เคสกรณีศึกษา นางสาวสุดสวย(นามสมมุติ) อายุ29 ปี เพศหญิง

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เคสกรณีศึกษา นางสาวสุดสวย(นามสมมุติ) อายุ29 ปี เพศหญิง by Mind Map: เคสกรณีศึกษา นางสาวสุดสวย(นามสมมุติ) อายุ29 ปี เพศหญิง

1. ลักษณะอาการทางคลีนิค

1.1. - ช่างระแวงสงสัยในความไม่ซื่อสัตย์ของผู้อื่น - มักกลัวว่าผู้อื่นจะเป็นศัตรูหรือมาทำอันตราย - มักไม่เต็มใจให้ข้อมูล

2. 1.ความผิดปกติทางจิต

2.1. อาการหลงผิด(delusion)

2.1.1. มีอาการหลงผิดชนิด Persecutory delusion คือคิดว่ามีคนจะมาข่มขื่น

2.2. Hallucination

2.2.1. ชนิด Auditory Hallucination ได้แก่ ได้ยินเสียงคนมาจีบและบอกรัก

2.2.2. ชนิด Visual Hallucination ได้แก่ เห็นบิดาที่เสียชีวิตไปแล้วมาด่า และ เห็นเงาผู้ชายมานอนด้วย

2.3. illusion

2.3.1. ชนิด Optical illusion ได้แก่ เห็นพระลอยออกมาจากหนังสือสวดมนต์

2.3.2. ชนิด Visual illusion ได้แก่ ได้ยินเสียงปั้นจั่นทุบตึกคิดว่าเป็นเสียงคนใช้ค้อนกำลังทุบคน

2.4. Disorganized Speech

2.4.1. คือ มีอาการCircumstantiality ได้แก่พูดอ้อมค้อม พูดเรื่อยเปื่อย พูดไม่ตรงจุดรายละเอียด ต้องทวนคำถาม

2.5. Grossly disorganize behavior

2.5.1. คือ เดินเรื่อยเปื่อย(fugue) และก้าวร้าว

2.6. Poor hygiene

2.6.1. คือไม่อาบน้ำ ไม่ยอมนอน

3. 2.ปัจจัยสาเหตุที่ทำให้นางสาวสุดสวยเกิดปัญหาทางจิต

3.1. แนวคิดปัจจัยทางด้านชีว-จิต-สังคม(Bio-phycho-social factors)

3.1.1. การเจ็บป่วยทางจิต (Psychosis)

3.1.1.1. บิดาใช้ความรุนแรงในครอบครัว

3.1.1.2. สูญเสียบิดา

3.1.1.3. บิดามารดาแยกทางกัน

3.1.1.4. บิดามารดาเข้มงวดกับการใช้ชีวิต

3.1.1.5. มารดาต่อว่า"เป็นลูกตัวซวย"

3.1.1.6. ป้าใช้งานหนัก ไม่ยอมให้ไปทำกิจกรรมที่โรงเรียน

3.1.1.7. ตาบุญธรรมพยายามข่มขืนน้องและลุงพยายามข่มขืนตนเอง

3.1.1.8. เพื่อนที่โรงเรียนแกล้ง

3.1.1.9. น้องสาวทิ้งไปอยู่กับสามีและต่อว่า ด่าเมื่อตนเองไปหา

3.1.1.10. ไม่มีเงินเรียนจนต้องออกมาทำงาน

3.1.2. ด้านชีวภาพ

3.1.2.1. กรรมพันธุ์ บิดาป่วยทางจิต

3.1.2.2. เคยใช้สารเสพติด (ยาบ้า) ตั้งแต่อายุ 21ปี

3.1.3. ด้านสังคม

3.1.3.1. ครอบครัว

3.1.3.1.1. บิดามารดามีความเข้มงวดในเรื่องการเรียน

3.1.3.1.2. บิดามารดาใช้ความรุนแรงในครอบครัว

3.1.3.1.3. มารดาไม่ยอมรับลูกตนเอง"ลูกเป็นตัวซวย"

3.1.3.2. เศรษฐกิจ

3.1.3.2.1. มีปัญหาเรื่องการเงิน ผู้ป่วยได้เงิน 7000 บาทต่อเดือน จากมารดาไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย

3.1.3.2.2. ระหว่างการรักษาต้องหยุดยาเนื่องจากไม่มีเงินจ่ายค่ารักษา

3.2. แนวคิด4P

3.2.1. ปัจจัยเสี่ยงชักนำ

3.2.1.1. พันธุกรรม บิดาป่วยทางจิตมีอาการคล้ายผู้ป่วย

3.2.1.2. สารในสมอง คือสารโดปามีนผิดปกติ

3.2.1.3. เผชิญกับความเครียดและปัญหาต่างๆไว้คนเดียว ใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

3.2.1.4. การขาดยาเนื่องจากไม่มีค่ารักษา

3.2.2. ปัจจัยกระตุ้น

3.2.2.1. ใชสารเสพติด ได้แก่ยาบ้า ผสมน้ำดื่มประมาณ 2ปี ขณะทำงานเสิร์ฟอาหาร เมื่ออายุ 21-22 ปี

3.2.2.2. การสูญเสียบิดาด้วยโรคมะเร็งตับ ผู้ป่วยเสียใจมาก

3.2.2.3. ภาวะครอบครัวแตกแยก บิดาใช้ความรุนแรง เมื่ออายุ9 ปี บิดาใช้มีดไล่แทงมารดา

3.2.2.4. ผู้ป่วยโดนไล่ออกจากงานที่ทำ

3.2.3. ปัจจัยที่ทำให้อาการคงอยู่ (Perpetuating factors)

3.2.3.1. เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัว เนื่องจากบิดาเสียชีวิต มารดากล่าวหาว่าตนเป็นลูกตัวซวย ทะเลาะกับน้องสาวน้องสาวทวงบุญคุณ ทำให้ไม่ไว้ใจใครและแยกตัวอยู่คนเดียว

3.2.3.2. โดนไล่ออกจากงาน

3.2.4. ปัจจัยปกป้อง (Protective factors)

3.2.4.1. เวลาเครียด ผู้ป่วยจะเลือกอ่านหนังสือหรือดูหนัง

3.2.4.2. ผู้ป่วยยอมรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์

3.2.4.3. ผู้ป่วยยอมรับอาการป่วยของตนเอง

4. 4.อาการเจ็บป่วยทางจิตสอดคล้องกับเกณฑ์วินิจฉัยโรคของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน

4.1. 1 . อาการเฉพาะ

4.1.1. 1.1 . อาการหลงผิด (Delusions)

4.1.1.1. กรณีศึกษามีอาการ : ไม่อาบน้ำ

4.1.1.2. หลงผิดคิดว่าคนอื่นคิดปองร้ายตน หลงผิดคิดว่าตนเป็นผู้วิเศษ ตนเป็นผู้เหนือธรรมชาติ

4.1.1.2.1. กรณีศึกษามีอาการ : หลงผิดคิดว่าจะมีคนมาปล้ำ ระแวงเพื่อนบ้านจะมาด่าและทำร้าย

4.1.2. 1.2 . อาการประสาทหลอน (Hallucinations)

4.1.2.1. ได้ยินเสียงที่ผู้อื่นไม่ได้ยิน เห็นภาพที่ผู้อื่นไม่เห็น ได้กลิ่นที่ผู้อื่นไม่ได้กลิ่น

4.1.2.1.1. กรณีศึกษามีอาการ : หูแว่ว ได้ยินเสียงคนต่อว่า เห็นภาพพระลอยออกมาจากหนังสือ ได้ยินเสียงผู้ชายมาจีบ ได้ยินเสียงปั่นจั่นทุบตึกและคิดว่าเป็นเสียงใช้ค้อนกำลังทุบคนและเห็นภาพนั้นด้วย มองเห็นภาพพ่อที่เสียชีวิตไปแล้วมาต่อว่า

4.1.3. 1.3 อาการผิดปกติด้านการพูด (Disorganized speech)

4.1.3.1. พูดคนเดียวเป็นเรื่องเป็นราวที่ผู้อื่นฟังไม่เข้าใจ เนื้อหาที่พูดจับใจความไม่ได้ เนื้อหาที่พูดไม่สัมพันธ์กัน ผู้ป่วยสร้างคำขึ้นมา

