ใช้ความลับการทำงานของสมอง สร้าง Productivity ให้ชีวิต

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ใช้ความลับการทำงานของสมอง สร้าง Productivity ให้ชีวิต by Mind Map: ใช้ความลับการทำงานของสมอง  สร้าง Productivity ให้ชีวิต

1. ผู้เขียน

1.1. จอห์น เมดิน่า

1.1.1. ดร. ด้านชีววิทยาพันธุกรรมเกี่ยวกับ "สมอง" ของมนุษย์

1.1.2. ที่ปรึกษาให้กับบริษัทยารักษาโรคและบริษัทด้านสุขภาพชื่อดัง

2. ดูแลสมองให้ดีด้วยการออกกำลังกายและการนอน

2.1. เพิ่มพลังสมองด้วยการออกกำลังกาย

2.1.1. เราถูกสร้างขึ้นเพื่อออกแรง

2.1.1.1. ตั้งแต่สมัยโบราณ เราต้องออกแรงตลอดเวลา การออกแรงจึงช่วยให้เราวิวัฒนาการมาได้จนถึงตอนนี้

2.1.1.1.1. ล่าสัตว์

2.1.1.1.2. เข้าป่าหาอาหาร

2.1.1.2. ปัจจุบัน เราก็ยังมีสัญชาตญาณแบบนี้ ดังนั้นถ้าเราอยากใช้สมองให้เต็มที่ เราก็ยังต้องออกแรงอยู่

2.1.2. ออกกำลังกาย = ให้อาหารสมอง

2.1.2.1. สมองมีน้ำหนักเพียง 2% ของร่างกาย แต่ต้องการพลังงานมากถึง 20% จากทั้งหมด

2.1.2.2. สมองต้องการอาหาร และอาหารของสมองก็คือ

2.1.2.2.1. สารอาหาร

2.1.2.2.2. ออกซิเจน

2.1.2.3. การออกกำลังกายคือการช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนดีขึ้น

2.1.2.4. เมื่อเรามีการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น ร่างกายก็จะส่งสารอาหารไปยังส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้นตามไปด้วย

2.1.3. ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อสมอง

2.1.3.1. ลดความเสียงต่อโรคอัลไซเมอร์ได้ 60%

2.1.3.1.1. แค่เดินออกกำลังกายเบาๆ สัปดาห์ละ 2 ครั้งก็ช่วยได้

2.1.3.2. ทำให้สมองแข็งแรงขึ้น

2.1.3.2.1. กระตุ้นการสร้าง BDNF หนึ่งในฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโตที่ช่วยให้เซลล์ประสาททำงานได้ดีขึ้น

2.1.3.2.2. ระบบไหลเวียดเลือดดีจากการออกกำลังกาย สมองก็จะดีตามไปด้วย

2.1.4. How to ปรับใช้ความรู้ของสมองข้อนี้

2.1.4.1. อย่างน้อยที่สุด พยายามหาเวลาออกกำลังกายง่ายๆ วันละ 2 ช่วงเวลา

2.1.4.1.1. ช่วงเช้า 20-30 นาที และช่วงบ่ายหรือเย็น 20-30 นาที

2.1.4.1.2. การไม่ออกกำลังกายไม่ดีต่อสมอง เพราะระบบหมุนเวียนเลือดไม่ได้ถูกกระตุ้นเลย

2.1.4.1.3. นอกจากช่วยเรื่องระบบหมุนเวียนเลือดแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยคลายความเครียดด้วย

2.1.4.2. ลองเพิ่มการออกกำลังกายในระหว่างวันทำงาน

2.1.4.2.1. ผู้เขียนแนะนำวิธีสุดแปลก เช่น ตั้งลู่วิ่งไว้ในห้องทำงาน พอถึงเวลาพักแทนที่จะนั่งจิบกาแฟก็ให้วิ่งเหยาะๆ บนลู่วิ่ง

