การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม by Mind Map: การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม

1. ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว(Aggression)

1.1. พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression) หมายถึง เป็นการแสดงออกทางคำพูดและการกระทำที่แสดงถึงความโกรธแค้นความไม่เป็นมิตร พร้อมที่จะทำร้ายตนเองและผู้อื่น เนื่องมาจากความไม่สามารถในการควบคุมความโกรธได้(Vacariolis, E., M, 2009 อ้างใน เครือวัลย์ ศรียารัตน์ (2558)

1.2. ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว

1.2.1. 1. พฤติกรรมก้าวร้าวทางคำพูด: ใช้คำพูดตำหนิติเตียน วิพากษ์วิจารณ์พูดในห้างหุ้นส่วนจำกัดแง่ร้ายเสียง ดังขู่ตะคอกเอะอะอาละวาดวางอำนาจ วาจาหยาบคาย 2. พฤติกรรมก้าวร้าวแสดงออกทางร่างกาย: มีสีหน้าบึ้งตึงคุณแววคุณตาไม่เป็นมิตรท่าทางไม่ พอใจกระวนกระวาย ขณะนี้ไม่นิ่ง สนใจเรื่องไม่หัวเรื่อง: การกินหัวเรื่อง: การนอน หัวเรื่อง: การขับถ่าย 2.1 ก้าวร้าวทำพฤติกรรมราย ได้แก่ สิ่งของ ทุบทำลายสิ่งของเครื่องใช้ทุบกระจก จุดไฟ เผาปิดประตูเสียงดัง 2.2 พฤติกรรมก้าวร้าวทาร้ายของคุณคนอื่น หาเรื่องวิวาททาร้ายและละเมิดสิทธิคุณผู้อื่น โดยหัวเรื่อง: การกัดหัวเรื่อง: การตีหัวเรื่อง: การผลัก และหัวเรื่อง: การใช้อาวุธทำร้ายคุณผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ 2.3 พฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายตนเองเช่น หัวเรื่อง: การหยิกข่วนตนเองหัวเรื่อง: การ ใช้มีดกรีดมือ การดึงผม จุดไฟเผาตนเองการฆ่าตัวตาย

1.3. สาเหตุ

1.3.1. สาเหตุการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว แบ่งออก 2 ด้าน คือ ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors) และปัจจัยด้านจิตสังคม (Psychosocial factors) >>ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors) ได้แก่ ระดับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และการเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย >>ปัจจัยด้านจิตสังคม (Psychosocial factors) ความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกของความโกรธ

1.4. การพยาบาล

1.4.1. ช่วยให้บุคคลยอมรับว่าตนเองกำลังมีอารมณ์โกรธ

1.4.2. ช่วยผู้ป่วยค้นหาสาเหตุที่ทำให้ตนเองมีความรู้สึกโกรธ

1.4.3. ช่วยให้บุคลที่มีความรู้สึกโกรธได้พูดคุยได้ระบายพลังภายในซึ่งความโกรธได้แสดงออกมาในทางที่ที่จะเป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของสังคม

2. ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร (Hostility)

2.1. ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร

2.1.1. ความรู้สึกไม่เป็นมิตรมีลักษณะคล้ายกับความโกรธ มีพฤติกรรมการทำลาย(Destructive) บุคคลมีทัศนคติสะสมมาเรื่อยๆยากที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นการตอบสนองที่รุนแรง ซับซ้อน โดยมีแต่ความเกลียดซัง อิจฉา ริษยา มีความจับจ้องทำลายเป็นกลุ่มคนหรือเป็นบุคคล ไม่มุ่งทำลายสิ่งของ ความไม่เป็นมิตรมักเกิดจากความก้าวร้าว แต่ไม่ได้แสดงออกเท่ากับความก้าวร้าว หรืออาจจะกล่าวได้ว่าความไม่เป็นมิตรเป็นความรู้สึกที่อยากจะทำลายผู้อื่นให้ได้รับความอับอาย ความไม่เป็นมิตรเป็นผลมาจากความรู้สึกสูญเสียคุณค่าในตนเอง ซึ่งอาจถูกเก็บกดไว้จนแสดงออกเป็นพฤติกรรม

2.2. สาเหตุและกลไกทางจิต

2.2.1. มักถูกปลูกฝังมาตั้งแต่วันทารกมีเรื่องคุกคามในจิตใจ แต่ไม่สามารถแสดงออกความคับข้องใจได้ มักจะส่งผลให้บุคคลนั้นรับรู้การมีคุณค่าในตนเองต่่ำ เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้นจิตใจ จะทำให้เขามีความรู้สึกสูญเสียคุณค่าในตนเอง(Low self-esteem)จนไม่สามารถอดทนได้ จึงเกิดความวิตกกังวลแล้วแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตรหรืออาจจะเก็บความรู้สึกนั้นไว้

2.3. วิธีการบำบัดทางการพยาบาล

2.3.1. การประเมินความไม่เป็นมิตร

2.3.1.1. >การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อเกร็ง ผิวแดง คลื่นไส้อาเจียน ปากแห้งคอแห้ง เหงื่อออกตามร่างกาย เป็นต้น >ด้านคำพูด เช่น การพูดกระทบกระเทือน ส่อเสียด ดูถูก ข่มขู่ โต้แย้ง และอาจรุนแรงถึงการดุด่า พูดจาชวนทะเลาะ >ด้านพฤติกรรม เช่น ต่อต้าน เงียบ เชื่องช้า ไม่สบตา เดินหนี กำหมัดแน่น หรืออาจจะทำร้ายผู้อื่น หรืออาจแสดงพฤติกรรมแฝง เช่นทำตัวอ่อนหวาน นอบน้อมจนเกินไป

2.3.2. การพยาบาล

2.3.2.1. ประเมินความไม่เป็นมิตร

2.3.2.2. จัดสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้างเพื่อป้องกันอันตราย

2.3.2.3. เปิดโอกาสให้บุคคลได้ระบายความคับข้องใจ ความไม่สบายใจ และให้ประเมินการกระทำของตนเองและเรียนรู้การควบคุมตนเอง

3. ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง(Violence)

3.1. พฤติกรรมรุนแรงหมายถึงเป็นความตั้งใจที่จะใช้กำลังทางกายเพื่อข่มขู่หรือกระทำอันตรายต่อตนเองผู้อื่น กลุ่มบุคคลหรือสังคมโดยจะส่งผลให้เกิดหรือมีความน่าจะเป็นสูงที่เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิต การกระบทกระเทือนทางจิตใจพัฒนาการที่ผิดปกติหรือภาวะขาดแคลน (World Health Organization [2013] อ้างใน นันทวัช สิทธิรักษ์ (บรรณาธิการ), ตำราจิตเวชศิริราช DSM 5, 2558)

3.2. ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง

3.2.1. การแสดงออกทางสีหน้าบึ้งตึงแววตาไม่เป็นมิตรการเคลื่อนไหวกระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้

3.2.2. การใช้คำพูด พฤติกรรมคุกคามที่มีผลทำคนอื่นตกใจกลัว(Threaten) มีพฤติกรรมที่พยายามจะใช้กำลังและอาวุธทำร้ายคนอื่น (Attempt) และมีการใช้กำลังหรือ อาวุธทำร้ายคนอื่น (Actual) (ณัฐวุฒิ อรินทร์,(2553)

3.3. การพยาบาล

3.3.1. ประเมินสภาพผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง

3.3.2. พยาบาลควรมีความรู้สึกสงบและให้ความรู้สึกสบายใจที่จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความก้าวร้าวในทางที่ผิด ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น

3.3.3. การจัดระเบียบให้ปลอดภัยรวมทั้งลดสิ่งที่อยากได้จากสิ่งแวดล้อมโดยลดเสียงดัง

3.3.4. หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการสงบพยาบาลควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกเกี่ยวกับ การถูกการจำกัดพฤติกรรม (Limit setting) เพื่อลดความโกรธความกังวลและพยาบาลควรบอกสาเหตุที่ต้องทำทุกครั้ง และพยาบาลควรให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการจัดการกับอารมณ์ความโกรธออกไปในทางที่เหมาะสม