Computer System ระบบคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Computer System ระบบคอมพิวเตอร์ by Mind Map: Computer System ระบบคอมพิวเตอร์

1. ความหมายของระบบคอมพิวเตอร์

1.1. ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ

1.2. ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะประกอบด้วย การรับเข้าข้อมูล ประเมิณผล แสดงผลและข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้สมบูรณ์ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

1.2.1. 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

1.2.2. 2.ซอฟต์แวร์ (Software)

1.2.3. 3.ส่วนบุคลากร(Peopleware)

2. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

2.1. 2.1 Hardware

2.1.1. Input

2.1.1.1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย เช่น

2.1.1.1.1. อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้นพิมพ์ (Keyboard)

2.1.1.1.2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์

2.1.1.1.3. จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)

2.1.1.1.4. ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen)

2.1.1.1.5. อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR)

2.1.1.1.6. อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)

2.1.2. Process

2.1.2.1. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit : CPU)

2.1.2.2. เป็นหน่วยที่เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนมากที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆ ในหน่วยประมวลผลกลางเป็นตัวกำหนดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กลงในขณะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น

2.1.3. Output

2.1.3.1. ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

2.1.3.1.1. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ

2.1.3.1.2. หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง

2.1.4. Storage

2.1.4.1. Primary Storage

2.1.4.1.1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1.4.2. Secondary Storage

2.1.4.2.1. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)เนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ แต่ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าแรมมาก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อนจึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

2.2. 2.2.Software

2.2.1. System Software

2.2.1.1. คือ Softwareที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้า และส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์

2.2.2. Application Software

2.2.2.1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้ ดังนี้

2.2.2.1.1. 1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น

2.2.2.1.2. 2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) คือ โปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติอีกด้วย

2.3. 2.3 People ware

2.3.1. Systems Analyst and Designer : SA นักวิเคระห์ระบบงาน

2.3.1.1. เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพดี เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ทำงานในส่วนต่อไป

2.3.2. Programmer โปรแกรมเมอร์

2.3.2.1. มีหน้าที่หลักคือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งนักเขียนโปรแกรมสามารถหมายถึงผู้ที่เชี่ยวชาญในการโปรแกรมเฉพาะด้าน หรือผู้ที่สามารถเขียนรหัสซอฟต์แวร์ได้หลากหลายข้อมูล

2.3.3. User ผู้ใช้

2.3.3.1. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2.3.4. Operator พนักงานปฏิบัติการ

2.3.4.1. บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

2.3.5. Database Administrator : DBA ผู้บริหารฐานข้อมูล

2.3.5.1. บุคลากรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการบริหารการจัดการฐานข้อมูลและการดูแลรักษาฐานข้อมูลขององค์กร

2.3.6. System Manager ผู้จัดการระบบ

2.3.6.1. เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

2.4. 2.4.Data/Information

2.4.1. Data

2.4.1.1. ข้อมูลดิบที่มีจำนวนมาก อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟิก

2.4.2. Information

2.4.2.1. ผลลัพธ์ที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลแล้วเพื่อนำไปใช้ตามความประสงค์ของผู้ใช้

2.5. 2.5.Procedures

2.5.1. กระบวนการหลักที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำได้

2.5.1.1. การประมวลผล (Processing)

2.5.1.1.1. เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม การเรียนลำดับ การปรับปรุงข้อมูล การสรุป การแสดงผล

2.5.1.2. การสร้างความน่าเชื่อถือ (Reliability)

2.5.1.2.1. การรักษาความปลอดภัยและความแม่นยำเที่ยงตรงในการทำงาน

2.5.1.3. การพัฒนา (Development)

2.5.1.3.1. การพัฒนาคำสั่งหรือโปรแกรมให้สั่งการระบบฮาร์ดแวร์ให้ทำงานตามที่ใช้ประสงค์

3. สมาชิก 1.น.ส.ณัฏฐณิชา ลอดคูบอน เลขที่ 14 2.น.ส.ณัฏฐาพัชร นาคะสิริ เลขที่ 15 3.น.ส.ณัฐชา หนักแก้ว เลขที่ 16 4.น.ส.นฤมล ทองพันธ์ เลขที่ 17