การพัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตร “พริก” เพื่อการส่งออกของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัย...

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การพัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตร “พริก” เพื่อการส่งออกของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ by Mind Map: การพัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตร “พริก”  เพื่อการส่งออกของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ

1. 4. สรุปผลการวิจัย

1.1. โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาสภาพ การดำเนินการและสภาพปัญหาของการดำเนิน การในการพัฒนา เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์พืช เกษตรพริก ซึ่งได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจาก เกษตรกรผู้ปลูกพริกใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ ขามสะแกแสงจังหวัดนครราชสีมาอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

1.2. โดยผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ คือ

1.2.1. แนวทางการสนับสนุนการแปรรูป พริกเพื่อการส่งออก

1.2.2. สร้างผลิตภัณฑ์ดีจากวัตถุดิบ ที่ดีต้องสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดีเป็นที่ ต้องการของตลาด ซึ่งเกษตรกรกลุ่มแปรรูปพริก ต้องมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์พริกที่หลากหลายผู้ บริโภคมีทางเลือก

1.2.3. เชื่อมโยงเครือข่ายการแปรรูป แบบครบวงจร ต้องมีการเชื่อมโยงเครือข ่าย ระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เพื่อให้ได้ข้อมูลและความร่วมมือในการพัฒนาการ แปรรูปผลผลิตพริก

1.2.4. มีแนวทางทางการสนับสนุนการสร้าง เครือข่ายของประชาชนผู้ปลูกพริก

1.2.4.1. การสนับสนุนทรัพยากรจาก หน ่วยงานของรัฐ ได้แก่ งบประมาณและวัสดุ อุปกรณ์สิ่งของหรือปัจจัยอย่างอื่นที่เอื้อและจำเป็น ในกิจการต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริก เช่น สนับสนุนชีวภัณฑ์ ยาบำรุงรักษาโรคพริก การอบรมให้ความรู้แก่กลุ่ม การสนับสนุนเรื่อง อาคารสถานที่ในการจัดกิจกรรมของกลุ่ม เป็นต้น

2. 5. อภิปรายผลการวิจัย

2.1. แนวทางการสนับสนุนการแปรรูป พริกเพื่อการส่งออก เนื่องจากการเพาะปลูกพริก ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ซึ่งต้องใช้เวลาและให้ ความสำคัญกับการเพาะปลูกมาก จึงทำให้มีเวลา ไม่เพียงพอที่จะ นำพริกมาแปรรูป การแปรรูป ผลผลิตโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแปรรูปพริกสด ให้เป็นพริกแห้งต้องสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเห็น ประโยชน์ที่จะได้จากการแปรรูป การรับการอบรม เพิ่มความรู้จากหน่วยงานภาครัฐเรื่องการแปรรูป พริกให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเป็นทางเลือก ให้กับผู้บริโภค

2.2. สินค้าแปรรูปของเกษตรกรในพื้นที่ยังมีสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่ด้อย กว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทเอกชนทั้งด้านความเชื่อ มั่นในผลิตภัณฑ์การแข่งขันในการโฆษณาจึงทำให้ ขาดช ่องทางการตลาดในการสินค้าพริกแปรรูป แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกให้เป็นที่ต้องการ ของตลาดผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพดีวิธีการที่ดี โฆษณาผลิตภัณฑ์และพริกที่นำมาแปรรูปต้องได้ มาตรฐาน Good Agricultural Practices เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค พริกปลอดภัย คัดสะอาด และมีคุณภาพ

2.3. แนวทางการสนับสนุนการสร้าง เครือข่ายของประชาชนผู้ปลูกพริกภาครัฐต้องเห็น ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ปลูกพริกสนับสนุน การรวมกลุ ่ม เพื่อรับงบประมาณสนับสนุน จากโครงการของภาครัฐ อบรมให้ความรู้อย ่าง ต ่อเนื่องจากกรมวิชาการเกษตร เกษตรจังหวัด หรือเกษตรอำเภอ ให้รู้ถึงสิทธิประโยชน์ของ การรวมกลุ่ม

