นวัตกรรมการเรียนรู้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
นวัตกรรมการเรียนรู้ by Mind Map: นวัตกรรมการเรียนรู้

1. การศึกษา ศตวรรษ ที่ 21

1.1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R

1.1.1. Reading

1.1.2. Writing

1.1.3. Arithmetic

1.2. ทักษะการใช้ชีวิต

1.3. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.4. ทักษะการทำงาน

1.5. ทักษะการคิด

1.6. ทักษะพื้นฐานในการรู้หนังสือ

1.7. 4 C

1.7.1. Critical Thinking

1.7.2. Communication

1.7.3. Collaboration

1.7.4. Creativity

2. การประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 (MAGICS)

2.1. ปัจจุบันแนวโน้มของโลกมีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ให้คำนิยาม Trend โลกในปัจจุบัน โดยใช้ตัวอักษรย่อ M A G I C S หรือ MAGICS โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้เริ่มเข้ามามีบทบาทกับทั้งผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งในอนาคตอาจจะมาส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีการเรียนและการสอน โดยคำว่า MAGICS ย่อมาจากอักษรตัวหน้าของแต่ละคำต่อไปนี้

2.1.1. Mobile & Mooc

2.1.1.1. เป็นการเรียนรู้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ และเป็นรายวิชาออนไลน์ การเรียนแบบเปิด สามารถเรียนได้พร้อมกันหลายๆคน

2.1.2. Analytics

2.1.2.1. การนำ IT มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

2.1.3. Gamification

2.1.3.1. การนำแนวคิดเกี่ยวกับเกมมาใช้จูงใจให้ผู้เรียนสนใจ

2.1.4. Internet of things

2.1.4.1. อุปกรณ์ต่างๆที่ฝังชิป หรือ smart sensor ไว้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างกันโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2.1.5. Cloud for Learning

2.1.5.1. การให้บริการแบบแบ่งปันทรัพยากรข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บไว้บนเครื่องหรือ web browser

2.1.6. Social Media

2.1.6.1. สื่อสังคมออนไลน์เป็นผู้สร้างเนื้อหาด้วยข้อความ รูป เสียง ฯลฯ

3. New Media

3.1. Augmented Reality หรือ AR เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านทางอุปกรณ์ Webcam,กล้องมือถือ, Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเป็น object เช่น คน, สัตว์, สิ่งของ, สัตว์ประหลาด, ยานอวกาศ เป็นต้น แสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง และกำลังพลิกโฉมหน้าให้สื่อโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต ก้าวไปสู่ความตื่นเต้นเร้าใจแบบใหม่ของการที่มีภาพสินค้าลอยออกมานอกจอคอมพิวเตอร์ ว่ากันว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสื่อยุคใหม่ พอๆ กับเมื่อครั้งเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นในโลกก็ว่าได้ หากเปรียบสื่อต่างๆ เสมือน “กล่อง” แล้ว AR คือการเด้งออกมาสู่โลกใหม่ภายนอกกล่องที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ ในรูปแบบ Interactive Media โดยแท้จริง

3.2. Infographic มาจากคำว่า Information + graphic อินโฟกราฟิกจึงหมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศในลักษณะของข้อมูล ภายในภาพนั้นอาจประกอบด้วย สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ เป็นต้น ที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว เข้าใจง่าย รวดเร็ว และชัดเจน เปรียบเสมือนการสรุปข้อมูลลงในภาพ สื่อให้เข้าใจความหมายทั้งหมดได้

3.3. presentation types

3.3.1. การนำเสนอ ถือเป็นทักษะที่จำเป็นของคนทำงานทั้งในสังคมธุรกิจ และงานราชการ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งนำไปสู่ ความสำเร็จในหน้าที่การงาน การที่จะประสบความสำเร็จในการนำเสนอที่ดี ผู้นำเสนอจะต้องมีความเข้าใจในความหมาย ความสำคัญของการนำเสนอ ต้องเป็นผู้ที่รู้รูปแบบ ขั้นตอนของการนำเสนอ รู้ลักษณะของการนำเสนอที่ดี เสริมสร้างคุณสมบัติ ลักษณะของตัวตน รวมถึงพัฒนาทักษะที่เป็นตัวตนเป็นเอกลักษณ์ในการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

3.4. animation types

3.4.1. กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช

3.5. blog types

3.5.1. บล็อก (Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่ หรือ บันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน

3.6. encyclopedia types

3.6.1. วิกิ หรือ วิกี (wiki [ˈwɪ.kiː] หรือ [ˈwiː.kiː])คือลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่ายซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเพื่อแก้ไขด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบวิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ"นี่ยังสามารถหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งานระบบวิกิที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิกิพีเดีย วิกิจะแตกต่างจากระบบการจัดการเนื้อหาอื่น ในส่วนของการโต้ตอบซึ่งเห็นได้จากระบบของกระดานสนทนาออนไลน์หรือบล็อกจะอนุญาตให้ผู้อื่นโต้ตอบโดยการส่งข้อความต่อท้ายและไม่สามารถมีส่วนร่วมในส่วนของเนื้อหาหลักได้

3.7. social media types

3.7.1. จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

3.8. curation types

3.8.1. ลองนึกภาพของ YouTube Playlist ที่ผู้ใช้งานแต่ละคนสร้างขึ้น ซึ่งพวกเขาอาจจะไม่ได้เป็นคนสร้างคลิปวีดีโอเหล่านั้นเลย แต่เป็นการรวบรวมจากบรรดาวีดีโอที่มีอยู่ใน YouTube แล้วนำมาจัดเรียงในวิธีการของพวกเขาเอง บล็อกหลายๆ บล็อกก็ไม่ได้เป็นเจ้าของคอนเทนต์ต้นฉบับ แต่พวกเขาทำหน้าที่รวบรวมและคัดสรรว่าคอนเทนต์แบบไหนที่น่าสนใจแล้วเอามารวบรวมในบล็อกนั้นๆ เช่นเดียวกับการสร้าง Board ต่างๆ ใน Pinterst ที่ผู้ใช้งานแต่ละคนก็รวบรวมรูปที่ตัวเองชื่นชอบเอาไว้โดยจัดเป็นหมวดหมู่ต่างๆ

3.9. lms types

3.9.1. เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ LMS ¤×ÍÍÐäÃ

4. ประโยชน์ของสื่อการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

4.1. ประโยชน์สำหรับผู้เรียน 1. ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเอง ในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ 2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถ 3. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น 4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก 5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่ 6. ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 7. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน 8. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก 9. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้ 10. ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

4.2. ประโยชน์สำหรับผู้สอน 1. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น 2. ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย 3. ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่ 4. ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น 5. ลดเวลาในการสอนน้อยลง 6. สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น 7.ผู้สอนลดเวลาสอนในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง 8. ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้ 9. ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม 10. ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย

4.3. ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา 1. สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง 2. ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง 3. สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม 4. ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น 5. ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า 6. สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ

5. ทฤษฎี ความหมาย ขอบเขต แนวคิดความสำคัญทางนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

5.1. นวัตกรรม” คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์

5.1.1. นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมาย ถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

5.1.2. รูปแบบนวัตกรรม

5.1.2.1. IT

5.1.2.1.1. phone

5.1.2.1.2. com

5.1.2.2. NONIT

5.1.2.2.1. เทคนิควิธีการ

5.1.2.2.2. สื่อการเรียนรู้

5.1.2.2.3. เครื่องมือ

5.2. ปัจจุบันที่ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมีมากขึ้น จึงทำให้มีผู้คิดค้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการสอนมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดแรงจูงใจในการเรียน อีกทั้งยังประหยัดเวลาในการเรียนการสอน

5.2.1. เช่น บทเรียนคอร์สแวร์ การเรียนการสอนผ่านเว็บ อีเลิร์นนิ่ง วิดีโอสตรีมมิ่ง รวมถึง Social media for Learning คะ

