1. ดอกไม้ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะเรียงตัวจากชั้นที่อยู่นอกสุดเข้าสู่ส่วนใน คือ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียตามลำดับ โดยส่วนประกอบทั้ง 4 นี้จะอยู่บนฐานรองดอก ซึ่งอยู่ปลายสุดของก้านชูดอกอีกทีหนึ่ง
2. เจริญมาจากต้นอ่อน (Embryo) ส่วนเอพิคอลทิล (Epicotyle) และ ส่วนไฮโพคอลทิล (Hypocotyl) ลำต้นจะแตกต่างจากราก ตรงที่ มีข้อ (node) ปล้อง (Internode) ยอด (Apical bud)
3. 3.2 อับเกสรตัวผู้ (anther) มีลักษณะเป็นแทงกลมยาวหรือค่อนข้างกลม 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ 4 ถุง เรียกว่า ถุงเรณู(pollen sac) บรรจุละอองเรณู (pollen grain)จำนวนมากมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีเหลืองๆ ผิวของละอองเรณูแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ละอองเรณูทำหน้าที่ เป็นเซลล์สืบพันธุเพศผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้วถุงละอองเรณูจะแตกออก ละอองเรณูก็จะปลิวออกมา เกสรตัวผู้ในพืชแต่ละชนิดมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน ในพืชโบราณหรือพืชชั้นต่ำเกสรตัวผู้มักมีจำนวนมาก ส่วนพืชที่มีวิวัฒนาการสูงจำนวนเกสรตัวผู้จะลดน้อยลง
4. ลำต้น(stem)
4.1. โครงสร้างตามภาคตัดขวาง (โครงสร้างภายใน) ของลำต้นที่เจริญระยะปฐมภูมิ มี 3 ชั้น คล้ายกันกับราก
4.1.1. 1. ชั้นเอพิเดอร์มิส (Epidermis) 2. ชั้นคอร์เท็กซ์ (Cortex) 3. ชั้นสตีล (Stele) ประกอบด้วย - มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) ได้แก่ ไซเล็ม(Xylem) โฟลเอ็ม (Phloem) - วาสคิวลาร์เลย์ (Vascular ray) - พิธ (Pith)
4.2. โครงสร้างของลำต้นจากปลายยอด แบ่งเป็น 4 ส่วน
4.2.1. 1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (Apical meristem) 2. ใบเริ่มเกิด (Leaf primordium) 3. ใบอ่อน (Young leaf) 4. ลำต้นอ่อน (Young stem)
5. ดอก
5.1. 1. กลีบเลี้ยง (sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด มีสีเขียว เหมือนใบ และทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ห่อหุ้ม และป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนของดอกที่อยู่ภายใน เมื่อดอกบานแล้วส่วนของกลีบเลี้ยงอาจหมดหน้าที่แล้วหลุดร่วงไป วงของกลีบเลี้ยงเรียกว่า แคลิกซ์ (calyx)
5.2. กลีบเลี้ยงที่ไม่ใช่สีเขียวและทำหน้าที่ล่อแมลงให้มาผสมเกสรได้ เช่นเดียวกับกลีบดอก ใต้กลีบเลี้ยงมีกลีบสีเขียวขนาดเล็กเรียงตัวเป็นวงอยู่ด้วย เรียกว่า ริ้วประดับ (epicalyx) เช่น ในดอกชบา และพู่ระหง
5.3. 2. กลีบดอก (petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามากลีบดอกมักมีสีสันสวยงามเนื่องจากมีรงควัตถุ เช่น แอนโทไซยานินละลายอยู่ในsap vacuole ทำให้เกิดสีแดง สีน้ำเงิน ม่วง นอกจากนี้ยังมีสารแอนโทแซนทิน ละลายอยู่ด้วยทำให้เกิดสีต่างๆ ได้หลายสี ในดอกไม้สีขาว เนื่องจากในแซพแวคิวโอล ไม่มีรงควัตถุชนิดใดบรรจุอยู่ หรือมีแอนโทแซนทินก็ได้ สารสีเหลืองหรือสีแดงเกิดจากรงควัตถุชนิด แคโรทีนอยด์ กลีบดอกบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีได้ เช่นดอกพุดตาน บางชนิดมีกลิ่นหอมเนื่องจากมีต่อมกลิ่นอยู่ด้วยและที่โคนกลีบดอกมักมีต่อมน้ำหวาน ช่วยในการล่อแมลง วงกลีบดอกเรียกว่า คอโรลา (corolla) ถ้าหากกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกันจนแยกไม่ออกจะเรียกรวมกันว่า วงกลีบรวม (perianth) ได้แก่ จำปี จำปา บัวหลวง ทิวลิป เป็นต้น
