การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ by Mind Map: การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์

1. การกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์

1.1. การกระตุ้นทารกในครรภ์นั้น เป็นการส่งเสริมให้ระบบประสาทส่วนต่างๆของทารกได้รับการกระตุ้น ซึ้งจะทำให้เซลล์สมองทารก เดนไดรท์ (Dendrites) มีการแตกแขนงทำให้การส่งกระแสประสาทได้ดี โดยระบบประสาทที่ควรพัฒนามี4ระบบ ดังนี้

1.2. 1.ด้านการได้ยิน(Auditiry stimulation) เริ่มเมื่ออายุ18สัปดาห์ขึ้นไป หรือ เมื่อรู้สึกว่าลูกเริ่มดิ้นและควรทำจนกระทั่งคลอด แบ่งได้2ชนิด คือ

1.2.1. 1.1 การใช้เสียงของมารดา ซึ่งเป็นอีกเสียงที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่นสำหรับทารกในครรภ์โดย ให้มารดาพูดคุยกับทารกในครรภ์เรื่อยๆ

1.2.2. 1.2 การเปิดเสียงดนตรี เสียงดนตรีจะทำให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญา เสริมสร้างอารมณ์ที่แจ่มใสและเลี้ยงง่ายหลังคลอด

1.3. 2.ด้านการรับความรู้สึก (Tactile stimulation) เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นและควรทำจนกระทั่งคลอด ไปแบ่งเป็น 5 วิธี

1.3.1. 2.1 การลูสัมผัสเพื่อให้ทารกเคยชินกับการสัมผัสและสงบ อารมณ์ดีเลี้ยงง่ายและมีพัฒนาการด้านต่างๆสูงกว่าเกณฑ์ ด้วยการพูดคุยหรือร้องเพลงร่วมกับการลูบสัมผัส โดยเปิดหน้าท้องและเอามือลูบสัมผัสวนไปรอบๆ โดยเริ่มจากหัว-หลังก้น-ขาแขนหัวแล้ววนไปตามลำตัวช้าๆกรำทะจนกว่ามารดาพอใจ วิธีนี้พยาบาลต้องแจ้งมารดาว่าศรีษะของทารกในครรภ์อยู่ด้านใด

1.3.2. 2.2 สัมผัสทารกในครรภ์เป็นจังหวะ โดยการใช้มือตบลงเบาๆหันท้องมารดาซึ่งเป็นบริเวณก้นของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ทารกเกิดความอบอุ่นมั่นคงเคยชินกับพฤติกรรมสัมผัสเช่นนี้อีก จะทำให้ทารกหยุดร้องกวนและสงบเร็วขึ้น

1.3.3. 2.3 สัมผัสน้ำอุ่นน้ำเย็น เพื่อพัฒนาเซลล์ประสาทส่วนรับความรู้ร้อนหนาว และปรับสภาพให้ทารกในครรภ์ เคยชินกับความเย็นทีละน้อยเมื่อแรกคลอด ทารกจะชินกับอุณหภูมิภายนอกที่เย็นกว่าในมดลูกทำให้ไม่หนาวสั่น

1.3.4. 2.4 ตบหน้าท้องเบาๆขณะทารกในครรภ์ดิ้น ปฎิบัติได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ เพื่อช่วยฝึกไหวพริบ สร้างการเรียนรู้ และปรับตัวตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยเอามือตบเบาๆเป็นจังหวะ 2 ครั้งลงบนก้นทารกขณะรู้สึกว่าทารกดิ้น เพื่อเป็นการแสดงให้ทารกในครรภ์รู้ว่ามารดารับรู้การกระทำของทารกและให้ความสนใจ เป็นการฝึกให้มีการเรียนรู้อย่างมีเงื่อนไขและฝึกไหวพริบกับทารก

1.3.5. 2.5 ฉีดน้ำบริเวณหน้าท้อง ปฏิบัติตั้งแต่ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาเซลล์ประสาทส่วนการเคลื่อนไหว ปฎิบัติเมื่อเวลาอาบน้ำโดยใช้ฝีกบัวเปิดน้ำแล้วฉีดลงบนบริเวณหน้าท้อง (หรือใช้น้ำรดช้าๆที่หน้าท้อง)ทารกในครรภ์ก็จคุ้นเคยกับสายน้ำที่ไปกระทบหน้าท้องของมารดาและเสียงของน้ำ

