พัฒนาการของวิชาชีพครู

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
พัฒนาการของวิชาชีพครู by Mind Map: พัฒนาการของวิชาชีพครู

1. 1.ครูยุคการศึกษาไทยโบราณ (ก่อน พ.ศ. 1730-2413)

1.1. สมัยอาณาจักรน่านเจ้า

1.1.1. ครูได้อุบัติขึ้นมาพร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของชนชาติไทย หรืออาจกล่าวได้ว่าครูไทยเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรน่านเจ้า

1.1.2. ในสมัยนั้นไม่มีระบบโรงเรียน บุคคลที่ทำหน้าที่เป็น ครู คือ ผู้รอบรู้เรื่องขนบประเพณีและวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ได้แก่ หัวหน้าของชุมชน หรือผู้นำครอบครัว

1.1.3. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูเพศชายล้วน ครูจำแนกออกเป็น 3 ระดับ

1.1.3.1. 1.ตุ๊หลวง คือ เจ้าอาวาส(เป็นผู้มีวิชาสูง มีความรู้ในวิชาหนังสือ) ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่

1.1.3.2. 2.ตุ๊บาลก๋า คือ พระภิกษุที่มีพรรษาแกกว่า 5 พรรษาขึ้นไป ทำหน้าที่สอนหนังสือให้แก่พระภิกษุและสามเณรทั่วไป

1.1.3.3. 3. ตุ๊หนาน คือ พระภิกษุที่อ่อนพรรษา ทำหน้าที่สอนโยมวัด (ศิษย์วัด) หมายถึง เด็กที่พ่อแม่นำไปฝากเป็นศิษย์

1.2. สมัยสุโขทัย

1.2.1. มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นแล้วและมีนักวิชาการอยู่เป็นจำนวนมาก

1.2.2. มีตัวอักษรไทยที่เรียกว่า ลายสือไทย ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการศึกษาเล่าเรียน อบรม ถ่ายทอดความรู้ สำหรับจัดการศึกษาในสมัยนั้นคงจัดร่วมกันระหว่างรัฐกับวัด

1.2.3. วัดเป็นศูนย์กลางแห่งประชาคม โดยประชาคมเป็นได้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในตัวเสร็จ

1.3. สมัยกรุงศรีอยุธยา

1.3.1. ในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นอย่างมากในทุกๆ ด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และการศึกษา

1.3.2. ครูในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ พระภิกษุ ทำหน้าที่สำคัญในการให้การศึกษาแก่ยาวชนเนื่องจากวัดเป็นโรงเรียนสาธารณะประเภทเดียวเท่านั้น

1.3.3. นอกเหนือจากพระภิกษุแล้ว ผู้ที่เป็นครู ประกอบด้วย ปราชญ์ราชบัณฑิต ช่างวิชาชีพต่างๆ และบิดามารดา

1.3.4. ในสมัยนี้มีการจัดตั้งโรงเรียนมิชชันนารีซึ่งเป็นโรงเรียนที่ชาวตะวันตกได้เข้ามาสร้างไว้เพื่อเผยแผ่ศาสนา และขณะเดียวกันทำการสอนวิชาสามัญไปด้วย ดังนั้น บุคคลที่มาเป็นครูในสมัยนี้มีเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่ง คือ มิชชันนารี นับได้ว่าครูชาวต่างประเทศเกิดขึ้นแล้วในไทย

1.4. สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

1.4.1. ถือได้ว่าเป็นการสิ้นการศึกษาไทยโบราณ

1.4.2. การจัดการศึกษาไม่แตกต่างไปจากกรุงศรีอยุธยา สำหรับในส่วนของครูขึ้นอยู่กับสำนักการศึกษา อาจเป็นพระภิกษุ ปราชญ์ราชบัรฑิต ช่างวิชาชีพต่างๆ บิดามารดา และพวกมิชชันนารีสำหรับมิชชันนารี

2. 2. ครูยุคการศึกษาไทยในสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ.2414-2474)

3. 3. ครูยุคการศึกษาไทยในสมัยไทยในสมัยการปกครองระบอบประชาธิไตย (พ.ศ.2475-2487)