ปฏิบัติการที่ 3 สมดุลเคมี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ปฏิบัติการที่ 3 สมดุลเคมี by Mind Map: ปฏิบัติการที่ 3 สมดุลเคมี

1. วิธีทดลอง

1.1. ตอนที่1. สถานะสมดุล

1.1.1. บันทึกสีของสารละลาย0.4M Co(NO3)2และสารละลาย0.4M Co(NO3)2

1.1.2. นำสารในข้อ1ใส่หลอดทดลอง 2 หลอด เติมน้ำกลั่นหลอดละ 1 cm3 เขย่าและบันทึกสี

1.1.3. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ2 แต่ใช้เอธานอลและอะซิโทนแทนน้ำกลั่น แล้วบันทึกสี

1.2. ตอนที่2. ผลของความเข้มข้นต่อสถานะสมดุล

1.2.1. นำสารละลาย0.4M Co(NO3)2ในน้ำมา2.5cm3 ใส่ขวดรูปชมพู่ เติมไฮโดรคลอริกเข้มข้น 20 หยด เขย่า และบันทึกสี

1.2.2. นำสารละลายจากข้อ1.มาเติมน้ำกลั่นครั้งละ2cm3 3ครั้ง บันทึกสีหลังจากเติมน้ำแต่ละครั้ง

1.2.3. ทำเช่นเดียวกับข้อ1.และ2. โดยใช้0.4M Co(NO3)2 ในเอธานอล 2.5cm3 แต่เติมกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น ครั้งละ2หยด บันทึกผล

1.2.4. เปรียบเทียบปริมาณของคลอไรด์ที่ต้องการใช้ในการทำให้สารละลายเกิดสีน้ำเงิน ในสารละลายที่มีแอลกอฮอล์กับสารละลายที่มีน้ำ

1.3. ตอนที่3. ผลของอุณหภูมิต่อภาะสมดุล

1.3.1. นำสารละลาย0.4M CoCl2 มา2.5cm3 ใส่ขวดรูปชมพู่ เติมไฮโดรคลอริกเข้มข้น 30 หยด เขย่า จะได้สารละลายสีม่วง

1.3.2. แบ่งสารละลายสีม่วงเป็น 3 หลอด หลอดละเท่าๆกัน หลอดที่1 นำไปแช่แข็ง หลอดที่2 แช่น้ำร้อน หลอดที่3 วางไว้อุณหภูมิห้อง บันทึกผลที่เปลี่ยนแปลง

2. อุปกรณและสารเคมี

2.1. หลอดทดลองขนาด10และ20cm3

2.2. ขวดชมพู่ขนาด150cm3

2.3. บีกเกอร์ขนาด50cm3

2.4. กระบอกตวงขนาด10cm3

2.5. เทอร์โมมิเตอร์

2.6. กระดาษกรอง

2.7. CoCl2.6H2O

2.8. Co(NO3)2.6H2O

2.9. สารละลาย0.4M CoCl2

2.10. สารละลาย0.4M Co(NO3)2

2.11. สารละลาย0.4M Co(NO3)2 ในเอธานอล

2.12. เอธานอล

2.13. อะซิโทน

2.14. กรดไฮโดรคลอกริกเข้มข้น

3. วัตถุประสงค์

3.1. 1.เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของสถานะสมดุล

3.2. 2.เพื่อศึกษาถึงผลของความเข้มข้นและอุณหภูมิต่อสถานะสมดุล

4. หลักการ

4.1. การเปลี่ยนแปลงทางเคมีส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ย้อนกลับได้

4.2. เมื่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ จะเกิดสถานะสมดุล

4.3. สมบัติทางกายภาพของระบบจะคงที่ แต่ระบบไม่ได้หยุดนิ่ง ยังมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรียกว่า "สมดุลไดนามิก"

4.4. ระบบจะเข้าสู่สมดุลเร็วหรือช้าขึ้นกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา

4.5. ในปฏิกิริยาทั่วไป aA+bB <---> cC+dD ที่สถานะสมดุล Kc = [C]c[D]d/[A]a[B]b

4.6. หลักของเลอชาเตลิเยร์

4.6.1. ถ้ารบกวนสมดุลของระบบ ระบบจะเสียสมดุลไปแล้วจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่อีกครั้ง