สร้าง Productivity ให้มากขึ้น ด้วย Deep Work รูปแบบการทำงานแห่งโลกยุคใหม่

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
สร้าง Productivity ให้มากขึ้น ด้วย Deep Work รูปแบบการทำงานแห่งโลกยุคใหม่ by Mind Map: สร้าง Productivity ให้มากขึ้น ด้วย Deep Work รูปแบบการทำงานแห่งโลกยุคใหม่

1. ระบายงานแบบ Shallow Work ออกไป

1.1. เคล็ดลับข้อสุดท้ายคือ การกำจัดงานแบบ Shallow Work ออกไป เพื่อให้เรามีเวลาสำหรับทำงานแบบ Deep Work มากขึ้น

1.1.1. จริงอยู่ว่าเราอาจกำจัดออกไปทั้งหมดไม่ได้

1.1.1.1. ทุกคนยังมีงานเอกสารต้องทำ

1.1.1.2. ทุกคนยังต้องรับส่งอีเมล

1.1.1.3. ทุกคนยังต้องคุยโทรศัพท์ติดต่องาน

1.1.2. แต่อย่างน้อยแค่ลดจำนวนลงให้น้อยที่สุดก็ช่วยให้เราเหลือเวลามากขึ้นได้

1.2. วิเคราะห์งานที่ทำว่า "งานไหนคือ Shallow Work"

1.2.1. เราต้องเริ่มจากแยกแยะให้ได้ว่างานไหนคือ Deep Work งานไหนคือ Shallow Work

1.2.2. ให้ตั้งคำถามกับงานต่างๆ ที่ทำว่า...

1.2.2.1. งานนี้ต้องใช้สมาธิมากไหม?

1.2.2.2. งานนี้ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางไหม?

1.2.2.3. งานนี้สร้างคุณค่าใดๆ ให้เรา บริษัท และสังคมไหม?

1.2.2.4. ถ้าให้ทำงานนี้ซ้ำจะยากไหม?

1.2.2.5. ถ้าส่วนใหญ่แล้วเราตอบว่า "ใช่"

1.2.2.5.1. งานนั้น = Deep Work

1.2.3. เมื่อเราสามารถแยกแยะประเภทของงานได้ เราจะจัดลำดับความสำคัญของการทำงานก่อนหลังได้ดียิ่งขึ้น

1.3. รวมงานแบบ Shallow Work ไว้ทำทีเดียว

1.3.1. ก่อนที่เราจะทำเช่นนี้ได้ เราต้องวางแผนตารางในแต่ละวันให้ละเอียด

1.3.2. ถ้าเราวางแผนไม่ละเอียด เราจะทำงานต่างๆ แบบไม่ทันคิด แม้ว่างานนั้นจะไม่สำคัญหรือเป็นงานแบบ Shallow Work ก็ตาม

1.3.2.1. แคลจึงแนะนำให้เราวางแผน "ทุกนาที" ของวัน

1.3.2.2. คุณอาจคิดว่า "ทุกนาที" มันบ้าเกินไป แต่มันจะเหมือนการบังคับให้เราคิดวางแผนให้ครบทั้งวัน

1.3.2.3. แล้วเราจะมองออกว่า "เราจะรวมงานเล็กๆ อันไหนมาทำด้วยกันดี"

1.3.2.4. Ex # งานประสานงาน

1.3.2.4.1. สมมุติว่าเราวางแผนทุกนาทีเรียบร้อยแล้วพบว่ามีลูกค้า 2 เจ้า กับอีก 1 เจ้าของกิจการให้ต้องโทรติดต่องาน

1.3.2.4.2. เราอาจวางแผนให้ช่วงบ่ายโมง เราจะโทรหาทั้ง 3 คนเลย แล้วเอาเวลาช่วงเช้าไว้ทำงานแบบ Deep Work แทน

1.3.3. ตัวอย่างการจัดตารางงานทุกนาที

1.3.3.1. ตีเส้นตรงแนวตั้งด้านซ้ายมือของกระดาษไว้สำหรับเขียนช่วงเวลา

1.3.3.2. ใส่ช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มวันทำงานลงไป

1.3.3.3. จัดล็อคเวลาไว้สำหรับทำงานต่างๆ (เหมือนการแบ่งล็อคออกบูธขายของ)

1.3.3.3.1. แต่ละล็อคควรใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาที

1.3.3.3.2. Ex # 9-11 โมง ล็อคเวลาไว้สำหรับทำสไลด์นำเสนองานลูกค้า

1.3.3.3.3. Ex # 13.00-13.30 โทรติดต่อคุณสมศักดิ์เรื่องจัดส่งสินค้า

1.3.3.4. ล็อคเวลาสำหรับช่วงพักเบรกระหว่างวันและเวลากินข้าว

1.3.3.5. พอจัดเสร็จแล้ว เราจะพบว่างานบางอย่างสามารถนำมายุบรวมกันไว้ทำทีเดียวได้

1.3.3.5.1. Ex # รับส่งอีเมล

1.4. ใช้อีเมลอย่างชาญฉลาด

1.4.1. ยิ่งเราเสียเวลากับอีเมลมาก เราก็ยิ่งเสียชั่วโมงการทำงานมาก ดังนั้นเราต้องใช้อีเมลให้ชาญฉลาดมากขึ้น โดย...

1.4.2. อย่าให้ใครส่งอีเมลมาหาเราได้ง่ายๆ

1.4.2.1. ลดการแสดงอีเมลไว้ช่องทางออนไลน์ต่างๆ

1.4.3. ลดการตอบอีเมลไปมาด้วยการข้อเสนอที่คิดมารอบคอบแล้ว

1.4.3.1. Ex # หาข้อสรุปวันนัดนำเสนองาน

1.4.3.1.1. แทนที่จะถามกันไปมาว่า สะดวกวันไหน เวลาไหน จะมากี่คน นัดที่ไหน

1.4.3.1.2. ให้คุณคิดแทนให้หมดแล้วเสนอกลับไปทีเดียวเลย เช่น

1.4.4. ไม่ตอบอีเมลนั้นถ้าไม่จำเป็นต้องตอบ

2. ลด ละ เลิกการใช้โซเชียลมีเดีย

2.1. การกำจัดสิ่งรบกวนสมาธิเป็นวิธีอันยอดเยี่ยมในการช่วยให้เรามีสมาธิกับการทำงาน

2.2. เลือกใช้แต่โซเชียลมีเดียที่มีประโยชน์

2.2.1. ถ้าเราอยากเชี่ยวชาญทักษะการทำงานแบบ Deep Work เราต้องรู้จักควบคุม "เวลา" และ "ความสนใจ" ของตัวเอง ไม่ให้ถูกสิ่งใดมาขโมยไป

2.2.2. เราต้องรู้จักเลือกใช้แต่แอพที่มีประโยชน์กับเราจริงๆ ไม่ใช่ถูกบังคับให้ใช้

2.2.2.1. ระบุเป้าหมายของการใช้งานให้ชัดเจน

2.2.2.2. ระบุกิจกรรมที่ต้องทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

2.2.2.3. ประเมินว่าแอพไหนมีประโยชน์ โทษ หรือเฉยๆ ต่อเป้าหมายของเรา

2.2.2.4. ลบแอพที่ไม่ทำประโยชน์ทิ้งไป

2.2.3. Ex # การแปลบทความ

2.2.3.1. เป้าหมายของคุณคือ การแปลบทความจากภาษาอังกฤษ

2.2.3.2. กิจกรรมที่ต้องทำคือ...

2.2.3.2.1. ดูรายการสอนภาษาของอาจารย์จอห์นสันและครูสมพร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา

2.2.3.2.2. สำรวจเทรนด์ใหม่จากสื่อต่างๆ

2.2.3.3. ประเมิน

2.2.3.3.1. เฟซบุ๊ค

2.2.3.3.2. ทวิตเตอร์

2.2.3.3.3. ยูทูป

2.2.3.3.4. อินสตราแกรม

2.2.3.4. สรุปคือ ลบทวิตเตอร์และอินสตราแกรม

2.3. ลองเลิกใช้โซเชียลมีเดีย

2.3.1. ถ้าเรารู้สึกว่าโซเชียลมีเดียต่างๆ เริ่มเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เราควรทบทวนความสำคัญของมันอีกครั้ง โดยการลองเลิกเล่นเป็นเวลา 30 วัน

2.3.2. หลังจากผ่าน 30 วัน ให้ลองตั้งคำถามกับตัวเองถึงโซเชียลมีเดียแต่ละคัวว่า...

2.3.2.1. ถ้า 30 วันมานี้ ฉันได้ใช้ (ชื่อโซเชียลมีเดีย) ชีวิตจะดีขึ้นกว่านี้ไหม?

2.3.2.2. มีเพื่อนหรือคนอื่นๆ สนใจไหมว่าฉันเลิกเล่น (ชื่อโซเชียลมีเดีย) ไป 30 วัน

2.3.3. เราอาจได้คำตอบตามมาว่า ชีวิตเราดีและมีความสุขขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่มี (ชื่อโซเชียลมีเดีย) นี้

2.4. หากิจกรรมพักผ่อนอื่นมาแทนที่โซเชียลมีเดีย

2.4.1. หลังเราทำงานอย่างเต็มที่ เราก็สมควรได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่คนส่วนใหญ่มักเลือกพักผ่อนด้วยการเล่นอินเทอร์เน็ตหรือสร้างความบันเทิงด้วยโซเชียลมีเดีย

2.4.2. ทั้งที่จริงแล้วเวลาพักผ่อน เราไม่ควรเสียสมาธิไปกับของเหล่านี้ แต่เราควรพักผ่อนแบบมีคุณภาพด้วยกิจกรรมอื่นๆ แทน

2.4.3. ตัวอย่างกิจกรรมพักผ่อนที่มีคุณภาพ

2.4.3.1. ทำงานอดิเรกต่างๆ

2.4.3.1.1. เล่นดนตรี

2.4.3.1.2. ทำอาหาร

2.4.3.1.3. ทำสวน

2.4.3.1.4. อ่านหนังสือ

2.4.3.2. ท่องเที่ยว

2.4.3.2.1. นั่งหย่อนใจริมทะเล

2.4.3.2.2. เดินป่า

2.4.3.2.3. เดินเล่นในสวนสาธารณะ

2.4.3.3. ใช้เวลากับเพื่อนและครอบครัว

2.5. บิงโกขอแนะนำคอร์สอบรมหนังสือ Digital Minimalism ที่จะสอนปรัชญาการใช้ชีวิตแบบมินิมอลบนโลกดิจิตอล แล้วเราจะใช้เวลาออนไลน์น้อยลงแต่ได้ประโยชน์กับชีวิตมากขึ้น

3. ฝึกรับมือกับสิ่งรบกวนสมาธิ

3.1. หลังจากเรารู้วิธีปรับสภาพแวดล้อมเพื่อทำงานแบบ Deep Work แล้ว อันดับถัดไปคือ ฝึกให้ตัวเองไม่วอกแวกและเสียสมาธิไปกับสิ่งต่างๆ ที่คอยรบกวน

3.2. จัดตารางเวลาสำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต

3.2.1. โซเชียลมีเดีย อีเมล แชทกรุ๊ป และแอพพลิเคชั่นล้วนเป็นตัวทำลายสมาธิของเราทั้งสิ้น

3.2.2. ดังนั้นเพื่อไม่ให้เราต้องเผลอใช้สิ่งเหล่านี้ระหว่างทำงาน เราควรกำหนดเวลาให้ชัดเจนว่าจะใช้ได้เมื่อไหร่แทน

3.2.2.1. กำหนดเวลาสำหรับเช็คอีเมล

3.2.2.2. กำหนดเวลาสำหรับเล่นโซเชียลมีเดีย

3.2.2.3. ถ้ายังอยากเล่นอินเทอร์เน็ตจริงๆ ให้พยายามอดทนให้มากที่สุดก่อนหรือไม่ก็หากิจกรรมอื่นที่ไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตทำแทน เช่น อ่านหนังสือ

3.2.3. ถ้าเราอยากเพิ่มความเด็ดขาดให้ตัวเองมากขึ้น ให้เลือก "ปิดอินเทอร์เน็ต" ไปเลย

3.3. กำหนดเส้นตายไว้กดดันตัวเอง

3.3.1. เราจะเหมือนได้ทำงานแข่งกับเวลา แล้วเราก็จะอยากมีสมาธิกับงานเพิ่มขึ้น ไม่อยากเสียสมาธิกับสิ่งอื่นๆ ไม่เช่นนั้นเราก็จะทำงานไม่ทัน

3.3.2. Ex # ออกแบบ Banner

3.3.2.1. ปกติแล้วเราต้องการเวลาออกแบบ Banner 1 ชิ้นที่ราว 3 ชั่วโมง

3.3.2.2. ลองกดดันตัวเองด้วยการตั้งเส้นตายเป็น 2 ชั่วโมงแทน

3.4. ฝึกสร้างสมาธิด้วยเกมฝึกความจำ

3.4.1. การเล่นเกมลับสมองหรือเกมฝึกความจำเป็นอีกวิธีที่ช่วยฝึกสมาธิให้เราได้

3.4.2. นอกจากเล่นเกมแล้ว เรายังฝึกด้วยวิธีอื่นๆ ได้ เช่น

3.4.2.1. ฝึกจำคำศัพท์ใหม่ๆ

3.4.2.2. ฝึกจำเนื้อเพลง

3.5. บิงโกขอแนะนำคอร์สอบรมหนังสือ Indistractable หนังสือที่รวบรวมเทคนิคจัดการสิ่งรบกวนสมาธิในการทำงานทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน การประชุม หรือโน๊ตบุ๊ค

4. สร้างสภาพแวดล้อมมาบังคับ ให้ตัวเองทำงานแบบ Deep Work

4.1. เลือกการทำงานแบบ Deep Work จาก 4 รูปแบบดังนี้

4.1.1. สันโดษแบบพระ

4.1.1.1. = การเก็บตัวทำงานโดยไม่มีอะไรมารบกวน และตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง

4.1.1.2. นี่คือรูปแบบการทำงานแบบ Deep Work ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ก็ทำตามได้ยากที่สุดด้วย

4.1.1.3. ข้อเสียคือ ถ้าระหว่างเก็บตัวทำงานมีโอกาสสำคัญเข้ามา เราจะพลาดโอกาสเหล่านั้นไปเลย

4.1.2. สลับใช้ชีวิตกับทำงานโดยสันโดษ

4.1.2.1. = การเก็บตัวทำงานแบบตัดขาดจากโลกภายนอกในรูปแบบที่ 1 สลับกับการใช้ชีวิตตามปกติ

4.1.2.2. รูปแบบนี้จะช่วยให้เราทำงานได้มาก แล้วยังแบ่งเวลามาทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้ด้วย

4.1.2.3. วิธีสลับสามารถทำได้หลากหลาย เช่น

4.1.2.3.1. เก็บตัวทำงาน 1 สัปดาห์ แล้วสลับมาใช้ชีวิต 1 สัปดาห์

4.1.2.3.2. เก็บตัวทำงาน 4 วัน แล้วสลับมาใช้ชีวิต 3 วัน

4.1.2.3.3. Ex # อดัม แกรนท์ นักเขียนชื่อดัง

4.1.3. กำหนดตารางงานประจำวันเองได้

4.1.3.1. = การกำหนดตารางเวลาในแต่ละวันหรือสัปดาห์ว่าจะทำงานแบบ Deep Work เท่าไหร่

4.1.3.2. รูปแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่มีจังหวะการทำงานที่สม่ำเสมอ และสามารถจัดตารางงานด้วยตัวเองได้

4.1.3.3. รูปแบบนี้เหมาะสมกับพนักงานออฟฟิศโดยทั่วไปมากที่สุด

4.1.3.4. วิธีจัดตารางงานก็ทำได้หลากหลาย เช่น

4.1.3.4.1. ใน 1 วัน ช่วงเช้าตั้งแต่ 9.00-12.00 น. จะทำงานแบบ Deep Work แล้วช่วงบ่ายจะเคลียร์งานแบบ Shallow Work

4.1.3.4.2. ใน 1 สัปดาห์ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ คือวันที่จะทำงานแบบ Deep Work

4.1.4. เตรียมตัวพร้อมทำงานทุกเวลาแบบนักข่าว

4.1.4.1. = การพร้อมทำงานแบบ Deep Work ทุกเมื่อที่มีโอกาส

4.1.4.1.1. Ex # นักข่าว

4.1.4.2. รูปแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ และไม่มีเวลาทำงานที่แน่นอน

4.1.4.2.1. ในแต่ละวัน เราอาจมีโอกาสทำงานแบบ Deep Work แค่ 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมงก็ได้

4.1.4.2.2. Ex # แคล นิวพอร์ท

4.1.4.3. รูปแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มฝึกทำงานแบบ Deep Work

4.2. สร้างกิจวัตรการทำงานแบบ Deep Work

4.2.1. หลังเลือกรูปแบบการทำงานแบบ Deep Work แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การกำหนดสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อส่งสัญญาณเตือนตัวเองว่า "ได้เวลาทำงานแล้ว"