4.1.3.1.1. กรณีศึกษามีอาการ : พูดเรื่อยเปื่อย พูดเร็วพูดไม่หยุด นำหลายเรื่องมาพูดปนกัน พูดอ้อมค้อม

4.2. -ผู้ป่วยเริ่มรักษาอาการป่วยทางจิต2546 ที่รพ.ศรีธัญญาและโรงพยาบาลธัญญบุรี แต่ขาดยาเนื่องจากไม่มีค่ารักษา

4.3. 2. การสังคมและหน้าที่การงานเสื่อม

4.3.1. บกพร่องในหน้าที่การงานในระยะเกิดอาการ จะพบในเรื่องรับผิดชอบในหน้าที่การงาน สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน อยู่คนเดียว แยกตัว ไม่สนใจตนเองด้านสุขอนามัย

4.4. 3 . ระยะเวลาที่มีอาการ (Duration)

4.4.1. ความผิดปกติจะเกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน

4.4.1.1. กรณีศึกษามีอาการ : กรณีศึกษามีอาการมาเป็นระยะเวลา 8 ปี

4.5. เกณฑ์การวินิจฉัยบุคลิกภาพผิดปกติตาม DSM-5

4.5.1. การวินิจฉัยกลุ่ม A (cluster A) ลักษณะเด่นของกลุ่มนี้คือพฤติกรรมและความคิดแปลก (odd or eccen tric) ชนิด Paranoid (paranoid personalit disoder) ไม่ไว้วางใจและหวาดระแวง

5. 5.ชนิดของพฤติกรรมผิดปกติทางจิต (พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางจิต)

5.1. ความผิดปกติด้านการรับรู้ (Disorder of perception)

5.1.1. อาการประสาทหลอน (Hallucination)

5.1.1.1. Visual Hallucination

5.1.1.1.1. เห็นพ่อที่ตายมายืนชี้หน้า

5.1.1.1.2. เห็นเงาลางๆผู้ชายมานอนด้วย

5.1.1.2. Visual illusion

5.1.1.2.1. >เสียงปั้นจั่นทุบตึกแล้วคิดว่าเป็นเสียงใช้ค้อนกำลังทุบคนและเห็นภาพด้วย

5.1.1.2.2. พระลอยมาจากหนังสือสวดมนต์

5.1.1.3. Auditory Hallucination

5.1.1.3.1. หูแว่ว ได้ยินเสียงพระ

5.1.1.3.2. ได้ยินเสียงผู้ชายมาบอกรัก

5.2. ความผิดปกติด้านความคิด (Disturbance of content of thought )

5.2.1. Persecutory delusion

5.2.1.1. หลงผิดว่ามีผู้ชายมาปล้ำ

5.3. การรับรู้ด้านการพูด (Disturbances of speech)

5.3.1. Disoryanization speech

5.3.1.1. พูดเรื่อยเปื่อย พูดอ้อมค้อม

5.4. การรับรู้ด้านอารมณ์ (Disturbances in affact)

5.4.1. Negative symtom

5.4.1.1. อยู่เฉยๆ พฤติกรรมยังไม่ออก

6. 3.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

6.1. 1.ทฤษฎีชีวภาพทางการแพทย์ (Biomedical)

6.1.1. 1.พันธุกรรม

6.1.1.1. เชื่อว่า พันธุกรรมเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยทางจิตเวช จากการศึกษากรณีศึกษาพบว่าบิดาของผู้ป่วยเป็นโรคทางจิต รักษามานาน 10 ปี มีอาการคล้ายกับผู้ป่วย โดยผู้ป่วยมีอาการพูดเรื่อยเปื่อย พูดเร็ว เสียงดัง อารมณ์หงุดหงิด ประสาทหลอน ทำให้กรณีศึกษามีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคทางจิตได้

6.1.2. 2.ชีวเคมีในสมอง (สารสื่อประสาท)

6.1.2.1. โดพามีน (Dopamine)

