นวัตกรรม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นวัตกรรม by Mind Map: นวัตกรรม

1. ประเภทกลุ่มคนที่ยอมรับและนำนวัตกรรมมาใช้

1.1. 1) กลุ่มคนแบบ Innovator หรือที่เราเรียกกันว่ากลุ่มนวัตกร กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ต้องการใช้หรืออยากลองนวัตกรรม แนวคิด วิธีการที่เกิดขึ้นใหม่ๆ แรงจูงใจสำคัญก็คือการคิดว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง คนกลุ่มนี้จะยินดีใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ โดยยอมรับกับปัญหาและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระยะแรกๆ ในการใช้สิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การนำสมาร์ทบอร์ด หรือ การนำ MOOC มาใช้ในห้องเรียน กลุ่ม นวัตกร จะเป็นคนกลุ่มแรกที่สนใจ เข้าไปศึกษาเรียนรู้ และนำไปใช้ในการเรียนการสอนทันที

1.2. 2) กลุ่มคนแบบ Early Adopters คือกลุ่มคนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเองเมื่อเห็นคนอื่นเริ่มใช้ และมองเห็นประโยชน์จากนวัตกรรมหรือเทรนด์ใหม่ๆที่เกิดขึ้น มีความตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวหรือชักจูงให้เปลี่ยนแปลง คิดเป็น 13.5%

1.3. 3) กลุ่มคนแบบ Early Majority คิดเป็นประมาณ 34% คนกลุ่มนี้มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง และมองเห็นประโยชน์จากนวัตกรรมหรือเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น แต่จะระมัดระวังและใช้เหตุผลในการตัดสินใจพอสมควร เพราะต้องการความมั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะประสบความสำเร็จ โดยอาจจะดูจากกลุ่มคนที่ใช้เทคโนโลยีนี้แรกๆ ว่าใช้ได้ผล มีประโยชน์ จึงจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตนเอง

1.4. 4) กลุ่มคนแบบ Late Majority คือคนส่วนใหญ่ กลุ่มมาทีหลัง คิดเป็นอีก 34% คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองช้าที่สุด หรืออาจจะเรียกว่าเปลี่ยนแปลงตนเองในนาทีสุดท้าย ถ้าไม่โดนสั่งหรือบังคับ ก็จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง หรือคนอื่นเขาใช้จนจะตกยุคแล้ว ค่อยมาเริ่มใช้ คนกลุ่มนี้มีความต้องการที่จะไม่ตกกระแสหลักไป ซึ่งมากกว่าการคิดถึงประโยชน์ของนวัตกรรมหรือบริการเสียอีก กลุ่มสุดท้ายเราเรียกกันว่า Laggards คือกลุ่มที่ล้าหลัง คิดเป็น 16% ซึ่งมักเป็นกลุ่มผู้มีอายุ ที่เคยใช้เทคโนโลยีเดิมๆ จนเคยชินไม่อยากเปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่ต้องการเรียนรู้ใหม่ คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง มักพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่แล้วและไม่เชื่อในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ แถมบางทีอาจจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเสียด้วยซ้ำ

2. Information Technology

2.1. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วน

2.1.1. 1) บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการในการดำเนินการ และจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.1.2. 2) ขั้นตอนการปฏิบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น การกำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ

2.1.3. 3) เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยคีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ หน่วยระบบ และอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ จะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ

2.1.4. 4) ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่น (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน มีหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

2.1.5. 5) ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ และมีความสมบูรณ์ชัดเจน

3. Non Information Technology

3.1. นวัตกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับทฤษฎีการสอน วิธีการสอนเครื่องมือ และอุปกรณ์การสอน

3.1.1. 1) การประดิษฐ์สื่อ สิ่งต่างๆที่เป็นบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการ ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้