แนวความคิดที่เกี่ยวข้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน by Mind Map: แนวความคิดที่เกี่ยวข้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

1. การพัฒนาชุมชน

1.1. ปรัชญาในการพัฒนาชุมชน

1.1.1. ตั้งอยู่บนรากฐานอันมั่นคงแห่งความศรัทธาในตัวคนว่า เป็นทรัพยากรที่มีความหมายและ สำคัญที่สุด มนุษย์ทุกคนมีความสามารถ

1.1.2. การพัฒนาชุมชน ก็คือ ความศรัทธาในเรื่องความยุติธรรมของสังคม (Social Justice) การมุ่ง ขจัดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่เห็นได้ชัดในหมู่มวลชน

1.1.3. ความไม่รู้ ความดื้อ และการใช้กำลังบังคับเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการ พัฒนา และความเจริญรุดหน้าจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยวิธีการให้การศึกษาเท่านั้น การให้การศึกษาและให้โอกาสจะ ช่วยดึงพลังซ่อนเร้นในตัวคนออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และการพัฒนาจะมีประสิทธิภาพได้ก็จะต้อง ยึดหลักการรวมกลุ่ม และการทำงานกับกลุ่ม เพราะมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และทำงาน รวมกันเป็นกลุ่มจะช่วยให้คนได้เจริญเติบโตโดยเร็วที่สุด

1.2. แนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาชุมชน

1.2.1. การมีส่วนร่วมของประชาชน(People Participation) เป็นหัวใจของงานพัฒนาชุมชน โดยยึด หลักของการมีส่วนร่วมที่ว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจวางแผนงาน การปฏิบัติการและร่วม บำรุงรักษา

1.2.2. การช่วยเหลือตนเอง(Aided Self – Help) เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ยึดเป็นหลักการสำคัญ ประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาให้ประชาชนพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยมีรัฐคอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ในส่วนที่เกินขีดความสามารถของประชาชน ตามโอกาสและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

1.2.3. ความคิดริเริ่มของประชาชน(Initiative) ในการทำงานกับประชาชนต้องยึดหลักการที่ว่า ความคิดริเริ่มต้องมาจากประชาชน ซึ่งต้องใช้วิถีแห่งประชาธิปไตย และหาโอกาสกระตุ้นให้การศึกษา ให้ ประชาชนเกิดความคิด และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ตำบล

1.2.4. ความต้องการของชุมชน(Felt – Needs) การพัฒนาชุมชนต้องให้ประชาชน และองค์กร ประชาชนคิด และตัดสินใจบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเอง เพื่อให้เกิดความคิดที่ว่างานเป็นของประชาชน และจะช่วยกันดูแลรักษาต่อไป

1.2.5. การศึกษาภาคชีวิต(Life – Long Education) งานพัฒนาชุมชนถือเป็นกระบวนการให้การ ศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคน การให้การศึกษาต้องให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องกันไป ตราบเท่าที่บุคคลยังดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน

1.3. องค์ประกอบของการพัฒนาชุมชน

1.3.1. การพัฒนาชุมชนก็คือความพยายามที่จะยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนภายในชุมชน ให้ดีขึ้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการพัฒนาชุมชนมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คนหรือชุมชนนั้น มีความเจริญขึ้น ทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งนี้หมายถึงการทำให้คนในชุมชนนั้นมีความกินดีอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากราษฎรเอง โดยราษฎรจะต้องช่วยตัวเองในการพัฒนาด้วย การเข้ามาคิดพิจารณา ตัดสินใจ และดำเนินการด้วยตนเองบนพื้นฐานของความสมัครใจ ทั้งนี้เพราะการพัฒนาชุมชนมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ ตัวประชาชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาทุกสาขาต้องการให้ประชาชนมีทักษะ มีความ รับผิดชอบที่จะช่วยตนเอง

1.3.2. การพัฒนาชุมชนมีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือลักษณะทางกายภาพ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชน การประพฤติปฏิบัติแบบเก่า ๆ ของชุมชนนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างด้วยกันด้วยวิธีการให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยเน้นการเปลี่ยนแปลงทรรศนะและแนวความคิด ให้ถูกทิศทาง

1.3.3. งานจะต้องสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ หมายถึงว่ากิจกรรมใด ๆ ที่จะ นำไปส่งเสริมให้ประชาชนรับปฏิบัติ จะต้องเป็นกิจกรรมที่ประชาชนมีความต้องการอยู่แล้วหรือเป็นกิจกรรมที่ จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน และสามารถทำให้ประชาชนรู้สึกต้องการได้

1.3.4. การพัฒนาชุมชนจะต้องใช้หลักการยั่วยุ เร่งเร้า ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่ม และรู้จัก วิธีช่วยตนเองโดยพลังกลุ่มคน ตลอดจนการดำเนินการไปตามโครงการพัฒนานั้น

1.3.5. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นเตือน ยั่วยุ และส่งเสริม ให้ประชาชนในชนบทเกิดความคิดริเริ่มขึ้น

1.3.6. แผนงานพัฒนาที่อาศัยความร่วมมือระหว่างประชาชนกับประชาชนและประชาชนกับหน่วยงาน รัฐบาล และองค์การอาสาสมัครเอกชน

1.3.7. รัฐบาลหรือแหล่งให้ความช่วยเหลือจากภายนอกจะให้ความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งใดที่เกิน ความสามารถที่ชุมชนหรือราษฎรจะจัดหามาได้เอง เช่น ความรู้ทางวิชาการ วัสดุ และเงินเท่าที่จำเป็น

1.3.8. ควรมีการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มิใช่ดำเนินการแต่เพียงหน่วยงานหนึ่ง หน่วยงานใด เพราะปัญหาของชุมชนอยู่นอกเหนือความสามารถของหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดโดยเฉพาะ และ การที่จะพัฒนาชุมชนให้ได้ผลจะต้องเป็นการพัฒนาโดยทั่วไป มุ่งประชาชนเป็นหลัก ดังนั้นจึงใช้หลักการที่ เรียกว่าการพัฒนาแบบเบ็ดเสร็จ (Wholistic Approach) คือมุ่งที่จะพัฒนาทุก ๆ ด้าน ไม่ใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ด้านเดียว

1.3.9. ขบวนการพัฒนาชุมชน จะต้องพิจารณาถึงสังคม ประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นหลัก

1.3.10. วิธีการพัฒนาชุมชนโดยอาศัยหลักการและแนวทางระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการ ดำเนินการ

1.4. กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน

1.4.1. การศึกษาชุมชน เป็นการเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ แท้จริง วิธีการในการศึกษาชุมชนอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกันทั้งการสัมภาษณ์ การสังเกต การสำรวจ และ การศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด กลวิธีที่ สำคัญที่นักพัฒนาต้องใช้ในขั้นตอนนี้คือ การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน เพราะถ้าหากปราศจากสัมพันธ ภาพที่ดีระหว่างพัฒนากรกับชาวบ้าน แล้วเป็นการยากที่จะได้รู้ และเข้าใจปัญหาความต้องการจริง ๆ ของ ชาวบ้าน ความสัมพันธ์อันดี จนถึงขั้นความสนิทสนม รักใคร่ ศรัทธา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้เกิด ขึ้นกับคนในชุมชน

1.4.2. การให้การศึกษาแก่ชุมชน เป็นการสนทนา วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับประชาชนเป็นการนำข้อมูล ต่างๆ ที่ได้จากขั้นตอนการศึกษาชุมชน มาวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการและสภาพที่เป็นจริง ผลกระทบ ความรุนแรง และความเสียหายต่อชุมชน กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ การกระตุ้นให้ประชาชนได้รู้ เข้าใจ และ ตระหนักในปัญหาของชุมชน ซึ่งในปัจจุบันก็คือ การจัดเวทีประชาคม เพื่อค้นหาปัญหาร่วมกันของชุมชน