2.4. แนวทางแก้ไขและพัฒนาการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์พริก การขาดห้องเย็น ในการเก็บพริกให้ได้นาน เนื่องจากผลิตพริก ที่เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกนั้น ความนิยม ในการขายผลผลิตจะเป็นการขายในลักษณะ ขายสด ซึ่งพริกสดที่เกษตรกรเก็บผลผลิตมาแล้ว จะไม ่สามารถการเก็บรักษาพริกสดได้ไม ่นาน เนื่องจากพริกจะเน่าเสียและคงความสดไว้ได้ไม่ นาน ดังนั้นเกษตรกรมีความจำเป็นต้องรีบขาย ทัน มีเมื่อมีการเก็บผลผลิต หากจะเก็บรักษาพริกสดไว้ ให้ได้นานๆ ก็จำเป็นต้องอาศัยห้องเย็นในการเก็บ รักษาพริกสดให้คงความสดและเป็นการยืดอายุ ของพริกสดให้ได้นานขึ้น สำหรับแก้ปัญหาในช่วง ที่พริกสดราคาตกต่ำถ้าเกษตรกรขายก็ขาดทุน สามารถใช้บริการแซ่พริกได้ทำให้ขยายเวลาในการ เก็บรักษาไปได้อีกหลายเดือน

3. 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

3.1. 1. เพื่อสนับสนุนการแปรรูปพริกเพื่อการส่งออก

3.2. 2. เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายของประชาชนผู้ปลูกพริก

3.3. 3. เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พริกเครือข่ายของประชาชนผู้ปลูกพริก

3.4. 4. เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์พริก

4. 1. บทนำ

4.1. ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดธุรกิจชุมชน อันเกิดจากการนำเอา ทรัพยากรและภูมิปัญญาของท้องถิ่น มาใช้ให้เกิด ประโยชน์กับชุมชน อาทิเช่น พริกพืชเกษตรที่สร้าง รายได้เชื่อมโยงระดับคุณภาพชีวิตตั้งแต่พื้นที่ชุม ชนเล็กๆไปจนถึงขั้นการส่งออกสร้างมูลค่าเพิ่มให้ กับประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย ปัจจุบันประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกพริกไม่น้อยกว่า 474,717 ไร่ ต่อปี ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา ถือเป็นอันดับหนึ่ง

4.2. พริกยังเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกันดีซึ่งจะนำพริกมาใช้ ในการปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้อาหารมีรสจัดอีกทั้งพริกยังเป็นพืชสมุนไพรทั้งใบและทั้งผลปี

4.3. ชาวบ้านเองก็ยังขาด ความรู้ในการปลูก และกรรมวิธีการผลิต เพื่อจำหน่ายทำให้พริกที่ปลูกมีคุณภาพไม่ได้ มาตรฐานเท่าที่ควร เพราะขาดความรู้ด้าน การเกษตรและกรรมวิธีที่ถูกวิธีจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะหันกลับมาศึกษา ค้นคว้าการผลิตพริกกัน อย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีมาตรฐาน สามารถแปรรูป เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพได้ หลากหลายมากขึ้น

4.4. จากเหตุผลและความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษา ถึงแนวทางการพัฒนาเครือข ่ายและยกระดับ ผลิตภัณฑ์เกษตรของกลุ่มผู้ผลิตพริกซึ่งสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยและเป็น ยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิโดยผู้วิจัยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนา เครือข่ายของกลุ่มผู้ผลิตพริก รวมทั้งยกระดับ ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่า ให้กับผลิตภัณฑ์จากพริกอีกทั้งเป็นการสร้างเสริม รายได้แก่เกษตรกรในท้องถิ่น และนำรายได้ จำนวนมหาศาลสู่ประเทศ เพื่อความเจริญ ก้าวหน้าและความมั่นคงทางอุตสาหกรรมอาหาร ของประเทศต่อไป

5. 3. วิธีดำเนินการวิจัย

5.1. ซึ่งมีรูปแบบเป็นการวิจัย เชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงสำรวจ และการ สนทนากลุ่ม โดยเน้นความสำคัญของพลวัตร กลุุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อค้นหาการ พัฒนาเครือข่ายและยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตร ของกลุ่มผู้ปลูกพริก จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ

5.2. การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกระบวนการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ใช้เทคนิคการวิจัยและพัฒนาแบบ R & D (The Research and Development)

6. 6. ข้อเสนอแนะ

6.1. ควรมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการแปรรูปพริกเพื่อการส่งออก การรวม กลุ่มสร้างเครือข่ายของประชากรผู้ปลูกพริก การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พริกและการเพิ่ม ช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์พริกให้กับ เกษตรกรผู้ปลูกพริกในเขตจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ

6.2. ควรมีการสนับสนุนจากภาครัฐหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการกำหนดราคา กลางของผลผลิตพริกและมีการประกาศให้ผู้ เกี่ยวข้องทราบ และควรมีนโยบายการส่งเสริม ด้านราคาของผลผลิตพริกเพื่อให้เกษตรผู้ปลูกพริก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

6.3. ควรส่งเสริมการบทบาทการมี ส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการทำการเกษตรพริกระหว่างหน่วยงานราชการและส่งเสริม การสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกพริก โดยใช้แนวทางการบูรณาการเพื่อให้เกิดการช่วย เหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน