รวมแนวคิดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ จากหนังสือ The Essays of Warren Buffett

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
รวมแนวคิดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ จากหนังสือ The Essays of Warren Buffett by Mind Map: รวมแนวคิดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ จากหนังสือ The Essays of Warren Buffett

1. ที่มาของหนังสือ

1.1. วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนขวัญใจที่หลาย คนเอาเป็นแบบอย่าง แต่เขาไม่เคยเขียนหนังสือสอนใคร

1.2. แต่วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะเขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นบริษัท Berkshire Hathaway ทุกปี ซึ่งเต็มไปด้วยคำสอนและข้อคิดที่ลึกซึ้ง

1.3. นั่นทำให้ Lawrence Cunningham รวบรวมจดหมายของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มาสรุปเป็นข้อคิดการลงทุนดีๆ ให้เราได้เรียนรู้กัน

2. วอร์เรน บัฟเฟตต์ มองอะไรเวลาเลือกหุ้น

2.1. เลิกซื้อหุ้นก้นบุหรี่ (Cigar Butt)

2.1.1. หุ้นก้นบุหรี่คือหุ้นของบริษัทที่ไม่โต แต่ราคาหุ้นต่ำกว่าทรัพย์สินที่บริษัทมี

2.1.1.1. นักลงทุนบางคนซื้อหุ้นพวกนี้ เพราะคิดว่าจะกำไร จากส่วนต่าง "มูลค่าทรัพย์สิน" กับ "ราคาหุ้น"

2.1.2. อาจารย์ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบหุ้นแบบนี้ แต่บัฟเฟตต์ได้เรียนรู้ว่าหุ้นพวกนี้ได้กำไรไม่มาก

2.1.3. ถ้าคุณซื้อหุ้นก้นบุหรี่ ก็หยิบมาดูดได้อีกครั้งเดียว แต่คุณจะเหนื่อย ต้องตามหาบุหรี่มวนถัดไปเรื่อยๆ

2.2. หุ้นดีที่ราคาปานกลาง > หุ้นธรรมดาที่ราคาประทับใจ

2.2.1. นิทานเจ้าหญิงกับเจ้าชายกบ

2.2.1.1. เจ้าหญิงเจอกบตัวหนึ่งในหนองน้ำ กลายเป็นเพื่อนกับกบ และจุมพิตกบ สุดท้ายกบจึงกลายเป็นเจ้าชายสุดหล่อขึ้นมา

2.2.1.2. แต่ในชีวิตจริง คุณจะเสียเวลาเปล่าถ้ามัวหาเจ้าชาย จากกบนับร้อยในตลาดหุ้น

2.2.1.3. หาหุ้นที่เป็น "เจ้าชาย" ไปเลย ไม่ต้องไปหากบแล้วหวังว่ามันจะกลายเป็นเจ้าชาย

2.2.2. หุ้นที่ดีมากๆ จะโตเร็ว ราคาจะสูงขึ้นเร็วมาก

2.2.2.1. "โตเร็ว" หมายถึงยอดขายโต/กำไรโต

2.2.2.1.1. กำไร = ยอดขาย - ต้นทุน

2.2.3. หุ้นที่ดีมากๆ ไม่ต้องซื้อถูกก็ได้ ถือแล้วรวยกว่าซื้อหุ้นธรรมดาที่ราคาถูก

2.2.3.1. บริษัท Netflix แทบไม่เคยมีกำไร มีแต่หนี้ แต่บริษัทมีผู้ใช้เติบโตตลอด ยอดขายสูงขึ้นทุกปี ราคาหุ้นถือว่า "แพง" มาตลอด ถ้าดูจากหนี้สินและการขาดทุน

2.2.3.1.1. ราคาหุ้นขึ้นจาก $10 ในปี 2012 เป็น $400 ในปี 2020 (กำไร 4000%)

2.2.3.2. บริษัท CPF กำไรสม่ำเสมอ แต่โตไม่ค่อยเร็ว มีทรัพย์สินทั้งที่ดิน โรงงาน และแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีช่องทางจัดจำหน่ายครบเครื่อง บริษัทยังจ่ายเงินปันผลด้วย

2.2.3.2.1. ราคาหุ้นลงจาก 35 บาท ในปี 2012 เป็น 27 บาท ในปี 2020 (ขาดทุน 23%)

2.2.4. หุ้นธรรมดา ไม่มีทางกำไร 10 เท่า

2.2.4.1. หลักการของการซื้อ "หุ้นธรรมดาราคาถูก" คือ เราต้องมองว่าบริษัทนี้มูลค่า 100 แต่ราคาหุ้นขายกันที่ 70 เราก็เลยซื้อหุ้น แล้วรอให้ราคากลับไป 100 จึงขายทำกำไร

2.2.4.2. ถ้า "หุ้นธรรมดาราคาถูก" จะกำไร 10 เท่า เราต้องหาหุ้นที่มูลค่า 100 แล้วเราซื้อได้ในราคา 10 ซึ่งปกติไม่มี

2.2.4.3. แต่ "หุ้นดีราคาปกติ" จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะบริษัทเติบโตเร็ว ดังนั้นเป็นไปได้ที่จะกำไรเกิน 10 เท่า

2.3. ลักษณะของหุ้นบริษัทที่เยี่ยมยอด

2.3.1. ตัวธุรกิจยอดเยี่ยมไร้ที่ติ

2.3.1.1. ลงทุนน้อยกำไรมาก

2.3.1.1.1. นึกภาพว่าคุณเปิดร้านกาแฟ

2.3.1.1.2. ธุรกิจทุกชนิดก็เหมือนร้านกาแฟ ยิ่งคุณลงทุนน้อยกำไรมาก ยิ่งดี

2.3.1.1.3. การบอกว่า "ลงทุนน้อยกำไรมาก" ให้ดูจาก "Return on Equity" (ROE)

2.3.1.2. ธุรกิจยังมีช่องทางให้ขยาย

2.3.1.2.1. ถ้าคุณยังมีร้านกาแฟแค่ร้านเดียว คุณยังโตได้อีกเยอะ โดยการเปิดร้านใหม่ๆ ทั่วประเทศ

2.3.1.2.2. ถ้าทุกหัวมุมมีร้านของคุณหมดแล้ว ธุรกิจคงขยายต่อยาก บริษัทจะไม่ค่อยโตแล้ว

2.3.1.3. ธุรกิจมี "คูเมือง" (Moat)

2.3.1.3.1. ธุรกิจที่กำไรสูงย่อมมีคนอยากทำเยอะ ถ้าคู่แข่งเข้ามาได้ เขาจะมาตัดราคาจนกำไรไม่เหลือ

2.3.1.3.2. ธุรกิจที่ดีจึงต้องมีวิธี "กีดกันคู่แข่ง" ไม่ให้ใครเข้ามาแข่งได้

2.3.1.4. วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบหุ้นบริษัทที่ทำธุรกิจมั่นคง แต่ยอมรับว่าหุ้นบริษัทเทคโนโลยี ที่ประสบความสำเร็จจะราคาขึ้นสูงกว่า

2.3.1.4.1. หุ้นโค้กถือว่ามีธุรกิจที่มั่นคงมาก คนดื่มโค้กมา 100 กว่าปีแล้ว และอีก 20 ปี คนก็จะยังคงดื่มโค้กอยู่

2.3.1.4.2. หุ้นบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Microsoft ราคาสูงขึ้นเร็วกว่าโค้ก แต่วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะหลีกเลี่ยง เพราะยังไม่แน่ใจในโมเดลธุรกิจ

2.3.2. ราคาหุ้นไม่แพงเกินไป

2.3.2.1. วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่เคยบอกตรงๆ ว่า "ไม่แพงเกินไป" คืออะไร เราต้องคิดเอง

2.3.2.1.1. บิงโกมีเนื้อหาส่วน The New Buffettology ซึ่งลงรายละเอียดว่าวอร์เรน บัฟเฟตต์ คำนวณความแพงของหุ้นอย่างไร

2.3.2.2. "หุ้นไม่แพง" มีวิธีดูหลายอย่าง โดยมี 2 วิธีที่ง่ายที่สุด

2.3.2.2.1. ถ้าบริษัทมีกำไร ให้ดูค่า P/E ซึ่งคำนวณจาก P/E = ราคาหุ้น/กำไรต่อหุ้น

2.3.2.2.2. ถ้าบริษัทยังไม่มีกำไร ให้ดูค่า P/S ซึ่งคำนวณจาก P/S = ราคาหุ้น/ยอดขายต่อหุ้น

2.3.3. ผู้บริหารเก่งกาจ

3. วิธีมองตลาดหุ้น และใช้ประโยน์จากความผันผวน

3.1. ทวนเรื่องนายตลาด (Mr. Market)

3.1.1. “นายตลาด” หรือ Mr. Market เป็นตัวละครสมมติที่เป็นตัวแทนของตลาดหุ้น

3.1.1.1. Mr. Market เป็นคนเจ้าอารมณ์และไม่ฉลาด

3.1.1.1.1. วันไหน Mr. Market อารมณ์ดีเขาจะซื้อ/ขายหุ้นในราคาสูง

3.1.1.1.2. วันไหน Mr. Market อารมณ์เสียเขาก็จะซื้อ/ขายหุ้นในราคาต่ำ

3.1.1.2. Mr. Market ชอบปรับราคาหุ้นตามสารพัดข่าวต่างๆ

3.1.1.2.1. ถ้ามีข่าวลือด้านลบเกี่ยวกับหุ้น Mr. Market จะซื้อขายหุ้นตัวนั้นในราคาถูกทันทีโดยไม่สนใจพื้นฐานทางธุรกิจ

3.1.1.2.2. ถ้าเศรษฐกิจเกิดฟองสบู่ที่ร้อนแรง Mr. Market ก็จะซื้อขายหุ้นในราคาโอเว่อร์โดยไม่สนใจตัวธุรกิจเช่นกัน

3.1.1.3. Mr. Market ชอบฝันเพ้อเจ้อ

3.1.1.3.1. บางวัน Mr. Market จะเชื่อว่าบางธุรกิจกำลังจะมีกำไรมหาศาล ทั้งที่มันเป็นไปไม่ได้

3.1.1.3.2. อารมณ์ของเขาเปลี่ยนไปทุกวันอย่างไร้เหตุผล

3.1.2. ให้คุณมองว่าการที่ตลาดหุ้นขึ้นลงตลอดเวลา ก็เหมือนกับ Mr. Market ที่อารมณ์แปรปรวน อย่าไปใส่ใจมาก เพราะหุ้นจะขึ้นหรือลงมันขึ้นอยู่กับอารมณ์ ไม่ได้มีเหตุผลนัก

3.1.3. ข้อคิดจาก Mr. Market

3.1.3.1. ราคาหุ้นต่างจากมูลค่าหุ้น

3.1.3.1.1. มูลค่าหุ้นมาจากทรัพย์สินและกำไรของบริษัท

3.1.3.1.2. ราคาหุ้นคือสิ่งที่เปลี่ยนไปตามอารมณ์ของ Mr. Market ทุกวัน

3.1.3.2. ในระยะสั้น ราคาหุ้นจะเป็นเท่าไรก็ได้ แต่ในระยะยาว ราคาหุ้นจะกลับมาที่มูลค่าของมัน

3.1.3.2.1. ในระยะสั้น ตลาดหุ้นคือเครื่องนับคะแนน (ว่าบรรดานักลงทุนชอบหุ้นตัวไหน)

3.1.3.2.2. ในระยะยาวตลาดหุ้นคือเครื่องชั่ง (ว่าหุ้นมีมูลค่าจริงเท่าไร)

3.1.3.3. ความผันผวนคือโอกาส

3.1.3.3.1. เนื่องจากราคาหุ้นเปลี่ยนทุกวัน ทั้งที่มูลค่าเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ คุณจึงสามารถ "เอาเปรียบ" Mr. Market ได้

3.2. ใช้ความผันผวนให้เป็นประโยชน์

3.2.1. ความผันผวน ดูจากการที่ราคาหุ้นขึ้นลงรุนแรง

3.2.2. ตามทฤษฎีการเงิน เราจะถูกสอนว่า ให้หลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาขึ้นลงแรง เพราะความผันผวนคือความเสี่ยง

3.2.3. วอร์เรน บัฟเฟตต์ ไม่สนใจความผันผวน เขาดูบริษัทเป็นหลัก ถ้าบริษัทดี ราคาหุ้นจะผันผวนหน่อยก็ไม่เป็นไร

3.2.3.1. ความผันผวนจะเปิดจังหวะ ให้เราซื้อหุ้นในราคาถูกได้

3.2.4. มองแบบวอร์เรน บัฟเฟตต์ vs มองแบบทฤษฎีการเงิน

3.2.4.1. ราคาหุ้นขึ้นไปช้าๆ แต่บริษัทขาดทุนหนัก มีคู่แข่งเข้ามาแย่งตลาด หนี้สินรุงรัง

3.2.4.1.1. วอร์เรน บัฟเฟตต์: เสี่ยง ควรหลีกเลี่ยง

3.2.4.1.2. ทฤษฎีการเงิน: ไม่เสี่ยง ควรซื้อ

3.2.4.2. ราคาหุ้นผันผวนรุนแรง แต่บริษัทกำไรเติบโตต่อเนื่อง เอาชนะคู่แข่งได้ ผู้บริโภคมีความสุข

3.2.4.2.1. วอร์เรน บัฟเฟตต์: ไม่เสี่ยง ซื้อเมื่อราคาเหมาะสม

3.2.4.2.2. ทฤษฎีการเงิน: เสี่ยง ควรหลีกเลี่ยง

3.3. ซื้อหุ้นเมื่อตลาดหุ้นตกหนัก

3.3.1. "จงกลัวเมื่อคนอื่นโลภ จงโลภเมื่อคนอื่นกลัว" เป็นคำพูดที่โด่งดังของวอร์เรน บัฟเฟตต์

3.3.1.1. เมื่อคนอื่นโลภ พวกเขาจะพากันซื้อหุ้นโดยไม่สนใจราคา ทำให้ราคาหุ้นสูงเกินไป คุณควรอยู่เฉยๆ รอให้ตลาดตกหนัก

3.3.1.2. คนอื่นจะกลัวเมื่อตลาดตกหนัก พวกเขาจะเทขายหุ้นโดยไม่สนราคา นี่เป็นจังหวะเข้าซื้อหุ้นที่ดีในราคาที่เหมาะสม (หรือราคาถูกไปเลย)

3.3.2. เมื่อตลาดหุ้นตกหนัก ราคาหุ้นจะถูกจนเหลือเชื่อ คุณควรใช้จังหวะนี้ซื้อหุ้นเพิ่ม

3.3.3. เมื่อตลาดหุ้นตกหนัก คุณไม่ควรขายหุ้น รออยู่เฉยๆ เดี๋ยวราคาก็จะขึ้นกลับมา

3.3.3.1. ต้องมั่นใจด้วยว่าหุ้นของคุณเป็นหุ้นบริษัทที่ธุรกิจดี เติบโตต่อเนื่อง จึงถือต่อ

3.3.4. ถ้าหุ้นตกหนัก คุณควรดีใจ ไม่ใช่เสียใจ เพราะคุณจะได้ซื้อหุ้นในราคาถูก

3.3.4.1. ถ้าคุณอยากกินไก่ แล้วไก่ราคาต่ำลง คุณควรดีใจหรือเสียใจ?

3.3.4.2. ถ้าคุณวางแผนจะซื้อบ้าน แล้วบ้านราคาต่ำลง คุณควรดีใจหรือเสียใจ?

3.3.4.3. ถ้าคุณวางแผนจะซื้อบริษัท แล้วบริษัทราคาต่ำลง คุณควรดีใจหรือเสียใจ?

3.3.4.3.1. เป็นเรื่องจริงที่ฟังดูขัดความรู้สึก

3.4. อย่าใจร้อน

3.4.1. หาหุ้นเหมือนหาแฟน คุณควรกระตือรือร้นและใจกว้าง

3.4.2. ถ้าคุณใจร้อน คุณอาจซื้อหุ้นห่วยๆ มา แล้วจะเสียใจภายหลัง

3.4.2.1. เสียดาย ดีกว่า เสียใจ

3.4.3. ถ้ายังหาหุ้นที่ดีไม่ได้ ก็ยังไม่ต้องรีบซื้อ

3.5. ราคาหุ้นกับตัวบริษัท

3.5.1. ในระยะยาว ราคาหุ้นจะกลับไปหามูลค่าบริษัท แต่ในระยะสั้น ราคาหุ้นจะมั่วเท่าไรก็ได้

3.5.2. ให้มองตัวบริษัทเป็นการแข่งเบสบอล ส่วนราคาหุ้นเป็นป้ายคะแนน

3.5.2.1. ชัยชนะตัดสินกันที่ป้ายคะแนน (ราคาหุ้น)

3.5.2.2. แต่ถ้าอยากชนะ คุณต้องมองไปที่สนาม (บริษัท) ไม่ใช่มองไปที่ป้ายคะแนน

3.5.2.3. ให้เลือกซื้อบริษัทที่ดี แล้วเดี๋ยวราคาหุ้นจะสูงขึ้นเอง

3.5.2.3.1. อาจใช้เวลาหน่อยก่อนราคาหุ้น จะสะท้อนมูลค่าบริษัท นักลงทุนต้องอดทน

3.6. อย่ากระจายความเสี่ยงมากไป

3.6.1. แทนที่จะซื้อบริษัทกลางๆ 30 บริษัท คุณจะกำไรมากกว่าถ้าซื้อบริษัทที่ดีแค่ 3-5 บริษัท

3.6.1.1. ถ้าเอานักวิ่งทั่วโลก 30 คนมาแข่งกัน คุณคงไม่ลงเดิมพันกับทั้ง 30 คนหรอก คุณคงวางเงินกับคนที่วิ่งเร็วที่สุด 3-5 คนมากกว่า

3.6.2. บริษัทที่ดีไม่ได้มีให้ซื้อเยอะแยะ คุณต้องเก่งกว่าวอร์เรน บัฟเฟตต์ แน่ ถ้าคุณเจอหุ้นดีๆ 10 ตัวพร้อมกัน

3.6.3. การกระจายความเสี่ยงด้วยการซื้อหุ้น 30 ตัว จะเพิ่มความเสี่ยงให้คุณ เพราะคุณไม่มีเวลาดูทุกตัวหรอก สุดท้ายคุณจะถือหุ้นเน่าโดยไม่รู้ตัว

3.6.4. ภายหลัง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ ดังนี้

3.6.4.1. "That's a perfectly sound approach for somebody who does not feel they know how to analyze businesses."

3.6.4.1.1. มันก็ดีนะสำหรับคนที่วิเคราะห์ธุรกิจไม่เป็น

3.6.4.2. "Three wonderful businesses are more than you need in this life to do very well."

3.6.4.2.1. ขอหุ้นดีๆ แค่ 3 ตัวก็เพียงพอแล้ว ให้คุณประสบความสำเร็จไปทั้งชีวิต

3.6.4.3. "If you look at how the fortunes were built in this country, they weren't built on a portfolio of 50 companies."

3.6.4.3.1. ถ้าลองไปดูว่าคนเราสร้างฐานะขึ้นมาได้ยังไง คุณจะพบว่าไม่มีใครรวยจากการถือหุ้น 50 ตัว

3.7. อย่าขายหุ้นบริษัทที่ยังดีอยู่

3.7.1. หลายคนพอหุ้นขึ้น ก็จะ "ขายทำกำไร" แต่ถ้าบริษัทยังดีอยู่ ถือไว้เดี๋ยวราคาหุ้นก็ขึ้นต่อ

3.7.1.1. เพราะถ้าบริษัทยังเติบโตต่อเนื่อง ราคาหุ้นก็จะสูงขึ้นเพื่อสะท้อนการเติบโตนั้นเอง

3.7.2. นึกภาพว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัท คุณจะขายแผนกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วไหม? หรือจะขายแผนกที่ใกล้เจ๊งแทน?

3.7.2.1. ถ้าคุณคิดแบบเจ้าของบริษัท คุณจะเก็บแผนกที่ดีไว้ และขายแผนกเน่าออกไป

3.7.2.2. เวลาลงทุนก็เช่นกัน คุณควรเก็บหุ้นดีๆ ที่บริษัทโตขึ้นทุกปีไว้ แล้วขายหุ้นที่บริษัทตกต่ำออกไป

3.7.3. คนส่วนใหญ่ชอบถือหุ้นบริษัทเน่าไว้ เพราะพวกเขาขาดทุน ในขณะที่ขายหุ้นบริษัทดี เพราะพวกเขากำไร

3.7.3.1. นี่เหมือนการเด็ดดอกไม้แต่รดน้ำวัชพืช คุณควรทำตรงข้ามต่างหาก (รดน้ำดอกไม้ เด็ดวัชพืช)

3.7.3.2. หุ้นของบริษัทที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ มีแต่จะราคาต่ำลงทุกวัน คุณควรตัดใจขาย

3.7.3.3. หุ้นของบริษัทที่เติบโต มีแต่จะราคาสูงขึ่้น คุณไม่ควรรีบขาย เพื่อกำไรให้มากกว่านี้

3.7.3.3.1. การไม่ขายหุ้นดีนั้นทำใจยาก แต่คุณต้อง "ทนรวย" ให้ได้

3.7.4. บริษัท Microsoft ราคาขึ้นจาก $0.1 ในปี 1986 เป็น $183 ในปี 2020 เงินลงทุน 1,000 บาท จะกลายเป็น 1,830,000 บาท

3.7.4.1. แต่ถ้าคุณขายทำกำไรไปตั้งแต่ราคา $0.13 คุณก็จะกำไร 300 บาทจากเงินลงทุน 1,000 บาท

3.7.4.2. คนส่วนใหญ่จะเอากำไร 300 บาทไปซื้อหุ้นบริษัทที่เสื่อมลงเรื่อยๆ แล้วก็ไม่ได้ขายสักที เพราะราคาหุ้นลงไปเรื่อยๆ

3.8. อย่ากู้เงินมาซื้อหุ้น (margin)

3.8.1. ถ้าคุณเล่นหุ้นด้วยเงินกู้ (margin) คุณอาจกำไรดีติดต่อกันหลายปี แต่วิกฤติตลาดหุ้นครั้งเดียว อาจทำให้คุณหมดตัวได้ในวันเดียว

3.9. อย่าซื้อขายหุ้นบ่อย

3.9.1. ทุกครั้งที่คุณซื้อขายหุ้น คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนายหน้า จ่ายครั้งเดียวไม่มาก แต่ถ้าจ่ายหลายๆ ครั้ง มันจะกินเงินคุณเยอะมาก

3.9.2. พอคุณเลือกหุ้นดีๆ ได้ ให้ซื้อแล้วก็ถือนานๆ จะได้ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมมาก

3.9.3. ถ้าคุณซื้อขายหุ้นเดือนละ 10 ครั้ง คิดสักสิบปีก็จะเป็น 1200 ครั้ง

3.9.3.1. สมมติค่าธรรมเนียม 0.15% ถ้าโดนไป 1200 ครั้ง คุณจะเหลือ 0.9985^1200 = 16.5% ของเงินต้น ส่วนอีก 83.5% จ่ายให้โบรคเกอร์

3.9.3.2. ถ้าคุณเล่นหุ้นกำไร 10 เท่า คุณจะเหลือกำไรแค่ 16.5% x 10 = 1.65 เท่า เพียงเพราะคุณซื้อขายบ่อยเกินไป

3.10. อย่าเล่นท่ายาก หรือสูตรคำนวณแปลกๆ ที่สอนกันในโรงเรียนธุรกิจ

3.10.1. โรงเรียนธุรกิจชอบสอนสูตรแปลกๆ ให้คนนำมาใช้ลงทุน แต่คนที่ใช้สูตรพวกนี้มักลงทุนไม่รอด

3.10.1.1. เช่น

3.10.1.2. วอร์เรน บัฟเฟตต์ มองว่าสูตรพวกนี้ไร้สาระ แต่ก็ดีกับเขา เพราะมันทำให้คนอื่นขาดทุน บัฟเฟตต์จึงกำไรง่ายขึ้น

3.10.2. การลงทุนที่ดีเรียบง่ายกว่านั้นมาก: "ซื้อหุ้นบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม"

3.10.2.1. วอร์เรน บัฟเฟตต์ ทำแค่นี้เอง ก็มีทรัพย์สินมากกว่า 2.6 ล้านล้านบาทแล้ว

4. ผู้บริหารที่เก่งและดี ต้องดูตรงไหน

4.1. เลือกบริษัทที่ผู้บริหารคิดเหมือน...

4.1.1. ตัวเองเป็นเจ้าของ

4.1.2. เขาไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก

4.1.3. บริษัทคือชีวิตของตัวเอง

4.2. เลือกบริษัทที่ผู้บริหาร...

4.2.1. เก่ง

4.2.2. ขยันทำงาน

4.2.3. ไม่มีนอกมีใน

4.2.4. ทำเพื่อผู้ถือหุ้น

4.2.4.1. จะดีมากถ้าผู้บริหารถือหุ้นเองด้วย

4.3. ระวังบริษัทที่ผู้บริหาร...

4.3.1. ไม่ถือหุ้นบริษัทเลย

4.3.1.1. แสดงว่าเขาไม่เชื่อมั่นในตัวบริษัท

4.3.2. ให้คำสัญญาใหญ่โตเกินไป

4.3.2.1. ไม่ว่าบริษัทจะดีแค่ไหน ไม่มีใครทำนายอนาคตได้จริง

4.3.2.2. คนที่ซื่อสัตย์จะไม่ทำนายตัวเลขผลประกอบการ ที่ยาวเกินไป เพราะเขารู้ว่าอนาคตไม่แน่นอน

4.3.2.3. ถ้าเขาทำนายตัวเลข 5-10 ปีข้างหน้าได้ แสดงว่าขี้โม้ (และไม่ซื่อสัตย์)

4.3.2.4. ok--> เราออกสินค้าใหม่ ซึ่งปีที่แล้วโต 88% โดยปีนี้เรามีแผนจะเปิดร้านเพิ่ม 17 แห่ง พร้อมนำสินค้านี้ไปวางจำหน่าย

4.3.2.5. ไม่ ok--> เราออกสินค้าใหม่ เราคาดว่าสินค้านี้จะทำให้กำไรเราเติบโต 25% ในอีก 5 ปีข้างหน้า

4.3.3. ทำงบการเงินแล้วชอบมี "กำไรพิเศษ" หรือ "วิธีลงบัญชีแบบพิเศษ"

4.3.3.1. นั่นแสดงว่าเขากำลังพยายามแต่งบัญชี เพื่อให้บริษัทมีตัวเลขกำไรตามที่ต้องการ

4.3.3.2. การที่เขาพยายามแต่งบัญชี แสดงว่า "ต้องมีอะไรซ่อนอยู่" ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องดี

4.3.3.3. เช่น พูดถึง "กำไรก่อนหักค่าเสื่อมราคา" แทนที่จะใช้ "กำไรสุทธิ" (เลี่ยงไม่นับค่าใช้จ่ายเพื่อให้กำไรดูดี)

5. บัฟเฟตต์คิดอย่างไร กับการลงทุนอื่นที่ไม่ใช่หุ้น

5.1. เงินฝากธนาคาร & พันธบัตร

5.1.1. พวกนี้ให้ดอกเบี้ยต่ำเหลือเกิน ดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินเฟ้ออีก ยิ่งเก็บเงินไว้กับธนาคารยิ่งจน

5.1.2. มีให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นต้องมี (มีเท่าที่ต้องเผื่อไว้ใช้จ่ายฉุกเฉิน)

5.2. ทองคำ

5.2.1. เป็นก้อนเหลืองๆ ที่ไม่มีประโยชน์ ไม่ได้สร้างผลผลิตที่มีค่าให้เราเลย

5.2.1.1. ถ้าคุณถือเป็นเจ้าของที่ดินนาน 10 ปี มันจะออกพืชผลให้คุณกินมหาศาล

5.2.1.2. ถ้าคุณซื้อบริษัทน้ำมัน ใน 10 ปี มันจะขุดน้ำมันออกมาให้เราได้ใช้ สร้างประโยชน์และกำไรให้เรา

5.2.1.3. ถ้าคุณถือทองคำไว้ 10 ปี คุณก็ยังมีทองคำเท่าเดิม

5.2.2. คนที่ซื้อทองคำ กำลังเก็งกำไรว่าจะมีคนอื่นซื้อต่อในราคาแพงขึ้น โดยไม่มีพื้นฐานอะไรรองรับเลย

5.3. บ้าน

5.3.1. อย่าซื้อบ้านที่ราคาสูงเกินรายได้ บางคนผ่อนบ้านจนไม่มีเงินเหลือเก็บ พอตกงาน เจ็บป่วย หรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน ก็ไม่มีเงินผ่อนบ้าน และถูกยึด

5.4. หุ้นอเมริกา

5.4.1. วอร์เรน บัฟเฟตต์ เชื่อมั่นในอเมริกา และมองว่าอเมริกาจะเจริญรุ่งเรืองได้อีกนาน หุ้นอเมริกาจะยังคงเป็นการลงทุนที่ดีต่อไป

5.5. อนุพันธ์

5.5.1. อนุพันธ์ คือสัญญาเดิมพันว่าในอนาคตวันที่ xx ราคาทรัพย์สิน y จะเป็นเท่าไร --> พอถึงวันที่ xx ผู้ซื้อกับผู้ขายก็จะมาดูราคาทรัพย์สิน y แล้วจ่ายเงินให้กันตามสัญญา

5.5.1.1. เช่น นาย A กับ B เดิมพันกันว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยเดือนหน้าจะสูงหรือต่ำกว่า 1200 จุด

5.5.1.2. ถ้าสูงกว่า นาย A ก็จ่ายเงินนาย B แต่ถ้าต่ำกว่า นาย B ก็จ่ายเงินนาย A

5.5.1.3. อนุพันธ์สามารถเดิมพัน "ทรัพย์สิน" ได้หลากหลายชนิด ทั้งหุ้น ทองคำ เงินตราต่างประเทศ ฯลฯ

5.5.2. วอร์เรน บัฟเฟตต์ มองว่าอนุพันธ์เป็นเหมือนระเบิดเวลา คุณอาจกำไรติดต่อกันหลายปี แต่จะหมดตัวได้ในไม่กี่นาที

5.5.3. เวลาซื้อขายอนุพันธ์ คุณจะได้กำไรหรือขาดทุนรุนแรง ดังนั้นถ้าซื้อขายพลาดครั้งเดียว มันอาจกินทุนคุณจนหมดตัวได้ บัฟเฟตต์แนะนำว่าอย่าไปยุ่งกับอนุพันธ์

6. ข้อคิดสำคัญ

6.1. ในการลงทุน คุณภาพของบริษัทสำคัญมาก การซื้อหุ้นบริษัทที่ดีในราคาพอเหมาะ เหนือกว่าการซื้อหุ้นบริษัทธรรมดาในราคาถูก

6.2. บริษัทที่ดี ดูว่า: บริษัทลงทุนน้อยแต่กำไรมาก ยังมีโอกาสเติบโต และมีคูเมืองที่ป้องกันไม่ให้คู่แข่งเข้ามาแย่งตลาด

6.3. ผู้บริหารสำคัญมาก อย่าซื้อหุ้นที่ผู้บริหารขี้โกง/ บริหารแบบขอไปทีเด็ดขาด

6.4. ถ้าคุณซื้อหุ้นบริษัทเทคโนโลยีถูกตัว คุณจะกำไรสูงมาก แต่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบซื้อหุ้นบริษัทที่ธุรกิจคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเสี่ยงน้อยกว่ามาก

6.5. ถ้าหุ้นตกหนัก คุณควรดีใจ ไม่ใช่เสียใจ เพราะคุณจะได้ซื้อหุ้นในราคาถูก เหมือนดีใจที่บ้านราคาตก คุณจะได้ซื้อบ้านในราคาถูก

6.6. บริษัทเหมือนการแข่งเบสบอล โดยมีราคาหุ้นเป็นป้ายคะแนน ...ถ้าอยากชนะ คุณต้องมองไปที่สนาม (บริษัท) ไม่ใช่มองไปที่ป้ายคะแนน (ราคาหุ้น)

6.7. ขายหุ้นก็ต่อเมื่อบริษัทพื้นฐานเปลี่ยน (บริษัทไม่ดีแล้ว) ถ้าบริษัทยังดีอยู่ให้ถือไว้ ไม่ต้องขาย

6.8. ถ้าอยากรวย อย่าถือหุ้นมากตัวเกินไป ถือสัก 3-10 ตัวกำลังดี

6.9. ทองคำเป็นทรัพย์สินที่ไม่สร้างประโยชน์ มันไม่มีค่าในตัวเอง คุณแค่หวังว่าคน อื่นจะซื้อทองต่อจากคุณในราคาสูงขึ้น

7. วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) คือใคร?

7.1. นักลงทุนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ซึ่งเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 11 ปี และสนใจการลงทุนขึ้นมา

7.2. ตั้งแต่เป็นเด็กอายุ 13 ขวบ บัฟเฟตต์ก็เริ่มหัดเป็นเถ้าแก่ เขาซื้อเครื่องพินบอลเครื่องละ $25 มาตั้งในร้านตัดผม ไม่นานเขาก็ขยายธุรกิจจนมี 7 เครื่อง

7.3. ในปี 2017 มีคนยอมจ่ายเงิน $3.7 ล้าน เพื่อทานข้าวกลางวันกับปู่บัฟเฟตต์ (เงินก้อนนี้ถูกบริจาคเข้ากองทุนช่วยคนยากจน)

7.4. ผลตอบแทนปีละ 30% ในยุคทองช่วงอายุ 30-40 และผลตอบแทนปีละ 20% ตลอดชีวิตการลงทุนกว่า 60 ปี ในปี 2018 เขามีทรัพย์สิน 88 พันล้านดอลลาร์ ทั้งที่ได้บริจาคเงินไปแล้วกว่า 40 พันล้านดอลลาร์