โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) by Mind Map: โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)

1. ความหมาย

1.1. โรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายชนิดที่มีอาการแสดงทางจมูก

1.2. เกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปทำปฏิกิริยากับ IgE ชนิดจำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น แล้วเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก

1.3. ทำให้มีอาการคันจาม น้ำมูกไหล และคัดจมูก ตั้งแต่เป็นน้อยจนถึงเป็นมาก ซึ่งอาจหายได้เองหรือหลังได้รับการรักษา

1.4. อาการดังกล่าวอาจทำให้คุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยแย่ลง ทั้งการนอน การทำงานหรือการเรียน

2. สาเหตุ

2.1. ปัจจัยสาเหตุแฝง (Predisposing factors)

2.1.1. เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้ ได้แก่ พันธุกรรมโดยผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิแพ้ จะมีความผิดปกติของการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งความผิดปกติ นี้สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้

2.2. ปัจจัยสาเหตุจำเพาะ (Specific factors)

2.2.1. เกิดจากสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้หรือสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ ฝุ่นบ้าน (House dust) ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ไรฝุ่น (Dust mite) รองลงมา ได้แก่ แมลงสาบ แมว สุนัข นุ่น ฝ้าย แมลง ละอองเกสรของหญ้า และเชื้อราต่างๆ เป็นต้น

2.3. ปัจจัยหนุน (Precipitating factors)

2.3.1. สิ่งที่สนับสนุนให้แสดงอาการออกมาหรือทำให้อาการมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ได้แก่ โรคติดเชื้อ สารระคายเคืองต่างๆ การออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นต้น

3. อาการและอาการแสดง

3.1. มีน้ำมูกใส จาม คันจมูกและคัดจมูก

3.2. อาจมีอาการทางตา ได้แก่ คันตา น้ำตาไหล และตาอักเสบภูมิแพ้

3.3. ผู้ป่วยที่มีอาการคัดจมูกมากๆ ซึ่งเป็นผล จากการอักเสบบวมของเยื่อบุจมูก

3.4. อาจส่งผลกระทบต่อการระบายของ ไซนัส จนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

3.5. หรืออาจส่งผลต่อ Eustachian tube ทำให้เกิดอาการปวดหูหรือหูอื้อได้

3.6. ผู้ป่วยมักมีน้ำมูกไหลลงคอเป็น ประจำ ทำให้เกิดการระคายเคือง คันคอ และส่งผลให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้

4. ภาวะแทรกซ้อน

4.1. โรคผิวหนังติดเชื้อ

4.2. หูชั้นกลางอักเสบ

4.3. ต่อมทอลซิลและผนังคออักเสบเรื้อรัง

4.4. โรคมะเร็งจมูกและมะเร็งโพรงจมูก

4.5. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

5. การประเมินสุขภาพ

5.1. การซักประวัติ

5.1.1. ควรซักประวัติถึงลักษณะเฉพาะของอาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของผู้ป่วยสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้

5.1.2. ควรซักประวัติถึงโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ และอาการของโรคที่ผู้ป่วยอาจเป็นอยู่แล้วร่วมด้วย เช่น โรคหืด โรคตาอักเสบภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้

5.1.3. พยาบาลควรซักประวัติเกี่ยวกับลักษณะการประกอบอาชีพของผู้ป่วย การเลี้ยงสัตว์และ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ทั้งที่บ้านและ ที่ทำงานของผู้ป่วย

5.1.4. รวมทั้งซักประวัติเกี่ยวกับสารที่ผู้ป่วยคิดว่า ก่อให้เกิดภูมิแพ้

5.1.5. ซักประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคจมูกอักเสบ ภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)

5.2. การตรวจร่างกาย

5.2.1. การตรวจร่างกายอาจพบรอยคล้ำบริเวณใต้ตำ (Allergic shiner)

5.2.2. รอยย่น บริเวณสันจมูก (Allergic nasal crease)

5.2.3. เกิดจากการที่ผู้ป่วยมักใช้ปลายนิ้วดันจมูกขึ้น เพื่อบรรเทาอาการคันและทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น

5.2.4. แต่ถ้าตรวจร่างกายในขณะที่ผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยกินยา ระงับอาการของโรคภูมิแพ้ ก็จะไม่พบความผิดปกติ

5.3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษอื่นๆ

5.3.1. การทดสอบโดยการใส่สารก่อภูมิแพ้เข้าไปในโพรงจมูกแล้วเกิดอาการแพ้ต่อสารนั้น (Nasal provocation test)