1.4. 3. ด้านการเคลื่อนไหว (Movement stimulation) เริ่มเมื่อตั้งครรภ์ 20สัปดาห์และควรทำจนกระทั้งคลอด ปฏิบัติโดยการนั่งเก้าอี้โยกหน้า-หลัง อาจจะมีเสียงเพลงเพราะๆขับกล่อมไปด้วย และพร้อมกับลูบสัมผัสหน้าท้องไปพร้อมๆกันหรืออาจจะใช้การพูดคุยแทนเสียงเพลงพร้อมการลูบสัมผัสก็ได้ เมื่ออายุครรภ์28สัปดาห์ ให้ใช้วิธีนั่งเก้าอี้หมุนซ้าย-ขวา

1.5. 4. ด้านการมองเห็น (Visualizing stimulation) เริ่มเมื่ออายุครรภ์ประมาณ24สัปดาห์ขึ้นไปและควรทำจนกระทั้งคลอด สร้างความสนใจ สร้างความอยากรู้อยากเห็นให้กับทารกในครรภ์ ปฏิบัติโดยการเคลื่อนไฟฉายจากซ้ายไปขวา หรือ การเปิดและปิดไฟฉายเป็นจังหวะ

2. นับอายุครรภ์ตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย(LMP)ไปจนครบ 40 สัปดาห์

2.1. พัฒนาการทารกอาจแบ่งได้3 ระยะ คือ

2.1.1. ระยะที่1 ระยะไข่ได้รับการผสม (Ovum) ตั้งแต่ปฏิสนธิ - 2สัปดาห์ เรียกว่า Medulla

2.1.2. ระยะที่2 ระยะตัวอ่อน (Embryo) ตั้งแต่อายุครรภ์ 2-8 สัปดาห์ เริ่มมีการพัฒนาของอวัยวะต่างๆเกือบทั้งหมด รวมทั้งระบบประสาทส่วนกลางและไขสันหลัง หัวใจเริ่มต้น น้ำหนัก2 กรัม ยาว 1.5-2 นิ้ว

2.1.3. ระยะที่3 ระยะทารก (Fetus) ตั้งแต่อายุครรภ์ 8-40 สัปดาห์ แบ่งตามพัฒนาการทารกได้ดังนี้

2.1.3.1. 3.1 อายุครรภ์ 8-12 สัปดาห์ ทารกมีรูปร่างคล้ายมนุษย์มากขึ้น ยาว 7-9 ซม. หัวโต แขนขาพัฒนาขึ้น หัวใจเริ่มเต้นเป็นจังวะ แยกเพศได้ เคลื่อนไหวทั้งตัว

2.1.3.2. 3.2 อายุครรย์ 13-16สัปดาห์ อวัยวะต่างๆพัฒนามากขึ้น มือกระดิกได้ ระบบผิวหนังปกคลุม มารดาเริ่มรู้สึกทารกดิ้น

2.1.3.3. 3.3 อายุครรภ์17-20สัปดาห์ ขนอ่อนทั่วตัว มีขนคิ้ว ขนตา หัวนมขึ้น มีไขมันใต้ผิวหนัง อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ ทารกเริ่มรับเสียงต่างๆภายในครรภ์มารดา อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ทารกเริ่มรับรู้สัมผัสผ่านหน้าท้องมารดา

2.1.3.4. 3.4 อายุครรภ์ 21-26 สัปดาห์ ถุงลมในปอดเริ่มพัฒนาเรื่อยๆและทำงานโดยมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน(O2)และคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ที่มาจากรก

2.1.3.5. 3.5 อายุครรภ์ 27-32 สัปดาห์ ผิวหนังเริ่มมีสีแดง สมองและระบบประสาทสามารถควบคุมอวัยวะสำคัญได้ เมื่ออายุครรภ์27สัปดาห์ ตาเริ่มมีความไวต่อแสง ลืมตา-หลับตา

2.1.3.6. 3.6 อายุครรภ์ 33-36 สัปดาห์ แขนขาเจริญเต็มที่ เล็บมือ-เท้ายาวทถุงลมปอดมีสารหล่อลื่นแล้ว (Lung surfactant)

2.1.3.7. 3.7 อายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ ทารกในครรภ์อายุ 37 สัปดาห์ ขึ้นไป(ไม่เกิน42สัปดาห์) ถือเป็นทารกครบกำหนด

3. *** ควรปฏิบัติทันทีเมื่ออายุครรภ์อยู่ในช่วงที่สามารถรับการส่งเสริมพัฒนาการ และควรกระตุ้นสม่ำเสมอจนกระทั้งคลอด

4. การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

4.1. 1.การเจริญเติบโตของร่างกาย

4.2. 2. การพัฒนาการเกี่ยวกับระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย

5. ปัจจัยท่ีส่ งผลให้มีการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

5.1. 1.กรรมพนัธุ์

5.2. 2.ส่ิงแวดลอ้ม

5.3. 3.ภาวะโภชนาการ

5.4. 4. การปฏิบัติตัวของมารดาระหว่างต้ังครรภ์