การทบทวนเอกสาร

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การทบทวนเอกสาร by Mind Map: การทบทวนเอกสาร

1. ความสำคัญของการทบทวนเอกสาร

1.1. พิสณุ ฟองศรี (2551) ได้สรุปจุดมุ่งหมายการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ 5 ประการ ซึ่งใน ที่นี้เห็นว่าควรเพิ่มเติมอีก 5 ประการ รวมเป็น 10 ประการ ดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงการทำซ้ำกับผู้ที่เคยวิจัยไว้ก่อน 2. ทราบแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร 3. ตั้งสมมุติฐานได้อย่างมีเหตุผล 4. ทราบถึงวิธีการต่าง ๆ เช่น กลุ่มประชากรและการสุ่ม 5. ช่วยในการแปลความหมาย และสรุปผลการวิจัย 6. ทราบถึงปัญหาอุปสรรคของการวิจัยที่ผ่านมา และเตรียมหาแนวทางแก้ไข 7. ทราบว่ามีข้อมูลอยู่ที่ใดและไม่มีข้อมูลใดบ้าง 8.เพิ่มความรู้และช่องทางที่จะเพิ่มความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้นเรื่อย ๆ 9. ประหยัดเวลา แรงงาน งบประมาณ 10. ช่วยให้งานวิจัยมีคุณค่าน่าเชื่อถือ

2. ประโยชน์ของการศึกษาเอกสาร

2.1. สุวิมล ติรกานันท์ (2551) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการศึกษาทบทวนเอกสารว่า 1. ป้องกันการทำงานวิจัยซ้ำซ้อน 2. ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของการทำวิจัยที่ชัดเจน 3.ทำให้ผู้วิจัยสามารถเสนอแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการวิจัยได้อย่างถูกต้อง 4. เตรียมการป้องกันความคลาดเคลื่อน 5. ช่วยให้ผู้วิจัยมีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยมากขึ้น

3. ความหมายของเอกสารที่เกี่ยวข้อง

3.1. ไพศาล วรคา (2559) ได้ให้ความหมายของการศึกษาเอกสาร หมายถึง การศึกษาค้นคว้า รวบรวม ประมวลและสังเคราะห์ผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความ เอกสารทางวิชาการและต าราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัย เพื่อนำหลักฐาน ต่าง ๆ ที่สืบค้นได้นั้นมาประมวลให้เห็นการสั่งสมองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้กำหนดกรอบ การวิจัย คำถามการวิจัย ตัวแปร สมมติฐานการวิจัย ตลอดจนแนวทางการดำเนินการวิจัย และ อภิปรายผลได้อย่างสมเหตุสมผล

4. แหล่งของเอกสารที่เกี่ยวข้อง

4.1. เอกสาร

4.1.1. วารสารทางวิชาการ

4.1.2. หนังสือ

4.2. เทคโนโลยี

4.2.1. คอมพิวเตอร์

4.2.2. อินเทอร์เน็ต

4.3. บุคคล