1.4.3. การวางแผน / โครงการ เป็นขั้นตอนให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ และกำหนดโครงการ เป็นการ นำเอาปัญหาที่ประชาชนตระหนัก และยอมรับว่าเป็นปัญหาของชุมชนมาร่วมกันหาสาเหตุ แนวทางแก้ไข และ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจที่จะแก้ไขภายใต้ขีดความสามารถของ ประชาชน และการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอกกลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการแก้ไขปัญหา วิธีการวางแผน การเขียนโครงการ โดยใช้เทคนิคการวางแผนแบบให้ประชาชนมีส่วน ร่วม

1.4.4. การดำเนินงานตามแผนและโครงการโดยมีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนและโครงการ ที่ได้ตกลงกันไว้ กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนใน 2 ลักษณะ

1.4.4.1. เป็นผู้ปฏิบัติงานทางวิชาการ เช่น แนะนำการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษาหารือในการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

1.4.4.2. เป็นผู้ส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน

1.4.5. การติดตามประเมินผล เป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานที่กำลังดำเนินการตามโครงการ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่พบได้อย่างทันท่วงที กลวิธีที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ การติดตามดูแลการ ทำงานที่ประชาชนทำ เพื่อทราบผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค แล้วนำผลการปฏิบัติงานตามโครงการ หรือกิจกรรมไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบสามารถกระทำได้โดย

1.4.5.1. แนะนำให้ผู้นำท้องถิ่นหรือชาวบ้าน ติดตามผลและรายงานผลด้วยตนเอง เช่น รายงาน ด้วยวาจา รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

1.4.5.2. พัฒนากรเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง เช่น เสนอผลการปฏิบัติงานต่อที่ ประชุม ทำบันทึกรายงานตามแบบฟอร์มต่าง ๆ ของทางราชการ

2. ความหมายของชุมชนและองค์ประกอบของที่อยู่อาศัย

2.1. ความหมายของชุมชน

2.1.1. มิติที่ 1 : Geography อธิบาย "ชุมชน" ในด้านกายภาพที่เราเห็นด้วยตา ประกอบด้วยพื้นที่ หรือบริเวณ ที่คนอยู่รวมกันในขอบเขตที่ชัดเจน จะรวมไปถึงทุกๆ อย่างที่เราเห็นอยู่ในบริเวณนั้นด้วย เช่น ถนน แม่น้ำลำ คลอง วัด โรงเรียน สถานีอนามัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น ในมิตินี้ ตรงกับความหมายของคำ "หมู่บ้าน" ที่เป็น "หน่วยการปกครอง" ที่แบ่งพื้นที่ ออกเป็นหน่วยย่อยๆ ตาม พ.ร.บ.การปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 (86 ปีกว่ามาแล้ว) และก็เป็นความหมายของ "ชุมชน" ที่คนทำงานพัฒนาส่วนใหญ่ในประเทศไทยเข้าใจกัน

2.1.2. มิติที่ 2 : Sociology อธิบาย"ชุมชน" ในด้านความสัมพันธ์ของคนที่มีอะไร ๆ ร่วมกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว คือก็ผลประโยชน์ร่วมกัน (mutual interest) (ทำนองว่า ผลประโยชน์ร่วมกันจึงคุยกันได้ ) เช่น ปัญหาหรือความ ต้องการ รวมกัน ตระกูล เครือญาติ ขนบประเพณี วัฒนธรรม ร่วมกัน โปรดสังเกตว่า มิตินี้เน้น "ความสัมพันธ์" ไม่ได้เน้นพื้นที่ จึงทำให้ความหมายของ " ชุมชน" กว้างไปกว่าความหมายตามมิติที่ 1