2.1.4.2.2. บิงโกขอแนะนำให้ระหว่างวันหาเวลาออกไปเดินเล่น 15-20 นาที

2.1.4.2.3. Ex # บริษัทโบอิ้ง

2.2. ฟื้นฟูพลังสมองด้วยการนอน

2.2.1. ผลเสียของการอดนอน

2.2.1.1. ถ้าเราอดนอน สมาธิ ความจำ และการคิดคำนวณของเราจะแย่ลง

2.2.1.2. Ex # การทดลองอดนอน

2.2.1.2.1. นักวิจัยให้ทหารที่ปฏิบัติภารกิจยากๆ ด้วยเครื่องมือที่ซับซ้อนอดนอน 1 คืน ก่อนแบบทดสอบ

2.2.1.2.2. ผลปรากฏว่า ทหารทำแบบทดสอบแย่ลงถึง 30%

2.2.1.2.3. ถ้าต้องอดนอน 2 คืน พวกเขาจะทำแบบทดสอบแย่ลงถึง 60%

2.2.1.3. งานวิจัยพบว่าถ้าคนอายุ 30 ปี นอนเพียง 4 ชั่วโมงต่อวันติดต่อกัน 6 คืน เคมีในร่างกายของเขาจะเทียบเท่ากับคนอายุ 60 ปี

2.2.2. ทำไมเราต้องนอน

2.2.2.1. มุมมองด้านวิวัฒนาการจะบอกว่าการนอนคือการเสี่ยงภัย เพราะเราไม่รู้ตัวว่าจะโด่นล่าเมื่อไหร่

2.2.2.2. พอเราวิวัฒนาการขึ้น จัดการกับความปลอดภัยในชีวิตได้มากขึ้น การนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

2.2.2.3. เพราะการนอนช่วยฟื้นฟูพลังกายและจิตใจให้กลับคืนมาอีกครั้ง

2.2.2.3.1. นั่นแปลว่าถ้าเราอดนอน เราจะฟื้นฟูร่างกายและจิตใจที่สึกหรอลงไปวันนั้นไม่ทัน

2.2.3. ทุกคนมีชั่วโมงการนอนที่แตกต่างกัน

2.2.3.1. แต่ละคนมีชั่วโมงการนอนที่จำเป็นไม่เท่ากันและยังง่วงนอนคนละเวลากันด้วย

2.2.3.2. รูปแบบการนอน 3 ประเภท

2.2.3.2.1. นกลาค

2.2.3.2.2. นกฮูก

2.2.3.2.3. นกฮัมมิ่งเบิร์ด

2.2.4. How to ปรับใช้ความรู้ของสมองข้อนี้

2.2.4.1. ทดลองเพิ่มเวลางีบหลับระหว่างวัน

2.2.4.1.1. งานทดลองของนาซ่าพบว่าการงีบหลับ 26 นาที จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของนักบินถึง 34%

2.2.4.1.2. หลังมื้อเที่ยง คนส่วนใหญ่มักมีอาการง่วงนอน หลายคนพยายามฝืนอาการนี้หรือไม่ก็หาวิธีอื่นๆ เช่น ดื่มกาแฟ

2.2.4.1.3. เปลี่ยนความเชื่อเดิมจากการงีบหลับ = การอู้งาน มาเป็นการงีบหลับ = การฟื้นฟูพลังงานของร่างกาย

2.2.4.2. นอนหลับให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

2.2.4.2.1. การอดนอนทำงานให้เสร็จเป็นแค่การแก้ปัญหาปลายเหตุ

2.2.4.2.2. ถ้าอยากนอนหลับให้ดีขึ้น...

2.2.4.3. บิงโกขอแนะนำหนังสือ Power of Full Engagement ที่จะแนะนำวิธีเตรียมร่างกายให้มีพลังงานเต็ม 100% สำหรับทำงานในทุกๆ วัน

2.2.4.3.1. เทคนิคการทำงานแบบ The Ultradian Rhythm ที่จะช่วยให้คุณจัดตารางทำงานโดยมีพลังงานมากพอตลอดทั้งวัน

