การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ by Mind Map: การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

1. 1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูล โปรแกรม และคำสั่งจากผู้ใช้ โดยจะแปลงข้อมูลที่ได้รับในรูปแบบต่างๆ ให้เป็นข้อมูลหรือสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งไปยังหน่วยความจำ เพื่อนำไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลางต่อไป

2. 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ซีพียู (CPU) จัดเป็นมันสมองของระบบสารสนเทศ เนื่องจากทำหน้าที่ในการประมวลผลคำสั่งและควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน โดยจะดูแลเวลาในการประมวลผลตามคำสั่งที่ได้รับ ให้มีการประมวลผลเป็นจังหวะตามสัญญาณนาฬิกา 2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์เช่น บวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบค่าของข้อมูลทางตรรกศาสตร์ เช่น มากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น

3. 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารและแสดงผลต่อผู้ใช้ ทั้งในขณะที่ทำการประมวลผลและหลังจากการประมวลผลเสร็จแล้ว ซึ่งจะรับสารสนเทศที่ได้จากหน่วยประมวลผลกลางมาแปลงให้เป็นข้อมูลหรือสารสนเทศในรูปแบบที่ผู้ใช้เข้าใจ โดยทั่วไปจะใช้จอภาพ (Monitor) เพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้เป็นหลัก

4. 3. หน่วยความจำ (Memory Unit) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง โดยหน่วยความ จำหลักจะต้องทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผลกลาง เมื่อผ่านการประมวลผลข้อมูลและปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ข้อมูลที่เก็บไว้ทั้งก่อนและหลังขณะที่ทำงานจะหายไป ข้อมูลดังกล่าวจึงไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกในอนาคต จึงต้องบันทึกข้อมูลไว้ในหน่วยความจำสำรอง เพื่อเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้ 3.1 หน่วยความจำหลัก (Primary Storage) ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักนี้ จะเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในหน่วยประมวลผลกลาง โดยจะเรียกใช้หรือเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลักแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ หน่วยความจำแรม (RAM : Random Access Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือซอฟต์แวร์ในระหว่างที่มีการประมวลผลข้อมูล โดยข้อมูลและซอฟต์แวร์นี้จะถูกลบหายไปทันทีเมื่อปิดคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำรอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อมูลคำสั่งเริ่มต้นของระบบ ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ถูกบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ข้อมูลในหน่วยความจำรอมจะไม่ถูกลบหายไปถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้ด้วยวิธีปกติ หน่วยความจำซีมอส (CMOS Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ประเภทของฮาร์ดดิสก์ โดยจะใช้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลจึงไม่สูญหาย และสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้อัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์นั้น 3.2 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้เพื่อให้สามารถนาข้อมูล ชุดคำสั่ง หรือซอฟต์แวร์นั้นๆ กลับมาใช้ใหม่ในอนาคตได้ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำสำรองมีทั้งที่เป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลและสารสนเทศต่างๆ มักมีขนาดใหญ่กว่าข้อมูลที่บันทึกในหน่วยความจำหลัก