Get Started. It's Free
or sign up with your email address
vital sign by Mind Map: vital  sign

1. อาการสำคัญเเสดงถึงการมีชีวิต

2. สิ่งที่บ่งชี้ถึงสภาวะสุขภาพของบุคคล

3. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย

4. การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพสามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนเเปลง

5. blood pressure

6. ตัวย่อ BP

7. ความดันโลหิตเป๊นเเรงดันของเลือดที่กระทบกับผนังเส้นเลือดเเดง มีหน่วยเป็นมิลลิปรอท(มม.ปรอท หรือ mm.Hg)

7.1. ความดันโลหิต

8. ค่าความดันโลหิตที่วัดมี 2 อย่าง คือ1.ความดันซิสโตลิค(systoric pressure)ซึ่งเป็นความดันที่เกิดจากการหดรัดตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย 2.ความดันไดเเอสโตลิค(diastoric pressure)เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัว ค่าต่างค่าบนค่าล่างเรียกว่าความดันชีพจร(pulse pressure)

9. วิธีการวัดความดัน 1.เเจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าจะวัดความดันที่บริเวณใด 2.จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งสบาย 3.วางเครื่องวัดให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจของผู้ป่วย 4.ไล่ลมออกจากผ้าพันเเขนให้หมด 5.คลำชีพจรที่ข้อพับเเขนด้านใน 6.พันผ้าพันรอบเเขนเหนือข้อพับขึ้นไป1นิ้วไม่เเน่นหรือหลวมเกินไป 7.เหน็บปลายผ้าให้เรียบร้อย 8.ใส่หูฟังเเละวางแป้นของหูฟังตรงตำเเหน่งชีพจรที่คลำได้ลูกยางด้วยอุ้งมือให้ลมเข้าไปในผ้าพันเเขน ดันให้ปรอทในเครื่องวัดสูงกว่าค่าปกติของความดันซิสโตลิค20-30 มิลลิเมตรปรอท 10.ค่อยๆคลายเกลียวลูกยางปล่อยลมออกจากผ้าพันเเขน 11.ต่อยๆปล่อยลมช้าๆ สังเกตเสียงที่ดังเป็นระยะที่เรียกว่าเสียงโครอทคอฟ จนถึงระยะหนึ่งเสียงจะเริ่มเป็นฟู่ๆหรือหายไป ให้นับค่าความดันปรอทที่เสียงเริ่มเปลี่ยน หรือเสียงหยุดหายไปเลยคือค่าความดันไดเเอสโตลิค 12.เมื่อวัดเสร็จปล่อยลมออกจากผ้าพันเเขนให้หมด 13.ทำความสะอาดหูฟังด้วยสำลีชุบเเอล์กอฮอล์70%

10. body temperature

11. ตัวย่อ BT

12. อุณหภูมิร่างกาย

12.1. อุณหภูมิร่างกายปกติอยู่ที่37 องศา ไม่เกิน37.5 ถ้าเกิน คือ มีไข้

13. อุปรณ์ในการวัดอุณหภูมิ 1.เทอร์โมมิเตอร์เเบบธรรมดา 2.เทอร์โมมิเตอร์เเบบดิจิตอล

14. ่้่่ วิธีการวัดอุณหภูมิร่างกาย 1.ประเมินสภาพผู้ป่วยเเละเเจ้งให้ทราบว่าจะวัดว่าจะวัดอุณหภูมิร่างกายบอกวัตถุประสงค์เเละเเจ้งรายละเอียดการวัด 2.เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์เเละจัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย -3.ก่อนจะวัดให้สลัดปรอทให้ลงไปในกระเปราะ 4.กรณีวัดทางปากนำเทอโมมิเตอร์วางไว้ใต้ลิ้นผู้ป่วยเเล้วให้ผู้ป่วยอมไว้นานอย่างน้อย2นาที ค่าที่ได้จากปรอทเป็นค่าอุณหภูมิร่างกาย 5.กรณีวัดทางรักเเร้สอดไว้บริเวณกึ่งกลางรักเเร้ ถ้ารักเเร้เปียกเหงื่อให้เช็ดให้เเห้ง เเละหนีบไว้นานอย่างน้อย3-5นาที ค่าที่ได้ทางรักเเร้จะต้องบวกเพิ่ม0.5 องศา ถึงจะได้เป็นค่าอุณหภูมิร่างกาย

15. Heart rate / pulse

16. ตัวย่อ HR/PR

17. ชีพจร

18. ตำเเหน่งในการคลำชีพจร บริเวณส่วนผิวของร่างกายที่มีหลอดเลือดเเดงผ่านเหนือหรือข้างๆกระดูก โดยมากเรียกชื่อชีพจรตามตำเเหน่ง ของหลอดเลือดที่จับได้

19. วิธีการวัดชีพจร 1.ประเมินสภาพผู้ป่วยเเละเเจ้งให้ทราบว่าจะวัดชีพจรให้บอกวัตถุประสงค์เเละรายละเอียดการวัด 2.เตรียมความพร้อมจัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย หากมีกิจกรรมก่อนการวัดให้พักอย่างน้อย15-30นาที 3.ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางคลำที่หลอดเลือด โดยปกติจุดที่ใช้คลำชีพจรอยู่ที่บริเวณข้อมือด้านหน้าที่ร่องด้านนิ้วหัวเเม่มือหรือคลำชีพจรอยู่ที่บริเวณข้อศอกด้านนิ้วก้อย เป็นจุดที่สะดวกเพราะเป็นที่ที่จับได้ง่ายเเละไม่รบกวนผู้ป่วย 4.การนับชีพจรให้นับจังหวะการเต้นของหลอดเลือดที่กระทบนิ้วในเวลา1นาที จะได้ค่าชีพจร

20. respiratory rate

21. ตัวย่อ RR

22. อัตราการหายใจ

23. เป็นการเเสดงการสูดอ๊อกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านจมูก หลอดลมเเละปอด ที่เรียกว่าการหายใจเข้าเเละเป็นการเเสดงการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายโดยผ่านปอดหลอดลมเเละจมูกที่เรียกว่าการหายใจออก

24. การนับการหายใจ 1.ควรนับต่อจากการคลำชีพจรโดยไม่ต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบ เพื่อผู้ป่วยจะได้ไม่ตั้งใจหายใจ 2.จับข้อมือผู้ป่วยในลักษณะเหมือนการคลำชีพจร 3.นับการหายใจเข้าเเละออก โดยดูจากการขยายเเละหดตัวของทรวงอก 1รอบเป็นการหายใจ1ครั้ง บับเต็ม1นาที 4.บันทึกจำนวนครั้งต่อนาที พร้อมทั้งบันทึกความผิดปกติของการหายใจที่สังเกตพบ