หยุดเสียสมาธิ หยุดวอกแวก และหยุดฟุ้งซ่านด้วยไอเดียดีๆ สำหรับจัดการสิ่งรบกวนสมาธิ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หยุดเสียสมาธิ หยุดวอกแวก และหยุดฟุ้งซ่านด้วยไอเดียดีๆ สำหรับจัดการสิ่งรบกวนสมาธิ by Mind Map: หยุดเสียสมาธิ หยุดวอกแวก และหยุดฟุ้งซ่านด้วยไอเดียดีๆ สำหรับจัดการสิ่งรบกวนสมาธิ

1. คนดังๆ พูดถึงหนังสือเล่มนี้อย่างไรบ้าง

1.1. มาร์ค แมนสัน

1.1.1. "หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยแนวทางที่นำไปใช้ได้จริงเพื่อช่วยจัดสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและชีวิตที่ดี ทุกคนที่มีสมาร์ทโฟนต้องไม่พลาดอ่านหนังสือเล่มนี้"

1.2. แคล นิวพอร์ท

1.2.1. "หนังสือเล่มนี้คือผลงานชั้นเลิศที่จะอธิบายว่า ทำไมเราถึงวอกแวกและฟุ้งซ่าน ถ้าคุณอยากทำงานแบบมี Productivity ห้ามพลาดหนังสือเล่มนี้"

1.3. เจมส์ เคลียร์

1.3.1. "ไอเดียในหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณมีสมาธิเพื่อทำในสิ่งที่คุณต้องการบนโลกที่แสนจะวุ่นวายนี้"

1.4. อาเดรียนา ฮัฟฟิงตัน

1.4.1. "นี่คือคู่มือชั้นยอดสำหรับทวงคืนสมาธิ ความสนใจ และชีวิตของฉันคืนมา"

2. ทำงานได้เต็มที่ไม่วอกแวก แค่รู้วิธีจัดการสิ่งรบกวนสมาธิ

2.1. ทุกวันนี้ไม่ได้มีแค่เทคโนโลยีที่คอยขโมยสมาธิของเรา

2.1.1. เราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีรุดหน้า มันช่วยสร้างชีวิตที่ดีให้เราก็จริง แต่ข้อเสียอีกด้านหนึ่งก็คือ มันดึงสมาธิ เวลา และความสนใจไปจากเรามากขึ้นเรื่อยๆ

2.1.2. แต่ต่อให้เราเลิกใช้เทคโนโลยี เราก็ยังหันไปมีสมาธิกับสิ่งอื่นแทนอยู่ดี

2.1.2.1. ปิดอินเทอร์เน็ต เราก็อยากอ่านหนังสือมากกว่าอยากทำงาน

2.1.2.2. ปิดโซเชียลมีเดีย เราก็อยากเล่นกับแมวมากกว่าทำงาน

2.1.3. หนำซ้ำพอเราเลิกใช้เทคโนโลยี เราก็อาจเจอปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วย

2.1.3.1. EX # โชคร้ายเกิดตอนเลิกใช้สมาร์ทโฟน

2.1.3.1.1. หลังจากเนียร์ถูกลูกสาวงอนที่มัวแต่สนใจอย่างอื่นแล้วไม่เล่นกับเธอ เขาตัดสินใจขอเลิกใช้สมาร์ทโฟนไปสักระยะ (Digital Detox)

2.1.3.1.2. คราวนี้เขากลับเจอปัญหาเต็มไปหมด เช่น

2.1.4. ทางออกจริงๆ ของปัญหานี้จึงไม่ใช่การเลิกใช้เทคโนโลยี แต่เป็นการปกป้องสมาธิของตัวเองไม่ให้มีสิ่งใดมาขโมยไปได้ง่ายๆ

2.2. ฝึกทักษะจัดการสิ่งรบกวนสมาธิ (Indistracable) เพื่อช่วยให้เรามีสมาธิทำงานมากขึ้น

2.2.1. ถ้าเราทำงานโดยไม่มีสมาธิ เราจะทำงานเสร็จช้าลงหรือไม่ก็เสร็จแต่ไร้คุณภาพ

2.2.1.1. คุณคงเขียนหนังสือแทบไม่รู้เรื่อง ถ้าคุณขาดสมาธิ

2.2.1.2. คุณคงตกลงสัญญาธุรกิจไม่รอบคอบ ถ้าคุณขาดสมาธิ

2.2.1.3. คนรักคุณคงไม่พอใจ ถ้าคุณไม่สนใจเขา/เธอ แล้วมัวแต่มีสมาธิกับโทรศัพท์ในมือ

2.2.2. ยิ่งในยุคสมัยที่มีสิ่งรบกวนอยู่รอบด้าน ต่อให้เราจะมีเป้าหมาย เลือกทำแต่งานสำคัญก่อน บริหารเวลาเก่ง แต่ถ้าเราจัดการสิ่งรบกวนสมาธิไม่เป็น เราก็จะเสียสมาธิในการทำงานอยู่ดี

2.2.3. ทักษะจัดการสิ่งรบกวนสมาธิ (Indistracable) จึงเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยจัดการสิ่งรบกวนสมาธิ ให้เรามีสมาธิกับการทำงานมากขึ้น

2.2.4. นับแต่นี้ไปเราจะแบ่งคนออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

2.2.4.1. คนที่ปล่อยให้ผู้อื่นมาควบคุมสมาธิและความสนใจ

2.2.4.1.1. = คนที่ไม่มีทักษะนี้

2.2.4.2. คนที่ไม่ปล่อยให้อะไรมากวนใจง่ายๆ

2.2.4.2.1. = คนที่มีทักษะนี้

2.2.4.3. แล้วคุณอยากเป็นคนประเภทไหนมากกว่ากัน?

3. วิธีจัดการ "ตัวเอง" เพื่อให้เลิกวอกแวก

3.1. เริ่มต้นจากรู้จักตัวเองให้มากขึ้น

3.1.1. ถ้าเราไม่เคยรู้ว่า เราวอกแวกเพราะอะไร เราไม่มีทางแก้ไขอาการนี้ได้

3.1.2. สดท้ายเราจึงชอบชี้นิ้วโทษ "เทคโนโลยี" "สมาร์ทโฟน" และ "โซเชียลมีเดีย" มากกว่าจะเริ่มแก้ไขจากจิตใจของเราเอง

3.1.3. Ex # ดู Netflix เยอะเกินไป

3.1.3.1. ทุกหัวค่ำ คุณชอบดูหนังหรือซีรีส์ใน Netflix

3.1.3.2. บางครั้งคุณก็ดูแค่ 1 เรื่องหรือ 1 ตอน แล้วค่อยเตรียมตัวเข้านอน แต่บ่อยครั้งคุณก็ดูเพลินจนเลยเวลานอน

3.1.3.3. คุณอาจจะโทษ Netflix ก็ได้ แต่คุณรู้หรือยังว่า "ทำไมคุณถึงเข้า Netflix?"

3.1.3.3.1. คำตอบอาจเป็น คุณรู้สึกเบื่อไม่มีอะไรทำหรือเหงาไม่มีคนคุย จึงอยากดู Netflix ก็ได้

3.1.4. ส่วนใหญ่แล้วตัวกระตุ้นจากภายในก็คือ ความรู้สึกด้านลบที่สั่งให้เราหนีไปหาสิ่งอื่นที่สบายกว่า

3.2. 3 ขั้นตอนสำหรับค้นหาตัวกระตุ้นจากภายใน

3.2.1. ลองสำรวจอารมณ์ของตัวเองก่อนที่เราจะวอกแวกไปทำอย่างอื่น

3.2.1.1. ตอนนั้นรู้สึกอย่างไร? ทำไมถึงอยากเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแทน?

3.2.1.2. Ex # คิดงานไม่ออก

3.2.1.2.1. ตอนนั้นรู้สึกอย่างไร?

3.2.2. จดตัวกระตุ้นภายในนั้นไว้

3.2.3. ทบทวนความรู้สึกของตัวเอง

3.2.3.1. ลองหยุดนิ่งอยู่กับความรู้สึกในตอนนั้นสักพัก อย่าเพิ่งรีบใช้ตัวช่วยอื่นๆ

3.2.3.1.1. แนะนำให้ลองใช้ "กฎ 10 นาที"

3.2.3.1.2. Ex # เวลาเบื่อแล้วจะเล่น Facebook

3.2.3.1.3. กฎ 10 นาทีนี้ใช้ได้ผลมาแล้วกับคนที่อยากเลิกสูบบุหรี่ เพราะมันช่วยให้เราหยุดทำอะไรทันทีโดยไม่ทันได้คิดหรือไม่ทันรู้ตัว

3.2.3.2. ลองเปลี่ยนจากคิดถึง "เป้าหมาย" เป็น "ประโยชน์"

3.2.3.2.1. Ex # ทำสไลด์นำเสนองาน

3.2.3.3. เปลี่ยนมุมมองให้เป็นบวกและเติมความสนุกสนานเข้าไป

3.2.3.3.1. Ex # ทำสไลด์นำเสนองาน

3.3. ปกป้องเวลาของเราให้มากขึ้น

3.3.1. เวลาถือเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของเรา เราต้องปกป้องทรัพย์สินนี้ไว้ อย่าให้อะไรหรือใครมาชิงมันไปง่ายๆ

3.3.2. ปกป้องเวลาด้วยเทคนิค Timeboxing

3.3.2.1. เทคนิค Timeboxing คือการจัดสรรเวลาในวันนี้ว่าคุณจะทำ "อะไร" "ตอนไหน"

3.3.2.2. สิ่งที่คุณต้องทำคือ เติมช่องว่างๆ ในตารางเวลาของวันนี้ให้เต็ม ด้วยสิ่งที่คุณจะทำ

3.3.2.3. การจัดสรรเวลานี้ควรเรียงลำดับจาก 3 ด้านสำคัญในชีวิตเริ่มจาก

3.3.2.3.1. ตัวเอง

3.3.2.3.2. เพื่อนฝูง ครอบครัว และคนรัก

3.3.2.3.3. งาน

3.3.3. บิงโกขอแนะนำหนังสือ The Effective Executive ที่จะแนะนำวิธีบริหารเวลาแบบฉบับผู้บริหารให้กับคุณ

3.4. บิงโกขอแนะนำหนังสือ Digital Minimalism ที่จะแนะนำหลักในการใช้เวลาบนโลกออนไลน์ให้น้อยลงแต่สร้างประโยชน์ในชีวิตได้มากขึ้น

4. วิธีจัดการ "สิ่งรอบตัว" เพื่อให้เลิกวอกแวก

4.1. ตัวกระตุ้นจากภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่จัดการได้ง่ายมาก ถ้าเรารู้วิธี (แล้วเราก็มีวิธีมาฝากคุณด้วย) ขอให้ลองเริ่มจากถามตัวเองว่า...

4.1.1. ตอนนี้ "เราใช้มัน" หรือ "เรารับใช้มัน" กันแน่?"

4.2. จัดการ "ชั่วโมงทำงาน"

4.2.1. ถ้าเราโดนอะไรมาขัดสมาธิ เรามีโอกาสทำผิดพลาด

4.2.2. ดังนั้นให้หา "สัญลักษณ์" มาใช้สำหรับป้องกันการถูกรบกวน

4.2.3. Ex # สัญลักษณ์ห้ามรบกวน

4.2.3.1. ตอนอยู่ออฟฟิศ ลองใส่หูฟังให้เพื่อนร่วมงานเห็นเป็นสัญลักษณ์ว่า "ฉันกำลังมีสมาธิทำงานอยู่นะ"

4.2.3.2. ตอนทำงานที่บ้าน ภรรยาของเนียร์จะสวมมงกุฎเป็นสัญลักษณ์ที่คนในครอบครัวรู้ว่า "เธอกำลังทำงานอยู่"

4.3. จัดการ "อีเมล"

4.3.1. ถ้าเราอยากได้รับอีเมลน้อยลง เราก็ต้องส่งอีเมลให้น้อยลงด้วย

4.3.2. ยกเลิกการสมัครรับอีเมลที่ไม่จำเป็น

4.3.2.1. นักเขียนแนะนำ Sanebox

4.3.2.2. บิงโกแนะนำ unroll.me

4.3.3. ชะลอการส่งอีเมล

4.3.3.1. หลังจากคุณเขียนอีเมลเสร็จแล้ว ให้ตั้งเวลาส่งหลังจากนั้นเพื่อลดการตอบรับส่งอีเมลกันไปมา

4.3.4. คุยกันโดยตรงแทนการตอบอีเมลไปมา

4.4. จัดการ "กรุ๊ปคุยงาน"

4.4.1. กรุ๊ปคุยงานเปรียบได้กับการประชุม แต่มันเป็นการประชุมที่ไม่มีวาระสำคัญและใครอยากจะเข้าหรือไม่เข้าก็ได้

4.4.2. ไม่จำเป็นต้องชวนทุกคนเข้ากรุ๊ป คัดแต่คนที่จำเป็น

4.4.3. ใช้แอพพลิเคชั่นให้เหมาะสมกับการคุยงานโดยเฉพาะ

4.4.3.1. Ex # Slack

4.4.3.2. Ex # Basecamp

4.4.4. นัดเวลามาคุยงานสำคัญร่วมกันจะได้ลดการคุยเล่นลง

4.4.5. ลองคิดว่ากรุ๊ปคุยงานคือห้องซาวน่า ยิ่งอยู่นานแทนที่จะสบายตัวกลับยิ่งร้อน ดังนั้นให้รีบเข้ามาคุยให้จบแล้วแยกย้าย

4.5. จัดการ "การประชุม"

4.5.1. หลายคนชอบนัดประชุมเพื่อหาวิธีแก้ปัญหางานให้กับตัวพวกเขาเอง

4.5.2. เปลี่ยนเงื่อนไขให้นัดประชุมยากขึ้น ต่อไปนี้ถ้าไม่มีวาระสำคัญหรือเอกสารจำเป็นต้องชี้แจงจะยังไม่นัดประชุม

4.5.3. นำโน้ตบุ๊คเข้าห้องประชุมได้แค่เครื่องเดียว ส่วนสมาร์ทโฟนของแต่ละคนก็เอาไว้ข้างนอกห้อง

4.6. จัดการ "สมาร์ทโฟน"

4.6.1. สรุปวิธีรับมือคือ การใช้หลัก 4R

4.6.1.1. Remove = ลบทิ้งไปเลย

4.6.1.1.1. ลบแอพพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็นออกไป

4.6.1.1.2. Ex # เกมที่เล่นแล้วติดมากๆ

4.6.1.1.3. Ex # แอพพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็น

4.6.1.1.4. ลบแอพพลิเคชั่นที่เราติดมันมากๆ ออกไป จากนี้หันไปใช้ในโน้ตบุ๊คแทน

4.6.1.2. Rearrange = จัดระเบียบใหม่ให้ง่ายขึ้น

4.6.1.2.1. เราสามารถจัดระเบียบหน้าจอเป็น 3 หมวดคือ

4.6.1.3. Replace = หาสิ่งอื่นมาแทนที่

4.6.1.3.1. Ex # หานาฬิกาข้อมือไว้ใช้แทนดูเวลาในสมาร์ทโฟน

4.6.1.4. Reclaim = ปรับปรุงการตั้งค่า

4.6.1.4.1. ตั้งเป็น Do not disturb

4.6.1.4.2. ปิดแจ้งเตือนต่างๆ ที่ไม่จำเป็น

4.6.1.4.3. ปิดแจ้งเตือนต่างๆ ไม่ให้มารบกวนสมาธิ

4.7. จัดการ "หน้าเดสก์ท็อป"

4.7.1. อย่าให้หน้าเดสก์ท็อปรกเละเทะ หาไฟล์อะไรไม่เจอ

4.7.2. ปิดการแจ้งเตือน

4.8. จัดการ "บทความออนไลน์"

4.8.1. บางทีการหลงเข้าไปอ่านก็เหมือนเราติดอยู่ในวังวนที่หาทางออกไม่ได้

4.8.2. ตั้งกฎกับตัวเอง จัดสรรเวลาสำหรับอ่านโดยเฉพาะ

4.8.3. เปลี่ยนจากอ่านเป็น "ฟัง" ระหว่างเดินหรือออกกำลังกายก็ได้

4.8.3.1. นักเขียนแนะนำ Pocket

4.9. จัดการ "หน้าฟีด"

4.9.1. เปลี่ยนไปใช้โปรแกรมอื่นๆ ที่แสดงผลน้อยลง

4.9.2. Ex # Youtube

4.9.2.1. DF Tube

4.9.3. Ex # Facebook

4.9.3.1. News Feed Eradicator

4.9.3.2. Todobook

4.10. เทคนิคพิเศษเพิ่มเติม

4.10.1. ทำให้ทุกอย่าง "ยาก" เข้าไว้

4.10.1.1. ยิ่งเราหยิบมือถือมาใช้ง่าย เปิดดูยูทูปได้ง่าย หรือแวะเล่นเกมได้ง่าย เราก็ยิ่งมีโอกาสเสียเวลาและสมาธิไปเรื่อยๆ

4.10.1.2. ดังนั้นลองใช้ตัวช่วยเหล่านี้เพื่อทำให้เราเข้าถึงตัวรบกวนสมาธิพวกนี้ยากขึ้น

4.10.1.2.1. Ex # Selfcontrol App

4.10.1.2.2. Ex # Freedom

4.10.1.2.3. Ex # Forest

4.10.2. วางเดิมพันบังคับตัวเอง

4.10.2.1. ครั้งหนึ่งเนียร์เคยท้าทายกับเพื่อนว่า...

4.10.2.2. ถ้าฉันเขียนต้นฉบับหนังสือไม่เสร็จตามวันที่ตั้งไว้ ฉันจะจ่ายเงินให้คุณเลย 10,000 ดอลลาร์

5. ผู้เขียน

5.1. เนียร์ อียาล

5.1.1. ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและที่ปรึกษาแบรนด์ชื่อดังอย่าง Twitter Instragram

5.1.2. เขียนหนังสือขายดีติดระดับโลก Hooked

5.1.2.1. Hooked เป็นหนังสือที่จะอธิบายว่าทำไมผู้บริโภคถึงติดผลิตภัณฑ์หนึ่งกันอย่างงอมแงม อ่านสรุปเนื้อหาได้ที่ลิงค์นี้

6. ค้นหาสาเหตุว่าทำไมเราถึงเสียสมาธิ

6.1. 2 ปัจจัยที่ทำให้เราเสียสมาธิ

6.1.1. ตัวกระตุ้นจากภายใน (Internal Triggers)

6.1.1.1. = อารมณ์และความรู้สึกของเรา

6.1.1.1.1. ความเหงา

6.1.1.1.2. ความเครียด

6.1.1.1.3. ความเบื่อหน่าย

6.1.1.1.4. ความหิว

6.1.1.2. เรามีแนวโน้มจะ "หนี" จาก "ความไม่สบายอะไรสักอย่าง" ไปสู่ความเพลิดเพลินอื่นๆ

6.1.1.3. ตัวกระตุ้นจากภายในถือเป็นตัวร้ายที่จัดการยากก็จริง แต่หนังสือเล่มนี้มีวิธีให้คุณ

6.1.2. ตัวกระตุ้นจากภายนอก (External Triggers)

6.1.2.1. = สภาพแวดล้อมรอบตัว

6.1.2.1.1. หนังสือที่วางอยู่บนโต๊ะ

6.1.2.1.2. การแจ้งเตือนจากแอพพลิเคชั่นต่างๆ

6.1.2.1.3. อีเมลฉบับใหม่

6.1.2.1.4. คนที่เดินไปมาในออฟฟิศ

6.1.2.2. ถ้าเรารู้วิธี ตัวกระตุ้นจากภายนอกจะเป็นตัวร้ายที่จัดการได้ง่าย

6.2. แผนภาพแสดงสาเหตุที่เราวอกแวก

7. วิธีจัดการ "สถานที่ทำงาน" เพื่อให้เลิกวอกแวก

7.1. ปัญหาสำคัญคือ เราถูกคาดหวังให้ต้องออนไลน์ตลอดเวลา

7.1.1. ปัจจุบัน เทคโนโลยีถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไวขึ้นและง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก

7.1.2. บริษัทต่างๆ ก็พากันรับเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประโยชน์ในด้านการทำงานมากขึ้น แต่มันก็เข้ามาพร้อมกับข้อเสียด้วย

7.1.2.1. พนักงานทุกคนถูกคาดหวังให้ต้องออนไลน์เพื่อติดต่อสื่อสารตลอดเวลา

7.1.2.2. เมื่อเกิดการสื่อสาร พนักงานทุกคนถูกคาดหวังให้ต้องตอบโดยเร็ว

7.1.2.3. Ex # กรุ๊ปไลน์ทีมงาน

7.1.2.3.1. ต่อให้เป็นช่วงหลังเลิกงานสัก 6 โมงเย็น หัวหน้าทีมก็สามารถส่งไลน์หาทีมงานได้

7.1.2.3.2. แน่นอนว่าพอลูกทีมเปิดไลน์อ่าน ก็ต้องยอมตอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

7.2. ถ้าใช้เทคโนโลยีมากจนเกิดปัญหา จงเปิดใจพูดคุยกันในทีม

7.2.1. ใครก็ตามไม่ว่าจะเป็นคุณ หัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน ต้องกล้าพูดว่าตอนนี้ในทีมกำลังใช้เวลากับการออนไลน์มากเกินไป

7.2.1.1. อย่าทนเครียดกับเสียงไลน์หลังเลิกงานอยู่ฝ่ายเดียว

7.2.1.2. แต่จงเปิดใจในทีมคุยกันว่าทุกคนจะหาทางออกจากปัญหานี้อย่างไร

7.2.2. เมื่อพนักงานกล้าพูดและรู้สึกได้ว่ามีคนคอยรับฟัง

7.2.2.1. พวกเขาจะรู้สึกปลอดภัยเวลาต้องแสดงความคิดเห็นอะไรออกมา

7.2.2.2. พวกเขาจะรู้สึกว่าเสียงของพวกเขามีความหมาย

7.2.2.3. 2 สิ่งนี้คือปัจจัยหลักในการสร้างทีมเวิร์คให้กับการทำงาน

7.2.2.4. บิงโกขอแนะนำหนังสือ Smarter Faster Better ที่จะแนะนำวิธีสร้างทีมที่ทำงานสอดประสานกันอย่างยอดเยี่ยม

7.3. Ex # การทำงานของบริษัท Slack

7.3.1. Slack คือตัวอย่างของบริษัทที่นำเทคโนโลยีมาช่วยในการทำงานได้อย่างชาญฉลาด

7.3.2. พวกเขาเปิดกว้างให้ตั้งห้องพูดคุยกันในหมู่พนักงานนอกเหนือจากเรื่องงานได้

7.3.2.1. พนักงานสามารถตั้งห้อง "เมาท์มอยซีรีส์" ได้

7.3.2.2. พนักงานสามารถตั้งห้อง "แชร์รูปน้อนสุดที่รัก" ได้

7.3.2.3. วิธีนี้ช่วยให้หัวข้อการพูดคุยที่นอกเหนือจากงานไม่ไปกองรวมกันในกรุ๊ปแชทเรื่องงาน

7.3.3. นอกจากนี้พวกเขายังมีห้องพูดคุยสำหรับรับฟังความคิดเห็นของพนักงานทุกคนด้วย

7.3.3.1. เมื่อพนักงานส่งความคิดเห็นไปแล้ว หัวหน้าก็มักตอบกลับด้วยตัวอิโมจิต่างๆ

7.3.3.2. หรือถ้าหัวหน้าช่วยแก้ปัญหาแล้วก็ตอบกลับด้วยเครื่องหมายถูก

7.3.3.3. วิธีนี้ช่วยให้พนักงานรู้สึกว่ามีคนคอยรับฟังปัญหาและเสียงของทุกคนก็มีความหมาย

7.3.4. Slack ยังสร้างระบบห้ามรบกวนที่จะปิดอัตโนมัตินอกเวลาทำงาน ทุกคนจึงส่งอีเมลหรือข้อความหลังเวลางานไม่ได้

7.3.5. สุดท้ายก็คือ Slack ย้ำกับพนักงานเสมอว่า "ทุกคนออฟไลน์ได้ ไม่เป็นไรเลย"

8. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร

8.1. หนังสือเล่มนี้จะเล่าวิธีจัดการสิ่งรบกวนสมาธิของเราในรูปแบบต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน โซเชียลมีเดีย ออฟฟิศ

8.2. เมื่อเราจัดการกับสิ่งรบกวนด้วยวิธีหรือเครื่องมือง่ายๆ ที่นักเขียนมาแนะนำในเล่มแล้ว เราจะมีสมาธิกับการทำงานมากขึ้น

8.3. ยิ่งเรามีสมาธิกับงานได้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งสร้าง Productivity ได้ดีมากขึ้นเท่านั้น