นวัตกรรมการศึกษา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นวัตกรรมการศึกษา by Mind Map: นวัตกรรมการศึกษา

1. 3.การศึกษาในศตวรรษที่ 21

1.1. 1.Foundational Literacies กลุ่มทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ใน ‘การปฏิสัมพันธ์กับบริบทที่แตกต่างกัน’ ซึ่งแปลง่ายๆก็คือ ‘อยู่ที่ไหนแล้วต้องใช้อะไรบ้าง’ นั่นเอง เพราะเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆได้ก่อให้เกิดบริบทการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

1.2. 2.Competencies กลุ่มทักษะที่ต้องนำมาใช้ใน ‘การจัดการกับปัญหา’ หรือความท้าทายที่ต้องเจอในชีวิต ซึ่งความท้าทายเหล่านั้นจะมีความซับซ้อนขึ้นกว่าเมื่อเทียบกับความท้าทายในโลกเก่า โดยกลุ่มทักษะนี้จะเป็นทักษะสำคัญที่ใช้ร่วมกันในการวิเคราะห์ปัญหาให้ถูกจุด

1.3. 3.Character Qualities กลุ่มทักษะที่ใช้ใน ‘การจัดการตัวเองกับสภาพสังคม’ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

2. 4.ทฤษฎี ความหมาย ขอบเขต แนวความคิด ทางนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ IT เพื่อการสื่อสาร FOR EDUCATION

2.1. ความหมาย

2.1.1. นวัตกรรม หมายถึง แนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนา ดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม

2.2. แนวคิด

2.2.1. สามารถที่จะใช้แนวคิด เทคนิค วิธีการ รูปแบบการสอนต่างๆ หรือการนำสิ่งที่ไม่ใช่เทคโนโลยี มาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์ วิธีการสอน หรือสื่อใหม่ๆโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้

2.3. การยอมรับในสิ่งใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เคยทำเป็นประจำของเทคโนโลยี

2.3.1. การยอมรับในสิ่งใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่เคยทำเป็นประจำ ไปสู่สิ่งใหม่ จะไม่ได้รับการยอมรับ จนกว่าผู้นั้นจะเห็นว่าสิ่งนั้นมีประโยชน์เหมาะสมกับการนำไปใช้ จึงจะเกิดการยอมรับ และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตนให้ยอมรับ และใช้แนวคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น

2.3.2. กลุ่มแรกเราเรียกว่า กลุ่มคนแบบ Innovator หรือที่เราเรียกกันว่ากลุ่มนวัตกร กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ต้องการใช้หรืออยากลองนวัตกรรม แนวคิด วิธีการที่เกิดขึ้นใหม่ๆ แรงจูงใจสำคัญก็คือการคิดว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง คนกลุ่มนี้จะยินดีใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ โดยยอมรับกับปัญหาและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระยะแรกๆ ในการใช้สิ่งใหม่ๆ เหล่านั้น

2.3.3. กลุ่มที่ 2 เราเรียกว่ากลุ่ม Early Adopters คือกลุ่มคนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเองเมื่อเห็นคนอื่นเริ่มใช้ และมองเห็นประโยชน์จากนวัตกรรมหรือเทรนด์ใหม่ๆที่เกิดขึ้น มีความตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวหรือชักจูงให้เปลี่ยนแปลง คิดเป็น 13.5%

2.3.4. กลุ่มคนกลุ่มที่ 3 เราจะเรียกว่า Early Majority คิดเป็นประมาณ 34% คนกลุ่มนี้มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง และมองเห็นประโยชน์จากนวัตกรรมหรือเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น แต่จะระมัดระวังและใช้เหตุผลในการตัดสินใจพอสมควร เพราะต้องการความมั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะประสบความสำเร็จ โดยอาจจะดูจากกลุ่มคนที่ใช้เทคโนโลยีนี้แรกๆ ว่าใช้ได้ผล มีประโยชน์ จึงจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตนเอง

2.3.5. กลุ่มที่ 4 เราเรียกว่า Late Majority คือคนส่วนใหญ่ กลุ่มมาทีหลัง คิดเป็นอีก 34% คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองช้าที่สุด หรืออาจจะเรียกว่าเปลี่ยนแปลงตนเองในนาทีสุดท้าย ถ้าไม่โดนสั่งหรือบังคั

3. 5.เครื่องมือบนโลกออนไลน์ (NEW MEDIA)

3.1. 1. AR Type คือเทคโนโลยีที่ผสมความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือน โดยใช้วิธีการซ้อนภาพ

3.2. 2.Infographi C Type นำเสนอข้อมูลที่ยากไปง่าย ทำให้เพิ่มสมรรถนะในการคิดและพัฒนาไอเดีย และยังทำให้ข้อมูลอยู่ได้นานแล้วยังดึงกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย

3.3. 3.Presentation Type เป็นสื่อที่เป็นการนำเสนอทำให้น่าสนใจ เรียนรู้ได้ง่าย

3.4. 4.Animation Type กราฟฟิคเคลื่อนไหวทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้

3.5. 5.Game Type ใช้สิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน

3.6. 6.Blog Type การนำ Log บนเว็บมาใช้เก็บข้อมูลนำเสนอต่างๆ และสามารถแบ่งข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ รวมถึงเปิดโอกาศให้ผู้ที่เข้ามาอ่าานแสดงควมคิดเห็นได้อีกด้วย

3.7. 7.Encyclopedia Type คือ vikipedai เครื่องมือการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์

3.8. 8.Personal Website Type เป็นเว็บที่เพื่อนำเสนอแก่ผู้เรียน

3.9. 9.Social Media Type เครื่องมือสร้างชุมชนของผู้คนบนโลกออนไลน์

3.10. 10.Curation Type

3.11. 11.Video based Sharing Type

3.12. 12.LMS Type

4. 7.ประโยชน์ของสื่อการเรีัยนรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

4.1. การใช้สื่อการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ถือว่ามีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการจัดกิจกรรมกรเรียนการสอน เนื่องจากสื่อเหล่านี้นอกจากจะเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปสู้ผู้เรียนยังเป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อีกด้วย

4.2. ประโยชน์ต่างๆของเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร

4.2.1. 1.สามารถใช้สื่อการเรียนรู้เป็นสื่อเสริม หรือทบทวนการสอนปกติในชั้นเรียนได้

4.2.2. 2.ช่วยให้การเรียบนการสอนมีประสิทธิภาพเพราะถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางมัลติมีเดีย และสื่อประสม ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพกราฟฟิค ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์และเสียง รวมถึงการเชื่อมโยงแบบ Hyperlink อีกทั้งยังสนับสนุนการเรียนรู้เป็นอย่างดี

4.3. สื่อที่ออกแบบตามหลักการออกแบบสื่อการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และทฤษฎีการเรียนรู้ สามารถสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ได้ และผู้เรียนยังสนุกไปกับการเรียนตามแนวคิดของการเรียนรู้ในปัจจุบันที่ว่า "Learning is Fun" อีกด้วย

5. 1.ทฤษฎี ความหมาย ความสำคัญ ทางนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

5.1. ความหมายของนวัตกรรม

5.1.1. นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาใช้บังเกิดผลเพิ่มพูนประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้

5.2. ความสำคัญของนวัตกรรม

5.2.1. นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัฒน์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

5.3. ทฤษฎี

5.3.1. 1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา

5.3.1.1. 1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้

5.3.1.2. 1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล

5.3.1.3. 1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ

5.3.2. 2. ทฤษฎีการสื่อสาร

5.3.3. 3. ทฤษฎีระบบ

5.3.4. 4. ทฤษฎีการเผยแพร่

6. 2.ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

6.1. 1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น และตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ และหลักสูตรท้องถิ่น

6.2. 2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน

6.3. 3. นวัตกรรมสื่อการสอน เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเอง การเรียนเป็นกลุ่ม และการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

6.4. 4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์

6.5. 5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษา ให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา

7. 6.แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา (Apps for Education)

7.1. (AURASMA) เป็นแอพพลิเคชัน สาหรับการสร้างสื่อแบบเสมือนจริงและโต้ตอบได้เช่น ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และภาพ 3 มิติเหมาะสาหรับการสร้างสื่อ

7.2. PingPong เป็นแอปฟรีสำหรับโทรศัพท์มือถือ มีให้ดาวน์โหลดทั้งใน iOS และ Android เป็นแอปในมือถือที่ใช้งานง่าย โดยรูปแบบการทำงานง่ายๆ คือ อาจารย์เปิดห้อง (room) ถามคำถามทิ้งไว้ ขณะที่นักศึกษาก็เข้ามาตอบคำถาม โดยคำตอบทั้งหลายก็ปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอมือถือของอาจารย์ทันที โดยอาจารย์เองก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนส่งเข้ามา คำถามก็มีการถามหลากหลาย เลือกชอยส์ ถูกผิด ส่งข้อความปลายเปิด และวาดรูป โดยเริ่มต้นการใช้งานจากที่อาจารย์จะตั้ง Room Code เพื่อใช้เป็นรหัสผ่านสำหรับห้องนั้น และเมื่อนักศึกษาเปิดเข้ามา ก็จะสามารถร่วมตอบคำถามได้

7.3. MindMeister คือ เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่สร้างแผนผังความคิดแบบออนไลน์ (Online Mind Mapping) ใช้งานได้โดยไม่ต้องลงโปรแกรมใดๆ รองรับภาษาไทย และใช้บริการได้ฟรี อีกทั้งยังใช้งานแทนการประชุมออนไลน์ ส่วนผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังนำไปโชว์ในเว็บไซต์หรือบล็อกได้อีกด้วย

7.4. ทวิตเตอร์ (อังกฤษ: Twitter) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 280 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต

8. 8.พัฒนาการและแนวโน้มของนวัตกรรม

8.1. การที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนโดยเฉพาะในเรื่องของเครื่องมื อุปกรณ์ และวิธีการสอน ทำให้ผู้สอนมีโอกาศที่จะใช้สิ่งต่างๆเหล่านั้นถ่ายทอดเนื้อหาสู่ผู้เรียนได้สะดวกมากขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้เรียนได้เห็นโลกที่กว้างขึ้น รวมถึงการนำไปสู่วิธีการสอนใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน และใช้เทคโนโลยีมากมาย

8.2. ผู้สอนเปลี่ยนแปลงการสอนแบบดั้งเดิมที่เน้นการบรรยาย มาเป็ฯผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน หรืออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ส่วนผู้เรียนก็เปลี่ยนจากการนั่งฟัง มาเป็นผู้ที่สืบค้น ค้นคว้าจากสิ่งรอบตัว ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และความรู้บนเครือข่าย internet และเครื่องมืที่อยู่รอบตัว

8.3. 1 Easy หมายถึง เทคโนโลยีนำไปใช้ ควรจะใช้ง่ายไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเข้าถึงทุกที่ทุกเวลา ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ไม่ยากหรือสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

8.4. 2.Engage หมายถึง การที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้หรือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปแบบของการใช้เคื่องมือส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนของผู้เรียน เช่น การให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยการดำเนินกิจกรรม โดยอาศัย IT เป็นตัวช่วย

8.5. 3 Effective หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นในห้องเรียนต้องส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

8.6. 4.Mobile หมายถึง การเรียนการสอน จะมีแนวโน้มไปสู่การเรียนรู้บนอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้ เช่น โทีฃรศัพท์มือถือแบบ Smart Phone หรือ Tablet

8.7. 5.Personal หมายถึง การเรียนการสอนจะถูกออกแบบและพัฒนาให้ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล

8.8. 6.Social หมายถึง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นในรูปแบบของเครือยข่ายการเรียนรู้ ผู้เรียนมีหน้าที่ในการค้นหาและเสาะหา แสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ บนเครือข่าย Internet มาเป็นความรู้ที่มีความหมายสำหรับตนเอง