การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค by Mind Map: การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

1. ทารกได้รับภูมิคุ้มกันจากรกตั้งแต่ในครรภ์ แต่หลังคลอดภูมิคุ้มกันจะลดลง

1.1. ภูมิคุ้มกันต่อโรคแบคทีเรีย จะหมดไปประมาณ 1-2 เดือนหลังคลอด

1.2. ภูมิคุ้มกันโรคจากเชื้อไวรัสอยู่ได้นานกว่า 6 เดือนหลังคลอด

1.3. จึงจำเป็นให้ทารกได้รับภุมิคุ้มกัน

2. ชนิดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก

2.1. Active immunization

2.1.1. กระตุ้นให้ร่างกาายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง โดยใส่แอนติเจนเพื่อไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา

2.1.2. ภูมิคุ้มกันอยู่ได้ตลอดไป

2.1.2.1. หัด

2.1.2.2. หัดเยอรมัน

2.1.2.3. คางทูม

2.1.3. ภูมิคุ้มกันอยู่ได้3ปี

2.1.3.1. ไทฟอยด์

2.2. Passive immunization

2.2.1. ให้ภูมิคุ้มกันเข้าไปในร่างกายเลยโดยตรง ป้องกันโรคในทันที

2.2.2. อยู่ได้ไม่นาน เพี่ยง 3-4 สัปดาห์

3. Active immunization 3 กลุ่ม

3.1. ท๊อกซอยด์ (toxoid)

3.1.1. ใช้ป้องกันโรคที่เกิดขึ้นเป็นผลจากพิษหรือท๊อกซิน

3.1.2. โรคคอตีบ/Diptheria

3.1.3. โรคบาดทะยัก/Tetanus

3.2. วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated หรือ killed vaccine)

3.2.1. เป็นวัคซีนที่ทำมา จากแบคทีเรียหรือไวรัสทั้งตัวที่ทำให้ตายแล้ว

3.2.2. โรคไอกรน/Pertussis

3.2.3. วัคซีนไข้สมองอักเสบ/JE ชนิดไม่มีชีวิต

3.3. วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live attenuated vaccine)

3.3.1. เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อเป็นที่ ยังมีชีวิตอยู่แต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงแล้ว

3.3.2. ส่วนใหญ่สำหรับไวรัส

3.3.3. สำหรับแบคทีเรีย

3.3.3.1. วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG)

3.3.3.2. วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน(OPV)

3.3.3.3. วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูมและหัดเยอรมัน(MMR)

3.3.3.4. วัคซีนป้องกันโรคสุกใส (varicellar vaccine)

3.3.3.5. วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ/JE ชนิดมีชีวิต *นิยมใช้*

3.3.3.6. วัคซีน Rota virus

3.3.4. เกิดปฏิกิริยานาน

3.3.4.1. หัด จะมีอาการไข้ วันที่5-12หลังฉีด

3.3.5. เก็บให้ดีเป็นพิเศษ หากเชื้อตายจะไม่ได้ผล

3.3.6. ระวังให้ในผู้ป่วยที่ภูิมคุ้มกันต่ำ หรือได้รับยากดภูมิ

4. วิธีให้วัคซีน

4.1. Oral route

4.1.1. กระตุ้นเฉพาะที่ เช่น ที่ลำไส้ ใช้กับเชื้อเป็น

4.1.2. วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน

4.2. Intradermal route

4.2.1. วิธีนี้มักจะใช้เมื่อต้องการลดจำนวน antigen ให้น้อยลง

4.2.2. ให้แอนติเจนเข้าท่อน้ำเหลืองได้ดี

4.3. Subcutaneous route

4.3.1. ไม่ต้องการให้วัคซีนดูดซึมเร็วเกินไปเพราะอาจเกิดปฏิกิริยารุนแรง

4.3.2. วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คาง ทูม และหัดเยอรมัน

4.3.3. วัคซีนป้องกันโรค ไข้ทัยฟอยด์

4.3.4. วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ(JE)

4.4. Intramuscular route

4.4.1. ดูดซึมได้ดี โดนเฉพาะบริเวณต้นแขน Deltoid เนื่องจากไขมันน้อย เลือดมาเลี้ยงดี

4.4.2. ตำแหน่งที่นิยมรองลงมาคือ บริเวณกึ่งกลางต้นขา ด้านหน้าค่อนไปด้านนอก (mid anterolateral thigh) ซึ่งมักใช้ในเด็ก เนื่องจากแขนยังมีกล้ามเนื้อน้อย

4.4.3. ปัจจุบันไม่แนะนำให้ฉีดบริเวณสะโพก เพราะอาจเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทไซเอติค (sciatic nerve)

4.4.3.1. วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (ดีทีพี)

4.4.3.2. วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี

4.4.3.3. วัคซีนป้องกันโรคพิษ สุนัขบ้า

5. หลักการทั่วไปในการให้วัคซีน

5.1. วัคซีนหลายชนิดอาจให้พร้อมกันในวันเดียวกันได้

5.1.1. เชื้อไม่มีชีวิตให้พร้อมกันแต่ต่างตำแหน่ง

5.1.2. ปฏิกิริยาเดียวกันไม่ให้พร้อมกัน วัคซีนดีทีพีกับวัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์

5.1.3. มีเชื้อให้ห่างจากตัวอื่นอย่างน้อย 1 เดือน

5.2. การให้วัคซีนห่างเกินกว่ากำหนดไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดน้อยลง

5.2.1. เลยกำหนดฉีดดีกว่าก่อนกำหนดฉีด

5.2.2. แต่ควรตรงกำหนดเพื่อความต่อเนื่อง

5.3. เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น หวัด ไอ หรือไข้ต่ำๆ สามารถให้วัคซีนได้ ยกเว้นไข้สูง*

5.4. ผู้ที่ได้รับอิมมูโนโกลบุลิน พลาสม่า หรือเลือดมาไม่ถึง 3 เดือน ไม่ควรให้วัคซีนไวรัสที่มีชีวิต

5.4.1. เช่น MMR

5.4.2. ในเลือดจะมีแอนติบอดี้สูงจะทำลายเชื้อมีชีวิตหมด

5.5. เด็กที่เคยได้วัคซีนดีทีพีแล้วมีไข้สูง (เกิน 40.5 ํC) ภายใน 48 hr หลังฉีด

5.5.1. หรือชักใน3วัน หรือ กรีดร้องนานกว่า3ชม.

5.5.2. นัดครั้งต่อไปควรให้ DT เท่านั้น

5.6. เด็กที่แพ้ไข่ ไม่ควรให้วัคซีนรวม MMR ชนิดที่มาจากเซลล์เพาะเชื้อจากไข่ เพราะมีโอกาสแพ้ได้

5.7. ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ควรให้วัคซีนเหมือนเด็กที่เกิดครบกำหนด

5.7.1. แต่ถ้าเด็กยังอยู่ใน nursery ไม่ควรให้OPV เพราะเชื้ออาจติดต่อเด็กคนอื่นได้

5.8. เด็กที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติเช่น ผู้ที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน(steroid) ยารักษาโรคมะเร็ง ต้องงดการให้วัคซีนเชื้อมีชีวิต เชื้ออาจเพิ่มจำนวนจนเป็นอันตราย

5.8.1. เลิกกินยาอย่างน้อย3เดือนจึงให้ได้

5.9. เด็กที่ได้ยากดภูมิคุ้มกันสามารถให้ท๊อกซอยด์ และวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิตได้

5.10. เด็กที่มีโรคทางระบบประสาท ซึ่งยังควบคุมไม่ได้ ไม่ควรให้วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิด whole cell แต่ถ้าเป็น โรคชักที่ควบคุมได้แล้วให้ได้

5.11. เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคชักและเด็กที่มีประวัติชักเวลาไข้สูงเราก็ สามารถให้วัคซีนได้ ถ้าให้วัคซีนป้องกันโรคหัดอาจต้องพิจารณาให้ยาลดไข้ตั้งแต่วันที่ 5 หลังฉีดยาแล้ว และให้ต่อไปอีกประมาณ 5-7 วัน

5.12. การฉีดวัคซีนที่มี adjuvant ควรให้เข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น

5.12.1. หากให้ที่ชั้นผิวหนังหรือใตผิวหนังจะเกิดอักเสบเป็นไต

5.13. การฉีดเข้าใต้หนังหรือเข้ากล้ามเนื้อในเด็กเล็ก นิยมให้ที่กล้ามเนื้อบริเวณกึ่งกลาง ต้นขาด้านหน้าค่อนไปด้านนอก ส่วนผู้ใหญ่หรือเด็กโต นิยมให้ที่ deltoid

5.14. เด็กโรคเอดส์ให้วัคซีนได้เหมือนเด็กปกติ

5.14.1. ยกเว้น BCG

5.14.2. ห้ามให้ในด็กที่แสดงอาการ

5.15. เด็กที่ได้รับยา กลุ่ม Steroid เช่น Prednisolone ขนาดตั้งแต่ 2 mg/kg/day ต่อเนื่องเป็นเวลา เกิน 2 สัปดาห์ ต้องหยุดยา 1 เดือนจึงจะสามารถให้วัคซีนเชื้อมีชีวิตได้

5.16. เด็กคลอดก่อนกำหนด การให้วัคซีนตับอักเสบ ควรให้เด็กหนัก 2000 กรัมหรือ 2 เดือนก่อน แต่หากมารดาเป็นพาหะให้ฉีดเหมือนเด็กครบกำหนดและต้องให้ Hepatitis B immune globulin (HBIG)ร่วมด้วย

6. ตารางการให้วัคซีน เด็กปกติทั่วไป

6.1. แรกเกิด BCG HB1 ถ้ามารดา HBsAg HBeAg positive ต้องเพิ่ม HBIG

6.2. 1 เดือน HBเข็ม2

6.3. 2 เดือน OPVครั้ง1 DTwP-HB-Hibเข็ม1 Rotaเข็ม1

6.4. 4 เดือน IPVเข็ม1 OPVครั้ง2 DTwP-HB-Hibเข็ม2 Rotaเข็ม2

6.5. 6 เดือน OPVครั้ง3 DTwP-HB3-Hibเข็ม3 Rota เข็ม3

6.6. 9-12เดือน MMRเข็ม1 LAJEเข็ม1(เชื้อเป็น)

6.7. 18 เดือน OPVครั้ง4 DTwP เข็ม4

6.8. 2-2 1⁄2 ปี LAJEเข็ม2(เชื้อเป็น) MMRเข็ม2

6.9. 4 ปี OPVครั้ง5 DTwPเข็ม5

6.10. ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ให้ได้รับHPVเข็ม1 HPVเข็ม2 วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกเข็ม 1 กับเข็ม 2 ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน

6.11. บริเวณที่ฉีดวัคซีน DTwP - HB2- Hib2 อาจมีอาการปวด บวม แดง ร้อน เด็กจะร้องกวน ได้ถ้าอาการมาก อาจใช้ผ้า ชุบน้ำอุ่นประคบและรับประทานยาแก้ปวด ปกติจะหายได้เองภายใน 7 วัน

6.12. หากเด็กไม่เคยได้รับวัคซีนเลย

6.12.1. **BCG ให้ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานว่า เคยได้รับเมื่อแรกเกิดและไม่มี แผลเป็น ห้ามให้ในเด็กที่แสดงอาการโรคเอดส์แล้ว

6.12.2. อายุ1-6ปีขึ้นไป

6.12.2.1. IPV1* ให้เก็บตกเฉพาะเด็กอายุ ต่ำกว่า 7 ปีและเด็กนักเรียนชั้น ป.1

6.12.3. อายุ7ปีขึ้นไป

6.12.3.1. ไม่ฉีดไอกรนให้เนื่องจากอาจมีผลต่อสมอง

7. การเก็บวัคซีน

7.1. ทั่วไปเก็บ2-8องศา

7.2. BCGที่ยังไม่ได้ผสมเก็บช่องแช่แข็ง

8. วัคซีนชนิดต่างๆ

8.1. วัคซีนป้องกันวัณโรค (Bacille Calmette Guerin : BCG)

8.1.1. แบคทีเรียเชื้อเป็น

8.1.2. เข้าผิวหนัง ครั้งละ0.1ซีซี

8.1.3. หลังฉีดจะมีตุ่มหนองขาว 2-4สัปดาห์เป็นๆหายๆ

8.1.3.1. รักษาความสะอาดโดยใช้น้ำต้มสุกเช็ด

8.1.3.2. ไม่ใส่ยาฆ่าเชื้อ

8.1.3.3. ไม่แคะ แกะ เกา

8.1.4. ข้อห้าม มีแผลติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคเอดส์มีอาการ ผู้กินยากดภูมิ

8.2. วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Diptheria Tetanus Pertussive Vaccine : DTP)

8.2.1. เป็นวัคซีนรวม จะให้ในช่วง อายุ 2 เดือน, 4 เดือน และ 6 เดือน และฉีดกระตุ้น (Booster immunization) อีก 2 เข็มคือ 11⁄2 ปี และ4- 6 ปี

8.2.2. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

8.2.3. ปกติจะให้แบบ DTwP แต่ถ้า ไม่มีหรือหาวัคซีนชนิดเดียวกันไม่ได้ สามารถใช้แบบ DTaP มาแทนกันได้แต่ถ้าเป็นไปได้ควรให้ชนิดเดียวกัน

8.2.3.1. DTwP เป็นวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และวัคซีนไอกรน แบบทั้งเซล Whole cell Pertussis vaccine

8.2.3.2. DTaP เป็นวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และวัคซีนไอกรน แบบไร้เซล Acellular pertussis vaccine เป็นเฉพาะส่วนของวัคซีนไอกรน

8.2.4. ปฏิกิริยาภายหลังฉีด

8.2.4.1. พบการมีไข้

8.2.4.2. เจ็บระบม งอแงหลังฉีด3-4ชม. หายเองใน2วัน

8.2.5. ช่วงที่โปลิโอระบาด ให้เลี่ยงฉีดให้เด็กที่เป็นหวัด เพราะอาจเป็นอาการของโปลิโอ หากฉีดอันตรายต่อระบบประสาท

8.2.6. ข้อห้าม ในเด็กเกิน6ปี ในเด็กที่มีประวัติชัก ในช่วงโปลิโอระบาด

8.3. วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (Poliomyelitis Vaccine)

8.3.1. OPV ชนิดกิน เชื้อไวรัสมีชีวิต ฤทธิ์อ่อน

8.3.1.1. ระวังการท้องเสีย จะไม่เกิดการดูดซึมวัคซีน

8.3.2. IPV ชนิดฉีด เชื้อไวรัสตายแล้ว

8.3.3. จะให้ครั้งแรกเมื่ออายุ 2,4, 6 เดือน ตามล าดับ กระตุ้น 11⁄2 ปี และ 4-6 ปี

8.3.4. ความรู้

8.3.4.1. เป็นชนิดมีเชื้อให้ระวังในเด็กที่ภูมิคุ้มกันต่ำหรือกินยากดภูมิ

8.3.4.2. ในระหว่างที่ให้วัคซีน ไม่ต้องงดนมแม่ และในกรณีที่เด็กเคยได้รับชนิดฉีดมาแล้ว ควรให้ชนิดรับประทานอีกให้ครบชุด

8.3.4.3. ผู้ติดเชื้อเอดส์ให้ได้รับได้

8.4. วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม (Mump Measles Rubellar Vaccine)

8.4.1. เป็นวัคซีนเชื้อมีชีวิตให้ในเด็กครั้งแรกอายุ 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4-6 ปี

8.4.2. ถ้าในพื้นที่มีโรดระบาดให้ฉีดได้9เดือน

8.4.3. หากสัมผัสโรคให้ฉีดได้ตั้งแต่6เดือน เข็ม2ตอน9เดือน และเข็ม3 ตอน4-6ปี

8.4.4. MMR ให้พร้อมอีสุกอีใสได้วันเดียวกัน หากไม่ให้เว้นห่าง1เดือน

8.4.5. หลังฉีดมีผื่นจาง หายได้5-12วัน

8.4.6. ในรายที่มีประวัติแพ้ไข่แบบ Anaphylaxis ต้องงดให้ vaccine ชนิดนี้ เพราะเป็นวัคซีนที่เตรียมจาก การเลี้ยงเชื้อไวรัสในไข่ไก่

8.5. วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เจอี(Japanese Encephalitis)

8.5.1. ฉีด 2 ครั้ง พร้อม MMR คือ

8.5.1.1. ครั้งที่ 1 เมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน

8.5.1.2. ครั้งที่ 2 ตอนเด็กอายุ 2-2 1⁄2 ปี

8.5.2. ขนาดของวัคซีน 1 dose คือ 0.5 ml.

8.6. วัคซีนโรต้า(Rota virus)

8.6.1. เป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อทางเดินอาหารที่รุนแรงในเด็ก

8.6.2. ชนิดหยดทางปาก เช่น เดียวกับวัคซีน โปลิโอ สามารถให้พร้อมกันได้

8.6.3. ให้ 3 ครั้ง 2 4 6 เดือน

8.6.3.1. ครั้งแรกให้เด็กไม่เกิน 15 สัปดาห์

8.6.3.2. ครั้งที่2 3 เด็กอายุไม่เกิน 32 สัปดาห์

8.6.3.3. ทั้งนี้เนื่องจาก เด็กที่มีอายุ ระหว่าง 5-12 เดือน เป็นช่วงอายุที่มีโอกาสเกิด ลำไส้กลืนกัน (intussusception) และการให้วัคซีนชนิดนี้ก็จะยิ่งส่งเสริมให้เกิดได้มากขึ้น

8.6.4. สามารถผ่านทางเดินอาหารไปปนเปื้อนอุจจาระ ไปติดกับผ้าอ้อมได้

8.6.4.1. ระวังเด็กในครอบครัวที่ภูมิต้านทานต่ำ

8.6.4.2. แยกเด็กจากกัน14วันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

8.7. วัคซีน HIB Haemophilus influenza type B

8.7.1. เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่ติดต่อกันได้ง่ายทำให้เกิดโรคหลายชนิดในเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี

8.7.2. ทำให้เกืดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่มีความรุนแรง

8.7.3. ตั้งแต่ปี 2562 วัคซีนชนิดนี้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเห็นชอบบรรจุวัคซีนป้องกัน"โรคฮิบ "ในวัคซีนพื้นฐาน เข็มเดียวป้องกันได้ 5 โรค คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี และเยื่อหุ้มสมอง อักเสบ (DTwP-HB-Hib) โดยจะให้ 3 ครั้งตอนเด็กอายุ 2,4,6 เดือน

8.8. วัคซีน HPV

8.8.1. ป้องกันมะเร็งปากมดลุก

8.8.2. ฉีดได้ในช่วงอายุ 9-26 ปี แต่จะเน้นในช่วงอายุ 11-12 ปี

8.8.3. ได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย

8.8.4. ฉีดตอนป.5 เข็ม1ห่างเข็ม2 อย่างน้อย6เดือน

9. วัคซีนทางเลือก

9.1. เป็นวัคซีนที่ไม่อยู่ในตารางวัคซีนปกติของกระทรวงสาธารณสุข

9.2. วัคซีนอีสุกอีใส varicella vaccine

9.2.1. วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนเชื้อเป็นจึงต้องระวังการให้ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำใน ผู้ใหญ่และเด็กอายุเกิน 12 ปี ต้องฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์

9.2.2. ภูมิต้านทานต่อโรคได้ถึง 99%

9.2.3. แพทย์จะแนะนำให้เริ่มฉีดตั้งแต่เด็กมีอายุ 1 ปีขึ้นไป โดยเข็มแรกเมื่ออายุ 12-18 เดือน และฉีด กระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปีทั้งนี้ในกรณีที่มีการระบาดของโรคสามารถฉีดเข็มที่ 2 ก่อนอายุ 4 ปีได้แต่ต้องทิ้ง ระยะห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน

9.2.4. ผลข้างเคียง

9.2.4.1. ปวด บวม แดง คัน

9.2.4.2. ไข้ต่ำ

9.2.4.3. ผื่นเล็กน้อย ช่วง1เดือนหลังฉีด

10. การบริหารและการจัดเก็บวัคซีน

10.1. โดยทั่วไปจะเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศา ห้ามเก็บวัคซีนที่ฝาประตูตู้เย็น และต้องใส่ วัคซีนไว้ในกล่องพลาสติก เพื่อป้องกันการ สูญเสียความเย็น

10.2. OPV เก็บในช่องแช่แข็ง (Freezer)

10.3. วัคซีน MMR/MR, BCG และ JE ผงแห้ง เก็บ อุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส

10.4. กรณีชั้นเก็บชั้นที่ 1 ไม่เพียงพอ สามารถเก็บชั้นที่ 2 ได้อีก 1 ชั้น

10.5. ห้าม เก็บในถาด รองใต้ช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกัน กล่องวัคซีน เปียกน้ำหรือฉลากหลุดลอก

11. อ้างอิง อาจารย์กัลยา ศรีมหันต์.(2563).เอกสารประกอบการเรียน วิชาการพยาบาลเด็ก การสร้างภูิมคุ้มกันโรค.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี

12. นางสาวสุพัตรา ทับทิมทอง รุ่น36/2 เลขที่44 612001125