การตรวจร่างกายระบบประสาท

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การตรวจร่างกายระบบประสาท by Mind Map: การตรวจร่างกายระบบประสาท

1. การตรวจร่างกาย

1.1. การสังเกต

1.1.1. การประเมินระดับความรู้สึก (Level of conscious)

1.1.1.1. ความตื่นตัว (Alertness)

1.1.1.1.1. ความพร้อมของสมองที่จะสำนึกรู้และคิดถึงสิ่งต่างๆ ทดสอบได้ด้วยการดูความเร็ว ความถูกต้องของการตอบสนอง และระดับการกระตุ้น

1.1.1.2. ความสำนึกรู้ (Awereness)

1.1.1.2.1. การรู้ตนเองและสิ่งแวดล้อม ทดสอบโดยการซักถามบุคคล เวลา สถานที่ ส่วนการคิด ทดสอบการตัดสินใจ การคิดเลข และความจำ

1.1.1.3. ระดับความรู้สึกตัว

1.1.1.3.1. ความรู้สึกตัวดี (Alert)

1.1.1.3.2. งุนงง (clouding of consciousness)

1.1.1.3.3. งุนงง สับสน (Confusional State)

1.1.1.3.4. คลั่งเสียสติ (Delirium)

1.1.1.3.5. ง่วงซึม (Drowsiness)

1.1.1.3.6. ซึมมาก (Stuporous)

1.1.1.3.7. หมดสติอย่างอ่อน (Semicoma)

1.1.1.3.8. หมดสติอย่างสิ้นเชิง (Coma)

1.1.1.4. การประเมินระดับความรู้สึก โดยใช้ (Glascow Coma Scale : EMV)

1.1.1.4.1. E = eye opening

1.1.1.4.2. M = motor response

1.1.1.4.3. V = verbal response

1.1.2. ท่าเดิน (Gait analysis)

1.1.2.1. ท่าเดินปกติ

1.1.2.1.1. ระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (Stance phase)

1.1.2.1.2. ระยะแกว่งเท้า (Swing phase)

1.1.2.2. ท่าเดินที่ผิดปกติ

1.1.2.2.1. เดินเกร็ง

1.1.2.2.2. เดินขาถ่าง

1.1.2.2.3. เดินเท้าตก

1.1.3. ท่าทาง (Posture)

1.1.3.1. สังเกตสัดส่วนของร่างกายด้านซ้ายและขวาสมมาตรกันหรือไม่ สังเกตว่าระดับไหล่ ระดับเชิงกรานเท่ากันหรือไม่

1.1.4. ส่วนโค้งกระดูกสันหลัง (Spinal curvatures)

1.1.4.1. ระดับคอแอ่น 20-40 องศา

1.1.4.2. ระดับอกโก่ง 20-45 องศา

1.1.4.3. ระดับเอวแอ่น 40-60 องศา

1.1.5. แนวกระดูกสันหลัง

1.1.5.1. สังเกตระดับไหล่ทั้ง 2 ข้าง แนวกระดูกสะบักและเชิงกรานว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าแนวกระดูกสันหลังผิดปกติ อาจเกิดจากกระดูกสันหลังคด

1.2. การคลำ

1.2.1. คลำหาตำแหน่งจุดกำหนดกายวิภาคต่างๆ แนว spinous process โดยเฉพาะ C7,T1

1.2.2. คลำหาจุดกดเจ็บ

1.2.3. คลำว่ามีต่อมน้ำเหลืองหรือก้อนผิดปกติหรือไม่

1.2.4. คลำว่ามีกระดูกสันหลังเลื่อนหรือคดหรือไม่

1.3. การเคาะ

1.3.1. เคาะตามแนวกระดูกสันหลังว่ามีอาการเจ็บที่ตำแหน่งใด

1.4. การฟัง

1.4.1. ฟังว่ามีเสียงลั่นผิดปกติหรือไม่ ขณะที่ผู้ป่วยก้มเงย เอียงซ้ายขวา และหมุนซ้ายขวา

2. การตรวจระบบประสาท

2.1. การตรวจกล้ามเนื้อ

2.1.1. การตรวจขนาดความตึงและกำลังกล้ามเนื้อเพื่อหาตำแหน่งพยาธิสภาพที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงว่าอยู่ตำแหน่งใด

2.1.2. การตรวจเริ่มจากการดูขนาดของกล้ามเนื้อว่าฝ่อลีบกว่าปกติหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับอีกข้าง

2.1.3. การดูว่ามีการหดรั้ง,fasciculation,tremor และ cogwheel rigidity หรือไม่

2.1.4. การตรวจความตึงของกล้ามเนื้อขณะพัก

2.1.5. ตรวจเริ่มจากแขนไปขา จากส่วนต้นไปส่วนปลายตามลำดับ

2.2. การตรวจการรับความรู้สึก

2.2.1. การรับความรู้สึกเจ็บปวด (Pinprick sensation)

2.2.1.1. ตรวจโดยวัตถุปลายแหลม เช่น เข็มหรือไม้จิ้มฟัน

2.2.2. การรับรู้อุณหภูมิ (Temperature)

2.2.2.1. ตรวจโดยน้ำแข็งหรือสำลีชุบแอลกอฮอล์วางในตำแหน่งที่ต้องการตรวจ

2.2.3. การรับรู้สัมผัส (Touch)

2.2.3.1. ตรวจโดยใช้สำลีสัมผัสที่บริเวณที่ต้องการตรวจ

2.2.4. การรับรู้ตำแหน่งข้อ (Proprioception)

2.2.4.1. ตรวจโดยขยับข้อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าขึ้นและลงสลับกัน แล้วถามผู้ป่วยเพื่อทดสอบว่าตอบได้ถูกต้องหรือไม่

2.2.5. การรับรู้การสั่นสะเทือน (Vibration)

2.2.5.1. ตรวจโดยใช้ tuning fork เคาะแล้ววางที่ผิวหนัง

2.3. การตรวจรีเฟล็กซ์

2.3.1. Deep tendon reflex

2.3.1.1. การตรวจรีเฟล็กซ์ตรวจได้เพียงบางระดับของไขสันหลังเท่านั้น

2.3.1.2. ใช้อุปกรณ์เคาะเอ็นกล้ามเนื้อที่ต้องการตรวจ

2.3.2. Superficial reflexes

2.3.2.1. Superficial abdominal reflex

2.3.2.1.1. ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายยบนเตียงตรวจ ใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์หรือเล็บขูดที่ผิวหนังแต่ละส่วนรอบสะดือ

2.3.2.2. Superficial cremasteric reflex

2.3.2.2.1. เป็นการตรวจเฉพาะเพศชายเท่านั้น ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ ใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์หรือเล็บขูดที่ผิหนังบริเวณด้านในต้นขาใกล้กับลูกอัณฑะ

2.3.2.3. Superficial anal wink reflex

2.3.2.3.1. ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ งอเช่าและสะโพกทั้งสองข้างและกางขาออก ใช้เข็มจิ้มเบาๆที่ผิวหนังรอบทงารหนัก

2.3.2.4. Bulbocavernosus reflex

2.3.2.4.1. ตรวจโดยผู้ตรวจใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในทวารหนักผู้ป่วย

2.3.3. Pathologic reflexes

2.3.3.1. Clonus

2.3.3.1.1. ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนงอเข่าแบะเท้าสองข้างออกหรือนั่งห้อยขา ผู้ตรวจใช้มือดันฝ่าเท้าผู้ป่วยขึ้นลง

2.3.3.2. Babinski's reflex

2.3.3.2.1. ตรวจโดยใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์ขูดที่ฝ่าเท้าจากด้านนอกเข้าหาด้านในบริเวณหัวแม่เท้า

2.4. การตรวจพิเศษ

2.4.1. Straight leg raising test (SLRT)

2.4.1.1. เป็นการตรวจที่ทำให้เส้นประสาท sciatic และรากประสาท (L4,L5,S1) รวมทั้งถุงหุ้มไขสันหลังใกล้เคียงที่อักเสบถูกดึงยืด

2.4.1.2. การครวจให้ผู้ป่วยนอนหงาย ผู้ตรวจจับข้อเท้าของผู้ป่วยข้างที่มีอาการค่อยๆยกขาขึ้น โดยให้ข้อเข่าอยู่ในท่าเหยียด ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกร้าวลงมาด้านหลังของต้นขาลงไปถึงบริเวณน่องหรือข้อเท้า แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก

2.4.1.3. สาเตุของการปวดอาจเกิดจากการตึงของกล้ามเนื้อ hamstringซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงบริเวณด้านหลังต้นขา แตาไม่ร้าวลงมาบริเวณน่อง

2.4.1.4. การยกขาในช่วง 30 องศาแรก ไม่ควรเกิดอาการปวด