Get Started. It's Free
or sign up with your email address
กรมธนารักษ์ by Mind Map: กรมธนารักษ์

1. กรมเงินตรา

1.1. กรมเงินตรากำเนิดขึ้นโดยประกาศพระราชบัญญัติธนบัตร พ.ศ. 2445 โดยรัฐออกเงินกระดาษรูปตั๋วสัญญาใช้เงินตามกฎหมายเรียกว่า "ธนบัตร" โดยสัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำตั๋วมายื่นทันที เจ้าพนักงานผู้ออกธนบัตรและผู้รับจ่ายเงินขึ้นธนบัตรให้เรียกว่า "กรมธนบัตร"

2. กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา

2.1. กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ของบรมวงศ์ และดูแลที่ดินซึ่งมีผู้อุทิศแต่ประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา ซึ่งเรียกว่า "ที่กัลปนา" อีกด้วย แต่ปัจจุบันเป็นหน้าที่ของกรมการศาสนาซึ่งเป็นผู้ดูแล

3. กรมธนารักษ์ในปัจจุบัน

3.1. ในปัจจุบัน กรมธนารักษ์มีหน้าที่ในด้านต่าง ๆ คือ ด้านที่ราชพัสดุ ด้านเหรียญกษาปณ์และบริหารเงินตรา ด้านทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน และด้านการประเมินราคาทรัพย์สิน

4. กรมกษาปณ์สิทธิการ

4.1. กรมกษาปณ์สิทธิการ ก่อตั้งขึ้นเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งโรงกษาปณ์ทำเหรียญแบนขึ้นตามลักษณะสากลนิยมใช้แทนเงินพดด้วง จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้คณะทูตไทยที่ส่งไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ จัดซื้อเครื่องทำเงินมาถวาย และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และในต้นปี พ.ศ. 2403 ได้ติดตั้งเครื่องจักรเสร็จเรียบร้อย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า "โรงกระษาปณ์สิทธิการ" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมกระษาปณ์" และเป็น "กองกษาปณ์" และเป็น "สำนักกษาปณ์" ในปัจจุบัน

5. กรมพระคลังมหาสมบัติ

5.1. เดิม กรมพระคลังมหาสมบัติมีชื่อเรียกว่า "กรมเก็บ" ขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นพระคลังแผ่นดินสำหรับรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร และเป็นต้นเรื่องรับส่งเงินแผ่นดินถึงพระคลังในหัวเมืองทั่วราชอาณาจักร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2455 จึงได้เปลี่ยนชื่อจากกรมเก็บเป็นกรมพระคลังมหาสมบัติ

6. หน่วยงานในสังกัดกรมธนารักษ์

6.1. สำนักกษาปณ์

6.1.1. สำนักบริหารเงินตรา

6.1.1.1. สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน

6.1.1.1.1. สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน