บทที่ 4 การทบทวนวรรณกรรมและการเขียนกรอบแนวคิดวิจัย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่ 4 การทบทวนวรรณกรรมและการเขียนกรอบแนวคิดวิจัย by Mind Map: บทที่ 4 การทบทวนวรรณกรรมและการเขียนกรอบแนวคิดวิจัย

1. จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม

1.1. รวบรวมแนวความคิดในการตั้งปัญหาการวิจัย

1.2. มีความรอบรู้ในข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับ

1.3. การเตรียมกรอบทฤษฎีในการวิจัย

1.4. เป็นการประเมินความเป็นไปได้ในการวิจัย

1.5. เพื่อรวบรวมข้อมูลรายละเอียดในเรื่องวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.6. เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในการเปรียบเทียบ การวิเคราะห์และการแปลความหมายของข้อมูลกับข้อสรุปล่าสุดจากงานวิจัยที่คล้ายคลึงกัน

1.7. การทบทวนวรรณกรรมจะช่วยให้ผู้อ่านคุ้นเคยกับวิธีการศึกษาและข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

2. ขั้นตอนทบทวนวรรณกรรม

2.1. การค้นหาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1.1. รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนจะทำวิจัยทั้งหมด

2.2. การอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์

2.2.1. เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยจะต้องเลือกเรื่องที่คัดมาได้ในระยะแรกมาอ่านรายละเอียด

2.3. วิธีการเขียนผลการทบทวนวรรณกรรม

2.3.1. นำเอกสารที่ได้มาเรียบเรียงเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

3. ความหมายของกรอบแนวคิดการวิจัย

3.1. ทฤษฎี แนวความคิดหรือหลักการที่ใช้อ้างอิง หรือใช้เป็นบรรทัดฐานในการทำวิจัย

4. ประโยชน์ของการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย

4.1. ขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล

4.1.1. ชี้ให้เห็นถึงทิศทางของการวิจัย ประเภทของตัวแปร และรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

4.2. ขั้นตอนการออกแบบการวิจัย

4.2.1. เกี่ยวข้องกับตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ

4.3. ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

4.3.1. ชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลว่าควร จะวิเคราะห์แบบใด

5. ความหมาย

5.1. การศึกษาเชิงทฤษฎี หรือผลงานวิจัย หรือรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด หรือทฤษฎีในการทำวิจัยจากวารสาร หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

6. ความสำคัญ

6.1. เพื่อเลือกและกำหนดปัญหาการวิจัย การศึกษาเอกสารต่าง ๆ ทำให้เกิดแนวคิดในการเลือกปัญหาและหัวข้อการวิจัยได้ง่ายขึ้น ไม่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่ผู้อื่นเคยทำไว้แล้ว

6.2. เพื่อแสดงถึงวิวัฒนาการเกี่ยวกับความรู้ของเรื่องที่ทำการวิจัย โดยมีการกล่าวถึงทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไรกับงานวิจัย ข้อค้นพบ ข้อจำกัด และข้อบกพร่องของทฤษฎี

6.3. เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เพราะกรอบแนวคิดในการวิจัยเป็นกระบวนการที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ที่จะศึกษางาน งานวิจัยนั้น ๆ

7. หลักในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

7.1. ตรงประเด็น

7.2. ง่ายและไม่สลับซับซ้อน

7.3. สอดคล้องกับความสนใจ

8. ขั้นตอนการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

8.1. ทำความเข้าใจชื่อเรื่องการวิจัย

8.2. กำหนดประเด็นปัญหาหลัก

8.3. กำหนดตัวแปร

8.4. กำหนดข้อมูลและแหล่งข้อมูล

8.5. กำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบ

9. วิธีการการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย

9.1. แบบพรรณนาความ

9.1.1. ตัวแปรอะไรบ้างที่สำคัญ

9.1.2. ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร

9.2. แบบแผนภาพ

9.2.1. ใช้แผนภาพ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

9.3. แบบจำลอง

9.3.1. ใช้สัญลักษณ์หรือสมการ ระบุความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม

9.4. แบบผสมผสาน

9.4.1. เป็นการผสมผสานระหว่างแบบพรรณนากับแบบจำลอง การพรรณนากับแผนภาพ และแผนภาพกับแบบจำลอง