ยาฉีดคุมกำเนิด (Contraceptive Injection)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ยาฉีดคุมกำเนิด (Contraceptive Injection) by Mind Map: ยาฉีดคุมกำเนิด (Contraceptive Injection)

1. ข้อดี

1.1. คุมกำเนิดได้ยาวนานต่อเนื่อง 1-3 เดือน แล้วแต่ชนิดยา โดยไม่ต้องรับประทานยาทุกวัน

1.2. ไม่รบกวนต่อการมีเพศสัมพันธ์

1.3. ยาคุมแบบฉีดชนิดเมดรอกซีโปรเจสเทอโรน สามารถใช้ได้แม้อยู่ในช่วงให้นมบุตร

1.4. ช่วยแก้ปัญหารอบเดือนที่ผิดปกติได้

1.5. หากต้องการหยุดคุมกำเนิดก็ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ แค่เพียงรอให้ยาครบกำหนด ประสิทธิภาพก็จะค่อย ๆ หมดไปเอง

2. ผลข้างเคียง

2.1. บางรายประจำเดือนอาจเว้นช่วงนานกว่าที่ควรจะเป็น หรือไม่มีประจำเดือนเลย

2.2. ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ น้ำหนักเพิ่มขึ้น

2.3. มีอาการอ่อนแรง หรืออ่อนเพลียมากกว่าปกติ

3. วิธีการฉีดยาคุมกำเนิด

3.1. การฉีดยาคุมกำเนิด จะฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อสะโพก หรือ ต้นขา การฉีดยาคุมกำเนิดมักจะฉีดภายใน 5 วันหลังจากประจำเดือนมา ซึ่งหากฉีดในช่วงเวลานี้ตัวยาจะออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้ในทันที แต่ถ้าไม่สามารถฉีดในระยะเวลาดังกล่าวจะต้องใช้เวลาประมาณ 7 วันกว่าตัวยาจะเริ่มออกฤทธิ์

4. ความหมาย

4.1. วิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 99% ทั้งนี้ ผู้ใช้จะต้องเข้ารับการฉีดยาคุมอย่างสม่ำเสมอ ตรงตามนัดของแพทย์ ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลา 1 หรือ 3 เดือนหลังจากฉีด ขึ้นอยู่กับชนิดของยา การฉีดยาคุมกำเนิดนั้นจะไม่ได้ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น ถ้าต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยควรใช้ถุงยางอนามัย

5. ยาฉีดคุมกำเนิดที่นิยมใช้แบ่งออก เป็น 2 ชนิด

5.1. เมดรอกซีโปรเจสเทอโรน (Medroxyprogesterone) เป็นยาคุมกำเนิดชนิดฉีด ผลิตจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยยับยั้งการตั้งครรภ์

5.2. เมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone) และเอสทราดิอัล ไซพิโอเนท (Estradiol Cypionate) เป็นยาคุมกำเนิดชนิดฉีดที่ประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ โปรเจสเตอโรน และเทสโทสเตอโรน

6. ยาฉีดคุมกำเนิดหลังคลอดบุตร

6.1. หากฉีดยาคุมกำเนิดภายใน 21 วัน หลังคลอดบุตร ตัวยาจะออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้ทันที

6.2. หากฉีดยาคุมกำเนิดหลังจากวันที่ 21 เป็นต้นไป จะต้องรอให้ตัวยาออกฤทธิ์ประมาณ 7 วัน

7. ฉีดยาคุมกำเนิดไม่เหมาะสำหรับใครบ้าง ?

7.1. ผู้ที่สงสัยว่าอาจตั้งครรภ์

7.2. ผู้ที่มีอาการเลือดออกผิดปกติในระหว่างมีประจำเดือนหรือหลังมีเพศสัมพันธ์

7.3. ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด

7.4. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ตับแข็ง หรือเนื้องอกในตับ