ประชาธิปไตยบนท้องถนนและประชาธิปไตยในสภา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ประชาธิปไตยบนท้องถนนและประชาธิปไตยในสภา by Mind Map: ประชาธิปไตยบนท้องถนนและประชาธิปไตยในสภา

1. หลังคำตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่

1.1. ยังไม่มีประชาชนจำนวนมากลงถนนชัดเจน มีแต่ประท้วงในวงจำกัดในสถาบันการศึกษาและที่อื่นๆ ทำให้ความกังวลห่วงใยที่ปรากฏในแถลงการณ์คลี่คลายลงไป และ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ก็ยังเป็นตัวแทนประชาชนได้ต่อไป เพียงแต่ต้องหาพรรคสังกัดใหม่ แต่ก็ไม่ได้มีพลังที่จะเป็น ตัวแทนให้ประชาชนครบหกล้านกว่า เพราะ ส.ส.จำนวนหนึ่งถูกตัดสิทธิ์ พ้นการเป็นตัวแทน ประชาชนไป และ ส.ส. อีกจำนวนหนึ่งได้แยกย้ายไปอยู่พรรคต่างๆ ไม่รวมหมู่กับ ส.ส. ส่วนมากที่ไปอยู่พรรคก้าวไกลกัน แต่อย่างไรก็ตาม การเป็นตัวแทนปากเสียงประชาชน เกือบหกล้านนั้นก็จะสามารถดำเนิน ต่อไปในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจากคำกล่าวของเอกอัครราชทูตฯ ก็ถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งของประชาธิปไตยไม่แพ้ประชาชนบนท้องถนน ดังที่ท่านได้กล่าวว่า

2. หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคอนาคตใหม่ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ต่อมาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของไทย มีมติยุบพรรคอนาคตใหม่โดยแถลงการณ์ ดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความคิดของ ผู้คนไปต่าง ๆ นานา ฝ่ายที่สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งผู้ที่ตั้งข้อสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์ “ประชาธิปไตยไทย” ก็นำแถลงการณ์ดังกล่าวมาใช้ในการโจมตีคำวินิจฉัยของศาลและโจมตี “ประชาธิปไตยไทย”ส่วนฝ่ายที่ไม่สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ ก็แสดงความเห็นในเชิงตอบโต้ต่อ ท่าทีในแถลงการณ์ของสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในทำนองที่ว่า สหรัฐฯแทรกแซง

3. นายไมเคิล จี. ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อต้นเดือน มีนาคมนี้ มีความเชื่อมโยงสอดคล้องอย่างไร?

3.1. ประการแรกคือ ทั้งแถลงการณ์และคำกล่าวยืนยันว่า สหรัฐฯไม่ได้สนับสนุนพรรคการเมืองใด หรือนักการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

3.2. ประการที่สอง ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลกับประการแรก คือ สหรัฐฯสนับสนุนประชาธิปไตย ซึ่งปรากฏชัดเจนในคำกล่าวของเอกอัครราชทูตฯ และแม้ว่า จะไม่ได้ประโยคนี้ชัดเจนใน แถลงการณ์ แต่เนื้อความที่ปรากฏในแถลงการณ์ที่ว่า“ประชาชนชนกว่า 6 ล้านคนก็ได้ลง คะแนนเสียงให้กับพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 คำพิพากษา ให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ อาจนำไปสู่การลิดรอนสิทธิของผู้ลงคะแนนเสียงเหล่านั้น และทำให้ เกิดคำถามว่าพวกเขาจะยังคงมีสิทธิมีเสียงในระบบการเลือกตั้งของไทยหรือไม่” ก็สะท้อน ให้เห็นถึงการสนับสนุนประชาธิปไตย เพราะการยุบพรรคอนาคตใหม่ย่อมจะกระทบ และ ทำให้เกิดคำถามว่า ประชาชนหกล้านคนจะยังคงมีสิทธิมีเสียงในระบบการเลือกตั้งของไทย หรือไม่ ?

4. ประชาธิปไตยในแถลงการณ์นั้น

4.1. สิทธิ์และเสียงของประชาชนหกล้านคนในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีความสำคัญต่อความเป็นประชาธิปไตย แถลงการณ์นั้นไม่ได้แสดงความเห็นด้วยหรือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่มีความกังวลห่วงใยต่อ ประชาธิปไตยของไทยหลังศาลตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ หากจะเกิดการประท้วงจนเกิดความสับสนวุ่นวายจาก ประชาชนหกล้านคนที่ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคอนาคตใหม่ ถ้ารัฐบาลไม่สามารถมีมาตรการรับมือกับการ ประท้วงที่เหมาะสม (นั่นคือให้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมสาธารณะภายใต้กฎหมาย) ก็อาจนำไปสู่ “การลิดรอนสิทธิของผู้ลงคะแนนเสียงเหล่านั้น” ได้ จากแถลงการณ์ดังกล่าว ก็คงจะทำให้รัฐบาลไทยตระหนัก ล่วงหน้าได้ถึงทีท่าของสถานทูตฯที่จะมีต่อรัฐบาลไทย ซึ่งในแง่นี้ก็เชื่อมโยงสอดคล้องกับว่าคำกล่าวของ เอกอัครราชทูตฯที่ว่า “ประชาธิปไตยบางครั้งยุ่งเหยิงและท้าทาย และทุกๆประเทศก็ต้องมีบางสิ่งบางอย่างที่ต้อง แก้ไขให้ลุล่วงไป เราจับตามองทุกอย่างที่กำลังดำเนินไป”