3. ภาพช่วยให้เราเรียนรู้เร็วขึ้น

3.1. เราเรียนรู้ด้วยภาพได้ดีที่สุด

3.1.1. เรามองเห็นด้วยสมองไม่ใช่ตา ตาเป็นแค่อวัยวะหนึ่งที่ส่งต่อข้อมูลไปยังสมอง

3.1.2. เราเรียนรู้ผ่านภาพได้ดีที่สุด ไม่ใช่การฟัง

3.1.2.1. Ex # การทดสอบความจำโดยใช้การดูภาพกับการฟัง

3.1.2.1.1. ผู้ทดสอบที่ได้ดูภาพ 10 วินาที สามารถจดจำภาพได้มากถึง 90%

3.1.2.1.2. แต่พอใช้การฟัง พวกเขาจำได้แค่ 10%

3.1.3. แล้วเราก็เรียนรู้ผ่านภาพดีกว่าการอ่านด้วย การอ่านจะกินพลังสมองของเราเยอะกว่าการดูภาพ

3.1.3.1. เพราะเรามองเห็นตัวอักษรต่างๆ เป็นภาพก่อน

3.1.3.2. จากนั้นเราค่อยแปลความหมายของภาพที่เห็นออกมาเป็นความหมายของคำต่างๆ

3.1.3.3. ยิ่งเราอ่านข้อความที่ยาวและซับซ้อน เราจะเกิดภาวะคอขวดที่สมองในการแปลความหมายของสิ่งที่เห็น

3.1.4. ย้อนกลับไปสมัยก่อน เราใช้การมองเห็นช่วยให้เราเอาตัวรอด

3.1.4.1. เรามองเห็นสัตว์ร้ายที่เป็นภัย เราจึงหนี

3.1.4.2. เรามองเห็นแหล่งน้ำและอาหาร เราจึงเดินเข้าหาเพื่อหาของกิน

3.2. เราทำหลายอย่างพร้อมกันไม่ได้ แต่ประสาทสัมผัสเราทำงานพร้อมกันได้

3.2.1. เราไม่สามารถทำหลายอย่างพร้อมกันได้ เราจะทำแบบนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราทำสิ่งหนึ่งได้โดยอัตโนมัติเท่านั้น

3.2.1.1. เดิน + คุยโทรศัพท์

3.2.1.1.1. เราเดินโดยอัตโนมัติแบบไม่ต้องคิดได้

3.2.1.2. คุยโทรศัพท์ + เขียนหนังสือ

3.2.1.2.1. ทั้ง 2 กิจกรรมต้องอาศัยสมองช่วยคิด เราทำพร้อมกันไม่ได้ ทำได้แค่สลับไปมา

3.2.2. แต่เราสามารถใช้ประสาทสัมผัสหลายส่วนพร้อมกันได้

3.2.2.1. มือจับ + จมูกดม + ตามอง

3.2.2.2. หูฟัง + ตามอง + มือจับ

3.2.3. ยิ่งเราสามารถใช้ประสาทสัมผัสหลายส่วนพร้อมกันมากเท่าไหร่ เรายิ่งได้รับข้อมูลมากขึ้นและยิ่งเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้นด้วย

3.2.3.1. Ex # การอ่านนิทานสอนลูก

3.2.3.1.1. เวลาพ่อแม่สอนลูกด้วยการอ่านนิทาน ลูกจะเหมือนได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายส่วนด้วยกัน

3.2.3.1.2. มองภาพในหนังสือนิทาน

3.2.3.2. Ex # เรียนรู้ระหว่างออกกำลังกาย

3.2.3.2.1. เทคโนโลยีสมัยนี้ช่วยให้เรามีวิธีเรียนรู้ที่เร็วมากขึ้นได้

3.2.3.2.2. ระหว่างที่เราเดินเล่นหรือจ็อกกิ้งออกกำลังกาย เราสามารถเปิดพอดแคสต์ฟังสาระต่างๆ ได้ตามใจชอบ

3.2.3.2.3. จริงอยู่ว่าเราอาจไม่ได้มีสมาธิจดจ่อกับการฟังเต็มที่ แต่ถ้าเราฟังซ้ำๆ วิธีนี้จะช่วยให้เราประหยัดเวลาในการเรียนรู้ได้มาก

3.2.3.3. Ex # นำเสนองานให้โดนใจลูกค้า

3.2.3.3.1. นอกจากจะใช้การพูดเพื่อนำเสนอแล้ว เรายังสามารถทำสไลด์ภาพประกอบให้ลูกค้าดูไปพร้อมกันได้

