ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม by Mind Map: ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning Theory)

1.1. การทดลองของสกินเนอร์

1.1.1. สกินเนอร์ทำการทดลองกับหนู เขาดำเนินการทดลองโดยการจับหนูที่กำลังหิวใส่ลงไปในกล่องทดลองปรากฏว่าหนูวิ่งไปวิ่งมา จนกระทั่งไปเหยียบถูกคานเข้าโดยบังเอิญทำให้ไฟสว่างขึ้น และหลังจากนั้นก็มีอาหารหล่นลงมาสู่จาน หนูจึงได้กินอาหารซึ่งเป็นการเสริมแรงต่อการกดคานจากนั้นหนูก็วิ่งไปวิ่งมาอีก จนกระทั่งไปกดคานอย่างรวดเร็วและได้อาหารทุกๆครั้ง

1.1.2. สกินเนอร์ใช้การเสริมแรงมาควบคุมพฤติกรรมของสัตว์โดยเขาทำการทดลองกับนกพิราบ เพื่อให้มันจิกเครื่องหมายให้ถูกต้อง เมื่อผู้ทดลองเปิดไฟสีต่างๆและใช้อาหารเป้นตัวเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการโดยยึดหลักการเสริมแรง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่างยิ่ง

1.2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์กับการจัดการเรียนรู้ของครู

1.2.1. 1. ควรจะให้แรงเสริมในพฤติกรรมที่แสดงว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้ว

1.2.2. 2. การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification)

1.2.2.1. 2.1 การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสมไว้

1.2.2.2. 2.2 การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่างโดยใช้วิธีที่เรียกว่า การดัดหรือการตบแต่งพฤติกรรม

1.2.2.3. 2.3 การลดพฤติกรรม เป็นการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา

1.2.3. 3. บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนแบบโปรแกรม

1.2.4. 4. การปรับพฤติกรรม คือ ทำการปรับพฤติกรรมของบุคคล

2. 3. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)

2.1. การทดลองของธอร์นไดค์

2.1.1. ธอร์นไดค์ทดลองกับแมวจับแมวที่อดอาหารจนหิวใส่กรงปัญหาและปิดประตูกลให้เรียบร้อยโดยการวางจานอาหารไว้ นอกกรงให้แมวเห็นแต่ในระยะที่แมวเขี่ยไม่ถึงสถานการณ์เหล่านี้เป็นการสร้างปัญหาเพื่อให้แมวหาทางออกมากินอาหารให้ได้ผลการทดลองพบว่าใน การทดลองครั้งแรกแมวพยายามแสดงอาการตอบสนองอย่างเดาสุ่มหลายๆอย่างเช่น ส่งเสียงร้อง ตะกุยกรงใช้ฟันกัดใช้เท้าเขี่ยประตูและอีกหลายๆอย่างจนกระทั่งบังเอิญ ไปเหยียบแผ่นไม้ซึ่งมีเชือกดึงสปริงทำให้ถอดสลักประตูกรงแมวจึงออกมากินอาหารตามต้องการได้

2.2. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์กับกระบวนการจัดการเรียนรู้

2.2.1. 1. ในบางสถานการณ์

2.2.2. 2. ควรสอนเมื่อผู้เรียนมีความพร้อม

2.2.3. 3. พยายามช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน และการทำงาน

2.2.4. 4. การสอนในชั้นเรียนควรกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชั้นเจนหมายถึงการตั้งจุดมุ่งหมายที่สังเกตการตอบสนองได้และครูจะต้องจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยๆ ให้เขาเรียนทีละหน่วย

2.2.5. 5. การสอนควรเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปสิ่งที่ยาก การสร้างแรงจูงใจนับว่าสำคัญมาก

2.2.6. 6. การสร้างแรงจูงใจภายนอกให้กับผู้เรียน

2.2.7. 7. ควรให้ผู้เรียนได้มีการฝึกหัด

3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

3.1. 1. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Classical Conditioning)

3.2. 2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning Theory)

3.3. 3. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)

4. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Classical Conditioning)

4.1. หลักการเรียนรู้

4.1.1. หลักการเรียนรู้ทฤษฎีของพาฟลอฟเชื่อว่าสิ่งเร้า (Stimulus) ที่เป็นกลางเกิดขึ้นพร้อมๆกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกริยาสะท้อนอย่างหนึ่งหลายๆครั้ง สิ่งเร้าที่เป็นกลางจะทำให้เกิดกริยาสะท้อนอย่างนั้นด้วย การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) กล่าวคือการตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้นๆต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้นที่เป็นผลของการเรียนรู้

4.2. การทดลองของพาฟลอฟ

4.2.1. พาฟลอฟ ทดลองกับสุนัข โดยผูกสุนัขที่กำลังหิวไว้ในห้องทดลอง เขาผ่าตัดข้างแก้มสุนัขตรงต่อมน้ำลาย แล้วต่อสายยางเพื่อให้น้ำลายสายยางสู่เครื่องวัด เขาทำการทดลองโดยการสั่นกระดิ่งแล้วเอาผงเนื้อใส่ปากสุนัข ทำซ้ำๆกันหลายๆครั้ง ตามปกติสุนัขจะหลั่งน้ำลายเมื่อมีผงเนื้อในปาก แต่เมื่อนำผงเนื้อมาคู่กับกระดิ่งพียงไม่กี่ครั้ง เสียงกระดิ่งเพียงอย่างเดียวก็ทำให้สุนัขน้ำลายไหลได้แสดงว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้แล้ว

4.3. กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

4.3.1. 1. การแผ่ขยาย

4.3.2. 2. การจำแนก

4.3.3. 3. การลบพฤติกรรม

4.4. สรุปหลักการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟได้ดังนี้

4.4.1. 1. การลบพฤติกรรมชั่วคราว

4.4.2. 2.การฟื้นคืนสภาพการตอบสนองจากการวางเงื่อนไข

4.4.3. 3. การสรุปความเหมือน

4.4.4. 4. การจำแนกความแตกต่าง