2.1.3. มิติที่ 3 : Psychology อธิบาย"ชุมชน" ในด้านความรู้สึกของคนที่มีต่อกันและกัน เช่น ความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ความซื่อสัตย์ และความจงรักภักดี เป็นต้น โปรดสังเกตว่า มิติที่เน้น "ความรู้สึก"ของคน ซึ่งแน่นอนครับว่า ความรู้สึกเหล่านี้ล้วนเกิดมาจาก "ความสัมพันธ์" และแปรผันตามกันด้วย

2.2. องค์ประกอบของที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมสำหรับชุมชน

2.2.1. สาธารณูปโภค ประกอบด้วย ถนน, ทางเท้า, ทางจักรยาน, อุปกรณ์บนถนน, สนามเด็กเล่น, ที่ จอดรถ, ไฟฟ้า, ประปา, การระบายน้ำฝน, โทรศัพท์ และการระบายและบำบัดน้ำโสโครก

2.2.2. สาธารณูปการ ประกอบด้วย พาณิชยกรรม, บริบาลทารกและอนุบาล, สำนักงานบริหารชุมชน, บริการสื่อสาร, ศูนย์ชุมชน, สถานีอนามัย, สวนสาธารณะ, สนามกีฬา, สถานที่พักผ่อน, สถานศึกษา, ศูนย์ ประกอบอาชีพ และบริการขนส่งมวลชน รวมถึงการป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง

3. การมีส่วนร่วม

3.1. การเกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน

3.1.1. การตกลงใจร่วมกันที่จะเปลี่ยนแปลงกลุ่มหรือชุมชนไปในทิศทางที่พึงปรารถนาการตัดสินใจร่วมกัน นี้ จะต้องรุนแรงมากพอที่จะทำให้เกิดความริเริ่มกระทำการที่สนองตอบ ความเห็นชอบของคนส่วนใหญ่ที่ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้น

3.1.2. ความสนใจและความห่วงกังวลร่วมกัน ซึ่งเกิดจากความสนใจและความห่วง กังวลส่วนบุคคล ซึ่ง บังเอิญพ้องต้องกัน กลายเป็นความสนใจ และห่วงกังวลร่วมกันของส่วนร่วม

3.1.3. ความเดือดร้อนและความไม่พึงพอใจร่วมกันที่มีต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่นั้นผลักดันให้เกิดการ รวมกลุ่ม วางแผน และลงมือทำร่วมกัน

3.1.4. อำนาจบังคับ ที่เกิดจากบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่าทำให้ประชาชนถูกบีบบังคับให้มีส่วนร่วมในการ กระทำต่าง ๆ

3.1.5. ความเกรงใจ ที่มีต่อบุคคลที่เคารพนับถือ หรือมีเกียรติยศตำแหน่ง ทำให้ประชาชนเกิดความ เกรงใจและมีส่วนร่วมด้วยทั้งๆที่ยังไม่มีศรัทธาหรือความเต็มใจอย่างเต็มเปี่ยมที่จะกระทำ เช่น ผู้ใหญ่ออกปาก ของแรง ผู้น้อยก็ช่วยแรง

3.1.6. ความศรัทธา ที่มีต่อความเชื่อถือบุคคลสำคัญ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้ประชาชน มีส่วนร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆเช่น การลงแขก บำเพ็ญประโยชน์ การสร้างโบสถ์วิหาร

3.2. ความหมายและลักษณะการมีส่วนร่วม

3.2.1. การที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้อง ยอมรับข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ มติร่วมกัน (consensus) ในการนี้ชุมชนต้องลดหรือขจัดความไม่เท่าเทียมกัน ทั้งในเรื่องอำนาจ ความไม่เท่าเทียมทางเพศและอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการมีส่วนร่วม

