How the Economic Machine Works เข้าใจระบบเศรษฐกิจและการเงินใน 30 นาที

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
How the Economic Machine Works เข้าใจระบบเศรษฐกิจและการเงินใน 30 นาที by Mind Map: How the Economic Machine Works เข้าใจระบบเศรษฐกิจและการเงินใน 30 นาที

1. เศรษฐกิจจริงที่มีธนาคาร

1.1. ในโลกจริง เรามีเศรษฐกิจพื้นฐานที่คนเราแลก "สินค้า/บริการ" กับ "เงิน" จากนั้นมีระบบธนาคารมาสร้าง "เงินเทียม" (credit) เติมเข้าไป

1.2. "เงินเทียม" (credit) ที่เราเอาไปใช้จ่าย จะกลายเป็นรายได้ของอีกคน นั่นแสดงว่าเรากำลังกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างรายได้ให้คนอื่นผ่านการกู้

1.3. แต่ปัญหาของ "เงินเทียม" คือ มันสร้างจาก "หนี้" ซึ่งเกิดจากคนเอาเงินในอนาคตมาใช้

1.4. เศรษฐกิจก็เหมือนคน ถ้าเรากู้เงินมาใช้วันนี้ สักวันเราก็ต้องชดใช้คืน นั่นทำให้ช่วงที่คนกู้มาใช้จ่าย เศรษฐกิจจะดี และช่วงที่คนใช้หนี้คืน เศรษฐกิจจะแย่

1.5. การที่คนเรามีหนี้ ทำให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจขึ้น เศรษฐกิจดีเมื่อเราสร้างหนี้ เศรษฐกิจแย่เมื่อเราใช้หนี้คืน

1.5.1. เราสังเกตเศรษฐกิจไทยก็ได้ ช่วงไหนคนกู้เงินกันเยอะมากๆ ช่วงนั้นเศรษฐกิจจะดี

1.5.2. จากนั้นพอคนเป็นหนี้กันเยอะๆ ก็จะต้องหาเงินมาจ่ายหนี้กัน คนจะบริโภค/ลงทุนน้อยลง ช่วงนั้นเศรษฐกิจจะแย่

1.5.3. "หนี้" คือเหตุผลที่เศรษฐกิจมีขึ้นมีลง

2. ผู้จัดทำ

2.1. เรย์ ดาลิโอ (Ray Dalio)

2.1.1. นักลงทุนและผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เขาเริ่มสร้างเฮดจ์ฟันด์ แห่งนี้จากห้องเช่าเล็กๆ ในนิวยอร์ก และเป็นนักลงทุนมานาน 45 ปี

2.1.2. เรย์บริหารเงิน 160 พันล้านดอลลาร์ และเขามีทรัพย์สินส่วนตัว 18 พันล้านดอลลาร์

2.1.3. เรย์ยังเป็นผู้เขียนหนังสือ Principles ซึ่งขายดีอันดับ #1 New York Times

3. ข้อคิดสำคัญ

3.1. เศรษฐกิจเกิดจากการแลกเปลี่ยน "สินค้า/บริการ" กับ "เงิน" นับล้านครั้ง รวมกันเป็นเศรษฐกิจขึ้นมา

3.2. การกู้เงินทำให้เกิด "เงินเทียม" (credit) ขึ้นมา ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตอนกู้ แต่ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงเมื่อเราต้องใช้หนี้

3.3. เศรษฐกิจขึ้นลงเป็นวัฏจักร เพราะเรากู้เงิน (สร้างหนี้) ตอนเรากู้เศรษฐกิจจะดี ตอนเราต้องใช้หนี้เศรษฐกิจจะแย่

3.4. วงจรหนี้รอบเล็กกินเวลา 5-8 ปี โดยคนจะสร้างหนี้-ใช้หนี้ ทำให้เศรษฐกิจมีขึ้นมีลง

3.5. เมื่อจบรอบเล็ก คนจะเป็นหนี้สูงกว่ารอบก่อนเล็กน้อย รอบเล็กจะวนหลายครั้ง จนกระทั่งหนี้สะสมเกินขีดจำกัด เศรษฐกิจจะพังครั้งใหญ่ นับเป็นวงจรหนี้รอบใหญ่ ซึ่งกินเวลา 75-100 ปี

3.6. จุดจบวงจรหนี้รอบใหญ่ เช่น The Great Depression ปี 1929, วิกฤติต้มยำกุ้งพ.ศ.2540, วิกฤติโควิดปี 2020 ซึ่งเสียหายหนัก

3.7. ชีวิตคนเราก็เหมือนเศรษฐกิจ เราไม่ควรสร้างหนี้เกินรายได้ ไม่งั้นชีวิตเราจะย่ำแย่