6.1.2.1.1. ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ไม่อยู่ในอำนาจของจิตใจ การตัดสินใจการใช้เหตุผล การรู้จักตนเอง โดยระดับของโดพามีนที่มากเกินไปมีความสัมพันธ์กับการ เจ็บป่วยเป็นโรคจิตเภทและอาการคลุ้มคลั่ง ส่วนระดับของพามีนท่ีน้อยเกินไปมีความสัมพันธ์กับโรค ซึมเศร้า

6.1.2.2. ผู้ป่วยเคยได้ใช้สารเสพติด ดื่มสุราและสูบบุหรี่ เป็นระยะเวลา 2 ปี

6.1.2.2.1. สารเสพติดยาบ้า เป็นยาเสพติดที่มีส่วนประกอบหลัก คือ สารสังเคราะห์กลุ่มแอมเฟตามีน ที่มีผลต่อระบบประสาท อาจทำให้เกิดอาการแปรปรวนทางจิตได้

6.1.2.2.2. ดื่มสุรา แอลกอฮอล์ที่อยู่ในสุราสามารถทำลายเซลล์สมองให้เสื่อมลงจนเกิดความผิดปกติทางจิตได้

6.1.2.2.3. สูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารนิโคตินซึ่งจะกระตุ้นประสาทสมองหลั่งโดปามีนมากขึ้น

6.1.3. แนวทางการรักษา

6.1.3.1. ให้ได้รับยาตามแผนการรักษา

6.1.3.2. แนะนำให้ได้นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ

6.1.3.3. ให้ผู้ป่วยลดหรืองดการใช้สารเสพติด

6.2. 2.ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล Sullivan (ซุลลิแวน)

6.2.1. แนวคิดหลักของซุลลิแวนกล่าวว่าสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของผู้ป่วยมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยนับตั้งแต่อดีต เช่น ผู้ป่วยมีประสบการณ์ที่ทำให้สะเทือนจิตใจ จากคนในครอบครัว

6.2.1.1. ตอน9ขวบ บิดาใช้มีดไล่แทงมารดา

6.2.1.2. ลุงของผู้ป่วยจะข่มขืนผู้ป่วย

6.2.1.3. มารดาไม่ยอมรับผู้ป่วยบอกว่าผู้ป่วยเป็นตัวซวย

6.2.1.4. การเลี้ยงดูเข้มงวดเกินไปของบิดามารดาในวัยเด็ก

6.2.1.5. มีปัญหากับเพื่อนถูกแกล้งจึงต้องย้ายโรงเรียน

6.2.1.6. ถูกไล่ออกจากงาน

6.2.1.7. บิดาเสียชีวิต

6.2.2. การพยาบาล

6.2.2.1. สร้างสัมพันธภาพ สร้างความรู้สึกให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย โดยพยาบาลต้องมีท่าทีอบอุ่น และมีความสม่ำเสมอกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ

6.2.2.2. บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงระยะเวลาที่จะศึกษาและระยะที่จะยุติสัมพันธภาพกับผู้ป่วยล่วงหน้า

6.2.2.3. มองผู้ป่วยในแง่ดี ยอมรับโดยปราศจากเงื่อนไข และเข้าถึงความรู้สึกตามการรับรู้ของผู้ป่วย

6.2.2.4. ส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมและฝึกทักษะทางสังคมมากขึ้น เพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

6.2.2.5. พูดคุยกับผู้ป่วยด้วยอารมณ์ขัน เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด

6.2.2.6. แนะนำให้บุคคลรอบข้างมีส่วนร่วมในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วย

6.2.2.7. บอกถึงความคืบหน้าอาการของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและพยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง

7. 6.ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

7.1. 1.กระบวนการคิดแปรปรวนเนื่องจากมีภาวะหลงผิด

7.1.1. ข้อมูลสนับสนุน

7.1.2. วัตถุประสงค์

7.1.2.1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ความเป็นจริงและมีการแปรปรวนลดลง

7.1.3. เกณฑ์การประเมิน

7.1.3.1. ผู้ป่วยมีความคิดที่อยู่ในความเป็นจริงมากขึ้น

7.1.4. กิจกรรมการพยาบาล

7.1.4.1. ให้ผู้ป่วยได้พยายามทำความเข้าใจความคิดความรู้สึกที่มีต่อตนเอง และถ่ายโอนความรู้สึกทั้งด้านบวกและด้านลบ

