พราหมณ์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พราหมณ์ by Mind Map: พราหมณ์

1. ข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ - ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู - ห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา

2. พราหมณ์เป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวท พิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป

3. งานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่ - งานประจำปี เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น - งานตามวาระ เช่น พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น

4. ไม่สืบทอดใช้ชีวิตตามปกติคงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน

4.1. แบ่งแยกเป็นนิกายคือ

4.1.1. ไศวนิกาย

4.1.1.1. ถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน 

4.1.2.  ไวษณวะนิกาย 

4.1.2.1. ไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์  กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆ ตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน

5. พราหมณ์หลวง

5.1. การบวชเป็นพราหมณ์หลวง 

5.2. หน้าที่ของพราหมณ์หลวง

5.2.1. ต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของ มาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมาก เหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้

5.3. รักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่าง ๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา

5.4. สืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล

5.4.1. - สยมภพ - โกมลเวทิน - นาคะเวทิน - วุฒิพราหมณ์ - ภวังคนันท์ - รัตนพราหมณ์ - รังสิพราหมณกุล