มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 6 การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก - การประเมินความรู้ความสามา...

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 6 การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก - การประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ by Mind Map: มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 6 การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก - การประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

1. ขอบเขต

1.1. ข้อกำหนดสำหรับการประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ที่ต้องพัฒนาให้มีขึ้นก่อนที่จะสิ้นสุดการพัฒนาอาชีพระยะเริ่มแรก

1.1.1. การประเมิน คือ การวัดความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ที่มีการพัฒนาผ่านการเรียนรู้รู้และพัฒนา

1.1.2. การพัฒนาทางวิชาชีพในระยะเริ่มแรกคือการเรียนรู้และพัฒนาที่ผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพ จะต้องใช้ในเบื้องต้นเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถนำไปสู่บทบาทผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

2. วัตถุประสงค์

2.1. ประเมินเพื่อพิจารณาว่าผู้มุ่งมั่นประกอบวิชาชีพบัญชีได้พัฒนาตนเองให้มีระดับความรู้ ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่เหมาะสม

3. ข้อกาหนด

3.1. การประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเป็นทางการอาจอ้างอิงผลสัมฤทธิ์ จากกิจกรรมการประเมินที่เกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก โดยกิจกรรมการประเมิน อาจเป็นข้อสอบอัตนัย ปรนัย ปากเปล่าหรือทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์

3.1.1. การสอบประมวลความรู้ข้ามศาสตร์

3.1.2. ชุดการสอบที่เน้นวัดความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบอาชีพ

3.2. ประเภทของกิจกรรมการประเมินที่ได้รับการคัดเลือกนั้นอาจขึ้นกับหลายปัจจัยตามที่สมาชิก สหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศพิจารณา

3.2.1. ความห่างไกลและการกระจายของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

3.2.2. แหล่งข้อมูลทางการศึกษาและแหล่งข้อมูลอื่นที่มี

3.3. หลักในการประเมินควรจะนำไปปรับใช้กับแต่ละกิจกรรมการประเมินที่จัดให้มีขึ้นในช่วงเวลาการ พัฒนาวิชาชีพด้านบัญชีในระยะเริ่มแรก

3.3.1. กิจกรรมการประเมินจะมีระดับความน่าเชื่อถือสูงก็ต่อเมื่อกิจกรรมนั้นสามารถให้ผลลัพธ์ เหมือนเดิมอย่างสม่ำเสมอภายใต้สภาวการณ์เดียวกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของข้อสอบอัตนัย อาจเพิ่มขึ้นได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้คำที่กำกวม

3.3.2. กิจกรรมการประเมินจะมีระดับความเที่ยงตรงสูง ก็ต่อเมื่อกิจกรรมนั้นสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัด ความเที่ยงตรงไม่ใช่ตัววัดที่สมบูรณ์และกิจกรรม การประเมินที่ต่างกันอาจมีระดับความเที่ยงตรงที่ต่างกัน

3.3.2.1. ความเที่ยงตรงที่แท้จริง

3.3.2.2. ความเที่ยงตรงในการคาดการณ์

3.3.2.3. ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

3.4. หลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ คือ หลักฐานที่เที่ยงธรรม พร้อมให้พิสูจน์ได้และจัดเก็บเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือสื่ออิเลคโทรนิกส์ การอ้างอิงการประเมินความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพจากหลักฐาน ที่พิสูจน์ได้อาจตอบสนองความต้องการของบุคคลที่สามซึ่งทำหน้าที่ติดตามและกำกับดูแลสมาชิกสหพันธ์นักบัญชีระหว่างประเทศ

3.4.1. ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการศึกษา

3.4.2. ผลสัมฤทธิ์ของผลสำเร็จจากการสอบ

3.4.3. หลักฐานแสดงถึงความสำเร็จในการทำงาน