4.2.2. จัดการสถานที่

4.2.2.1. หาสถานที่ทำงานที่สงบและเหมาะสมกับตัวเอง

4.2.2.1.1. เราอาจจัดแต่งห้องทำงานไว้ในบ้าน แล้วล็อคประตูทุกครั้งเวลาทำงาน

4.2.2.1.2. เราอาจเลือกไปร้านกาแฟเงียบๆ ใกล้บ้านหรือห้องสมุดใหญ่ๆ

4.2.2.2. สำหรับคนที่ทำงานในออฟฟิศที่มีคนพลุกพล่าน การเปลี่ยนสถานที่ เช่น ไปทำในห้องประชุม ก็เป็นวิธีที่ดีเช่นกัน

4.2.3. จัดสรรช่วงเวลา

4.2.3.1. กำหนดเวลาว่าจะทำงานแบบ Deep Work นานเท่าไหร่

4.2.3.2. ช่วงแรกๆ ควรเริ่มจากไม่เกิน 1 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ ฝึกตัวเองให้ทำงานได้นานขึ้นเรื่อยๆ

4.2.4. ตั้งกฎในการทำงาน

4.2.4.1. ในช่วงเวลานี้ เราต้องตั้งกฎให้ตัวเอง เช่น

4.2.4.1.1. ระหว่างทำงาน ห้ามเล่นสมาร์ทโฟน

4.2.4.1.2. ระหว่างทำงาน ห้ามเล่นโซเชียลมีเดีย

4.2.4.1.3. ระหว่างทำงาน จะไม่ออกนอกห้องไปหยิบขนมหรือชงกาแฟ

4.2.4.2. อย่าลืมตั้งเป้าหมายให้ตัวเองด้วยว่าต้องทำงานได้เท่าไหร่ เช่น

4.2.4.2.1. ช่วงเวลานี้ ต้องเขียนหนังสือให้ได้ 3 หน้า

4.2.4.2.2. ช่วงเวลานี้ ต้องออกแบบ Banner เสร็จ 1 ชิ้น

4.2.4.2.3. ช่วงเวลานี้ ต้องทำสไลด์นำเสนอเสร็จ 4 หน้า

4.2.5. หาตัวช่วยสนับสนุน

4.2.5.1. ตัวช่วยสนับสนุนเปรียบเหมือนการสร้างพิธีกรรมให้เราได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงมือทำงาน

4.2.5.2. ก่อนจะล็อคห้องทำงาน ต้องชงกาแฟแก้วโปรดมาตั้งบนโต๊ะก่อน

4.2.5.3. ก่อนจะล็อคห้องทำงาน ขอยืดเส้นยืดสายตัวเองสัก 3 นาที

4.2.5.4. ก่อนจะล็อคห้องทำงาน ขอเปิดเพลย์ลิสต์ปลุกใจฟัง

4.2.6. เมื่อเราสามารถบังคับตัวเองให้ทำงานเป็นกิจวัตรได้ เราจะทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ เราจะมีพลังสมองและพลังใจเหลือมากพอสำหรับจัดการงานสำคัญตรงหน้าได้มากขึ้น

4.3. ยอมจ่ายเงินซื้อการทำงานแบบ Deep Work

4.3.1. บางครั้งถ้าเราต้องรับมือกับโปรเจกต์ใหญ่ที่สำคัญ การพยายามทำงานให้ดีที่สุดในแต่ละวันอาจยังไม่พอ

4.3.2. ดังนั้นเราต้องยอมเสียเงินเพื่อซื้อสถานที่และเวลาไว้ให้ตัวเองได้ทำงานแบบ Deep Work ด้วย

4.3.2.1. งบน้อย

4.3.2.1.1. เอ่ยปากขอ WFH เพื่อทำงานให้เสร็จ

4.3.2.1.2. เปลี่ยนบรรยากาศไปทำงานร้านกาแฟหรือห้องสมุด

4.3.2.2. งบมาก

4.3.2.2.1. เช่าโรงแรม 1 สัปดาห์

4.3.2.3. Ex # เจ.เค. โรลลิ่ง

4.3.2.3.1. ตอนที่เจ.เค. ต้องเขียนเล่มจบของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เธอพบว่าตัวเองมีปัญหาหลายเรื่องมาก

4.3.2.3.2. ปัญหาใหญ่สุดคือเรื่องการเขียน ส่วนสภาพแวดล้อมก็ไม่เหมาะสม เธอต้องวุ่นวายกับลูก สัตว์เลี้ยง แล้วไหนจะงานบ้านอีก

4.3.2.3.3. เธอจึงตัดสินใจเช่าโรงแรมระดับ 5 ดาวใจกลางเมืองเอดินเบอระห์ เพื่อเขียนเล่มจบให้ได้

4.3.2.3.4. นอกจากเธอจะอยากได้สถานที่สงบๆ ไว้ทำงานแล้ว เธอยังเลือกเช่าโรงแรมนี้ เพราะเธอเคยใช้มันเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบโรงเรียนพ่อมดแม่มดฮอกวอตส์ด้วย

4.3.2.4. Ex # สัปดาห์แห่งการคิดของบิล เกตส์

4.3.2.4.1. บิลจะหนีไปเก็บตัวเงียบๆ เพียงลำพังปีละ 2 ครั้ง เพื่ออ่านหนังสือและคิด

4.3.2.4.2. ช่วงสัปดาห์นี้เอง บิลจะคิดถึงอนาคตของไมโครซอฟท์ โดยไม่มีอะไรมารบกวนเขาได้

4.3.2.5. การเปลี่ยนบรรยากาศจะช่วยให้เรารู้สึกแปลกใหม่และยังเอื้อต่อการทำงานด้วย ขอแค่ให้เราเปลี่ยนเป็นสถานที่ที่เงียบและสงบ

4.4. ลองใช้ 4DX กลยุทธ์การทำงานแบบบริษัทมืออาชีพ

4.4.1. ถึงแม้กลยุทธ์การทำงานแบบ 4DX จะเหมาะสมกับการทำงานแบบทีมหรือบริษัทใหญ่ๆ แต่บางแนวคิดก็สามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานส่วนบุคคลแบบ Deep Work ได้

4.4.2. กฎ 4 ข้อของกลยุทธ์การทำงานแบบ 4DX

4.4.2.1. พุ่งความสนใจไปที่เป้าหมายแบบ W.I.G

4.4.2.1.1. เป้าหมายแบบ W.I.G. = เป้าหมายที่สำคัญที่สุด (Widly Important Goal)

4.4.2.1.2. เป้าหมายแบบ W.I.G = ชั่วโมงการทำงานแบบ Deep Work

4.4.2.1.3. ดังนั้นอะไรก็ตามที่ไม่ตรงกับเป้าหมายนี้ เราจะต้องปฏิเสธมัน

4.4.2.2. ใช้ตัววัดผลจากความพยายาม

4.4.2.2.1. ตัววัดผลจากความพยายาม = จำนวนชั่วโมงที่เราทำงานแบบ Deep Work

4.4.2.2.2. เมื่อเราสามารถเพิ่มจำนวนชั่วโมงทำงานได้ เราก็จะเพิ่มผลลัพธ์ในการทำงานได้

4.4.2.3. สร้างแรงจูงใจด้วยระบบการให้คะแนน

4.4.2.3.1. เฝ้านับจำนวนชั่วโมงที่เราทำงานแบบ Deep Work

4.4.2.3.2. จากนั้นให้เราเขียนกระดานคะแนนขึ้นมาคอยให้กำลังใจตัวเอง

4.4.2.4. รักษาสถิติของตัวเอง

4.4.2.4.1. เดิมทีกฎข้อ 4 คือการสร้างความรับผิดชอบร่วมกันภายในทีม สมาชิกจะพยายามรักษาคำพูดที่ให้ไว้ว่า "จะทำงานเสร็จเมื่อไหร่"

4.4.2.4.2. แต่พอเป็นการทำงานคนเดียว ให้เรารู้จักรักษาสถิติการทำงานของตัวเอง แล้วคอยตรวจดูว่าเราทำงานได้ตามเป้าหมายแล้วหรือยัง

5. ผู้เขียน

5.1. แคล นิวพอร์ท

5.1.1. ศาสตราจารย์ชื่อดังจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์

5.1.2. เขียนหนังสือขายดีติดอันดับ Digital Minimalism

6. คนดังๆ พูดถึงหนังสือเล่มนี้อย่างไรบ้าง

6.1. อดัม แกรนท์

6.1.1. "หนังสือเล่มนี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของสมาธิในการทำงานและยังมีคำแนะนำง่ายๆ ให้ปรับใช้กับชีวิตของเราด้วย"

6.2. แดเนียล พิงค์

6.2.1. "หนังสือเล่มนี้จะช่วยแนะนำวิธีทำงานในสภาพแวดล้อมอันไร้สิ่งรบกวน แล้วคุณจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ"

7. อยู่รอดและก้าวหน้าในโลกยุคใหม่ ด้วยการทำงานแบบ Deep Work

7.1. Deep Work VS Shallow Work

7.1.1. Deep Work คือ งานที่เราได้ใช้ทักษะความรู้อย่างมีสมาธิเต็มที่โดยไร้สิ่งรบกวน การทำงานในลักษณะนี้จะช่วยพัฒนาทักษะของเรา สร้างงานที่มีคุณค่า และเป็นงานที่ทำซ้ำได้ยาก

7.1.1.1. Ex # งานเขียนหนังสือ

7.1.1.2. Ex # งานเขียนโปรแกรม

7.1.1.3. Ex # ออกแบบโมเดลธุรกิจ

7.1.2. Shallow work คือ งานในลักษณะที่มีการรับส่งไปมาซึ่งไม่ต้องใช้ทักษะความรู้มากนัก เรามักทำงานนี้ในขณะที่ไม่มีสมาธิได้

7.1.2.1. Ex # งานเชิงธุรการ

7.1.2.2. Ex # งานเชิงเอกสาร

7.1.2.3. EX # รับโทรศัพท์ รับส่งอีเมล

7.2. ทำไมเราต้องทำงานแบบ Deep Work

7.2.1. การทำงานแบบ Deep Work จะสร้าง Productivity ได้มาก

7.2.1.1. เพราะเราจะทำงานแค่ทีละ 1 อย่างเท่านั้น

7.2.1.1.1. มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พิสูจน์แล้วว่าการทำงานพร้อมกันหลายอย่าง (Multitasking) จะทำให้เรามีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงและยังมีโอกาสผิดพลาดได้มากขึ้นด้วย

7.2.1.1.2. มนุษย์ไม่สามารถทำหลายอย่างพร้อมกันได้ เราทำได้แค่สลับทำไปมาเท่านั้น

7.2.1.2. เพราะเราจะมีสมาธิกับงานตรงหน้าเต็มที่

7.2.1.2.1. พอเราจัดการกับสิ่งรบกวนสำเร็จ เราจะมีสมาธิกับงานตรงหน้ามากขึ้น

7.2.1.2.2. สุดท้ายแล้วเราก็จะใช้เวลาทำงานน้อยลง แต่ได้ผลงานมากขึ้นตามไปด้วย

7.2.2. คนที่ทำงานแบบ Deep Work จะไม่โดนใครมาแย่งงานได้ง่ายๆ

7.2.2.1. สมัยนี้ทุกคนสามารถหาความรู้ได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีในการทำงานก็เพิ่มมากขึ้น

7.2.2.2. ดังนั้นใครก็ตามที่มีทักษะการทำงานแบบ Deep Work จะกลายเป็น "คนที่หาได้ยาก" ในตลาดแรงงาน

7.2.2.2.1. คนเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการของบริษัทต่างๆ

7.2.2.2.2. คนเหล่านี้จะสามารถสร้างผลงานที่มีคุณค่าได้

7.2.2.2.3. คนเหล่านี้จะสร้างความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้

7.2.2.2.4. เพราะพวกเขาจะทำงานภายใต้ความวุ่นวายโดยไม่เสียสมาธิ และยังได้ใช้ทักษะความรู้ที่มีอย่างเต็มที่ด้วย

7.3. เคล็ดลับ 4 ข้อสู่การทำงานแบบ Deep Work

7.3.1. สร้างสภาพแวดล้อมมาบังคับให้ตัวเองทำงานแบบ Deep Work

7.3.2. ฝึกรับมือกับสิ่งรบกวนสมาธิ

7.3.3. ลด ละ เลิกการใช้โซเชียลมีเดีย

7.3.4. ระบายงานแบบ Shallow Work ออกไป

8. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร

8.1. สมาธิเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

8.2. เมื่อเราขาดสมาธิ งานจะออกมาแย่หรือไม่เราก็ทำงานไม่เสร็จ ค้างคาไปเรื่อยๆ เป็นปัญหาไม่รู้จบ

8.3. หนังสือเล่มนี้จึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานโดยใช้สมาธิให้มากที่สุด เราจะได้ทำงานตรงหน้าได้อย่างเต็มที่โดยไร้สิ่งรบกวนใดๆ