แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ by Mind Map: แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๙)

1.1. การพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกแทนการนำเข้า และยกระดับรายได้ของประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการมีงานทำ และแก้ไขปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากร

1.2. ให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ ๗.๐ ต่อปี โดยมูลค่าผลผลิตด้านอุตสาหกรรม เพิ่มเฉลี่ยร้อยละ ๘.๐ ต่อปี และด้านเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๕.๑ ต่อปี 

1.3. ให้สาขาไฟฟ้าและประปาเพิ่มร้อยละ ๑๕ ต่อปี การก่อสร้างเพิ่มร้อยละ ๖.๕ ต่อปี

1.4. ลดอัตราการเพิ่มของประชากรจากร้อยละ ๓.๒ ต่อปี เหลือร้อยละ ๒.๕ ต่อปี โดยสนับสนุนการวางแผนครอบครัวแบบ สมัครใจ ซึ่งจะมีส่วนทำให้รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ ๔.๕ ต่อปี

1.5. ยกระดับการมีงานทำ โดยเพิ่มการจ้างงานและแก้ไขปัญหาการว่างงาน ฯลฯ

2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509)

2.1. รัฐบาลจะถือเอาการเจริญเติบโต และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศและให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถรองรับกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการค้า โดยรัฐบาลได้เห็นความสำคัญของสหกรณ์ในการเป็นเครื่องมือของรัฐ ในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

2.2. วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ

2.2.1. -การยกมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้มีระดับสูงขึ้นกว่าเดิม

2.2.2. -ใช้ทรัพยากรเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

2.2.3. -ขยายการผลิตและเพิ่มพูนรายได้ประชาชาติให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

2.3. นโยบายการพัฒนาด้านการสหกรณ์ (ในระยะแรก ปี 2504-2506) 

2.3.1. 1. ดำเนินการปรับปรุงและจัดตั้งสหกรณ์บางประเภท

2.3.2. 2. ส่งเสริมให้สหกรณ์สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระยะเวลาพอสมควร

2.3.3. 3.การดำเนินงานส่งเสริมสหกรณ์ จะต้องประสานกับการดำเนินงานพัฒนาการเศรษฐกิจตามโครงการต่างๆ เช่น โครงการด้านการเกษตร 

2.3.4. 4. ทำการทดลองจัดตั้งสหกรณ์รูปใหม่ๆ ในขอบเขตจำกัด

3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๙)

3.1. เป้าหมายสำคัญๆ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๕

3.1.1. ให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ ๖.๖ ต่อปี โดยภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๕ และ ๗.๖ ต่อปีตามลำดับ ส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๒๒.๓ ต่อปี 

3.1.2.   ให้ดุลการค้าขาดดุลเฉลี่ยไม่เกินปีละ ๗๘,๔๐๐ ล้านบาท และขาดดุลบัญชี เดินสะพัดเฉลี่ยไม่เกินปีละ ๕๓,๐๐๐ ล้านบาท

3.1.3. ลดอัตราการเพิ่มของประชากรไม่ให้เกิน ร้อยละ ๑.๕ ในปี ๒๕๒๙ และลดอัตรา การไม่รู้หนังสือให้เหลือร้อยละ ๑๐.๕ ของประชากร 

3.1.4. ขยายการศึกษาทุกระดับเพื่อรับนักเรียน เพิ่มคือ ระดับก่อนประถมศึกษาให้ได้ ร้อยละ ๓๕.๔ ของประชากรในกลุ่มอายุ มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอน ปลาย และอุดมศึกษาร้อยละ ๔๘.๓, ๓๐.๙ และ ๔.๘ ของประชากรในกลุ่มอายุ

3.1.5. ลดปัญหาอาชญากรรมความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย และเพศ ให้ต่ำกว่า ๗๕ ราย ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน

3.1.6. แก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง

3.2. การเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนาประเทศ เป็น แนวใหม่

3.2.1. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๕ เป็นแผนนโยบาย ที่ยึดพื้นที่เป็นหลัก ในการพัฒนา และมีลักษณะ ทั้งในเชิงรับและเชิงรุก 

3.2.2. เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเงินการคลังของประเทศเป็นพิเศษ พร้อมกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจแต่ละด้าน และยอมให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่สูงนัก แต่ต้องอยู่ในระดับที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน 

3.2.3. เน้นความสมดุลในการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการกระจายรายได้ และการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค การกระจาย การถือครองทรัพย์สิน และการสร้างความเป็นธรรมในสังคม

3.2.4. เน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน ในชนบทล้าหลัง เพื่อให้คนในชนบท อยู่ในฐานะพออยู่-พอกิน มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ สามารถช่วยเหลือตนเองได้

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7  (พ.ศ. 2535-2539)

4.1. สาระสำคัญ

4.1.1. เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน  และสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจควบคู่กับสังคม

4.1.2. เน้นรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ

4.1.3. เน้นการกระจายรายได้และพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท

4.1.4. เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คุณภาพชีวิต  และสิ่งแวดล้อม

4.1.5. เน้นพัฒนากฎหมาย  รัฐวิสาหกิจ  และระบบราชการ  ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

4.2. ผลที่ได้รับ

4.2.1. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปตามเป้าหมาย  รายได้ประชาชาติและรายได้เฉลี่ยของประชากรเพิ่มสูงขึ้น

4.2.2. การแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ยังไม่ได้ผล  ช่องว่าในรายได้ระหว่างคนเมืองกับคนในชนบทยิ่งห่างกันมากขึ้น

4.2.3. ความเสื่อโทรมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น   การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ และปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมขยายตัวอย่างรวดเร็ว

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9  (พ.ศ. 2545-2549)

5.1. สาระสำคัญ

5.1.1. ได้อัญเชิญ  “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”  ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ  โดยยึดทางสายกลาง  ความพอประมาณ  และความมีเหตุผล  เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤติและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

5.1.2. ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้มีประสิทธิภาพ  ทั้งภาคการเงินและการคลัง  ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้

5.1.3. วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง  ยั่งยืน  สามารถพึ่งตนเองได้  และรู้เท่ากันโลก  โดยพัฒนาคุณภาพคน  ปฏิรูปการศึกษา  ปฏิรูปสุขภาพ  สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  มีการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5.1.4. แก้ไขปัญหาความยากจน  โดยเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง  ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา  การประกอบอาชีพ  การมีรายได้  และยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

6.1. สาระสำคัญ

6.1.1. เร่งสร้างความสงบสุขให้สังคมโดยร่วมมือกันสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขส่งเสริมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหลักปฏิบัติร่วมกันทั้งสังคม

6.1.2. มุ่งพัฒนาคนให้มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงและสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในโลกได้อย่างต่อเนื่อง

6.1.3. เพิ่มชนชั้นกลางให้กระจายทุกพื้นที่ของประเทศเพราะชนชั้นกลางเป็นกำลังสำคัญในการประสานประโยชน์

6.1.4. พัฒนาภาคเกษตรให้คงอยู่กับสังคมไทยและผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับทุกคน เร่งพัฒนาความสามารถของเกษตรกรในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพในปริมาณมากพอที่จะเลี้ยงดูคนในประเทศ

6.1.5. ปรับปรุงการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตเกิดความโปร่งใส