3.8. เราสามารถซื้อหุ้นธุรกิจต่างๆ ตามรอบเศรษฐกิจได้ เช่น ถ้าเราคาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว เราอาจซื้อหุ้นสินค้าจำเป็น เช่น โรงไฟฟ้า โรงพยาบาล

4. เศรษฐกิจพื้นฐานที่ไม่มีธนาคาร

4.1. ในโลกที่ไม่มีธนาคาร เศรษฐกิจเกิดจาก "สินค้า/บริการ" และ "เงิน"

4.1.1. สินค้า/บริการ คือสิ่งที่เราอยากได้ เช่น อาหาร เสื้อผ้า รถยนต์ เบียร์ ฯลฯ

4.1.2. เงินคือกระดาษที่เราใช้แลกเปลี่ยน "สินค้า/บริการ" กัน มันไม่มีค่าในตัวเอง ค่าของเงินอยู่ที่มันแลก "สินค้า/บริการ" ได้แค่ไหน

4.1.3. ราคาสินค้า = เงิน/จำนวนสินค้า

4.1.3.1. ยิ่งรัฐบาลพิมพ์เงินมาก ราคายิ่งสูง

4.2. เราผลิต "สินค้า/บริการ" จากนั้นนำมันไปขาย ได้ "เงิน" มาซื้อ "สินค้า/บริการ" จากคนอื่น

4.3. สังเกตว่า "เงิน" ก้อนเดิม จะเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ

4.3.1. A ซื้อไก่จาก B --> B ได้เงิน

4.3.2. B ซื้อข้าวจาก C --> C ได้เงิน

4.3.3. C ซื้อผักจาก D --> D ได้เงิน

4.3.4. D ซื้อปลาจาก E --> E ได้เงิน

4.3.5. เงินก้อนนี้ทำให้ A B C D E รู้สึกตัวเองมีเงิน ทั้งที่มันเป็น "เงินก้อนเดิม" ที่หมุนเวียนเปลี่ยนมือกันเฉยๆ

4.4. เศรษฐกิจเกิดจากการแลกเปลี่ยน "สินค้า/บริการ" กับ "เงิน" นับล้านครั้ง รวมกันเป็นเศรษฐกิจขึ้นมา

4.4.1. เราจึงมีข้าวของดีๆ ใช้ โดยที่เราไม่ต้องผลิตสิ่งพวกนี้เอง เราแค่ทำสิ่งที่เราถนัดเพื่อหาเงิน จากนั้นเอาเงินซื้อสิ่งที่เราอยากได้

5. ธนาคารและระบบการเงิน

5.1. ระบบธนาคารทำให้เรากู้เงินได้ ซึ่งทำให้เกิด "หนี้" ขึ้นมา หนี้นี้เองทำให้เศรษฐกิจซับซ้อนขึ้น

5.2. เจ้าหนี้ให้คนกู้เงิน เพื่อที่จะได้กำไรจากดอกเบี้ย

5.3. ลูกหนี้กู้เงิน เพราะอยากซื้อสิ่งของที่ยังไม่มีเงินซื้อ

5.3.1. ซื้อบ้าน

5.3.2. ซื้อรถ

5.3.3. ลงทุนทำธุรกิจ

5.3.4. ซื้อหุ้น

5.3.5. ยิ่งดอกเบี้ยต่ำ คนยิ่งกู้มาก และยิ่งดอกเบี้ยสูง คนยิ่งกู้น้อย

5.4. เมื่อ A ซื้อของด้วยเงินกู้ เขากำลังเอา "เงิน" ไปให้ B เพื่อแลก "สินค้า/บริการ" ทั้งที่ตอนแรก A ไม่มีเงินนั้นอยู่จริง นั่นแสดงว่าเขากำลังสร้าง "เงินเทียม" (credit) ขึ้นมาจากความว่างเปล่า

5.5. ทุกครั้งที่คนก่อหนี้ เขากำลังสร้าง "เงินเทียม" ขึ้นมาด้วย โดยทั้ง "เงินเทียม" และ "เงินจริง" ต่างก็คือเงินเหมือนกัน หน้าตาเหมือนกัน หมุนเวียนเปลี่ยนมือในเศรษฐกิจเหมือนกัน ต่างกันก็แค่จุดกำเนิดเท่านั้นเอง

5.6. "เงินเทียม" (credit) ที่เราเอาไปใช้จ่าย จะกลายเป็นรายได้ของอีกคน นั่นแสดงว่าเรากำลังกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างรายได้ให้คนอื่นผ่านการกู้

5.7. เงินกู้ของ A สร้างรายได้ให้ B ซึ่งใช้รายได้นั้นค้ำประกันเงินกู้ที่มากขึ้น จากนั้น B จึงกู้เพิ่มไปสร้างรายได้ให้ C เราทุกคนต่างกู้กันคนละนิด จน "เงินเทียม" บวมขึ้นเรื่อยๆ ในระบบเศรษฐกิจ

5.7.1. A ไม่มีเงิน จึงกู้เงินx1 มาซื้อไก่จาก B --> B ได้เงินx1

5.7.2. B มีเงินx1 จึงกู้เงินx2 มาซื้อข้าวจาก C --> C ได้เงินx2

5.7.3. C มีเงินx2 จึงกู้เงินx3 มาซื้อผักจาก D --> D ได้เงินx3

5.7.4. D มีเงินx3 จึงกู้เงินx4 มาซื้อปลาจาก E --> E ได้เงินx4

5.7.5. ทั้งหมดนี้เริ่มจากการที่ A ไม่มีเงินเลยด้วยซ้ำ กลายเป็น E มีเงินx4

5.8. ในเศรษฐกิจที่มีธนาคาร คนเรากู้หนี้ยืมสินจนมี "เงินเทียม" มากกว่า "เงินจริง" ถึง 16 เท่า

6. รัฐบาล แบงก์ชาติ และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

6.1. รัฐบาลจะพยายามแทรกแซงธรรมชาติ ของวัฏจักรเศรษฐกิจเสมอ โดยมี 2 คนที่คุณต้องรู้จัก

6.1.1. รัฐบาลกลาง

6.1.1.1. คุมโดยนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี ประสานกับนักการเมืองในรัฐสภา

6.1.1.2. มีเงินเยอะแต่จำกัด เพราะมีเงินได้แค่เท่าที่เก็บภาษี (กู้เพิ่มได้พอสมควร)

6.1.1.2.1. ในปัจจุบัน หลายรัฐบาลเริ่มใช้จ่ายเกินตัว โดยกู้เงินมาใช้อย่างไม่สนอนาคต ยังไม่ชัดเจนว่าผลจะเป็นเช่นไร

6.1.1.3. สั่งได้ทุกคนถ้าอยากสั่งจริงๆ

6.1.1.3.1. มักไม่สั่งธนาคาร เพราะตรงนั้นให้แบงก์ชาติสั่งแทน

6.1.1.4. สามารถทำโครงการต่างๆ ที่อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น

6.1.1.4.1. กองทุนหมู่บ้าน

6.1.1.4.2. รถคันแรก

6.1.1.4.3. ชิม ช็อป ใช้

6.1.1.4.4. จำนำข้าว

6.1.1.4.5. รถไฟความเร็วสูง

6.1.1.4.6. ช็อปช่วยชาติ

6.1.2. ธนาคารกลาง/แบงก์ชาติ

6.1.2.1. เป็นหน่วยงานรัฐที่สั่งธนาคารพาณิชย์ได้

6.1.2.1.1. สั่งธนาคารกสิกร ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ได้

6.1.2.1.2. แต่สั่งบริษัทในธุรกิจอื่นไม่ได้ สั่งได้แค่ธนาคารกับสถาบันการเงิน

6.1.2.2. มีหลายชื่อในหลายประเทศ

6.1.2.2.1. ไทย = ธนาคารแห่งประเทศไทย

6.1.2.2.2. อเมริกา = Federal Reserve (FED)

6.1.2.2.3. ญี่ปุ่น = Bank of Japan

6.1.2.2.4. อังกฤษ = Bank of England

6.1.2.2.5. จีน = People's Bank of China (PBC)

6.1.2.3. เป็นคนพิมพ์เงิน มีเงินไม่จำกัด

6.1.2.4. มีเงินแต่ทำอะไรไม่ค่อยได้ ไม่สามารถทำโครงการที่เข้าถึงประชานได้โดยตรง คุมได้แค่ธนาคารเท่านั้น

6.1.2.5. นอกจากสั่งธนาคาร ยังทำได้อีก 2 อย่าง

6.1.2.5.1. กำหนดอัตราดอกเบี้ย

6.1.2.5.2. อัดฉีดเงิน/ดึงเงินออกจากตลาดเงิน

6.2. ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี รัฐบาลและแบงก์ชาติต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ

6.2.1. รัฐบาลกู้เงินมาแจก มาทำสวัสดิการ

6.2.1.1. ลดภาษี

6.2.1.2. รถคันแรก

6.2.1.3. แจกเงิน

6.2.1.4. จำนำข้าว

6.2.1.5. กู้ฟรีไม่เสียดอกเบี้ย

6.2.1.6. ชิม ช็อป ใช้

6.2.1.7. ช็อปช่วยชาติ

6.3. ในช่วงที่เศรษฐกิจดี รัฐบาลและแบงก์ชาติควรลดหนี้ ชะลอความร้อนแรง แต่ในทางปฏิบัติก็ยังจะกระตุ้นเศรษฐกิจกันอยู่ดี

6.4. ช่วงปลายวงจรหนี้รอบใหญ่ รัฐบาลและแบงก์ชาติ จะสูญเสียความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

6.4.1. รัฐบาลกู้เงินมาใช้จนเต็มเพดาน กู้ต่อไม่ไหวแล้ว แค่ภาษียังไม่พอจ่ายดอกเบี้ยเลย

6.4.2. แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยจนเหลือ 0 แถมอัดฉีดเงินเท่าไร เศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้น

6.4.3. เมื่อนโยบายรัฐไม่ได้ผล เศรษฐกิจจึงตกหนัก และเป็นจุดจบของรอบใหญ่

7. ตัวอย่างจริงของรอบใหญ่

7.1. The Great Depression (เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่) ในอเมริกา ปี 1929

7.1.1. ช่วงปี 1920 อเมริกาชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 และขึ้นเป็นมหาอำนาจ เศรษฐกิจดีอย่างไม่เคยมีมาก่อน

7.1.2. เกิดการคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ ทั้งวิทยุ รถยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ ซึ่งคนต่างกู้เงินมาซื้อ

7.1.3. คนอเมริกันตื่นเต้นกับความมั่งคั่งใหม่นี้ ตลาดหุ้นขึ้นแรง ทุกคนกลายเป็น "เซียนหุ้น"

7.1.4. มีการปล่อยกู้คนมาเล่นหุ้นเป็นครั้งแรก ถ้าคุณมีเงิน 100 คุณสามารถกู้เพิ่ม 1000 เพื่อซื้อหุ้นได้ เกิดการเก็งกำไรในตลาดหุ้นที่ร้อนแรงอย่างเหลือเชื่อ

7.1.5. ตลาดหุ้นตกหนักในปี 1929 ซึ่งทำให้คนที่กู้เงินมาซื้อหุ้นหลายคนหมดตัว ส่งผลกระทบลูกโซ่จนเศรษฐกิจตกต่ำยาวนาน 10 ปี นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

7.2. The Great Depression (เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่) ในไทย ปีพ.ศ.2472

7.2.1. เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกปี 1929 เศรษฐกิจไทยจึงโดนไปด้วย

7.2.2. รัฐบาลมีหนี้สินสูงเกินรายได้จากภาษี รัฐบาลจึงลดรายจ่าย ปลดข้าราชการชั้นกลางและล่างออก

7.2.3. เศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนเดือดร้อน เกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้น

7.2.4. เกิดการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง พ.ศ.2475

7.3. วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี พ.ศ.2540

7.3.1. เริ่มจากแบงก์ชาติไทยส่งเสริมการกู้เงินเพื่อการบริโภค โดยตรึงค่าเงินบาทให้แข็งผิดปกติ เพื่อให้คนไทยกู้เงินง่าย กินหรู บริโภคสินค้านำเข้าง่าย

7.3.1.1. สมมุติว่าเงินบาท 100 บาทแลกสินค้าได้ 3 ดอลลาร์

7.3.1.2. ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 100 บาทจะแลกสินค้าได้ 4 ดอลลาร์

7.3.1.3. แสดงว่าเงินบาทเท่าเดิม ซื้อสินค้านำเข้าได้มากขึ้น คนไทยจึงพากันบริโภคสินค้านำเข้ามากขึ้น

7.3.2. ในด้านการลงทุน แบงก์ชาติยังมีนโยบาย ให้คนไทยกู้เงินต่างชาติมาเก็งกำไร

7.3.2.1. ดอกเบี้ยไทยสูงกว่าดอกเบี้ยต่างชาติ (นโยบายแบงก์ชาติ) คนไทยจึงสามารถกู้เงินดอลลาร์มาฝากธนาคาร อยู่เฉยๆ ก็ได้กำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ย

7.3.2.2. คนกู้เงินมาเก็งกำไรหุ้น สร้างหนี้เพื่อดันราคาหุ้น

7.3.2.3. คนกู้เงินมาเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ สร้างหนี้เพื่อดันราคาอสังหาฯ

7.3.3. คนกู้เงินมาบริโภคสินค้านำเข้า ด้วยหนี้สินที่สูงเกินรายได้

7.3.4. ไม่มีการลงทุนเพื่อสร้างรายได้และ Productivity ในระบบเศรษฐกิจจริง มีแต่หนี้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อการเก็งกำไรและการบริโภค

7.3.5. เมื่อหนี้สูงเกินไป แบงก์ชาติจึงรักษาอัตราแลกเปลี่ยนที่บิดเบี้ยวต่อไม่ไหว และปล่อยเงินบาทให้อ่อนค่ากลับสู่ความจริง ถึงเวลาใช้หนี้คืน เศรษฐกิจจึงพังลงมาทีเดียว

7.3.5.1. เราเรียนรู้กันมาแล้วว่าช่วงที่เรากู้เงิน เศรษฐกิจจะดีเกินจริง และยิ่งกู้มามาก ตอนใช้คืนต้องเจ็บปวดเท่านั้น...

8. วัฏจักรเศรษฐกิจ ฟองสบู่ และวิกฤติเศรษฐกิจ

8.1. เศรษฐกิจเกิดจาก 3 องค์ประกอบย่อย ซ้อนทับกันอยู่ มันทำให้เรามองเห็น เศรษฐกิจมีขึ้นมีลง เป็นวัฏจักร

8.1.1. ความสามารถในการผลิต (Productivity)

8.1.1.1. ถ้าเศรษฐกิจไม่มีการกู้เงินเลย เศรษฐกิจจะโตขึ้นช้าๆ ตามเทคโนโลยี (Productivity) ที่พัฒนาขึ้น

8.1.1.2. Productivity คือกุญแจที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญในระยะยาว แต่มันมีผลน้อยในระยะสั้น

8.1.1.3. ยิ่งประเทศไหนพัฒนาเทคโนโลยีได้เร็ว เศรษฐกิจก็ยิ่งโตเร็ว แต่ถ้าประเทศไหนพัฒนาเทคโนโลยีช้า เศรษฐกิจก็จะโตช้า

8.1.1.4. เศรษฐกิจไทยช่วงหลังเติบโตจาก "ร้านขายของ" หรือ "ร้านอาหาร" หรือ "การท่องเที่ยว" เป็นหลัก ซึ่งไม่ได้พัฒนา Productivity นั่นทำให้บางช่วงเศรษฐกิจดี บางช่วงเศรษฐกิจแย่ แต่ระยะยาวไปไม่ถึงไหน

8.1.1.4.1. ไทยยังเติบโตได้อยู่ เพราะเราซื้อเทคโนโลยีต่างชาติเอา แต่เราก็จะโตช้าๆ เพราะเราไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีเอง

8.1.1.4.2. นอกจากนี้ การศึกษาไทยยังมีปัญหาหนัก คนไทยจึง Productivity ไม่สูงนัก

8.1.2. วงจรหนี้รอบเล็ก (Short-term Debt Cycle)

8.1.2.1. ในช่วงสั้นๆ คุณไม่จำเป็นต้องพัฒนาตัวเอง (เพิ่ม Productivity) คุณแค่กู้เงินมาใช้จ่าย/ลงทุน แค่นี้ก็รวยขึ้นแล้ว

8.1.2.2. พอเรากู้เงิน เศรษฐกิจก็ดี --> พอถึงเวลาใช้หนี้ เศรษฐกิจก็แย่ เกิดเป็นวงจรหนี้รอบเล็ก "เศรษฐกิจขึ้น-ลง" ทุก 5-8 ปี

8.1.2.2.1. คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นวงจรนี้ พวกเขารู้แค่ "วันนี้เศรษฐกิจดี" หรือ "เดือนนี้เศรษฐกิจแย่" แต่ไม่เข้าใจภาพรวม

8.1.2.2.2. นักลงทุนที่ชาญฉลาดจะเห็นวงจรนี้ และวางกลยุทธ์ลงทุนอย่างเหมาะสม

8.1.2.3. ช่วงต้นวงจร คนจะไม่ค่อยมีหนี้ จึงกู้เงินมาใช้จ่ายกันสบายตัว เศรษฐกิจดี

8.1.2.4. พอคนมีหนี้มากขึ้นๆ จะเริ่มเงินตึง ใช้จ่ายไม่คล่องเหมือนก่อน เศรษฐกิจจะแย่ลง จนกระทั่งคนใช้หนี้เสร็จ ก็จะกลับไปเริ่มวงจรใหม่

8.1.3. วงจรหนี้รอบใหญ่ (Long-term Debt Cycle)

8.1.3.1. ธรรมชาติคนเราชอบเป็นหนี้ ทุกครั้งที่วงจรหนี้ระยะสั้นวนจบ เราจะไม่ใช้หนี้จนหมดสิ้นไป เศรษฐกิจจะมีหนี้สะสมเพิ่มขึ้น

8.1.3.2. หนี้สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับเศรษฐกิจที่โตขึ้นจากหนี้ ธนาคารจะปล่อยกู้มากขึ้น เราจะเป็นหนี้มากขึ้น ตลาดหุ้นจะวิ่งแรงขึ้น อสังหาริมทรัพย์ร้อนแรงขึ้น บนฐานหนี้กองมโหฬาร

8.1.3.3. จนถึงวันที่เศรษฐกิจรับไม่ไหวแล้วจริงๆ จึงพังครืนลงมา เกิดความพินาศครั้งใหญ่ คนจะล้มละลายและล้างหนี้ออกไปจนหมด นับเป็นหนึ่งรอบ "วงจรหนี้รอบใหญ่"

8.1.3.4. วงจรหนี้รอบใหญ่ กินเวลายาวนาน 75-100 ปี ชีวิตคนหนึ่งคนจะเห็นครั้งเดียว จึงมักไม่มีใครเตรียมตัวหรือเข้าใจมันดีพอ

8.2. 3 องค์ประกอบย่อยนี้ รวมกันเกิดเป็นภาพเศรษฐกิจจริงที่เราเห็นกัน หนึ่งรอบใหญ่กินเวลา 75-100 ปี

8.3. กลไกที่ทำให้เกิดวงจรหนี้ทั้งรอบใหญ่และเล็ก มาจากสิ่งที่เรียกว่า "ภาระหนี้" (Debt Burden)

8.3.1. คนเราจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อรายได้เพียงพอ จะจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดจากหนี้สิน

8.3.2. แต่ถ้ารายได้น้อยกว่าดอกเบี้ย ชีวิตเราจะพัง ดอกเบี้ยจะกินคุณไปเรื่อยๆ หนี้จะพอกขึ้นไม่หยุด ต่อให้ทำงานไปจนตายก็ไม่มีทางใช้หนี้ได้

8.3.3. ช่วงแรกๆ ของวงจรหนี้รอบใหญ่ คนยังไม่มีหนี้มาก เราสามารถนำรายได้มาจ่ายดอกเบี้ยได้สบาย ยิ่งคนกู้เศรษฐกิจก็ยิ่งดี ยิ่งเพิ่มรายได้ และยิ่งเพิ่มหนี้

8.3.4. คนเราจะมีปัญหาเมื่อรายได้ไม่พอจ่ายดอกเบี้ย คนจึงชะลอการใช้จ่าย ซึ่งทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว

8.3.5. ในวงจรหนี้รอบเล็ก บางคนที่หนี้น้อยจะช่วยดันเศรษฐกิจต่อได้ เศรษฐกิจจึงฟื้นตัวเร็ว เกิดเป็นรอบเล็กต่ออีกรอบ

8.3.6. ช่วงปลายรอบใหญ่ ทุกคนมีหนี้เต็มตัว รัฐบาลก็มีหนี้เต็มตัว ภาระหนี้เต็มเพดานกันหมด จึงไม่มีใครประคองเศรษฐกิจต่อได้แล้ว เข้าสู่จุดจบรอบใหญ่

8.4. จุดจบของวงจรหนี้รอบใหญ่ = ความพินาศครั้งใหญ่ เศรษฐกิจจะปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อกำจัดหนี้ออก แล้ว "เริ่มต้นใหม่" ซึ่งจะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ 4 ข้อ

8.4.1. รายได้ลด รายจ่ายลด

8.4.1.1. พอเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ของคนจะลด ซึ่งทำให้คนต้องลดรายจ่าย

8.4.1.2. แต่อย่าลืมว่า "รายจ่ายของ A คือรายได้ของ B" เมื่อคนหนึ่งลดรายจ่าย รายได้ของอีกคนก็ต้องลด

8.4.1.3. เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ รายได้ลด รายจ่ายลด รายได้ลด รายจ่ายลด รายได้ลด...

8.4.1.4. เราจะเห็นคนตกงานกันเยอะมาก

8.4.2. หนี้สินถูกกำจัดทิ้ง

8.4.2.1. ล้มละลาย ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย

8.4.2.1.1. ถ้าลูกหนี้ไม่จ่าย เจ้าหนี้ก็จะล้มละลายตาม

8.4.2.1.2. ถ้ารัฐบาลไม่จ่ายหนี้ พันธบัตรรัฐบาลที่เราเคยคิดกันว่า "ปลอดภัย" จะกลายเป็นเศษกระดาษ

8.4.2.1.3. เราจะเห็นคนแห่ไปถอนเงินจากธนาคาร เพราะกลัวว่าพรุ่งนี้จะไม่มีธนาคารให้ถอนอีกต่อไป

8.4.2.2. เจรจาลดหนี้กับธนาคารและเจ้าหนี้

8.4.2.2.1. เจ้าหนี้เข้าใจดีว่า กำขี้ดีกว่ากำตด เขามักยอมลดหนี้ให้ ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย

8.4.2.2.2. เมื่อหนี้ลด เจ้าหนี้ก็เสียหาย และจะปล่อยกู้น้อยลง พร้อมดึงเงินจากส่วนอื่นมาชดเชย

8.4.2.2.3. คนที่ถูกดึงเงินจะช็อตเงิน และผิดนัดชำระหนี้เป็นลูกโซ่ต่อไป

8.4.3. คนรวยล้มละลาย เกิดเศรษฐีใหม่

8.4.3.1. เศรษฐีเดิมที่ธุรกิจมีปัญหา หรือหนี้สินสูงเกินจะแบกรับ จะล้มละลาย สูญเสียความมั่งคั่ง

8.4.3.1.1. นอกจากนี้ เศรษฐียังจะเป็นเป้าให้รัฐบาล เก็บภาษีไปแจกคนจนอีกต่างหาก

8.4.3.2. ในทางกลับกัน นี่จะเปิดช่องให้คนธรรมดาสร้างฐานะได้ง่ายขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม

8.4.3.3. ในช่วงนี้ จะเกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้น เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ

8.4.3.3.1. อาจทำให้ผู้นำหัวรุนแรงขึ้นสู่อำนาจ เช่น ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจในช่วงปี 1930

8.4.4. รัฐบาลพิมพ์เงิน

8.4.4.1. รัฐบาลจะถูกกดดันให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมักทำด้วยการแจกเงิน แจกสวัสดิการ และอัดฉีดเงินให้บริษัทที่ใกล้ล้ม

8.4.4.2. ในเมื่อรัฐบาลเก็บภาษีได้น้อยลง (คนรายได้ลดลง) แต่อยากใช้จ่ายมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลพิมพ์เงินมาใช้

8.4.4.3. การพิมพ์เงินเป็นดาบ 2 คม ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่พิมพ์

8.4.4.3.1. ถ้าพิมพ์อย่างพอเหมาะ เงินที่พิมพ์จะเข้าไปทดแทน "เงินเทียม" (credit) ที่ลดลงจากการลดหนี้

8.4.4.3.2. ถ้าพิมพ์เงินมากไป เงินจะกลายเป็นเศษกระดาษ เกิดเงินเฟ้อครั้งใหญ่จนเศรษฐกิจย่อยยับกว่าเดิม

8.5. หลังเกิดจุดจบของรอบใหญ่ เศรษฐกิจจะใช้เวลาฟื้นฟู 7-10 ปี ("ทศวรรษที่หายไป") และความเสียหายจะแรงเป็นพิเศษถ้าดอกเบี้ยจากหนี้ สูงเกินรายได้ไปมาก

8.6. มักไม่มีใครเตรียมตัวรับมือ "วงจรหนี้รอบใหญ่" เพราะมันจะมาครั้งเดียวใน 1 ชั่วชีวิตคน คนที่เกิดทันดูความเสียหายในรอบก่อน มักตายไปหมดแล้ว

9. บทเรียนในการใช้ชีวิตและลงทุน

9.1. บทเรียนในการใช้ชีวิต

9.1.1. อย่าให้หนี้สินเพิ่มเร็วกว่ารายได้ ไม่งั้นมันจะทำชีวิตคุณพัง

9.1.2. อย่าให้รายได้เพิ่มเร็วกว่า Productivity เพราะมันจะทำให้ไม่มีใครอยากจ้างคุณ

9.1.2.1. ถ้าคุณ Productivity ต่ำ ทำงานได้ไม่ดี ในระยะยาวเงินเดือนคุณจะไม่โต เพราะค่าแรงจะไม่คุ้มกับสิ่งที่คุณทำ

9.1.3. เพิ่ม Productivity ของตัวเองให้มากที่สุด เพราะมันคือสิ่งที่จะกำหนดชีวิตคุณในระยะยาว

9.2. การลงทุนตามวงจรหนี้รอบเล็ก

9.2.1. กลยุทธ์

9.2.1.1. ในแต่ละช่วงของรอบเศรษฐกิจ ธุรกิจแต่ละกลุ่มจะดีไม่เท่ากัน ให้เราซื้อหุ้นตามกลุ่มธุรกิจ ซึ่งจะดีในช่วงเศรษฐกิจที่กำลังจะมาถึง

9.2.1.1.1. เศรษฐกิจเริ่มฟื้น ให้ซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรม และสินค้าฟุ่มเฟือย (รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องประดับ)

9.2.1.1.2. เศรษฐกิจขยายตัวช่วงแรก ให้ซื้อหุ้นสื่อสาร ธนาคาร ธุรกิจบริการ โรงแรม สินค้าฟุ่มเฟือย

9.2.1.1.3. เศรษฐกิจขยายตัวช่วงท้าย ให้ซื้อหุ้นสินค้าจำเป็น (อาหาร เสื้อผ้า สบู่) โรงพยาบาล พลังงาน

9.2.1.1.4. เศรษฐกิจชะลอตัว ให้ซื้อหุ้นกลุ่มสินค้าจำเป็น โรงพยาบาล ไฟฟ้า ประปา

9.2.2. ข้อดีข้อเสีย

9.2.2.1. การลงทุนตามรอบเศรษฐกิจ จะเป็นกรอบให้คุณไม่ได้ซื้อ "หุ้นที่ดีมาก" เพราะคุณจะขาย "หุ้นที่ดีแต่ทำผิดธุรกิจ" แล้วไปซื้อ "หุ้นกลางๆ ที่ทำธุรกิจในใจเรา"

9.2.2.1.1. เช่น บริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIF) กำไรโตปีละ 30-40% อยู่ในกลุ่มธุรกิจประกันชีวิต แต่ช่วงนี้เศรษฐกิจกำลังอยู่ที่จุดสูงสุด คุณมองว่าถ้าเศรษฐกิจปักหัวลง คนจะซื้อประกันน้อย ธุรกิจประกันจะแย่

9.2.2.1.2. คุณจึงขายหุ้น SCBLIF ไปซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าที่กำไรไม่โตแทน

9.2.2.1.3. เศรษฐกิจชะลอจริง แต่กลายเป็นว่าหุ้น SCBLIF ขึ้นต่อ เพราะตัวบริษัทกำไรโตต่อเนื่อง ในขณะที่หุ้นโรงไฟฟ้าของคุณไม่โต ราคาอยู่กับที่

9.2.2.2. คุณอาจจับจังหวะผิด เศรษฐกิจมีขึ้นมีลงก็จริง แต่มันไม่ได้เป็นกราฟสวยแบบในทฤษฎี

9.2.2.2.1. คุณอาจคิดว่าเศรษฐกิจรอบนี้จะขึ้นยาว 5 ปีแล้วลง แต่มันกลับขึ้นยาว 10 ปี

9.2.2.2.2. พอปลายปีที่ 5 คุณขายหุ้นโรงแรมไปซื้อหุ้นโรงไฟฟ้า เพราะกลัวเศรษฐกิจจะลง แต่กลายเป็นว่าเศรษฐกิจโตต่อ การท่องเที่ยวบูม โรงแรมเติบโตยาวนาน 10 ปีแทน

9.2.2.3. กลยุทธ์นี้ใช้ได้ดีกับหุ้น Commodity

9.2.2.3.1. สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) คือสินค้าที่มีลักษณะเป็นมาตรฐานทั่วโลก ใครจะเป็นผู้ผลิตก็ไม่ต่างกัน เช่น น้ำมัน น้ำตาล ปิโตรเคมี เหล็ก ค่าขนส่งทางเรือ (ค่าระวางเรือ) ยางพารา เป็นต้น

9.2.2.3.2. เวลาที่ความต้องการน้อย สินค้า Commodity จะราคาตกต่ำ แต่พอความต้องการสูง สินค้าขาดแคลน ราคาจะสูงขึ้นเป็นเท่าๆ

9.2.2.3.3. ถ้าเราซื้อหุ้น Commodity ตอนราคาสินค้าตกต่ำ แล้วขายตอนราคาสูง เราจะกำไรได้หลายเท่าตัว

9.2.2.3.4. เวลาจะซื้อหุ้น Commodity เราต้องดูว่าเศรษฐกิจกำลังจะเป็นขาขึ้น ความต้องสินค้าจะสูง แต่สินค้านั้นกำลังขาดแคลน มีน้อยกว่าความต้องการตลาด

9.2.2.3.5. บริษัท PSL ทำธุรกิจขนส่งทางเรือ ในปี 2006 เศรษฐกิจไม่ดี ค่าระวางเรือต่ำ ราคาอยู่ที่ 10 บาท แต่ปีถัดมาเศรษฐกิจจีนร้อนแรง ความต้องการเรือสูง ราคาหุ้นขึ้นไปเป็น 30 บาทในปีเดียว