา การจัดการศึกษาพิเศษ

1. การจัดการศึกษาพิเศษ

1.1. หมายถึง การศึกษาที่ตัดให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (children with special needs) ทางการศึกษาแตกต่างไปจากเด็กปกติ ซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์จากการศึกษาอย่างเต็มที่ เนื่องจากมีความจากมีความผิดปกติ

1.2. บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ

1.2.1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

1.2.2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

1.2.3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

1.2.4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ

1.2.5. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

1.2.6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา

1.2.7. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หรืออารมณ์

1.2.8. บุคคลออทิสติก

1.2.9. บุคคลพิการซ้อน

2. รูปแบบการจัดการศึกษา

2.1. 1. การเรียนร่วม

2.1.1. 1.1 การเรียนร่วมชั้นเรียนปกติเต็มวัน

2.1.2. 1.2 ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ

2.1.3. 1.3 ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน

2.1.4. 1.4 ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม

2.1.5. 1.5 ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ

2.1.6. 1.6 ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ

2.2. 2. การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

2.2.1. เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการตามความต้องการของ แต่ละบุคคล ทางโรงเรียนจะต้องมีการปรับสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตร และการประเมินผล ฯลฯ เพื่อให้ครูจัดการเรียนการสอนได้ตอบสนองความต้องการ ของเด็กทุกคน เป็นเฉพาะบุคคล อันจะทำให้เด็กแต่ละคนพัฒนาตนเอง ได้เต็มศักยภาพ

3. แนวคิดจิตวิทยาการศึกษา

3.1. เป็นการศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการจัดดำเนินการเรียน การสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยแนวคิดและทฤษฏี ทางจิตวิทยา มาเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ศิลปะการสอน ให้เกิดคุณค่าและเกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

3.2. บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา

3.2.1. Edward Thorndike

3.2.2. William James

3.2.3. Stanley Hall

3.2.4. John Dewey

4. ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา

4.1. 1.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology)

4.1.1. ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตวิทยาสาขาอื่นต่อไป

4.2. 2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology)

4.2.1. ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา

4.3. 3. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology)

4.3.1. ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน

4.4. 4. จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology)

4.4.1. ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง

4.5. 5. จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology)

4.5.1. นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่น ๆ

4.6. 6. จิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology)

4.6.1. นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาล ที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้

4.7. 7. จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology)

4.7.1. เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้น

4.8. 8. จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology)

4.8.1. ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน

4.9. 9. จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)

4.9.1. ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครู และนักการศึกษา

4.10. 10. จิตวิทยาการทดลอง (ExperimentalPsychology)

4.10.1. มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต