เลือกใช้เวลาบนโลกออนไลน์ ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ด้วยปรัชญามินิมอลบนโลกดิจิตอล

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
เลือกใช้เวลาบนโลกออนไลน์ ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ด้วยปรัชญามินิมอลบนโลกดิจิตอล by Mind Map: เลือกใช้เวลาบนโลกออนไลน์ ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ด้วยปรัชญามินิมอลบนโลกดิจิตอล

1. ผู้เขียน

1.1. แคล นิวพอร์ท

1.1.1. ศาสตราจารย์ชื่อดังจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์

1.1.2. เขียนหนังสือขายดีติดอันดับ Deep Work

2. ใช้ชีวิตในโลกจริงให้ดีขึ้น

2.1. หาเวลาสันโดษให้ตัวเอง

2.1.1. เราไม่จำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบไร้ผู้คน แต่การหาเวลาสันโดษนี้หมายถึงเราไม่ต้องเอาความคิดอื่นๆ เข้ามาคิดให้วุ่นวายเยอะแยะจนรกสมอง

2.1.2. เด็กรุ่น iGen คือเด็กที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี พวกเขาจึงไม่ค่อยได้ใช้ชีวิตแบบสันโดษ

2.1.2.1. ในหนึ่งวันพวกเขาใช้เวลาเฉลี่ย 9 ชั่วโมงเพื่อเสพสื่อดิจิตอล

2.1.2.2. ผลที่ตามมาคือ พวกเขามีสมาธิน้อยลงและมีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น

2.1.3. ดังนั้นการหาเวลาสันโดษให้ตัวเองจะช่วยให้เราคิดอะไรได้ดีขึ้นและยังมีเวลาทำความเข้าใจตัวเองได้ละเอียดขึ้นด้วย

2.1.4. 3 วิธีหาเวลาสันโดษให้ตัวเอง

2.1.4.1. ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน

2.1.4.1.1. การขาดโทรศัพท์มือถือไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย ไม่มีมัน เราก็อยู่ได้

2.1.4.1.2. คุณไม่จำเป็นต้องทิ้งมันโดยสิ้นเชิง แค่รู้ว่ามันไม่ได้จำเป็นกับชีวิตมากขนาดนั้นก็พอ

2.1.4.2. ออกไปเดินเล่นข้างนอก

2.1.4.2.1. การเดินเล่นให้อะไรหลายอย่าง เราได้คิดระหว่างทางแถมยังมีความสุขไปกับสภาพอากาศและวิวทิวทัศน์

2.1.4.3. เขียนจดหมายถึงตัวเอง

2.1.4.3.1. การเขียนเหมือนเป็นการเรียบเรียงความคิดในหัวเราออกมา

2.1.4.3.2. ไม่แน่ว่าคุณอาจจะได้ไอเดียอะไรดีๆ จากการเขียนเหมือนที่นักเขียนได้ไอเดียเขียนหนังสือจนติดอันดับขายดีระดับโลกมาแล้ว

2.2. เรียนรู้ที่จะฟังและสนทนากันแบบโดยตรง

2.2.1. เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราจึงควรมีปฏิสัมพันธ์กันแบบโดยตรงจะดีที่สุด

2.2.2. วิธีนี้จะช่วยให้เรารู้จักรับฟังมากขึ้นและยังช่วยให้เราเข้าใจกันและกันมากขึ้นด้วย

2.2.3. 3 วิธีช่วยเพิ่มโอกาสให้เราได้สนทนากันโดยตรง

2.2.3.1. อย่ากดไลค์หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ

2.2.3.1.1. โซเชียลมีเดียสร้างความสุขได้ก็จริง แต่มันก็สร้างความทุกข์ได้เช่นกัน

2.2.3.1.2. ลองเปลี่ยนมาเป็นการสนทนากันโดยตรงจะดีกว่า

2.2.3.2. เปิดโหมด "อย่ารบกวน"

2.2.3.2.1. เราจะได้หยุดแชทกันไปมาจนเสียเวลา แล้วหันไปสนทนากันโดยตรง

2.2.3.3. หาช่วงเวลาสำหรับการพูดคุยโดยเฉพาะ

2.2.3.3.1. Ex # 5 โมงคือเวลาสนทนา

2.3. หาเวลาพักผ่อนแบบมีคุณภาพ

2.3.1. ยิ่งเราพักผ่อนแบบมีคุณภาพมากเท่าไหร่ เรายิ่งมีความสุขเพิ่มขึ้นเท่านั้น

2.3.2. คุณไม่มีทางพักผ่อนแบบมีคุณภาพได้ ถ้ายังมีโลกดิจิตอลเข้ามาวุ่นวายกับชีวิต

2.3.3. เราควรหาเวลาพักผ่อนเช่นนี้หลังทำการกำจัดความรุงรังในโลกดิจิตอลเพื่อให้เราได้ลองใช้เวลาว่างที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3.4. คำแนะนำสำหรับค้นหากิจกรรมพักผ่อนแบบมีคุณภาพ

2.3.4.1. ลองทำกิจกรรมที่ได้ใช้ทักษะที่มีสร้างอะไรสักอย่าง

2.3.4.1.1. แนะนำงานแบบทำมือ

2.3.4.1.2. ทำอาหาร

2.3.4.1.3. เล่นบอร์ดเกม

2.3.4.1.4. เล่นดนตรี

2.3.4.1.5. ทำสวน

2.3.4.2. ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูลกิจกรรมในโลกความจริง

2.3.4.2.1. อินเทอร์เน็ตจะเป็นเครื่องมือสำคัญให้เราค้นหากิจกรรมใหม่ๆ ทำในโลกแห่งความเป็นจริง

2.3.4.2.2. Ex # หาข้อมูลเล่นสเกตบอร์ด

2.3.4.3. เข้าร่วมกลุ่มที่ตรงกับกิจกรรมพักผ่อนของเรา

2.3.4.3.1. Ex # เข้าร่วมกลุ่ม "ของเล่นไม้ทำมือสำหรับเด็ก"

2.3.4.3.2. Ex # เข้าร่วมกลุ่ม "มาต่อกันดั้มกันเถอะ"

2.3.4.4. ในหนึ่งสัปดาห์ เราควรหาเวลาพักผ่อนแบบมีคุณภาพอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

2.3.5. บิงโกขอแนะนำหนังสือ Power of Full Engagement ที่จะแนะนำวิธีเตรียมร่างกายให้มีพลังเต็ม 100% ในทุกวัน

2.3.5.1. วิธีจัดตารางการทำงานแบบ The Ultradian Rhythm

3. คนดังๆ พูดถึงหนังสือเล่มนี้อย่างไรบ้าง

3.1. เกรก แมคคีโอว์น

3.1.1. "อย่าพลาดไอเดียดีๆ ในหนังสือเล่มนี้เด็ดขาด พอผมอ่านจบ ผมก็นำไอเดียในนั้นมาใช้กับชีวิตทันทีเลย"

3.2. เซ็ธ โกดิน

3.2.1. "แอพที่คุณเล่นเขามองคุณเป็นแค่เหยื่อไว้ขายข้อมูล ลดเวลาในโลกดิจิตอลแล้วมาใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริงบ้าง คำแนะนำของคุณเยี่ยมมากเลยแคล"

4. หลักการของ Digital Minimalism

4.1. ปรัชญาชีวิตแบบมินิมอลบนโลกดิจิตอล (Digital Minimalism) คือการจำกัดเวลาในโลกออนไลน์ไปกับกิจกรรมที่สำคัญจริงๆ กับเรา

4.1.1. จากกิจกรรมมากมาย เราจะเลือกเก็บไว้แค่กิจกรรมที่สำคัญจริงๆ กับเราเพียงไม่กี่ตัว แล้วจำกัดเวลาในโลกออนไลน์ไปกับกิจกรรมนั้น

4.1.2. แล้วสุดท้ายเราจะพลาดกิจกรรมที่ไม่ได้เลือกไปบ้างก็ไม่เป็นไร

4.2. ทำไมปรัชญาชีวิตมินิมอลบนโลกดิจิตอลถึงช่วยทำให้ชีวิตเราดีขึ้นได้?

4.2.1. เวลา สมาธิ และความสนใจเป็นของเรา เราต้องเป็นคนเลือกเองว่าจะใช้มันไปกับอะไร

4.2.2. รู้จักวิธีเลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเรา

4.2.3. เปลี่ยนเทคโนโลยีที่จากเดิมเคยพรากสมาธิและความสนใจไปให้กลายเป็นเครื่องมือสร้างประโยชน์

4.3. หลักการ 3 ข้อของปรัชญาชีวิตแบบมินิมอลบนโลกดิจิตอล

4.3.1. อย่ามีเยอะ เพราะมันสิ้นเปลือง

4.3.1.1. การมีเทคโนโลยีหลายอย่างมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่ตามมา ทั้งตัวเงินและเวลา

4.3.1.2. สิ่งเหล่านี้จริงๆ เรามีแค่ 1-2 อย่างก็พอแล้ว การมีมากกว่านั้นทำให้เราเสียเวลาและเงินโดยใช่เหตุ เช่น

4.3.1.2.1. หนังและเพลง

4.3.1.2.2. โซเชียลมีเดีย

4.3.1.2.3. ช็อปปิ้งออนไลน์

4.3.1.3. ดังนั้นเราควรเลือกตัดให้เหลือแต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ

4.3.2. รู้จักปรับแต่งการใช้งานให้ตรงกับประโยชน์ของเรา

4.3.2.1. เราอยากดึงประโยชน์ของเทคโนโลยีมาใช้ โดยที่เราจะไม่ยอมให้มันมาดึงสมาธิ ความสนใจ และเวลาไปจากเรา เราจึงต้องปรับแต่งการใช้งานให้ตรงกับประโยชน์ที่อยากได้

4.3.2.2. Ex # ใช้ทวิตเตอร์ติดตามข่าวสาร

4.3.2.2.1. คุณต้องปรับแต่งการใช้งานให้เหมาะสมกับการติดตามข่าวสาร

4.3.2.2.2. กดติดตามสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือทั้งไทยและต่างประเทศ

4.3.2.2.3. กดติดตามคนที่น่าเชื่อถือ

4.3.2.2.4. เลิกติดตามสำนักข่าวและคนที่ไม่น่าเชื่อถือ

4.3.3. มีความสุขกับเทคโนโลยีที่ตั้งใจเลือกมาใช้

4.3.3.1. หลังจากเราตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีมาใช้ เราจะรู้สึกมีความสุขกับสิ่งที่เราตั้งใจเลือกมา

4.3.3.2. ถ้าเราเจอเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่เราไม่ได้เลือกใช้มัน เราก็ยังมีความสุขได้โดยไม่หลงไปกับกระแสนิยมต่างๆ

4.3.3.3. Ex # คลับเฮาส์

4.3.3.3.1. ตอนนี้กระแสคลับเฮาส์กำลังมาแรง เพื่อนหรือคนรู้จักหลายคนต่างเล่นคลับเฮาส์กันหมด

4.3.3.3.2. คำถามคือ

4.3.3.3.3. สุดท้ายคำตอบของคุณอาจเป็น "ฉันไม่จำเป็นต้องเล่นคลับเฮาส์ ฉันคิดว่าการฟังพอดแคสต์สรุปต่างๆ ดีพอแล้ว"

5. ใช้ชีวิตบนโลกดิจิตอลให้ดีขึ้น

5.1. 3 ขั้นตอนในการกำจัดความรุงรังในโลกดิจิตอล (Digital Declutter)

5.1.1. เว้นการใช้เทคโนโลยีนั้นๆ เป็นเวลา 30 วัน

5.1.1.1. เทคโนโลยีอันได้แก่

5.1.1.1.1. แอพพลิเคชั่น

5.1.1.1.2. เว็บไซต์

5.1.1.1.3. อุปกรณ์ต่างๆ

5.1.1.2. ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการงานของคุณ

5.1.2. ในช่วงพักใช้ 30 วัน ให้ลองค้นหากิจกรรมหรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่คุณทำแล้วพอใจหรือรู้สึกดี

5.1.2.1. ช่วง 2 อาทิตย์แรก คุณอาจรู้สึกไม่ดีและอารมณ์เสีย

5.1.2.2. คำแนะนำคือ หากิจกรรมอื่นๆ ที่มีความหมายและสนุกมาทนแทน

5.1.2.3. Ex # อ่านหนังสือ

5.1.2.3.1. ปกติคุณจะอ่าน Twitter หรือ Facebook ระหว่างขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน

5.1.2.3.2. ให้ลองเปลี่ยนเป็น "อ่านหนังสือ" แทน

5.1.3. หลังจบช่วงพักใช้ 30 วัน เราจะมี 2 ทางเลือกคือ

5.1.3.1. เลิกเอามาใช้อีก

5.1.3.2. นำกลับมาใช้ แต่มีเงื่อนไข

5.1.3.2.1. ต้องตัวเลือกที่ดีที่สุด ไม่มีสิ่งอื่นดีกว่าแล้ว

5.1.3.2.2. ใช้มันให้ตรงกับเป้าหมายมากที่สุด

5.1.3.2.3. จำกัดการใช้ว่าจะใช้ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร

5.1.4. วิธีนี้เปรียบได้กับการค้นหาว่า "งานสำคัญ" ที่มีผลต่อ Productivity ของเราจริงๆ แล้วคือ งานอะไร แค่เปลี่ยนเป็นค้นหาว่า "เทคโนโลยีไหนจะสร้างประโยชน์ให้กับเราได้มากที่สุดและเราจะใช้มันอย่างไร?"

5.2. เทคนิคเพิ่มเติมสำหรับต่อสู้กับสิ่งรบกวนในแบบดิจิตอล

5.2.1. ลบโซเชียลมีเดียออกจากโทรศัพท์มือถือ

5.2.1.1. คุณยังสามารถเล่นโซเชียลมีเดียได้จากคอมพิวเตอร์

5.2.1.2. คุณแค่จะไม่มีมันติดตัวไปด้วยตลอดเวลาเท่านั้น

5.2.2. ใช้โซเชียลมีเดียแบบมืออาชีพ

5.2.2.1. ตั้งกฏง่ายๆ ให้ตัวเองในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อมองหาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง

5.2.2.2. Ex # ตั้งกฏสำหรับใช้ Facebook

5.2.2.2.1. ใช้สำหรับติดต่อกันในหมู่เพื่อนสนิทและเครือญาติ

5.2.2.2.2. ใช้ติดตามอินฟลูเอนเซอร์

5.2.3. คัดสรรคุณภาพของสื่อให้มากขึ้น

5.2.3.1. ถ้าคุณเคยตามอ่านข่าวจาก 10 แหล่ง ลองเลือกอ่านแค่ 1 แหล่งที่ดีที่สุดก็พอ

5.2.4. บิงโกขอแนะนำหนังสือ Indistractable ที่จะรวบรวมไอเดียและสารพัดแอพสำหรับช่วยกำจัดสิ่งรบกวนสมาธิให้กับคุณ

5.2.4.1. วิธีจัดการกรุ๊ปแชทไม่ให้รบกวนสมาธิจนเกินไป

5.2.4.2. วิธีจัดการการประชุมให้ตรงประเด็นและใช้เวลาน้อยที่สุด

5.3. รวมเรื่องเล่าของคนที่ปรับใช้ Digital Minimalism

5.3.1. ขอเลือกแค่โซเชียลมีเดียเดียว

5.3.1.1. เดฟเป็นคุณพ่อลูกสามที่ทำงานเป็นอาร์ทไดเรคเตอร์

5.3.1.2. เดฟทำงานด้านศิลปะ เขาคิดว่าอินสตราแกรมคือแอพที่ตรงกับกิจกรรมที่เขาชอบมากที่สุด

5.3.1.2.1. ทุกวันเดฟจะโพสภาพ 1 ภาพที่เป็น "แนวของเดฟ" แล้วเขาใช้แอพเพื่อติดตามผลงานของศิลปินที่เขาชื่นชอบเพื่อใช้เป็นแรงบันดาลใจ

5.3.1.2.2. พอเดฟมีเวลาเหลือมากขึ้น เขาก็นึกถึงช่วงเรียนมหาวิทยาลัยปีแรก พ่อของเขาจะเขียนจดหมายมาหาเขาทุกสัปดาห์ เขาจึงอยากจะใช้ไอเดียนี้กับลูกของเขาเองบ้าง

5.3.1.2.3. เดฟเริ่มจากวาดรูปเล็กๆ 1 รูปเอาไปใส่ไว้ในกล่องข้าวของลูกสาวคนโต หลังจากเขาทำไปเรื่อยๆ ในที่สุดเขาก็สามารถวาดได้ครบ 3 รูปต่อ 1 คืน

5.3.1.3. เดฟเล่าให้แคลฟังว่าเด็กๆ ชอบภาพวาดของเขามากและเริ่มจะสนใจงานศิลปะเหมือนพ่อขึ้นมาบ้างแล้วด้วย

5.3.2. ขอเลือกใช้เทคโนโลยีอื่นแทน

5.3.2.1. ผู้เข้าร่วมทดลองหลายคนเล่าให้แคลฟังว่า หลังจากผ่าน 30 วันในการเว้นการใช้เทคโนโลยี พวกเขาพบว่าเทคโนโลยีเดิมที่ใช้อยู่ไม่ได้ดีที่สุดสำหรับพวกเขาเสมอไป

5.3.2.2. เคทเลิกอ่านข่าวออนไลน์แล้วหันไปฟังรายการพอดแคสต์สรุปข่าวช้วงเช้าแทน

5.3.2.2.1. เธอพบว่าแค่ฟังพอดแคสต์ช่วงเช้าเธอก็ได้รับข่าวสารครบถ้วนดี

5.3.2.2.2. แล้วเธอก็ไม่ต้องนั่งอ่านข่าวออนไลน์ตลอดทั้งวันอีกต่อไป

5.3.2.3. ส่วนราเมลเลิกอ่านข่าวออนไลน์แล้วหันกลับไปหาเทคโนโลยีที่เก่ากว่านั้น นั่นคือ หนังสือพิมพ์

6. เมื่อเราไม่ได้เป็นแค่ลูกค้า แต่กลายเป็นสินค้าเสียเองในโลกดิจิตอล

6.1. เราเสพติดเทคโนโลยี

6.1.1. ทุกวันนี้เทคโนโลยีมีผลต่อพฤติกรรมของเรามากขึ้นเรื่อยๆ

6.1.1.1. แต่ละวันเราใช้เวลากับเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น

6.1.1.2. โซเชียลมีเดียมีผลต่อความรู้สึกของเรา

6.1.1.2.1. เพื่อนๆ ชอบสเตตัสที่เราเขียนจนกดไลค์กันเยอะ เราก็ดีใจ

6.1.1.2.2. เราโพสภาพแล้วไม่มีใครสนใจเลย เราก็ผิดหวัง

6.1.1.3. เรานั่งอ่านแฮชแทกต่างๆ ในทวิตเตอร์ได้ทั้งวัน ทั้งเรื่องที่มีสาระ บันเทิง และงานอดิเรกที่เราสนใจ

6.1.1.3.1. อ่านสถานการณ์การเมือง

6.1.1.3.2. อ่านอัพเดทล่าสุดวงเกาหลีที่ชื่นชอบ

6.1.1.3.3. อ่านข่าวล่าสุดของทีมฟุตบอลที่ตามเชียร์

6.1.1.3.4. อ่านดราม่ามาแรงที่สุดของวัน

6.1.1.4. เรานั่งดูซีรีส์หรือภาพยนตร์จากเน็ตฟลิกซ์ได้ทั้งวัน หรือไม่เราก็เปิดไล่หาเรื่องที่อยากจะดูได้เป็นชั่วโมงๆ

6.1.2. สุดท้ายแล้ว เราก็เลยเสพติดเทคโนโลยีเหล่านี้ เราใช้มันทุกวันจนติดเป็นนิสัย

6.1.2.1. พอเราเบื่อก็เข้าไปอ่านเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์

6.1.2.2. ถ้าอยากได้ความบันเทิง เราก็เปิดดูเน็ตฟลิกซ์

6.1.3. รวมคำสัมภาษณ์และความคิดเห็นจากเหล่าคนดัง

6.1.3.1. แอนดรูว์ ซุลลิแวน นักเขียนจากนิตยสาร New York

6.1.3.1.1. “ข่าวสาร รูปภาพ และคำพูดต่างๆ ในโลกออนไลน์กำลังทำลายผมจนย่อยยับ”

6.1.3.2. บิล เมเฮอร์ พิธีกรจากช่อง HBO

6.1.3.2.1. "ผู้สร้างโซเชียลมีเดียต้องหยุดทำตัวเป็นพระเจ้าที่อยากสร้างโลกให้ดีขึ้น แล้วยอมรับเถอะว่าพวกเขาเป็นแค่คนขายสิ่งเสพติดให้กับเด็กรุ่นใหม่ด้วยปุ่มที่เรียกว่าไลค์"

6.1.3.3. ตริสตัน แฮร์ริส วิศวกรจาก Google

6.1.3.3.1. "โซเชียลมีเดียก็คือตู้สล็อตแมชชีนดีๆ นี่เอง"

6.2. ทุกคนแข่งกันแย่งสมาธิไปจากเรา

6.2.1. เรากำลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจที่เรียกว่า "ระบบเศรษฐกิจแห่งการแย่งชิงความสนใจ" (Attention Economy)

6.2.2. ด้วยระบบเศรษฐกิจนี้ทำให้ทุกบริษัทหันมาเรียกร้อง "ความสนใจ" จากลูกค้าให้ได้มากที่สด ใครทำได้มาก คนนั้นก็คือผู้ชนะ

6.2.2.1. Ex # ติ๊กต๊อก

6.2.2.1.1. คุณเล่นติ๊กต๊อกได้ฟรีไม่เสียเงินก็จริง

6.2.2.1.2. แต่สิ่งที่ผู้สร้างต้องการก็คือ เขาอยากให้คุณเล่นนานๆ เล่นไปเรื่อยๆ

6.2.2.1.3. ยิ่งคุณเล่นมากเท่าไหร่ พวกเขาก็เอาความสนใจของคุณไปขายเป็นเงินค่าโฆษณาอีกทอดได้

6.2.2.2. Ex # ฟังพอดแคสต์

6.2.2.2.1. คุณเป็นคนชอบหาวิธีใหม่ๆ สำหรับพัฒนาตัวเอง คุณจึงชอบฟังพอดแคสต์สาระความรู้และพอดแคสต์สอนภาษาเป็นประจำ

6.2.2.2.2. แต่อย่าลืมว่าทุกพอดแคสต์เขาก็อยากดึงความสนใจจากคุณให้มากที่สุด

6.2.2.2.3. พวกเขาพยายามนำเสนอสาระที่คุณอยากรู้ คุณจะได้ฟังเขาได้ทุกคลิป ฟังได้ทั้งวัน

6.2.3. ที่จริงแล้วเราไม่ได้อ่อนแอหรือขี้เกียจจนเกินไปที่จะต่อต้านสิ่งรบกวนเหล่านี้ แต่เรารู้ไม่ทันกลยุทธ์ของบริษัทต่างๆ

6.2.3.1. บริษัทต่างๆ แย่งสมาธิจากเราด้วยการขาย "เนื้อหา" เพื่อดึงความสนใจไปจากเรา

6.2.3.1.1. Netflix มีภาพยนตร์และซีรีส์เยอะมากให้เราเลือกดู

6.2.3.1.2. อินสตราแกรมมีภาพสวยๆ ภาพเล่าเรื่องดีๆ ให้เราดู

6.2.3.1.3. Blockdit มีสาระความรู้และบทความหลากหลายให้เราอ่าน

6.2.3.1.4. สุดท้ายแทนที่เราจะเอาสมาธิไปใช้กับงาน เรากลับแบ่งสมาธิไปให้แอพต่างๆ เหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ

6.2.3.2. เบื้องหลังแนวคิดในการออกแบบแอพ ให้เราติดหนึบมี 2 ปัจจัยคือ

6.2.3.2.1. รางวัลที่เราคาดหวังอยากจะได้

6.2.3.2.2. การยอมรับจากสังคม

7. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร

7.1. หนังสือเล่มนี้จะแนะนำปรัชญาการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ให้น้อยลง แต่เราจะยังได้ประโยชน์จากมันเต็มที่เหมือนเดิม

7.2. เมื่อเราใช้เวลากับโลกออนไลน์น้อยลง เราจะเหลือเวลา สมาธิ และความสนใจเพิ่มขึ้น

7.3. คราวนี้เราจะเอาเวลา สมาธิ และความสนใจที่ได้กลับคืนมาไปใช้ทำงานสร้าง Productivity ดูแลสุขภาพกายและใจ หรือพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้คนก็ได้

7.4. นอกจากนี้เรายังจะได้เคล็ดลับดีๆ สำหรับ "เลือก" กิจกรรมและเทคโนโลยีซึ่งตรงกับเป้าหมายและประโยชน์ของตัวเองมากที่สุดด้วย