3.2.2. ลักษณะของการมีส่วนร่วมCohen and uphoff (1977) กล่าวถึงลักษณะการมีส่วนร่วมว่า ลักษณะของการมีส่วนร่วมเข้ามามีส่วน ร่วมของประชาชนในงานพัฒนา โดยทั่วไปนั้นประชาชนอาจเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจว่าจะทำอะไร เข้า ร่วมในการนำโครงการไปปฏิบัติโดยเสียสละทรัพยากรต่าง ๆ เช่น แรงงาน วัสดุ เงิน หรือร่วมมือในองค์การ หรือ กิจกรรมเฉพาะด้าน เข้าร่วมในผลประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนาและร่วมในการประเมินผลโครงการ

3.2.2.1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการตัดสินใจ

3.2.2.2. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินการ

3.2.2.3. การมีส่วนร่วมของชุมชนในผลประโยชน์

3.3. รูปแบบการมีส่วนร่วม

3.3.1. การที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง (Direct participation) โดยผ่านองค์กรจัดตั้งของประชาชน (Inclusive Organization) การรวมกลุ่มของชาวบ้านในการพัฒนาหมู่บ้าน

3.3.2. การที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางอ้อม (Indirect participation) โดยผ่านองค์กรผู้แทนของ ประชาชน (Representative organization) เช่น กรรมการของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน

3.3.3. การที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยการเปิดโอกาสให้ (Open participation) โดยผ่านองค์กรที่ไม่ใช่ ผู้แทนของประชาชน (Non-representative organization) อาจเป็นสถาบันหรือหน่วยงานที่เชิญชวนหรือเปิด โอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม เมื่อไรก็ได้ทุกเวลาการมีส่วนร่วมโดยตรง

3.4. กระบวนการมีส่วนร่วม

3.4.1. 1. ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา การพิจารณาปัญหาและลำดับความสำคัญของปัญหา

3.4.2. 2. ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหา การค้นหาปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยนักพัฒนาศึกษาและเรียนรู้ สภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในชุมชนร่วมกับประชาชน โดยใช้วิธีสังเกตและสัมภาษณ์ทั้งทางตรง/ทางอ้อม ข้อมูลบางส่วนอาจหาได้จากเอกสาร/งานวิจัย

3.4.3. 3. ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการค้นหา และพิจารณาแนวทางวิธีการในการแก้ปัญหาารวางแผนเพื่อแก้ปัญหา โดยมีการรวมกลุ่มกันอภิปราย ถกเถียง แสดงความคิดเห็น นักพัฒนาเป็นผู้ประสานงาน โดยคอยจัดลำดับผู้อภิปรายให้ข้อเท็จจริงและสรุปประเด็นสำคัญเป็นหลัก ส่วนชาวบ้านควรได้มี โอกาสเข้ามาร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่และนักพัฒนาต้องกระตุ้นให้ชาวบ้านแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด

3.4.4. 4. ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา

3.4.4.1. ในขั้นตอนของการวางแผนแก้ไขปัญหา ดังที่ Cohen and Uphoff (1980) ได้แบ่งการมีส่วนร่วมออกเป็น 4 แบบคือ

3.4.4.1.1. การมีส่วนร่วมตัดสินใจ (Decision Making) ประกอบด้วยการริเริ่มตัดสินใจดำเนินการตัดสินใจ และตัดสินใจปฏิบัติการ

3.4.4.1.2. การมีส่วนร่วมปฏิบัติการ (lmplementation) ประกอบด้วย การสนับสนุนทรัพยากร การบริหารการ ประสานความร่วมมือ

3.4.4.1.3. การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits) ประกอบด้วยผลประโยชน์ด้านวัสดุด้านสังคมและส่วนบุคคล

3.4.4.1.4. การมีส่วนร่วมในประการประเมินผล (Evaluation)

3.4.5. 5. ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการประเมินผลของกิจกรรมการพัฒนา โดยชาวบ้านและนักพัฒนาจะร่วมกันกำหนดขั้นตอนย่อย ๆ ต่างๆ ในการทำงาน ประเมินผล ตลอดจนดูแลปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประเมินผลเพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันที