Kingdom Animalia

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
Kingdom Animalia by Mind Map: Kingdom Animalia

1. PHYLUM NEMATOD

1.1. ลักษณะสำคัญ

1.1.1. ลำตัวกลมยาวหัวท้ายเเหลม ไม่มีรยางค์

1.1.2. มีเปลือกเป็นคิวติเคิลหนาปกคลุม

1.1.3. สมมาตรครึ่งซีก

1.1.4. มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีทั้งปากเเละทวารหนัก

1.1.5. ร่างกายมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น

1.1.6. มีช่องลำตัวเทียม ( pseudocoelom )อยู่ระหว่างมีโซเดิร์มเเละเอนโดเดิร์มซึ่งมีของเหลวบรรจุอยู่เต็ม

1.1.7. ระบบประสาท เป็นวงเเหวนรอบคอ ต่อกับเส้นประสาทที่ยาวตลอดลำตัว

1.1.8. ไม่มีระบบไหลเวียนเลือดเเละระบบหายใจ

1.1.9. การสืบพันธุ์เเบบอาศัยเพศ มีตัวผู้ตัวเมียคนละตัวกัน ไข่มีสารไคตินหุ้มจึงทนทานต่อสภาพเเวดล้อมได้ดี

1.2. พยาธิตัวกลมต่างๆ เช่น พยาธิไส้เดือน ไส้เดือนฝอย และหนอนในน้ำส้มสายชู

2. PHYLUM ANNILIDA

2.1. ลักษณะสำคัญ

2.1.1. มีลำตัวกลมยาวเป็นปล้องๆ มองเห็นภายนอกเป็นวงเเละภายในมีเนื้อเยื่อกั้นระหว่างปล้องเรียกว่า เซปตา ( septa )

2.1.2. เเต่ละปล้องมีอวัยวะ คือ เดือย ( saeta ) 4 คู่ เนฟริเดีย ( อวัยวะขับถ่าย )1 คู่ เส้นประสาท 3 คู่ ทางเดินอาหารเเละช่องลำตัวส่วนหนึ่ง ยกเว้นปล้อง

2.1.3. ที่มีหัวที่ซึ่งมีอวัยวะสำคัญ ( สมอง คอหอย หัวใจ )

2.1.4. ร่างกายมีสมมาตรครึ่งซีก

2.1.5. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น

2.1.6. มีช่องลำตัวเเท้จริง ( coelom ) ซึ่งเป็นช่องลำตัวในเนื้อเยื่อมีโซเดิร์ม

2.1.7. ระบบประสาทประกอบด้วย ปมสมองที่หัว 1 คู่ และ เส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง

2.2. ไส้เดือนดิน แม่เพรียง ทากดูดเลือด และปลิงน้ำจืด

3. PHYLUM ARTHROPODA

3.1. ลักษณะสำคัญ

3.1.1. มีลำตัวเป็นปล้องและมีรยางค์เป็นข้อๆต่อกัน (jointed appendage) ยื่นออกมาจากแต่ละปล้องของลำตัว

3.1.2. มีจำนวนชนิดมากที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ประมาณว่ามีถึงกว่า 9 แสนชนิดที่มนุษย์เราได้ค้นพบ

3.1.3. สามารถอาศัยอยู่ได้ในแทบทุกสภาพภูมิประเทศบนโลก นับว่าประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตบนโลกเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการที่เราพบสัตว์เหล่านี้ได้แทบทุกหนทุกแห่ง ทุกฤดูกาล และพบเป็นจำนวนมาก

3.1.4. มีโครงสร้างของร่างกายที่แข็งแรง

3.1.5. มีระบบประสาทที่เจริญดี มีอวัยวะรับความรู้สึกหลายชนิด

3.1.6. มีการแบ่งสัดส่วนของร่างกายเป็นข้อปล้องชัดเจน 3ส่วน คือ หัว(Head) , อก(Thorax) และ ท้อง(Abdomen)

3.1.7. ระบบหมุนเวียนเป็นระบบเปิด ประกอบไปด้วยหัวใจ เลือด และแอ่งเลือด (Hemocoel)

3.2. กุ้ง กั้ง ปู แมลง เห็บ ไร ตะขาบ กิ้งกือ แมงมุม แมงดาทะเล

4. PHYLUM MOLLUSCA

4.1. ลักษณะสำคัญ

4.1.1. ร่างกายจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่

4.1.2. 1. head and foot

4.1.3. 2. visceral mass

4.1.4. 3. mantle, palium เกิด mantle cavity มีเหงือกภายใน

4.1.5. สัตว์ในไฟลัมนี้มีลำตัวอ่อนนุ่ม บางชนิดอาจมีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวเป็น CaCO3

4.1.6. แยกเพศผู้-เมีย

4.1.7. ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล มีอาศัยอยู่บนบกบ้าง

4.1.8. อวัยวะในการแลกเปลี่ยนแก๊สประกอบด้วย

4.1.9. 1. เหงือก (gill) อยู่ภายในช่องแมนเติล พบในมอลลัสทั่วไป

4.1.10. 2. ผิวตัว ในทากทะเล (sea slug, nudibranch) ผิวตัวจะเปลี่ยนรูปไปเป็นแขนงอยู่บนลำตัว เรียกว่า เซอราตา (cerata) หรือบางชนิดมีอยู่รอบทวารหนัก (anal gill)

4.1.11. 3. ช่องแมนเติลหรือปอด หอยฝาเดียวที่ขึ้นมาอยู่บนบกจะมีช่องแมนเติลที่มีผนังยื่นลงมากั้นเป็นห้อง มีของเหลวหล่อเลี้ยงในช่องนี้ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้

4.2. สัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม ได้แก่ หมึกและหอยชนิดต่างๆ

5. PHYLUM ECHINODERMATA

5.1. ลักษณะสำคัญ

5.1.1. สมมาตรร่างกาย ตัวอ่อนเป็นเเบบครึ่งซีก ตัวเต็มวัยมีเมเเทมอร์โฟซิสกลายเป็นสมมาตรเเบบรัศมี

5.1.2. ลำตัวเเบ่งเป็น 5 ส่วนหรือ ทวีคูณของ 5 ยื่นออกมาจากเเผ่นกลมที่เป็นศูนย์กลาง

5.1.3. มีโครงร่างเเข็งภายใน มีเเผ่นหินปูนเล็กๆ ที่ยึดติดกันด้วยกล้ามเนื้อหรือผิวหนังที่ปกคลุมอยู่บางชนิด

5.1.4. มีเส้นประสาทเป็นวงเเหวนรอบปาก เเละเเยกเเขนงไปตามเเขน

5.1.5. การเคลื่อนไหวใช้ระบบท่อน้ำ ( water vascula system ) ภายในร่างกาย

5.1.6. การสืบพันธุ์ แบ่งเป็นเเบบอาศัยเพศโดยมีการปฎิสนธิภายนอก และ เเบบไม่อาศัยเพศบางชนิด เช่น การขาดของเเขนใดเเขนหนึ่ง ส่วนที่ขาดก็จะเจริญไปเป็นตัวเต็มอีกทีหนึ่ง

5.2. สัตว์ที่ผิวหนังมีหนามขุรขระ ได้แก่ ดาวทะเล เม่นทะเล เหรียญทะเล ปลิงทะเล ดาวเปราะ

6. PHYLUM PORIFERA

6.1. ลักษณะสำคัญ

6.1.1. เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด และ ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง (Parazoa)

6.1.1.1. - ตัวเต็มวัยเกาะกับที่ จึงไม่มี nervous system และ sense organ

6.1.1.2. - มีทั้งอาศัยในน้ำจืดและน้ำเค็ม

6.1.1.3. - มีสีสดใส (แดง ส้ม เหลือง ม่วง) เกิดจากรงควัตถุที่อยู่ในเซลล์ผิว

6.1.1.4. - ฟองน้ำที่มีรูปร่างซับซ้อนน้อยที่สุดจะมีสมมาตรรัศมี แต่ฟองน้ำส่วนใหญ่ไม่มีสมมาตร

6.1.1.5. - จะสร้าง Gemmule (แตกหน่อ)เวลาสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม

6.1.1.6. - มีโครงร่างแข็งค้ำจุน (Spicule ที่เป็นหินหรือแก้ว , Spongin ที่เป็นเส้นใยโปรตีน)

6.2. สัตว์ที่ลำตัวเป็นรูพรุน ได้แก่ ฟองน้ำ

7. PHYLUM COELENTERATA

7.1. ลักษณะสำคัญ

7.1.1. ร่างกายประกอบด้วย เนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ Epidermis เเละ Gastrodermis

7.1.1.1. - ระหว่างชั้นเนื้อเยื่อมีสารคล้ายวุ้นเรียกว่า Mesoglea เเทรกอยู่

7.1.1.2. - ลำตัวกลวงลักษณะเป็นถุงตันมีช่องเปิดช่องเดียวเรียกว่า gastrovascula cavity ทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหารอาหารเข้าเเละกากอาหารออกทางช่องเปิดเดียวกัน

7.1.1.3. - มีหนวดอยู่รอบปากเรียกว่า เทนทาเคิล ( tentacle )ใช้สำหรับจับเหยื่อ

7.1.1.4. - ที่หนวดมีเซลล์สำหรับต่อยเรียกว่า cnidocyte เเละมีเข็มสำหรับต่อยเรียกว่า nematocyst

7.1.1.5. - มีวงจรชีพสลับ

7.1.1.6. - สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ

7.1.1.7. - มี 2 เพศในตัวเดียวกัน

7.2. แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา และไฮดรา

8. PHYLUM CHORDATA

8.1. ลักษณะสำคัญ

8.1.1. มีโนโตคอร์ด (Notochord) ซึ่งเป็นแกนค้ำจุนหรือพยุงกายเกิดขึ้นในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต หรือตลอดชีวิต ในพวกสัตว์ชั้นสูงมีกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งแทนโนโตคอร์ด

8.1.2. มีไขสันหลังเป็นหลอดยาวกลวงอยู่ทางด้านหลัง (Dorsal hollow nerve tube) เหลือทางเดินอาหารซึ่งแตกต่างจากสัตว์พวกไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีระบบประสาทอยู่ทางด้านท้อง(Ventral nerve cord) ใต้ทางเดินอาหารและเป็นเส้นตัน

8.1.3. มีช่องเหงือก (Gill slit) ในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต หรือตลอดชีวิตในพวหสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีช่องเหงือกตอนเป็นตัวอ่อนเท่านั้น เมื่อโตขึ้นช่องเหงือกจะปิดส่วนปลามีช่องเหงือกตลอดชีวิต

8.1.4. มีหางเป็นกล้ามเนื้อ (Muscular post anal tail)

9. PHYLUM PLATYHELMINTHES

9.1. ลักษณะสำคัญ

9.1.1. มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry)

9.1.2. ไม่มีระบบหมุนเวียนโลหิต ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีหัวใจ สารอาหารไปเลี้ยงเซลล์โดยการแพร่จากทางเดินอาหารเข้าสู่เซลล์โดยตรง

9.1.3. มีระบบทางเดินอาหารเป็นแบบไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก และในพวกพยาธิตัวตืดไม่มีทางเดินอาหาร

9.1.4. มีระบบประสาทอยู่ทางด้านหน้าและแตกแขนงออกไปทางด้านข้างของลำตัว

9.1.5. มีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน สามารถผสมพันธุ์ได้ภายในตัวเอง (Self fertilization) และผสมพันธุ์ข้ามตัว (Cross fretilization)

9.1.6. ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animal) เนื่องจากเนื้อเยื่อชั้นกลางมีเนื้อเยื่อหยุ่นๆบรรจุอยู่เต็มไปหมด

9.2. พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด และพลานาเรีย