5.3.2. ใช้เครื่องมือขูดเซลล์เยื่อบุจมูก (Nasal cytology) ออกมาตรวจพบ Eosinophils ซึ่งเป็นเซลล์ที่สัมพันธ์กับ Allergic inflammation

5.3.3. การตรวจโดยวิธีหยดหรือฉีดสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ลงไปที่ผิวหนังแล้วรอประมาณ 15-20 นาที เพื่อสังเกตว่าจะเกิดปฏิกิริยาเป็นรอยนูนหรือรอยแดง (Wheal and flare) เรียกว่า การทดสอบภูมิคุ้มกันทางผิวหนัง (Allergic skin prick test หรือ Intradermal test)

5.3.4. การเจาะเลือดวัดระดับของ Specific immunoglobulin E ต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด

6. พยาธิสภาพ

6.1. ภาวะภูมิไวเกินชนิดนี้เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ภายหลังจากการที่ร่างกายได้รับ สิ่งแปลกปลอมหรือสารก่อภูมิแพ้ (Antigen) เข้าสู่ร่างกาย

6.2. ในครั้งแรกร่างกายจะสร้าง IgE antibody ต่อ Antigen ชนิดนั้น IgE2 โมเลกุล จะไปยึดเกาะอยู่บนผิวของ Mast cell เมื่อร่างกายได้รับ Antigen เข้ามาในร่างกายอีกครั้ง ก็จะเข้าเชื่อมโยงกับ IgE กระตุ้นให้ Mast cell หลั่งสารเคมี (Mediators) ชนิดต่างๆ เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ส่งผลให้หลอดลมเกิดการหดเกร็ง

6.3. ผู้ป่วยจะเกิดภาวะหอบหืด หายใจลำบาก เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันเลือดต่ำลง อาจเข้าสู่ภาวะช็อค ทำให้มีการรั่วซึมของสารน้ำในหลอดเลือด เกิดอาการบวม แน่นจมูกและมีน้ำมูก เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ เกิดผื่นลมพิษ (Urticaria)

6.4. อาการอาจเกิดรุนแรงเป็น Anaphylactic คือ เกิดอาการเฉพาะอวัยวะเป้าหมาย เช่น มีอาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล จะเรียกว่า Allergic rhinitis หรือ ถ้าคันตา ตาแดง แต่ไม่ได้ติดเชื้อก็เรียกว่า Allergic conjunctivitis เป็นต้น อาจเรียกว่าเป็น อาการของโรคภูมิแพ้ก็ได้

7. การรักษา

7.1. ยา Antihistamine ชนิดรับประทาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการจาม น้ำมูกไหล อาการคันตา แต่จะมีผลน้อยกับอาการคัดจมูก

7.2. ยา Intranasal steroid (INS) โดยยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบที่จมูกโดยตรง โดยเริ่มออกฤทธิ์ 6-8 ชั่วโมง หลังใช้ยาแต่อาการทางคลินิกจะดีขึ้นหลังจากใช้ยำไปแล้วเป็น สัปดาห์

7.3. ยาต้าน Leukotriene ใช้เป็นยาเสริม สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และโรคหืดในคนๆ เดียวกัน

7.4. ยา Anti-cholinergic ชนิดพ่น ซึ่งยาชนิดนี้ใช้รักษาอาการน้ำมูกไหลโดยเฉพาะ แต่ไม่ได้ผลกับอาการทางจมูกอื่นๆ

7.5. ยา Intranasal decongestant ซึ่งยาชนิดนี้ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือด บริเวณเยื่อบุจมูก ส่งผลให้อาการคัดจมูกลดลง

7.6. ยา Decongestant ชนิดรับประทาน ซึ่งช่วยลดอาการคัดจมูก แต่มีประสิทธิผลน้อยกว่า ยา Intranasal decongestant

7.7. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ ซึ่งเป็นการฉีดน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ (Allergic extract) ให้ผู้ป่วยโดยเริ่มฉีดทีละน้อย และปรับเพิ่มขนาดของวัคซีนขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยทนต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นๆได้ ทั้งนี้เมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นๆ ก็จะไม่มีอาการภูมิแพ้ หรือมีอาการแพ้น้อยมาก

8. การพยาบาล

8.1. ไม่สุขสบายเนื่องจากคันบริเวณจมูก

8.2. ไม่สุขสบายเนื่องจากคันบริเวณตา น้ำตาไหล

8.3. เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีการบวมของเยื่อบุจมูก

8.4. ประสิทธิผลการทำทางเดินหายใจโล่งบกพร่องเนื่องจากหายใจลำบาก

8.5. วิตกกังวลเนื่องจากการเจ็บป่วย