5.4. เกสรตัวผู้แต่ละอันประกอบด้วย 2 ส่วน
5.5. 3.1 ก้านชูเกสรตัวผู้ (filament) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นอาจรวมกันเป็นกลุ่มหรือแยกกันอาจยาวหรือสั้นซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของพืช ทำหน้าที่ชูอักเกสรตัวผู้หรืออับเรณู
5.6. 3. เกสรตัวผู้ (stamen) เป็นส่วนที่จำเป็นต่อการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้มักมีหลายอันและเรียงตัวเป็นวงเรียกว่า แอนดรีเซียม (androecium)เกสรตัวผู้ส่วนใหญ่แยกกันเป็นอันๆ แต่บางชนิดอาจติดกัน หรืออาจติดส่วนอื่นของดอก เช่น เกสรตัวผู้เชื่อมติดกับกลีบดอก พบในดอกเข็ม ดอกลำโพง หรือเกสรตัวผู้ติดกับเกสรตัวเมีย พบในดอกรัก ดอกเทียน
5.7. เกสรตัวเมียประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
5.8. 4.1 ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) เป็นส่วนที่พองออกมีลักษณะเป็นตุ่มแผ่แบนเป็นแฉก เป็นพูและมีน้ำเหนียวๆ หรือขนคอยจับละอองเรณูที่ลอยมาติด
5.9. 4.2 ก้านชูเกสรตัวเมีย (style) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือก้านเล็กๆ อาจยาวหรือสั้นเชื่อมต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงสู่รังไข่ เป็นทางให้เสปิร์มนิวเคลียสเข้าผสมกับไข่
5.10. 4.3 รังไข่ (ovary) เป็นส่วนที่พองออกมาลักษณะเป็นกระเปาะยึดกับฐานรองดอกหรืออาจฝังอยู่ในฐานรองดอกภายในมีลักษณะเป็นห้องๆ เรียกว่า โลคุล (locule) ซึ่งภายในมีออวุล(ovule) บรรจุอยู่แต่ละหน่วยของเกสรตัวเมียที่มีโลคุลที่ห่อหุ้มไข่ไว้ภายในเรียกว่า คาร์เพล (carpel) ใน 1 โคคุล อาจมี 1 คาร์เพล หรือหลายคาร์เพลก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอกไม้ เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วรังไข่จะเจริญเป็นผล ส่วนออวุลเจริญเป็นเมล็ด
6. เนื้อเยื่อพืช
6.1. พืชทุกชนิดย่อมประกอบด้วยเนื้อเยื่อ(tissue)และต้นอ่อน(embryo)อันเป็นลักษณะที่ไม่มีในสาหร่าย สำหรับพืชดอกนั้น เนื้อเยื่อแยกตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ออกเป็น
6.1.1. 4. เกสรตัวเมีย (pistil) เป็นชั้นที่อยู่ในสุดเปลี่ยนแปลงมาจากใบเพื่อทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย จึงเป็นอวัยวะสำคัญต่อการสืบพันธุ์ ในหนึ่งดอกเกสรตัวเมียอาจมีอันเดียวหรือหลายอัน เรียงตัวเป็นวงของเกสรตัวเมีย เรียกว่า จิเนเซียม (gynaecium)
6.1.2. 1.เนื้อเยื่อเจริญ(meristem)เป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งเซลล์ได้ตลอดชีวิต แบ่งออกเป็น
6.1.2.1. 1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย apical meristem เมื่อแบ่งเซลล์จะทำให้ลำต้นยืดยาวออกไป ช่วยเพิ่มความยาว ความสูงของพืชจัดเป็นการเจริญเติบโตปฐมภูมิ primary growth เราสามารถพบได้ที่ ยอด ราก จะเรียกชื่อตามตำแหน่งที่พบนั้นๆคือ ที่รากจะเรียกว่าเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายราก apical root meristem พบที่ยอด เรียกว่า เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายยอด apical shoot meristem
6.1.2.2. 2.เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ intercalary meristem อยู่ระหว่างข้อตรงบริเวณเหนือข้อล่างหรือโคนของปล้อง มีการแบ่งเซลล์ได้ยาวนานกว่าเนื้อเยื่อบริเวณอื่นในปล้องเดียวกันทำให้ปล้องยาวขึ้น เป็นการเจริญเติบโตปฐมภูมิ พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น หญ้า ข้าว ข้าวโพด อ้อย และไผ่ เป็นต้น
6.1.2.3. 3.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง lateral meristem อยู่ในแนวขนานกับเส้นรอบวงมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนออกทางด้านข้าง เพื่อเพิ่มขนาดความกว้างหรือเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นและราก ทำให้ลำต้นและรากขยายขนาดใหญ่ขึ้น เป็นการเจริญเติบโตขั้นที่สอง secondary growth พบได้ในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น หมากผู้หมากเมีย จันทน์ผา เป็นต้น เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่า แคมเบียม cambium แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ถ้าพบอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อท่อลำเลียงน้ำและเนื้อเยื่อท่อลำเลียงอาหารจะเรียกว่า วาสคิวลาร์แคมเบียม vascular cambium ซึ่งเมื่อแบ่งเซลล์ทำให้เกิดเนื้อเยื่อท่อลำเลียงเพิ่มมากขึ้น vascular tissue และถ้าพบอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหรือเอพิสเดอร์มิสepidermis หรือพบถัดเข้าไป เรียกว่า คอร์กแคมเบียม cork cambium ซึ่งเมื่อแบ่งเซลล์ทำให้เกิดเนื้อเยื่อคอร์ก cork
6.1.2.4. เราสามารถจำแนกตามการกำเนิดและการเจริญได้ 3 แบบคือ
6.1.2.5. 1.promeristem เป็นเนื้อเยื่อแรกเริ่มที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายสุดของราก ยอด
6.1.2.6. 2.primary meristem เนื้อเยื่อเจริญระยะปฐมภูมิ เจริญมาจาก promeristem ได้แก่
6.1.2.7. 2.1protoderm เจริญต่อไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรในชั้น epidermis
6.1.2.8. 2.2ground meristem เจริญต่อไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรในส่วน pith ,pith ray ,cortex และ
6.1.2.9. endodermis
6.1.2.10. 2.3procambium ปรากฏอยู่เป็นแถบๆ ระหว่าง ground meristem
6.1.2.11. เจริญต่อไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรส่วน stele เช่น ไซเล็มปฐมภูมิ โฟลเอ็มปฐมภูมิ
6.1.2.12. เจริญต่อไปเป็น secondary meristem ได้แก่ vascular cambium cork cambium
6.1.2.13. 3.secondary meristem เนื้อเยื่อเจริญระยะทุติยภูมิ เจริญมาจากเนื้อเยื่อเจริญระยะปฐมภูมิ
6.1.2.14. 3.1 vascular cambium เจริญแบ่งตัวได้เป็น ไซเล็มทุติยภูมิ โฟลเอ็มทุติยภูมิ
6.1.2.15. 3.2 cork cambium เจริญแบ่งตัวได้เป็น cork
6.1.3. 2.เนื้อเยื่อถาวร permanent tissue เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีการเจริญเต็มที่แล้ว ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเยื่อเจริญมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่เฉพาะที่แตกต่างกันออกไป มีรูปร่างคงที่ เนื้อเยื่อถาวรจะไม่มีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนอีกแล้ว ยกเว้นพาเรงคิมา parenchyma สามารถกลับไปแบ่งเซลล์ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการกลับกลาย redifferentiation เนื้อเยื่อถาวรบางชนิดอาจประกอบมาจากกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกัน ในขณะที่บางชนิดอาจประกอบขึ้นมาจากเซลล์หลายชนิดก็ได้
6.1.3.1. 1.เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว simple permanent tissue คือประกอบขึ้นมาจากกลุ่มเซลล์เดียวกัน ได้แก่
6.1.3.2. เอพิเดอร์มิส epidermis เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นมาจากเซลล์เอพิเดอร์มอล epidermal cell ที่มีลักษณะแบน ซึ่งกลุ่มเซลล์จะเรียงตัวกันเพยงชั้นเดียว โดยมีการเรียงตัวอัดแน่นจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ ไม่มีคลอโรพลาสต์ และมักพบคิวตินมาเคลือบทับเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ แต่จะไม่พบในราก ซึ่งเอพิเดอร์มิสเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบนอกสุดของส่วนต่างๆของพืช พบได้ทั่วไปตามส่วนต่างๆของพืชที่มีอายุน้อยๆ ทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านใน สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้เช่น เซลล์คุม guard cell ขนราก root hair ขนหรือหนาม trichome
6.1.3.3. คอร์ก cork เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของคอร์กแคมเบียมบริเวณใกล้ๆกับเอพิเดอร์มิส เรามักพบบริเวณนอกสุดของลำต้น กิ่ง ก้าน และพบในพืชที่มีอายุมากแล้ว มีหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำและเซลล์จะตายเมื่อโตเต็มที่
6.1.3.4. พาเรงคิมา parenchyma เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นมาจากเซลล์พาเรงคิมา parenchyma cell เป็นเซลล์ที่มีชีวิต ผนังเซลล์บางสม่ำเสมอเป็นผนังเซลล์ปฐมภูมิ มีรูปร่างได้หลายแบบ หน้าตัดค่อนข้างกลม มีช่องว่างระหว่างเซลล์ ถ้ามีคอลโรพลาสต์จะเรียกว่า chlorenchyma พารเรงคิมาเป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานของพืช มีหน้าที่สะสมอาหาร สังเคราะห์ด้วยแสง หลั่งสารพวกแทนนิน ฮอร์โมน เอนไซม์ เป็นต้น มีความสามารถแปรสภาพกลับกลาย redifferentiation มาแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้อีก
6.1.3.5. คอลเลงคิมา collenchyma เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นมาจากเซลล์คอลเลงคิมา collenchyma cell เป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีลักษณะคล้ายพาเรงคิมา แต่มีผนังเซลล์หนาไม่สม่ำเสมอกัน พบมากบริเวณใต้เอพิเดอร์มิสของก้านใบ เส้นกลางใบ ช่วยเพิ่มความแข็งแรง
6.1.3.6. สเคอเรงคิมา sclerenchyma เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบขึ้นมาจากเซลล์สเคอเรงคิมา sclerenchyma cell เป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิตแล้วมีผนังเซลล์ทั้งสองขั้นที่ค่อนข้างหนาหรือหนามาก ช่วยพยุงและให้ความแข็งแรงให้กับพืช สามารถจำแนกตามรูปร่างเซลล์ได้เป็น 2 ชนิด คือ ถ้าเป็นเส้นใย รูปร่างเรียวยาว หัวท้ายแหลม เรียกว่า ไฟเบอร์ fiber ถ้ารูปร่างไม่ยามมากนัก มีหลายแบบเช่น รูปดาว หลายเหลี่ยม เรียกว่าสเกลอรีด sclereid
6.1.3.7. 2.เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน complex permanent tissue คือประกอบขึ้นมาจากเซลล์หลายชนิด ได้แก่
6.1.3.8. ไซเล็ม xylem ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ 4 ชนิด เป็นเซลล์ที่มีชีวิตคือ พารเรงคิมา ช่วยสะสมอาหาร และเป็นเซลล์ที่ตายแล้วคือ ไฟเบอร์ ช่วยเพิ่มความแข็งแรง เทรคีต รูปร่างเรียวยาวมีรูพรุน เวสเซลเมมเบอร์ อ้วนสั้น หัวท้ายทะลุถึงกันเหมือนท่อประปา ซึ่งไซเล็มทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุอาหารจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช เรียกว่าconduction
6.1.3.9. โฟลเอ็ม phloem ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ 4 ชนิด คือ พาเรงคิมา ช่วยสะสมอาหาร ไฟเบอร์ ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ sieve tube member เป็นเซลล์ที่มีชีวิต ตอนเกิดใหม่มีนิวเคลียสแต่เมื่อโตได้ถูกสลายไป ซึ่งจะมาเรียงต่อกันเป็นท่อลำเลียงอาหาร และคอมพาเนียนเซลล์ companion cell เป็นเซลล์ติดกับซีฟทิวบ์เมมเบอร์ มีนิวเคลียส เพื่อช่วยซีฟทิวบ์เมมเบอร์ในการขนส่งน้ำตาลไปยังส่วนต่างๆของพืช โฟลเอ็มทำหน้าที่ลำเลียงอาหารสารอินทรีย์จากใบไปส่วนต่างๆ การลำเลียงทางโฟลเอ็ม เรียกว่า ทรานสโลเคชัน translocation
6.1.3.10. เนื้อเยื่อถาวรสามารถจำแนกตามหน้าที่ ได้ 3 ระบบ
6.1.3.11. 1.ระบบเนื้อเยื่อผิว dermal system : epidermis, cork
6.1.3.12. 2.ระบบเนื้อเยื่อพื้น ground system : parenchyma, collenchyma, sclerenchyma
6.1.3.13. 3.ระบบเนื้อเยื่อลำเลียง vascular system : xylem, phloem
7. คือ รังไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ (fertilization) แล้วเจริญเติบโตเต็มที่ อาจมีบางส่วนของดอกเจริญมาด้วย เช่น ฐานรองดอก กลีบเลี้ยง ภายในมีเมล็ดหรือไม่มีก็ได้ สำหรับผลที่เกิดจากรังไข่ที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ และไม่มีเมล็ด เรียกว่า ผลลม (parthenocarpic fruit)
8. ราก(root)
8.1. เป็น อวัยวะหรือส่วนของพืชที่ไม่มี ข้อ ปล้อง ตา และใบ ทิศทางการเจริญเติบโต เจริญลงสู่ดินตามแรงดึงดูดของโลก (Positivegeotropism ) มีกำเนิดมาจาก radicle ของต้นอ่อน (embryo) ซึ่งอยู่ภายในเมล็ด
8.2. หน้าที่ของราก
8.2.1. 1.ค้ำจุนส่วนต่างๆ ของพืชให้ทรงตัวอยู่ได้ (anchorage) 2.ดูดและลำเลียงน้ำ (absorption and transportation) 3.หน้าที่อื่นๆ ขึ้นกับลักษณะของรากเช่น สะสมอาหาร ยึดเกาะ ใช้ใน การหายใจเป็นต้น
8.3. โครสร้างของราก
8.3.1. การศึกษาโครงสร้างของรากในระยะที่มีการเจริญขั้นต้น (Primary growth) จะแบ่งศึกษา 2 ลักษณะ คือ 1. ศึกษาโครงสร้างตามยาวของราก 2. ศึกษาโครงสร้างในภาคตัดขวาง
8.3.2. 1. โครงสร้างตามยาวของราก แบ่งได้ 4 บริเวณ คือ 1. บริเวณหมวกราก (Root cap) ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ผนังค่อนข้างบาง มีแวคิวโอลนาดใหญ่ สามารถผลิตเมือกได้ ทำให้หมวกรากชุ่มชื้ และอ่อนตัว สะดวกค่อการชอนไช และสามารถป้องกันอันตรายให้กับบริเวณที่อยู่เหนือขึ้นไปได้ 2. บริเวณเซลล์กำลังแบ่งตัว(Region of cell division) อยู่ถัดจากรากขึ้นมาประมาณ 1-2 mm เป็นบริเวณของเนื้อเยื่อเจริญ จึงมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส เพื่อเพิ่มจำนวน โดยส่วนหนึ่งเจริญเป็นหมวกราก อีกส่วนเจริญเป็นเนื้อเยื่อ ที่อยู่สูงถัดขึ้นไป 3. บริเวณเซลล์ขยายตัวตามยาว (Region of cell elongation) อยู่ถัดจากบริเวณเซลล์มีการแบ่งตัว เป็นบริเวณที่เซลล์มีการยืดยาวขึ้น 4. บริเวณเซลล์เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะ (Region of cell differentiation and maturation) ประกอบด้วยเซลล์ถาวรต่างๆ ซึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญมีโครงสร้างเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ บริเวณนี้จะมีเซลล์ขนราก (Root hair cell)
9. ใบ ( Leaves )
9.1. เป็นอวัยวะที่เจริญออกไปบริเวณด้านข้างโดยมีตำเหน่งอยู่ที่ข้อปล้องของต้นและกิ่งใบส่วนใหญ่จะมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ แต่ใบพืชบางชนิดจะมีสีแดงหรือ สีม่วง เนื่องจากมีสารสีอื่นๆ เช่น แอนโทไซยานิน (anthocyanin) หรือ แคโรทีนอยด์(Carotenoid) มากกว่าคลอโรฟิลล์จึงทำให้ใบมีสีอื่นมากกว่าสีเขียว รูปร่างและขนาดของใบแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช หน้าที่หลักของใบ คือ การสังเคราะห์แสง การหายใจ และ การคายน้ำ
9.2. ส่วนประกอบของใบ ส่วนประกอบของใบมี 3 ส่วนคือ
9.2.1. 1. แผ่นใบ ( blade หรือ lamina )
9.2.1.1. มักแผ่ออก มีขนาด และรูปร่างต่างกัน ที่แผ่นใบจะพบ เส้นใบ ( vein ) และ เส้นกลางใบ ( midrib ) โดยเส้นกลางใบจะต่อ เนื่องกับก้านใบ จากเส้นกลางใบแยกออก เป็นเส้นใบ ซึ่งจะแยกแขนงออกไปอีกเป็นเส้นแขนงใบ หรือเส้นใบย่อย( vienlet ) การเรียงของเส้นใบ ( venation ) 1) เส้นใบแบบขนาน ( parallel venation )พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แบ่งเป็น a. เรียงตามยาวของใบ (plamately parallel venation) b. เส้นใบขนานกันตามขวางของใบ ( pinately parallel venation ) 2) การเรียงตัวของเส้นใบแบบตาข่าย ( netted หรือ recticulated venation ) พบในพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมี 2 แบบคือ a. ตาข่ายแบบขนนก ( pinnately netted venation ) b. ตาข่ายแบบรูปมือ ( palmately netted venation )
9.2.2. 2. ก้านใบ ( petiole )
9.2.2.1. ส่วนคล้ายกิ่ง ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างลำต้นกับใบที่ไม่มีก้านใบเรียกว่า เซสไซล์ (sessile leaf) ลักษณะของก้านใบมีแตกต่างกันไปหลายแบบ เช่น - พัลวินัส (pulvinus) คือ ส่วนก้านใบที่โป่งพองออกเล็กน้อย - ก้านใบแผ่เป็นกาบ (sheathing leaf-base) - ดีเคอร์เรนท์ (decurrent) คือ ก้านใบอาจรวมทั้งฐานใบแผ่ออกเป็นปีก แล้วโอบล้อมลำต้นลงไปจนถึงข้อด้านล่าง - ก้านใบแผ่เป็นแผ่นคล้ายปีก (winged petiole) - ก้านใบโป่งพอง เพื่อช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำ
9.2.3. 3. หูใบ ( stipule )
9.2.3.1. คือส่วนที่เจริญออกจากฐานใบ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับ ตาอ่อนพบทั่วไปในพืชใบเลี้ยงคู่ แต่ไม่ค่อยพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ถ้ามีหูใบเรียกว่า สติพูเลท (stipulate leaf) ถ้าไม่มีหูใบเรียก เอกสติพูเลท(exstipulate leaf) ลักษณะของหูใบ เช่น -แอดเนท (adnate หรือ adherent) คือ มีหูใบ 2 อัน ซึ่งเชื่อมติดกับก้านใบทั้งสองด้านทำให้ดูคล้ายปีก -อินทราเพทิโอลาร์ (intrapetiolar stipule) หูใบอยู่ที่โคนก้านใบตรงบริเวณมุมระหว่างก้านใบกับลำต้น -อินเทอร์เพทิโอลาร์ (interpetiolar stipule) หูใบอยู่ระหว่างก้านใบที่ติดกับลำต้นแบบตรงข้าม -โอเครีย (ochrea) คือ หูใบ 2 อันที่เชื่อมติดกันกลายเป็นหลอดหุ้มลำต้นไว้ อาจเชื่อมเป็นหลอดตลอดความยาว หรืออาจมีส่วนปลายโอเครียแยกกันบ้าง -หูใบเปลี่ยนแปลงเป็นมือเกาะ (tendrillar stipule) -หูใบเปลี่ยนแปลงเป็นหนาม -หูใบเปลี่ยนเป็นกาบหุ้มยอดอ่อนของลำต้น -หูใบแผ่ออกคล้ายใบ (foliaceous stipule)
10. เมล็ด(seed)
10.1. การเกิดเมล็ด หลังจากเกิดการปฏิสนธิซ้อน (Double fertilization) ส่วนออวูุลเจริญไปเป็นเมล็ด ซึ่งภายในประกอบด้วยเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์ม โดยมีเปลือกหุ้มเมล็ดล้อมรอบ
10.2. ส่วนประกอบของเมล็ด
10.2.1. 1.เปลือกหุ้มเมล็ด (Seed coat) เกิดมาจากเยื่อที่หุ้มไข่ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับเอมบริโอ ป้องกันการสูญเสียน้ำ เปลือกหุ้มเมล็ดมี 2 ชั้น คือ เปลือกชั้นนอกหนา เหนียว และแข็ง เรียกว่า เทสตา (testa) เปลือกชั้นในมักเป็นเยื่อบาง ๆ เรียกว่าเทกเมน (tegmen)
10.2.2. 2. เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้งไขมัน โปรตีน และน้ำตาล ให้แก่ เอมบริโอ(ต้นอ่อน)
10.2.2.1. 3. ต้นอ่อน (Embryo) เจริญจากไซโกต มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ใบเลี้ยง (Cotyledon) มีหน้าที่เก็บสะสมอาหารให้แก่เอมบริโอและป้องกันการบุบสลาย ของเอมบริโอขณะที่มีการงอก ลำต้นอ่อน (Caulicle) ประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนลำต้นอ่อนเหนือใบเลี้ยง เรียกว่า เอปิคอติล (epicotyl) มีส่วนปลายสุดเรียกว่า ยอดอ่อน ซึ่งเจริญเป็นลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ และดอก ส่วนลำต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง เรียกว่า ไฮโปคอตอล (hypocotyl) มีส่วนปลายสุดเรียกว่า รากอ่อน จะเจริญเป็นรากแก้ว
11. ผล
11.1. โครงสร้างของผล (Structure of Fruit) โครงสร้างของผลส่วนมากประกอบด้วย ผนังผล (pericarp) และเมล็ด (seed) ผนังผล คือส่วนที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากรังไข่ มี 3 ชั้น ได้แก่ ผนังผลชั้นนอก ผนังผลชั้นกลาง ผนังผลชั้นใน ผนังชั้นใน (Endocarp) ผนังชั้นใน มีทั้งอ่อนนุ่มเช่น ส้ม และมีลักษณะแข็งเช่น มะม่วง มะพร้าว ผนังชั้นกลาง (Mesocarp) ผนังชั้นนี้มักนุ่ม เช่น มะม่วง มะละกอ ผลบางชนิดมีผนังชั้นกลางเป็นเส้นใยเหนียว เช่น มะพร้าว ตาล จาก ผนังชั้นนอก (Exocarp) ชั้นผิวนอกสุดของผล ชั้นนี้ในผลบางชนิดมีผิวชั้นนอกบางหรืออ่อนเช่น ผลองุ่น ชมพู่ มะม่วง ผลบางชนิดผิวชั้นนอกแข็งและเหนียว เช่นมะพร้าว ฟักทอง เมล็ด (Seed) คือออวุลที่ได้รับการปฏิสนธิและเจริญเติบโตเต็มที่ ประกอบด้วย เปลือกเมล็ด มี 2 ชั้น คือ ชั้นนอก และชั้นใน เอนโดสเปิร์ม และเอ็มบริโอ
11.1.1. ประเภทของผล (Classification of Fruits)
11.1.1.1. ผลเดี่ยว Simple Fruit ชนิดของผลที่เกิดจากดอกเดียว เกสรเพศเมียมีหนึ่งหรือหลายคาร์เพลที่เชื่อมติดกัน เช่น ผลแตงโม มะละกอ ส้ม มะม่วง
11.1.1.2. ผลกลุ่ม (Aggregate Fruit) ชนิดของผลที่เกิดจากดอกเดียวแต่มีหลายคาร์เพล และแต่ละคาร์เพลแยกจากกัน ซึ่งแต่ละคาร์เพลนี้จะเจริญไปเป็นผลย่อย เช่น ผลน้อยหน่า การเวก จำปี จำปา สตรอเบอร์รี่
11.1.1.3. ผลรวม (Multiple Fruit) ชนิดของผลที่เกิดจากดอกย่อยหลายๆ ดอกในช่อดอกเดียวกันเจริญเชื่อมติดกันเป็นผลเดียว เช่นผลขนุน สับปะรด ยอ
11.1.1.4. ผลแบบมะเดื่อ (syconium) ผลรวมที่ข้างในผลกลวง ซึ่งเป็นผลที่เจริญมาจากช่อดอกที่มีฐานรองดอกรูปถ้วย (hypanthium) ภายในประกอบด้วยดอกย่อยมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก และแยกเพศ ภายในช่อดอกมีช่องเปิดขนาดเล็ก (ostiolum) ให้แมลงขนาดเล็กเข้าไปช่วยการผสมเกสร ได้แก่ ไทร มะเดื่อ กร่าง
11.1.2. ชนิดของผล (Types of Fruit)
11.1.2.1. ผลมีเนื้อสด (Fleshy Fruit) คือผลที่แก่แล้วมีผนังผลสดไม่แห้ง แบ่งออกเป็น
11.1.2.1.1. ผลเมล็ดเดียวแข็ง (Drupe) ผลสดที่มีเมล็ดเดียว ผนังชั้นกลางเป็นเนื้อหนาอ่อนนุ่ม ผนังชั้นในแข็งมาก ได้แก่พุทรา มะม่วง
11.1.2.1.2. ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด (Berry) ผลสดที่มีเมล็ดหลายเม็ลด เนื้อผลอ่อนนุ่ม ผนังชั้นนอกที่เป็นเปลือกมีลักษณะอ่อนนุ่ม เช่นเดียวกัน ได้แก่มะละกอ มะเขือเทศ
11.1.2.1.3. ผลแบบส้ม (Hesperidium) ผลที่ผนังชั้นนอกมีต่อมน้ำมันจำนวนมาก ผนังชั้นกลางอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำสีขาว ผนังชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบาง และมีบางส่วนของชั้นนี้แปรรูปเป็นถุงน้ำเพื่อสะสมน้ำตาล และกรดมะนาว ได้แก่ ส้ม มะนาว
11.1.2.1.4. ผลแบบแตง (Pepo) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังชั้นนอกแข็งและหนา ผนังชั้นกลางและผนังชั้นในหนาอ่อนนุ่ม ได้แก่ แตงโม แตงกวา น้ำเต้า
11.1.2.2. ผลแห้ง (Dry Fruit) คือผลที่แก่แล้วผนังผลแข็งและแห้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผลแห้งแก่ไม่แตก (dry indehiscent fruit) และผลแห้งแก่แตก (dry dehiscent fruit)
11.1.2.2.1. ผลแห้งเมล็ดติดหรือผลแบบธัญพืช (Caryopsis or Grain) ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด เปลือกแข็งและเชื่อมติดแน่นกับเปลือกเมล็ดหุ้ม เช่นข้าว
11.1.2.2.2. ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย (Acorn) ผลคล้ายผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว แต่มีกาบหุ้มผล (cupule) ทั้งหมดหรือบางส่วน เช่นผลเกาลัด ก่อชนิดต่างๆ
11.1.2.2.3. ผลแห้งเมล็ดอ่อน (Achene) ผลขนาดเล็ก ผนังผลแห้งและบาง มี 1 เมล็ด ผนังผลกับเปลือกหุ้มเมล็ดแยกกัน ส่วนมากมีฐานรองดอกขนาดใหญเช่น บัวหลวง ถ้าผลเกิดจากรังไข่ใต้วงกลีบ และมีขนที่ปลายเมล็ด เรียกว่าผลแห้งเมล็ดล่อนปลายมีขน (cypsela) เช่นผลของทานตะวัน
11.1.2.2.4. ผลเปลือกแห้งเมล็ดเดียว (Nut) ผลที่มีเปลือกแข็งและผิวมัน เป็นผลที่เกิดจากรังไข่ที่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกันแต่มีเมล็ดเดียว เช่น ผลมะพร้าว กระจับ มะม่วงหิมพานต์
11.1.2.2.5. ผลแบบปีกเดียว (Samara) ผลที่มีผนังผลชั้นนอกเจริญยื่นออกมาเป็นปีก อาจมีปีกเดียวหรือมากกว่า เช่นผลประดู่ ก่วม หรือผลคล้ายผลปีกเดียว (samaroid) มีกลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปีก เช่น ผลยางนา เหียง พะยอม รักใหญ่
11.1.2.2.6. ผลแยกแล้วแตก (Schizocarp) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ที่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกัน เมื่อรังไข่เจริญเต็มที่แล้วคาร์เพลจะแยกกัน แต่ละคาร์เพลเรียก ซีกผลแบบผักชี (mericarp) ซึ่งภายในมี 1 เมล็ด เช่น ผลผักชี ครอบจักรวาล
11.1.2.3. ผลแห้งแก่แตก (Dry Dehiscent Fruit) แบ่งเป็น
11.1.2.3.1. ฝักแตกแนวเดียว (Follicle) ผลที่เกิดจากดอกที่มีคาร์เพลเดียวหรือหลายคาร์เพลที่แยกกัน เมื่อผลแก่จะแตกเพียงตะเข็บเดียว เช่น ผลจำปี จำปา
11.1.2.3.2. ผลแตกแบบผักกาด (Silique) ผลที่เกิดจากรังไข่ที่มี 2 คาร์เพล เมื่อผลแก่ผนังผลแตกตามยาวจากด้านล่างไปยังด้านบนแบ่งออกเป็นสองซีก เมล็ดติดอยู่แนวกลางของผล (central false septum) เช่นผลผักกาดนก ผักเสี้ยน
11.1.2.3.3. ฝักแบบถั่ว Legume ผลที่เกิดจากดอกที่มีคาร์เพลเดียว เมื่อผลแก่จะแตกออกตามแนวตะเข็บ 2 ข้างของผล ได้แก่ผลของพืชวงศ์ถั่ว
11.1.2.3.4. ผลแบบฝักหักข้อ (loment, lomentum) ผลคล้ายผลแบบถั่วแต่มีรอยคอดรอบฝักเป็นช่วงๆหรือเว้าเป็นข้อๆ เมื่อผลแก่จะหักบริเวณนี้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เช่นผลไมยราพ คูน
11.1.2.3.5. ผลแบบผักชี (cremocarp) ผลขนาดเล็กมี 2 เมล็ด เมื่อผลแก่และแตกออก เมล็ดจะแยกจากกันโดยมีคาร์โพฟอร์ (carpophores) เส้นเล็กๆยึดไว้
11.1.2.3.6. ผลแห้งแตก (capsule) ผลที่เกิดจากดอกที่รังไข่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกัน และเมื่อผลแก่จะแตก แบ่งออกเป็น ผลแห้งแตกตามรอยประสาน (septicidal capsule) ผลแห้งแตกตามแนวยาวของผนังคาร์เพล เช่น ผลกระเช้าสีดา ผลแห้งแตกกลางพู (loculicidal capsule) ผลแห้งแตกตรงกลางพูของแต่ละช่อง เช่น ผลทุเรียน ตะแบก
11.1.2.3.7. ผลแห้งแตกเป็นช่อง (poricidal capsule) ผลแห้งที่เปิดเป็นช่องหรือรูใกล้ยอดผล เช่น ผลฝิ่น
11.1.2.3.8. ผลแห้งแตกแบบฝาเปิด (circumscissile capsule, pyxis) ผลแห้งแล้วแตกตามขวางรอบผลลักษณะเป็นฝาเปิด มีเมล็ดจำนวนมาก เช่น ผลหงอนไก่