ภาษาคอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ภาษาคอมพิวเตอร์ by Mind Map: ภาษาคอมพิวเตอร์

1. 6. Python

1.1. ความหมาย

1.1.1. เป็นภาษาระดับสูงซึ่งสร้างโดยคีโด ฟัน โรสซึม โดยเริ่มในปีพ.ศ. 2553

1.2. การนำไปใช้

1.2.1. ใช้สื่อสารกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยกันเองให้สามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ ดังนั้นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับสูงจึงมีความใกล้เคียงภาษามนุษย์ (Natural language) มากกว่าภาษาของคอมพิวเตอร์ (Machine language) นอกจากนั้นยังทำให้เราสามารถเขียนโปรแกรมโดยไม่ต้องสนใจในรายละเอียดการทำงานของคอมพิวเตอร์ในระดับล่าง เช่น หน่วยประมวลผล ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ และอื่น ๆ ทำให้มีความสะดวกในการเขียนโปรแกรมมากขึ้น มาถึงตอนนี้ผู้เขียนอยากจะขอย้ำกับผู้อ่านอีกครั้งว่าภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับสูงถูกออกแบบมาสำหรับมนุษย์ให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจชุดคำสั่งที่เราเขียนขึ้นมาได้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราต้องมี Compiler หรือ Interpreter คอยทำหน้าที่ในการแปลงชุดคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องอีกขั้นตอนหนึ่ง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ

1.3. ตัวอย่าง

1.3.1. n = int(input ('Input an integer: ')) # Invalid indent if (n > 0): print ('x is positive number') print ('Show number from 0 to %d' % (n - 1)) # Valid indent else: print ('x isn\'t positive number') # Valid indent for i in range(n): print(i)

2. 7. C

2.1. ความหมาย

2.1.1. เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริสชี่ (Dennis Ritchie) เมื่อประมาณต้นปีค.ศ. 1970 เพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการยูนิกส์ แทนภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็ว แต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในการโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง ต่อมาถูกนำไปใช้ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ จนถูกใช้เป็นภาษาพื้นฐานสำหรับภาษาอื่น เช่น ภาษาจาวา Java ภาษาพีเอชพี (PHP) ภาษาซีชาร์ป C# ภาษาซีพลัสพลัส C++ ภาษาเพิร์ล (Perl) ภาษาไพทอล (Python) หรือภาษารูบี้ (Ruby) ภาษาซีเป็นภาษาเขียนโปรแกรมระบบเชิงคำสั่ง (หรือเชิงกระบวนงาน) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้แปลด้วยตัวแปลโปรแกรมแบบการเชื่อมโยงที่ตรงไปตรงมา สามารถเข้าถึงหน่วยความจำในระดับล่าง ภาษา C แม้จะเป็นภาษาระดับสูง แต่ก็สามารถใช้เป็นภาษาเครื่องได้เป็นอย่างดี

2.2. การนำไปใช้

2.2.1. การเขียนโปรแกรมระบบเป็นการใช้งานหลักของภาษาซี ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ระบบฝังตัว เนื่องจากลักษณะเฉพาะอันเป็นที่ต้องการถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน อย่างเช่น ความสามารถในเคลื่อนย้ายได้กับประสิทธิภาพของรหัสต้นฉบับ ความสามารถในการเข้าถึงที่อยู่ของฮาร์ดแวร์ที่ระบุ ความสามารถเรื่อง type punning เพื่อให้เข้ากับความต้องการการเข้าถึงข้อมูลที่กำหนดไว้จากภายนอก และความต้องการทรัพยากรระบบขณะทำงานต่ำ ภาษาซีสามารถใช้เขียนโปรแกรมเว็บไซต์โดยใช้ซีจีไอเป็น "เกตเวย์" เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างเว็บแอปพลิเคชัน เซิร์ฟเวอร์ และเบราว์เซอร์ ปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เลือกภาษาซีแทนที่จะเป็นภาษาอินเทอร์พรีตเตอร์ คือความเร็ว เสถียรภาพ และความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมของการดำเนินงาน เนื่องจากเป็นธรรมชาติของภาษาคอมไพเลอร์

2.3. ตัวอย่าง

2.3.1. #include <stdio.h> void main() { int num; printf("Enter score : "); scanf("%d", &num); switch (num / 10) { case 10: case 9: case 8: printf("Grade A\n"); break; case 7: printf("Grade B\n"); break; case 6: printf("Grade C\n"); break; case 5: printf("Grade D\n"); break; default: printf("Grade F\n"); break; } }

3. 8. SQL

3.1. ความหมาย

3.1.1. เป็นภาษาสอบถามที่นิยมมากที่สุดของการจัดการฐานข้อมูล สำหรับสร้าง แก้ไขและเรียกใช้ฐานข้อมูล โดยใช้มาตรฐานของแอนซี และ ไอเอสโอ ปัจจุบันการใช้งานใช้ในหลายจุดประสงค์มากกว่าใช้สำหรับจัดการโปรแกรมเชิงวัตถุที่เป็นจุดประสงค์แรกของการสร้างภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง

3.2. การนำไปใช้

3.2.1. ใช้กับเว็บไซต์ เพื่อแสดงผลข้อมูลจากฐานข้อมูล DBMS ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Access, SQL Server, MySQL, Oracle ใช้ร่วมกับระบบฐานข้อมูล RDBMS ไม่ว่าจะเป็น MS SQL Server, IBM DB2, Oracle, MySQL และ Microsoft Access ใช้ในการกำหนดในระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Tools) ที่เปิดช่องให้เราสามารถทำการใส่ หรือ ปรับปรุง SQL ได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นหากเราสามารถใช้งาน SQL ได้ก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจในการทำงานกับระบบฐานข้อมูลมากยิ่งขึ้น อ่านความหมายของสิ่งที่ใช้งานได้อย่างลึกซึ่งขึ้นอีกด้วย

3.3. ตัวอย่าง

3.3.1. CREATE DATABASE database_name [ ON [ < filespec > [ ,…n ] ] [ , < filegroup > [ ,…n ] ] ] [ LOG ON { < filespec > [ ,…n ] } ] [ COLLATE collation_name ] [ FOR LOAD | FOR ATTACH ] ตัวอย่าง CREATE DATABASE Employees ON ( NAME = Empl_dat, FILENAME = ‘d:\sample data dir\’, SIZE = 10, MAXSIZE = 50, FILEGROWTH = 5 )

4. 9. RUBY

4.1. ความหมาย

4.1.1. เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษาเอดา มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับภาษาสมอลทอล์ค และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพทอน, ภาษาลิสป์, ภาษา Dylan และภาษา CLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร์

4.2. การนำไปใช้

4.2.1. ภาษา Ruby นั้นเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ดังนั้นมันสามารถใช้เขียนโปรแกรมได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น การเขียนแอพพลิเคชันแบบ Console การเขียนแอพพลิเคชันแบบ GUI หรือแม้กระทั่งการนำไปพัฒนาเว็บไซต์พร้อมกับเฟรมเวิร์คอย่าง Ruby On Rails โดยการใช้ร่วมกับเว็บเซิฟเวอร์อย่าง Mongrel ที่เขียนขึ้นโดยภาษา Ruby เอง แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับในบทนี้ ที่คุณจะได้เรียนนั้นจะเป็นการเขียนแอพพลิเคชันแบบ Console ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้โครงสร้างและเนื้อหาที่จำเป็นของภาษา Ruby ในพื้นฐานซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสำหรับการเริ่มต้นกับภาษาใหม่

4.3. ตัวอย่าง

4.3.1. # Literals true 10 16.5 'Australia' :name # Assign literal to variables liked = true apple = 10 money = 16.5 country = 'Australia' symbol = :name

5. 10. Visual Basic

5.1. ความหมาย

5.1.1. เป็นโปรแกรมสำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่กำลังเป็นที่ นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน โปรแกรม Visual Basic เป็นโปรแกรมที่ได้เปลี่ยนรูปแบบการเขียนโปรแกรมใหม่ โดยมีชุดคำสั่งมาสนับสนุนการทำงาน มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า คอนโทรล(Controls) ไว้สำหรับช่วยในการออกแบบโปรแกรม โดยเน้นการออกแบบหน้าจอแบบ

5.2. การนำไปใช้

5.2.1. เป็นเครื่องมือที่ใช้สร้างโปรแกรมต่างๆ เช่น – โปรแกรมที่รันบนระบบปฏิบัติการ windows เช่น โปรแกรมคำนวณเลข – โปรแกรมฐานข้อมูล เช่น Microsoft access , Microsoft SQL server – คอมโพแน้นต์ทางด้าน Active X จุดเด่น 1.ง่ายต่อการเรียนรู้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ทั้งในเรื่องไวยากรณ์ของภาษาเองและเครื่องมือการใช้งาน 2. สามารถสร้างไฟล์ .EXE ที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง 3. ออกแบบการติดต่อกับผู้ใช้(ฟอร์ม) ได้ทันที 4,พัฒนา Application ได้หลายแบบ เช่น โปรแกรมด้านธุรกิจ ด้านอินเตอร์เน็ต และ Web Application

5.3. ตัวอย่าง

5.3.1. ' Literals assign values to variable Dim number As Integer = 10 Dim name As String = "Marcus" ' Literals that pass as function argument Console.WriteLine("Hello Word!") ' Compare two literals with If statement If 10 = 2 + 8 Then ' numbers are equal End If

6. 1. Java

6.1. ความหมาย

6.1.1. เป็นภาษาหนึ่งที่มีความโด่งดังมากในยุคของการเริ่มเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ แต่จำนวนนักพัฒนายังกระจุกเป็นบางกลุ่ม และมีจำนวนไม่มากซะเท่าไหร่ ที่จะใช้โปรแกรมภาษา Java ในการประกอบอาชีพจริง ๆ เพราะการใช้งานโปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษา Java มักจะถูกพัฒนาด้วยบริษัทใหญ่ ๆ งานเฉพาะทาง และงานเกี่ยวกับ Java ก็ค่อนข้างจะน้อย (เมื่อ 5-8 ปีก่อน) ด้วยเหตุผลนี้ภาษา Java ถึงมีจำนวนนักพัฒนาน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาอื่น ๆ แต่ปัจจุบันภาษา Java ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น และความต้องการโปรแกรมเมอร์ภาษา Java ก็สูงขึ้นมากเช่นเดียวกัน

6.2. การนำไปใช้

6.2.1. แอพพลิเคชันของภาษา Java นั้นโดยปกติแล้วจะคอมไพล์เป็น bytecode ที่สามารถรันได้ใน Java virtual machine (JVM) ขึ้นกับสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์นั้นๆ และใน ปี 2016 ภาษา Java เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมและใช้มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะการใช้พัฒนาเว็บแอพพลิเคชัน

6.3. ตัวอย่าง

6.3.1. public class Production { public static void main (String[] args) { int product = 2000; int year = 0; while (product <= 5000) { product = product + 365; year++; System.out.println("ปีที่ = " + year); System.out.println("สินค้าส่งออก = " + product); } System.out.println("ใช้เวลาทั้งหมด = " + year + " ปี "); } }. }

7. 2.Perl

7.1. ความหมาย

7.1.1. Perl (เพิร์ล) จัดอยู่ในกลุ่ม ภาษาโปรแกรม ชั้นสูง ทำงานแบบ interpreted และเป็นไดนามิก ในที่นี้เราจะหมายถึง Perl5 และ Perl6 ซึ่ง Perl ย่อมาจาก “Practical Extraction and Reporting Language” เป็นภาษาที่นำเอา feature มาจากภาษาโปรแกรมอื่น เช่น C, Shell script, awk และ sed ที่มีความสามารถในการจัดการข้อมูลจำพวก text ได้อย่างดี โดย Perl5 ได้รับความนิยมสูงสุดตั้งแต่ปี 1990 ด้วยภาษา CGI scripting

7.2. การนำไปใช้

7.2.1. Slogan คือ “There’s more than one way to do it” และ “Easy things should be easy and hard things should be possible” 1. Features โครงสร้างของ Perl จะคล้ายๆกับ C ที่สามารถใช้ ตัวแปล, การกำหนดค่าต่าง, block condition, รวมถึง expressions ต่างๆและ Perl ยังคงมีความสามารถของ shell programming ด้วย Perl มีการใช้สัญลักษณ์ ในการเรียกใช้ตัวแปรไม่เหมือนภาษาอื่น เช่น array ใช้ @ มักถูกใช้ในงาน programming แบบ shell ที่ต้องการความสามารถที่สูง เช่น sorting และ การเรียก feature พิเศษจำพวก AWK และ sed เพื่อทำงานแปลง text ด้วยเงื่อนไขที่ซับซ้อน 2. Design ออกแบบให้ตอบโจทย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมด้าน computer เช่น ลดค่า hardware, เพิ่มความพยายาม และ พัฒนาเทคนิคการ compile ด้วยเหตุนี้ Perl จึงมี feature มากมายที่ช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่กิน CPU และ memory และยังรวมถึงมีระบบจัดการ memory ให้เองอีกด้วย 3. Applications Perl ถูกนำมาใช้งานในหลายๆ application ที่รวมอยู่ใน ชุด module มาตราฐาน โดยเฉพาะเรื่องการเขียน CGI script หลายๆ project ขนาดใหญ่สร้างขึ้นจาก Perl เช่น cPanel, Slash มากไปกว่านั้นยังเป็นตัวเลือกสำคัญสหรับการติดตั้ง LAMP เพื่อทำ website แทนพวก PHP หรือ Python

7.3. ตัวอย่าง

7.3.1. #!/usr/bin/perl print "Content-type: text/html\n\n"; print "<h1><font color=red>CGI is easy</font></h1><br>\n "; print "<h2><font color=blue>CGI is easy</font></h2><br>\n "; print "<h3><font color=green>CGI is easy</font></h3> "

8. 3. C#

8.1. ความหมาย

8.1.1. เป็นภาษาโปรแกรมแบบหลายโมเดล ที่ใช้ระบบชนิดข้อมูลแบบรัดกุม และสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง การเขียนโปรแกรมเชิงประกาศ การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียนโปรแกรมเชิงกระบวนการ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ และการเขียนโปรแกรมเชิงส่วนประกอบ พัฒนาเริ่มแรกโดยบริษัทไมโครซอฟท์เพื่อทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก

8.2. การนำไปใช้

8.2.1. พัฒนาโปรแกรมสามารถทำได้ดีเมื่อใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการฝั่ง Windows รองรับ XML documentation สามารถลดความซับซ้อนในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ ในส่วนของโครงสร้างภาษาลงได้เป็นอย่างดี

8.3. ตัวอย่าง

8.3.1. using System; namespace Hello { class Program { static void Main(string[] args) { Console.WriteLine("Hello World!"); } } }

9. 4. PHP

9.1. ความหมาย

9.1.1. ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้

9.2. การนำไปใช้

9.2.1. สามารถที่จะทำงานเกี่ยวกับ Dynamic Web ได้ทุกรูปแบบ เหมือนกับ CGI หรือ ASP ไม่ว่าจะเป็นการดูแลจัดการระบบฐานข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บเพจ การรับ – ส่ง Cookies เป็นต้น

9.3. ตัวอย่าง

9.3.1. <?php // This is my first program echo "Hello PHP language.\n"; /* This is multiple lines comment in PHP language using C style */ echo "Welcome to Marcuscode.com\n"; ?>

10. 5. C++

10.1. ความหมาย

10.1.1. เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ

10.2. การนำไปใช้

10.2.1. ภาษา C++ ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมระบบปฏิบัติการ UNIX ด้วยภาษา C++ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การเขียนโปรแกรมเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (reusability) ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น ข้อดีของภาษา C++ 1.ภาษา C++ จะมีการทำงานที่ค่อนข้างเร็วมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่น และยังสามาถดำเนินการกับ Hardware ได้ โดยที่โปรแกรมภาษาบางโปรแกรมอาจจะไม่สนับสนุนคุณลักษณะนี้ 2.ภาษา C++ มีความเป็น Object Oriented Programming และยังเป็น Structure Programming ซึ่งเหมาะที่จะใช้ ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น และนอกจากนั้นถ้าหากเราจะเรียนเรื่อง Data Structure หรือ ทางด้าน อัลกอริทึ่ม ในต่างประเทศจะนิยมใช้ C++ ในการสอน รวมถึงการเรียนรู้ถึงระบบการทำงานของระบบปฏิบัติการ ตำราส่วนใหญ่ก็จะใช้ C++ ในการสอน ซึ่งถ้าเราสามารถอ่าน Source code C++ รู้เรื่องก็จะทำให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ง่ายขึ้น

10.3. ตัวอย่าง

10.3.1. #include <iostream> using namespace std; int main() { const int MAX_ARRAY = 10; int array_data[MAX_ARRAY]; int i; for(i=0;i<MAX_ARRAY;i++) { cout << "Enter Data Index (" << i << ") : "; cin >> array_data[i]; } cout << endl << endl; system("pause"); return 0; }