7.1.4.1.1. 1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยเพื่อนให้เกิดความไว้วางใจ 2.สังเกตอาการ ลักษณะสีหน้าท่าทางของผู้ป่วยเพื่อวางแผนการพยาบาลได้เหมาะสม 3.ประเมินความเครียด ความกลัว และความวิตกกังวลที่เกิดจากความหลงผิด เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกและรับฟังอย่างตั้งใจ 4.ให้ยาต้านอาการทางจิตตามแผนการรักษาของแพทย์ตามเวลา 5.บันทึกอาการข้างเคียงที่เกิดจากยาเพื่อนำมาประกอบ 6.เฝ้าระวังการทำร้ายตนเองและผู้อื่นจากอาการหลงผิดโดยสังจากท่าทางของผู้ป่วย 7.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์เพื่อลดความหมกมุ่นจากอาการหลงผิดและเสริมแรงทางบวก เมื่อผู้ป่วยแยกอาการหลงผิดกับความเป็นจริงได้

7.1.4.2. S : ผู้ป่วยบอกว่า “เคยใช้สารเสพติด 2 ปี ขณะทำงานเป็นพนักงานเสริฟ” S : ผู้ป่วยบอกว่า “เคยดื่มสุราและสูบบุหรี่ แต่เลิกมาแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน” S : ผู้ป่วยบอกว่า “กลัวข้างบ้านมาทำร้าย คิดว่าจะมีคนมาปล้ำและเห็นผู้ชายมานอนด้วยทุกคืน” S : ผู้ป่วยบอกว่า “ได้ยินเสียงผู้ชายมาจีบและบอกรัก” S : ผู้ป่วยบอกว่า “ได้ยินเสียงค้อนทุบคนจากการได้ยินเสียงปั้นจั่นทุบตึก” O : ผู้ป่วยมีอาการพูดอ้อมค้อม พูดเรื่อยเปื่อย พูดไม่ตรงจุดกับรายละเอียด ต้องทวนคำถาม

7.2. 2.เสี่ยงต่อการทําร้ายผู้อื่นเนื่องจากมีอาการประสาทหลอน

7.2.1. ข้อสนับสนุน

7.2.1.1. S:ผู้ป่วยบอกว่า "ที่ลาออกจากงานเพราะผู้จัดการจุกจิก" S:ผู้ป่วยบอกว่า "เวลาเผชิญความเครียดจะเก็บปัญหาไว้คนเดียว ไม่ไว้ใจใคร" S:ผู้ป่วยบอกว่า "บิดาทําร้ายร่างกายมารดาและ ผู้ป่วยโดนบิดาตี 2 ครั้ง" S:ผู้ป่วยบอกว่า "ใครก็ไม่น่าไว้ใจ ชอบทวงบุญคุณ โดนเพื่อนโกงบ่อยๆ คนข้างบ้านก็ชอบเอารถมาขวางประตู แอบดูเราด้วย" O:ผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว เป็นคนเก็บตัวไม่ค่อยพูด O:ผู้ป่วยมีสีหน้าเรียบเฉย มีสีหน้าเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ O:ผู้ป่วยได้ยินเสียงปั้นจั่นทุบตึกเป็นเสียงคนใช้ค้อนกำลังทุบคน

7.2.2. วัตถุประสงค์

7.2.2.1. เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ทำร้ายผู้อื่น

7.2.3. เกณฑ์การประเมิน

7.2.3.1. 1.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมการทำร้ายผู้อื่น เช่น ไม่มีอาการหงุดหงิด ก้าวร้าว เป็นต้น 2.ผู้ป่วยพูดคุยโต้ตอบรู้เรื่อง 3.ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า 4.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมป่วย กัดฟัน กำหมัด และเกร็งตัว