5.3. ความเหมาะสมและความพร้อมของสถานศึกษาเป็นสำคัญ

5.3.1. สถานศึกษาที่มีความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์ สถานที่ งบประมาณ และบุคลากร อาจเริ่มมีการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาแล้วหลายยุค จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่การใช้กระดานดำ กระดานไวน์บอร์ด เครื่องฉายข้ามศีรษะ คอมพิวเตอร์ สื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ จนมาถึงสมาร์ทบอร์ด เป็นต้น ซึ่งในแต่ละยุคที่มีการนำสิ่งที่กล่าวไปข้างต้นมาใช้ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในยุคนั้นหรือช่วงเวลานั้นๆคะ ในทางตรงกันข้าม สถานศึกษาที่ขาดความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์ สถานที่ งบประมาณ และบุคลากร อาจมีการใช้เครื่องมือ หรือสื่อการสอนต่างๆ ช้ากว่าที่สถานศึกษาที่พร้อมแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสถานศึกษานั้น ใช้เทคโนโลยีเก่าหรือสิ่งที่ไม่ใช้นวัตกรรม

5.4. การเผยแพร่นวัตกรรม หรือ Diffusion of Innovation Model

5.4.1. Innovator หรือที่เราเรียกกันว่ากลุ่มนวัตกร กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นกลุ่มแรกๆ

5.4.2. Early Adopters คือกลุ่มคนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตนเองเมื่อเห็นคนอื่นเริ่มใช้

5.4.3. Early Majority คิดเป็นประมาณ 34% คนกลุ่มนี้มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองแต่จะระมัดระวังและใช้เหตุผลในการตัดสินใจพอสมควร

5.4.4. Late Majority คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองช้าที่สุด หรืออาจจะเรียกว่าเปลี่ยนแปลงตนเองในนาทีสุดท้าย

6. ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

6.1. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน

6.1.1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer-Assisted Instruction)

6.1.2. มัลติมีเดีย (Multimedia)

6.1.3. การประชุมทางไกล (Tele Conference)

6.1.4. วีดีทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Media/Video)

6.2. นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

6.2.1. เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน

6.3. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

6.3.1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

6.3.2. หลักสูตรบูรณาการ

6.3.3. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์

6.3.4. หลักสูตรท้องถิ่น

6.4. นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล

6.4.1. เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล

6.5. นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

6.5.1. เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการ จัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง

7. Apps for Education

7.1. ชุดโปรแกรมต่างๆของ google ที่เปิดให้สถาบันการศึกษาใช้สำหรับใช้เป็นเครื่องมือเสริม ประกอบการเรียนการสอนแบบออนไลน์แล้วแต่อาจารย์ผู้สอนจะนำไปประยุกต์ใช้

7.2. 1.google classroom การสร้างห้องเรียน ประจำวิชา 2.gmail อีเมล์ที่ใช้ในโดเมนของเราเอง คือ @bcnnakhon.ac.th 3.google drive ไดรก็บข้อมูลออนไลน์ 4.google calendar ปฏิทิน 5.google docs การทำเอกสาร 6.google sheet การทำตาราง 7.google slide การนำเสนอ 8.google plus การสนทนา 9.google group การสร้างกลุ่ม 10.google site การสร้างเว็บไซต์ 11.google form การสร้างฟอร์มแบบสอบถาม การสร้างแบบฝึกหัด ชุดข้อสอบต่างๆ 12.และอื่นอีกมาก

8. พัฒนาการและแนวโน้มของนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในอนาคต

8.1. เมื่อสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลง กระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในศตวรรษที่ 21 นั้น ทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) จะส่งผลให้การเรียนรู้ในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องเรียนแค่ในห้องเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ ต้องพัฒนาทักษะด้านการจัดการเรียนรู้ต่างๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีซึ่งมีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต โดยการปรับเปลี่ยนแนวคิด การจัดการเรียนรู้ใหม่ คือ สร้างนวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นิสิตเกิดการเรียนรู้และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองห้องเรียนกลับด้านเป็นมุมมองหนึ่งที่สามารถเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน โดยใช้สื่อนวัตกรรมต่างๆ ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21