ปฏิบัติการที่3 สมดุลเคมี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ปฏิบัติการที่3 สมดุลเคมี by Mind Map: ปฏิบัติการที่3 สมดุลเคมี

1. หลักการ

1.1. การเปลี่ยนแปลงทางเคมีส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ย้อนกลับได้ ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าจะลดลง และอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับจะสูงขึ้น เมื่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับจะเกิดสถานะสมดุล ซึ่งสมบัติทางกายภาพของระบบจะคงที่ แต่ระบบจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เรียกสถานะสมดุลนี้ว่า สมดุลไดนามิก โดยระบบจะเข้าสู่สมดุลเร็วหรือช้าจะขึ้นกับอัตราการเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาทั่วไป aA + bB <=> cC + dD ที่สถานะสมดุล Kc = [C]^c [D]^d / [A]^a [B]^b เมื่อ Kc คือ ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาที่อุณหภูมิหนึ่ง [A],[B],[C]และ[D] คือ ความเข้มข้นของสารขณะสมดุล (หน่วยโมล/ลิตร)

2. วิธีทดลอง

2.1. ตอนที่1 สถานะสมดุล

2.1.1. 1.บันทึกสีของ CoCl2 . 6(H2O) และ Co(NO3)2 . 6(H2O) ที่อยู่ในรูปของแข็ง

2.1.2. 2.นำหลอดทดลองมา2หลอด หลอดหนึ่งใส่ CoCl2 . 6(H2O) 2-3ผลึก อีกหลอดใส่ Co(NO3)2 . 6(H2O) 2-3ผลึก เติมน้ำกลั่นหลอดละ 1 ลบ.ซม. เขย่าให้ละลาย บันทึกสีของสารละลาย (พยายามให้ผลึกในทั้ง2หลอดมีปริมาณใกล้เคียงกัน)

2.1.3. 3.ทำการทดลองเหมือนข้อ2 แต่ใช้เอธานอล และอะซิโทน เป็นตัวทำละลายแทนน้ำ บันทึกสีของสารละลาย อธิบายผลการทดลองโดยใช้หลักของสมดุล

2.2. ตอนที่2 ผลของความเข้มข้นต่อสถานะสมดุล

2.2.1. 1.นำสารละลาย 0.4 M Co(NO3)2 ในน้ำมา 2.5 ลบ.ซม. ใส่ในขวดรูปชมพู่ขนาด 150 ลบ.ซม. เติมกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นลลไปครั้งละ 20 หยด เขย่าให้เข้ากันทุกครั้งที่เติมกรดลงไป บันทึกสีของสารละลายหลังจากเติมกรดแต่ละครั้ง และอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็น

2.2.2. 2.นำสารละลายจากข้อ 1 มาเติมน้ำกลั่นครั้งละ 2 ลบ.ซม. 3 ครั้ง บันทึกสีของสารละลายหลังจากเติมน้ำกลั่นแต่ละครั้ง และอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็น

2.2.3. 3.ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1 และ 2 โดยใช้0.4 M Co(NO3)2 ในเอธานอล 2.5ลบ.ซม. แทน แต่เติมกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นลงไปครั้งละ 0.1 ลบ.ซม. หรือ 2 หยด บันทึกผล

2.2.4. 4.เปรียบเทียบปริมาณของคลอไรด์ที่ต้องการใช้ในการทำให้สารละลายเกิดสีน้ำเงินในสารละลายที่มีแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายกับสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย

2.3. ตอนที่3 ผลของอุณหภูมิต่อภาวะสมดุล

2.3.1. 1.นำสารละลาย 0.4 M Co(NO3)2 ในน้ำมา 2.5 ลบ.ซม. ใส่ในขวดรูปชมพู่ขนาด 150 ลบ.ซม. เติมกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นลลไปครั้งละ 30 หยด เขย่าให้เข้ากัน สารละลายที่ได้จะมีสีม่วง

2.3.2. 2.แบ่งสารละลายสีม่วงใส่ลงในหลอดทดลอง 3 หลอด หลอดละเท่าๆกัน หลอดที่ 1 นำไปแช่ในน้ำแข็ง หลอดที่ 2 นำไปแช่ในน้ำร้อน หลอดที่ 3 วางไว้ที่อุณหภูมิภ้อง บันทึกผลที่เปลี่ยนแปลง อธิบายผลการทดลอง

3. วัตถุประสงค์

3.1. 1.เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของ สถานะสมดุล 2.เพื่อศึกษาผลของความเข้มข้น และอุณหภูมิต่อสถานะสมดุล

4. อุปกรณ์และสารเคมี

4.1. หลอดทดลองขนาด10 และ20 ลบ.ซม.

4.2. ขวดรูปชมพู่ขนาด 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร

4.3. บีกเกอร์ขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร

4.4. กระบอกตวงขนาด 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร

4.5. เทอร์โมมิเตอร์

4.6. กระดาษกรอง

4.7. CoCl2 . 6(H2O)

4.8. Co(NO3)2 .6(H2O)

4.9. สารละลาย 0.4M Co(NO3)2

4.10. สารละลาย 0.4M CoCl2

4.11. สารละลาย 0.4M Co(NO3)2 ในเอธานอล

4.12. เอธานอล

4.13. อะซิโตน

4.14. กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น (conc.HCL)