7.2.4. กิจกรรมการพยาบาล

7.2.5. 1.ประเมินการรับรู้ของผู้ป่วยว่าผู้ป่วยมีระดับการรับรู้เพียงใด มีอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นหรือไม่ และเกิดขึ้นตอนใดและมีการตอบสนองอย่างไรเพื่อกำหนดแนวทางการช่วยเหลือได้ถูกต้องและเหมาะสม 2. แสดงการยอมรับอาการประสาทหลอนของผู้ป่วย เช่น รับฟังและไม่โต้เเย้งและบอกความเป็นจริงให้ผู้ป่วยได้รู้เพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกคิดและตัดสินใจเอง 3. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มกับผู้อื่น กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้มีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร การแนะนำตัวให้ผู้อื่นรู้จัก เช่น กิจกรรมนันทนาการ เพื่อให้ผู้ป่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการประสาทหลอน 4. หากพบว่าผู้ป่วยปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสม ให้การชื่นชมผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมความมั่นใจให้ผู้ป่วยได้ภูมิใจในตัวเองและมั่นใจในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น 5. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา cholopromazine(100 mg) 1 tab hs. ตามแผนการรักษา เพื่อช่วยลดอาการหูแว่ว ประสาทหลอนและลดความหงุดหงิด 6.เฝ้าระวังพฤติกรรมการทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่น

7.3. 3.มีความบกพร่องด้านการดูแลตัวเองเนื่องจากไม่สนใจตนเอง

7.3.1. ข้อมูลสนับสนุน

7.3.1.1. S : กรณีศึกษาบอกว่า “ ไม่ได้อาบน้ำมา 3 วัน “

7.3.2. วัตถุประสงค์

7.3.2.1. 1.มีความสามารถดูแลตัวเองมากขึ้น ผู้ป่วยจะอาบน้ำวันละ2ครั้ง หวีผมและเปลี่ยนเสื้อผ้า หลังการอาบน้ำทุกครั้ง แปรงฟันหลังอาหารและก่อนนอน

7.3.3. เกณฑ์การประเมิน

7.3.4. กิจกรรมการพยาบาล

7.3.4.1. 1.ผู้ป่วยดูแลตนเองมากขึ้นเกี่ยวกับสุขอนามัย 2.ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง 3.ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบมากขึ้น

7.3.4.2. 1.ประเมินความสามารถและการับรู้ในการดูแลตัวเองเพื่อวางแผนการพยาบาล 2.ส่งเสริมการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วย โดยกระตุ้นการอาบน้ำ การแปรงฟัน การแต่งกาย ที่สะอาดเรียบร้อย เพื่อดูแลสุขอนามัย 3.กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำสิ่งที่ได้รับมอบหมาย เช่น การล้างชาม การทำความสะอาดพื้นที่ส่วนตัว ตามความสามารถที่มีอยู่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง 4.จัดภาระหน้าที่เพิ่มความรับผิดชอบให้ผู้ป่วยมากขึ้นตลอดระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น 5.ให้คำชมเชยผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยใส่ใจใสเรื่องการดูแลตนเอง

7.4. 1.สร้างสัมพันธภาพกับผู่ป่วยทำให้เกิดความไว้วางใจ โดยความไว้วางใจของผู้ป่วยมีผลต่อพยาบาลจะนำไปสู่ความร่วมมือในการรักษาและการให้การพยาบาลต่อไป 2.ประเมินชนิดและความรุนแรงเกี่ยวกับอาการหลงผิดของผู้ป่วยเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม 3.ประเมินความเครียด ความกลัวและความวิตกกังวลของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีความเครียดความวิตกกังวลจากอาการหลงผิด ให้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก เกี่ยวกับอาการหลงผิดและรับฟังด้วยความตั้งใจแต่ถ้าผู้ป่วยรู้สึกกังวลมากให้ไปอยู่เป็นเพื่อน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกกลัวและรู้สึกถูกทอดทิ้ง 4.ให้ความรู้กับผู้ป่วยเกียวกับอาการหลงผิดตามความเป็นจริง โดยการสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างสุภาพเป็นมิตร เปิดเผยตรงไปตรงมา กระชับเข้าใจง่าย ไม่ตำหนิ หรือแสดงความคิดเห็นกับการหลงผิดของผู้ป่วย 5.เฝ้าระวังการทำร้ายตนเองและผู้อื่นที่เกิดจากอาการหลงผิด โดยสังเกตจากท่าทางของผู้ป่วย เช่น การมีท่าทีไม่เป็นมิตร มีพฤติกรรมก้าวร้าวกับสิ่งแวดล้อมที่สงบปลอดภัย ลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ โดยการเตือนด้วยวาจา พิจารณาการจำกัดพฤติกรรมตามความเหมาะสม 6.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่นการออกกำลังกาย การช่วยเหลืองานผู้อื่น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ หรือลดพฤติกรรมความหมกมุ่นจากอาการหลงผิด และเสริมสร้างแรงทางบวก เมื่อผู้ป่วยสามารถแยกอาการหลงผิด หรือความจริงได้ 7.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น เพื่อลดอาการหมกมุ่นกับอาการหลงผิด โดยแนะนำให้ผู้ป่วยรู้จักผู้อื่นพร้อมกับเสริมแรงทางบวก เมื่อผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ แต่ต้องเฝ้าระวังในช่วงแรกที่ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดและก้าวร้าว ควบคุมตัวเองได้น้อย เพราะเสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่น เมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการหลงผิดให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมเพื่อบำบัด 8.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาทางจิตตามแผนการรักษาได้แก่ PZ(100),Glycerine (20)

7.5. 4.มีพฤติกรรมแยกตัวเนื่องจากมีความคิดหมกมุ่นและหลงผิด

7.5.1. ข้อมูลสนับสนุน

7.5.1.1. S:ผู้ป่วยบอกว่า "จะมีผู้ชายมาปล้ำ" S:ผู้ป่วยบอกว่า "ไม่ไว้ใจใครหรอก ชอบทวงบุญคุณ" O:ผู้ป่วยเป็นคนเก็บตัว ไม่ค่อยพูดปรึกษาใคร

7.5.2. วัตถุประสงค์

7.5.2.1. เพื่อลดพฤติกรรมการแยกตัว

7.5.3. เกณฑ์การประเมิน

7.5.3.1. ระยะสั้น ผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธภาพกับพยาบาลได้ ระยะยาว มีอาการหลงผิดลดลงหรือหายจากอาการหลงผิด ผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันพภาพกับผู้ป่วยอื่นได้ และผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมแยกตัว

7.5.4. กิจกรรมการพยาบาล

7.6. 5.ความรู้สึกคุณค่าในตนเองลดลงเนื่องจาดมีอาการหลงผิด

7.6.1. ข้อมูลสนับสนุน

7.6.1.1. S: ผู้ป่วยบอกว่า"แต่ก่อนสวยนะ ชอบแต่งตัว แต่ตอนนี้ขี้เหร่" S: ผู้ป่วยบอกว่า "ไม่อยากกินบา เพราะกินแล้วทำให้อ้วน" S:ผู้ป่วยบอกว่า" ตอนแรกเห็นเงาลางๆมีผู้ชายจะมาปล้ำ แต่ตอนนี้ได้ยินเสียงผู้ชายมาบอกรัก " O:แพทย์วินิจฉัยเป็น "schizophenia paranoid type" O: ผู้ป่วยอาศัยอยู่คนเดียว บิดาเสียชีวิต มารดาอยู่ฮ่องกง

7.6.2. วัตถุประสงค์

7.6.2.1. เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น

7.6.3. เกณฑ์การประเมิน

7.6.3.1. 1.ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เช่น ไม่ทำร้ายตนเอง พูดเกี่ยวกับตนเองในทางที่ดี 2.ผู้ป่วยมีสีหน้าเป็นมิตร ให้ความร่วมมือในการรักษา ยิ้มแย้มแจ่มใส

7.6.4. กิจกรรมการพยาบาล

7.6.4.1. 1.พูดคุยแนะนำตัวกับผู้ป่วยเพื่อสร้างสัมพันธภาพเชิงบำบัดและให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ(one to one relationship) 2.ประเมินความคิด ความรู้สึก พฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น สีหน้า คำพูด ท่าทาง เพื่อประเมินความรู้สึกคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย 3.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกและรับฟังอย่างสนใจ ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร 4.ให้แรงเสริมทางบวกกับผู้ป่วย เช่น คำชมเชย ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมเหมาะสม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมนั้นๆอย่างต่อเนื่อง 5.กระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยอื่นและเข้ากลุ่มทำกิจกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น 6.จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน