คอมพิวเตอร์

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
คอมพิวเตอร์ by Mind Map: คอมพิวเตอร์

1. บุคลากร

1.1. นักวิเคราะห์ระบบงาน

1.2. โปรแกรมเมอร์

1.3. วิศวกรระบบ

1.4. ผู้บริหารระบบงาน

2. ประเภท

2.1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)

2.1.1. เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบ ทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน

2.2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer)

2.2.1. เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลาย ร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจน การจัดเก็บข้อมูล ได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น

2.3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)

2.3.1. เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถ รองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น

2.4. เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer

2.4.1. เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์แลอุปกรณ์อื่น ๆ

2.5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)

2.5.1. เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

2.6. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer )

2.6.1. เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

3. ระบบคอมพิวเตอร์

3.1. ฮาร์ดแวร์

3.1.1. ส่วนประกอบที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรามองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอแสดงผล เมาส์ และคีย์บอร์ด นอกจากนั้นยังรวมถึงส่วนประกอบที่อยู่ภายในตัวเครื่องก็รวมเป็นฮาร์ดแวร์ด้วย เช่น เมานบอร์ด ชิปซีพียู ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ดีวีดี/บลูเรย์ การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียง เป็นต้น

3.2. ซอฟต์แวร์

3.2.1. เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ

3.3. พีเพิลแวร์

3.3.1. เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรู้ การฝึกอบรม และประสบการณ์ในการทำงาน

3.4. ข้อมูล

3.4.1. ค่าของตัวแปรในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ ที่อยู่ในความควบคุมของกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลในเรื่องการคอมพิวเตอร์ (หรือการประมวลผลข้อมูล) จะแสดงแทนด้วยโครงสร้างอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นโครงสร้างตาราง (แทนด้วยแถวและหลัก) โครงสร้างต้นไม้ (กลุ่มของจุดต่อที่มีความสัมพันธ์แบบพ่อลูก) หรือโครงสร้างกราฟ (กลุ่มของจุดต่อที่เชื่อมระหว่างกัน) ข้อมูลโดยปกติเป็นผลจากการวัดและสามารถทำให้เห็นได้โดยใช้กราฟหรือรูปภาพ ข้อมูลในฐานะมโนทัศน์นามธรรมอันหนึ่ง อาจมองได้ว่าเป็นระดับต่ำที่สุดของภาวะนามธรรมที่สืบทอดเป็นสารสนเทศและความรู้

4. เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น

5. องค์ประกอบ

5.1. เมาส์

5.2. คอมพิวเตอร์

5.3. จอมอนิเตอร์

5.4. คียบอร์ด

5.5. ลำโพง

6. ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์

6.1. หน่วยป้อนข้อมูล

6.1.1. หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

6.2. ประมวลผลข้อมูล

6.2.1. - CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล ประกอบด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะ และหน่วยควบคุม อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแระมวลผล เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์

6.3. หน่วยความจำ

6.3.1. >หน่วยความจำหลัก จะแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ ดังนี้ - หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่ถูกเห็บไว้จะหายหมด เรียกหน่วยความจำนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM) - หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน คือ หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลโดยไม่ขึ้นกับกระแสไฟฟ้า แม้ไฟฟ้าจะดับข้อมูลก็ยังอยู่ เรียกหน่วยความจำนี้ว่า รอม (Read Only Memory: ROM)

6.3.2. >หน่วยความจำสำรอง ใช้เพื่อให้คอมพิวเตอร์มีที่เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ตัวอย่างหน่วยความจำสำรองได้แก่ - ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นอุปกรณ์ประเภทจานแม่หล็ก จะแบ่งเป็นวงรอบ เรียกว่า แทรค ซึ่งจะเก็บข้อมูลเป็นวงรอบหลายๆวง ถือได้ว่าฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์หลักในการเก็บรักษาข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถจุข้อมูลได้มากและสามาระบันทึกข้อมูลทับได้หลายครั้ง - ยูเอสบีแฟลชไดรว์ (USB Flash Drive) เป็นอุปกรณ์ที่เก็บรักษาข้อมูลไว้ในชิปอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีลักษณะเบา เล็ก สามารถเก็บรักษาได้ง่าย สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง มีชื่อเรียกหลากหลายตามลักษณะของเครื่องหมายการค้าของบริษัที่ผลิต เช่น แฮนดี้ไดรว์(Handy Drive) ทรัมป์ไดรว์(Trumb Drive) และเพนไดรว์(Pen Drive)

6.4. หน่วยแสดงผล

7. ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

7.1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

7.1.1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

7.2. ซอฟต์แวร์ระบบ

7.2.1. ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และเพื่อจัดเตรียมและบำรุงรักษาแพลตฟอร์มจากการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่สุด

7.3. โปรแกรมสำเร็จรูป

7.3.1. คือ โปรแกรม หรือว่า ซอฟต์แวร์ ชุดของคำสั่งที่มีการจัดเรียงลำดับได้อย่างถูกต้องและสามารถทำงานได้ผลลัพธ์อย่างที่ผู้ใช้โปรแกรมต้องการ ซอร์ฟแวร์แบ่งได้เป็นสองแบบได้แก่ ซอร์ฟแวร์ระบบ และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์