3.2.3.3.2. การนำเสนองานบางครั้งสามารถเพิ่มการสัมผัสหรือการดมกลิ่นไปด้วยก็ยังได้

3.3. How to ปรับใช้ความรู้ของสมองข้อนี้

3.3.1. อย่าทำสไลด์นำเสนองานที่มีแต่ตัวหนังสือ

3.3.1.1. งานวิจัยพบว่าเรามีความสนใจต่ออะไรสักอย่างได้ไม่เกิน 10 นาที

3.3.1.2. นั่นแปลว่าเรามีเวลาไม่เกิน 10 นาทีสำหรับนำเสนองานให้น่าสนใจ ดังนั้นอย่าเสียเวลากับข้อมูลตัวหนังสือที่ยืดยาวและน่าเบื่อ

3.3.1.3. เพิ่มการเล่าเรื่องด้วยภาพจะช่วยให้ลูกค้านึกภาพงานได้ชัดเจนมากขึ้น

3.3.1.3.1. ภาพ 1 ภาพก็สามารถแทนความหมายของคำพูดยืดยาวได้เยอะมาก

3.3.1.3.2. Ex # อธิบายคำว่า "คุณภาพ" กับ "ปริมาณ"

4. อยากจำแม่นต้องหมั่นทำซ้ำ

4.1. ยิ่งทำซ้ำ ยิ่งจำได้

4.1.1. ถ้าเราอยากจำอะไรได้ เราต้องหมั่นทำซ้ำๆ เพื่อให้สมองของเราจดจำได้

4.1.1.1. อยากจำเบอร์โทรศัพท์หัวหน้า

4.1.1.1.1. เราก็ต้องท่องเบอร์โทรศัพท์นนั้นซ้ำๆ จนกว่าจะจำ

4.1.1.2. อยากจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

4.1.1.2.1. เราก็ต้องท่องคำศัพท์เดิมซ้ำๆ จนกว่าจะจำ

4.1.1.3. อยากจำหน้าตาและข้อมูลของคู่ค้า

4.1.1.3.1. เราก็ต้องเปิดดูรูปและท่องข้อมูลของเขาซ้ำๆ จนกว่าจะจำ

4.2. จำได้แล้วไม่อยากลืมก็ต้องหมั่นดึงออกมาใช้

4.2.1. เมื่อเราสามารถเปลี่ยนข้อมูลตรงหน้าเป็นความจำได้สมองแล้ว เราจะจำมันได้แค่ในระยะสั้นๆ เท่านั้น

4.2.2. ถ้าเราไม่ดึงข้อมูลนั้นออกมาใช้บ้าง นานวันเข้าเราจะค่อยๆ ลืมในที่สุด

4.2.3. เฮอร์มันน์ เอ็บบิงเฮาส์ นักจิตวิทยา ได้ทำการทดลองหนึ่งเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการจำของนักเรียน

4.2.3.1. ผลก็คือหลังจากเรียนผ่านไป 30 วัน นักเรียนจะลืมเนื้อหาที่เคยเรียนไป 90%

4.2.3.2. แต่ถ้าหลังเรียนแล้ว มีการทบทวนเนื้อหาซ้ำๆ ทุกสัปดาห์ เมื่อผ่านไป 30 วัน นักเรียนจะลืมเนื้อหาที่เคยเรียนไปแล้วน้อยลง

4.2.4. Ex # เบอร์โทรศัพท์

4.3. How to ปรับใช้ความรู้ของสมองข้อนี้

4.3.1. ยิ่งมีตัวอย่างเยอะ เรายิ่งจำได้แม่น

4.3.1.1. การทดลองหนึ่งให้นักเรียนลองอ่านบทความที่ไม่มีตัวอย่างประกอบเลย มี 1 ตัวอย่าง มี 2 ตัวอย่าง และมี 3 ตัวอย่าง

4.3.1.1.1. ผลปรากฏว่านักเรียนจะจำบทความที่มี 3 ตัวอย่างได้มากที่สุด

4.3.1.1.2. การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่า จำนวนตัวอย่างที่มากขึ้นมีผลต่อการจำของเรา

4.3.1.2. ดังนั้นเวลาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ลองหาตัวอย่างเพิ่มเติมให้ตัวเอง เราจะได้จำมันได้ดีขึ้น

4.3.1.2.1. เรียนภาษาอังกฤษ

4.3.1.2.2. เรียนขับรถ

4.3.1.2.3. เรียนเขียนเว็บไซต์

4.3.2. 2 เคล็ดลับเพื่อเพิ่มความจำ

4.3.2.1. ค่อยๆ จำเป็นลำดับ

4.3.2.1.1. แทนที่จะจำทุกอย่างในครั้งเดียว ให้แบ่งย่อยเป็นลำดับจะช่วยให้จำง่ายขึ้น

4.3.2.1.2. จำ A

4.3.2.1.3. Ex # จำ Tense ในภาษาอังกฤษ

4.3.2.2. หมั่นดึงความจำออกมาใช้

4.3.2.2.1. Ex # เบอร์โทรศัพท์

4.3.3. บิงโกขอแนะนำหนังสือ The Organized Mind ที่จะสอนให้เรารู้จักจัดระเบียบความคิดเพื่อเพิ่ม Productivity ในชีวิตให้มากขึ้น

4.3.3.1. หนังสือเล่มนี้แนะนำให้เรารู้จักจดจำข้าวของจากสภาพแวดล้อม เพื่อลดอาการขี้ลืมลง เช่น

4.3.3.1.1. กำหนดที่อยู่ตายตัวของสิ่งของที่มักลืมบ่อยๆ

4.3.3.1.2. วางของสำคัญไว้ในที่ๆ เรามองเห็นได้เวลาต้องใช้จริง

5. ยิ่งเราเครียด เรายิ่งเรียนรู้และทำงานได้แย่ลง

5.1. ความเครียดคือภัยร้ายต่อชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน

5.1.1. เราไม่ได้มี 2 สมองไว้แยกใช้ต่างหากระหว่างเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ถ้าเราเครียดด้านในด้านหนึ่ง มันก็จะส่งผลต่ออีกด้านตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

5.1.2. เมื่อเราเครียดเรื่องส่วนตัว มันจึงส่งผลกระทบต่อเรื่องงาน

5.1.3. เมื่อเราเครียดเรื่องงาน มันจึงส่งผลกระทบต่อเรื่องส่วนตัว

5.1.4. 3 สัญญาณเตือนว่าความเครียดเริ่มส่งผลเสียต่อตัวเรา

5.1.4.1. เริ่มมีอาการทางร่างกาย

5.1.4.1.1. เหงื่อไหล

5.1.4.1.2. ปวดมวนในท้อง คลื่นไส้

5.1.4.2. เริ่มรับรู้ว่าความเครียดเป็นภัย

5.1.4.3. เริ่มรู้สึกว่าควบคุมอะไรไม่ได้

5.1.4.3.1. ยิ่งมีหลายเรื่องที่รู้สึกควบคุมไม่ได้ เราก็ยิ่งเครียดมากขึ้น

5.2. ความเครียดเรื้อรังมีผลต่อสุขภาพและการเรียนรู้

5.2.1. ด้านการเรียนรู้

5.2.1.1. เด็กเครียด เรียนแย่

5.2.1.2. ผู้ใหญ่เครียด ทำงานแย่

5.2.1.3. ไม่มีสมาธิ การคิดคำนวณและความจำแย่ลง

5.2.2. ด้านสุขภาพ

5.2.2.1. เสี่ยงต่อโรคหัวใจและซึมเศร้า

5.3. เมื่อเรารู้สึกว่าควบคุมอะไรไม่ได้ เราจะเครียด

5.3.1. คนทำงานจะมี Productivity น้อยลง เมื่อพวกเขารู้สึกว่าตัวเองควบคุมการทำงานให้ออกมาดีอย่างที่คิดไว้ไม่ได้

5.3.2. ทุกคนมีความคาดหวังในงาน เราอยากให้งานออกมาดี แต่พอเราตัดสินใจอะไรไม่ได้หรือควบคุมอะไรให้ได้ตรงความคาดหวังไม่ได้ เราจะเริ่มเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ

5.4. How to ปรับใช้ความรู้ของสมองข้อนี้

5.4.1. รู้จักกระจายอำนาจให้ทีมงาน

5.4.1.1. ยิ่งทีมงานมีอำนาจการตัดสินใจเพิ่มขึ้น เขาจะรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจควบคุมงานให้ได้ตรงความคาดหวังมากขึ้น

5.4.1.2. Ex # ปิดการขายจากลูกค้า

5.4.1.2.1. ถ้าคุณมอบกรอบการตัดสินใจหน้างานให้ลูกทีมไปเลยว่า ขอแค่ได้เงินเข้าบริษัทไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท

5.4.1.2.2. ลูกทีมของคุณจะสามารถตัดสินใจปิดการขายกับลูกค้าได้ทันที

5.4.1.3. บิงโกขอแนะนำหนังสือ Smarter Faster Better หนังสือที่รวม 8 ความลับในการสร้าง Productivity ไว้ในเล่มเดียว

5.4.1.3.1. หนังสือเล่มนี้บอกว่าความรู้สึกว่าเราควบคุมได้เป็นอีกวิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ดีมาก

5.4.2. ออกกำลังกายคลายเครียด

5.4.2.1. เรารู้แล้วว่าการออกกำลังกายช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น มีอาหารไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น

5.4.2.2. ดังนั้นเวลาเราเครียด การออกกำลังกายจึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยผ่อนความเครียดในสมองลงได้

5.4.2.3. นอกจากปัจจัยด้านวิทยาศาสตร์แล้ว เรายังเหมือนได้เบนความสนใจออกจากปัญหาไปสู่การออกกำลังกายแทนด้วย

6. เรียนเร็ว จำเก่ง และทำงานดีขึ้น ด้วยความรู้จากนักวิทยาศาสตร์สมอง

6.1. พอเราเชื่ออะไรผิดๆ เราก็จะเดินไปผิดทาง

6.1.1. หลายคนเชื่อว่าคนที่ทำอะไรได้หลายอย่างเป็นคนเก่ง พอมีความเชื่อแบบนี้ เราก็อยากทำอะไรหลายอย่างพร้อมกันแบบเขาบ้าง

6.1.2. แต่จริงๆ แล้วนี่คือความเชื่อที่ผิด สมองของเราไม่สามารถทำหลายอย่างพร้อมกันได้ขนาดนั้น

6.1.2.1. Ex # คุยโทรศัพท์ + ขับรถ

6.1.2.1.1. คุณอาจรู้สึกเหมือน "ไม่เห็นมีอะไร ฉันก็ทำได้"

6.1.2.1.2. แต่จริงๆ แล้ว สมองของเราจะทำงานสลับไปมาระหว่าง "คิดเรื่องคุยโทรศัพท์" กับ "คิดเรื่องขับรถ"

6.1.3. ดังนั้นเราจะเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิต วิธีเรียนรู้ และวิธีการทำงานเสียใหม่ ให้ตรงกับการทำงานของสมองมากที่สุด ซึ่งเป็นวิธีของคนที่ใช้สมองเป็น

6.2. รู้ทันสมอง แล้วเอามาปรับใช้กับตัวเอง

6.2.1. คำโบราณกล่าวไว้ว่า "รู้เขารู้เรา รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง"

6.2.2. เมื่อคุณรู้ทันการทำงานของสมอง คุณจะสามารถออกแบบวิธีเรียนรู้ วิธีทำงาน และวิธีพักผ่อน เพื่อใช้งานสมองของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

7. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร?

7.1. หลายคนไม่รู้ว่าสมองทำงานอย่างไร มันชอบอะไรไม่ชอบอะไร มันเรียนรู้อย่างไร มันมีวิธีเพิ่มพลังสมองไหม?

7.2. แต่ถ้าคนเราถ้าได้รู้อะไรก่อน เราก็จะมีเวลาเตรียมตัวและรับมือได้ดีกว่าด้วย

7.3. ดร. จอห์น เมดิน่า จึงนำความลับการทำงานของสมองจากงานวิจัยยากๆ มาเรียบเรียงเป็นกฏการทำงานของสมองแบบง่ายๆ เพื่อเปิดเผยให้เราได้รู้ว่าแท้จริงแล้วสมองของเรานั้นเป็นอย่างไร