ลงมือทำน้อยแต่ได้ผลใหญ่ ด้วยการเลือกทำแค่ "หนึ่งเดียว"

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ลงมือทำน้อยแต่ได้ผลใหญ่ ด้วยการเลือกทำแค่ "หนึ่งเดียว" by Mind Map: ลงมือทำน้อยแต่ได้ผลใหญ่ ด้วยการเลือกทำแค่ "หนึ่งเดียว"

1. ผู้เขียน

1.1. แกรี่ เคลเลอร์

1.1.1. ผู้ก่อตั้ง Keller Williams บริษัทด้านอหังสาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของโลก

1.2. เจย์ พาพาซาน

1.2.1. รองประธานของบริษัท Keller Williams

2. ความโด่งดังของหนังสือเล่มนี้

2.1. ยอดขายอันดับ 1 จาก Wall Street Journal, New York Times และ USA Today

2.2. ชนะการประกวดหนังสือจากสถาบันต่างๆ ถึง 12 รางวัล

2.3. ถูกแปลไปแล้วมากกว่า 35 ภาษาทั่วโลก

3. ชีวิตสำเร็จได้ ด้วยการเลือกทำแค่ "หนึ่งเดียว"

3.1. เราจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากที่สุด เมื่อเราทำอะไรแค่ "หนึ่งเดียว"

3.1.1. คนส่วนใหญ่เชื่อว่าถ้าอยากประสบความสำเร็จ เราต้องใช้เวลาและทำหลายๆ อย่าง

3.1.1.1. ปฏิทินของพวกเขาจึงแน่นเอี้ยด

3.1.1.2. ลิสต์รายการงานที่ต้องทำจึงยาวเหยียด

3.1.2. ตอนแรกสุดพวกเขาอาจมีเวลาและพลังงานเหลือเฟือ แต่เมื่อต้องทำอะไรหลายๆ อย่างไปเรื่อยๆ สุดท้ายเราก็จะ...

3.1.2.1. ทำงานไม่ทันตามเวลา

3.1.2.2. ทำงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร

3.1.2.3. มีความเครียดสะสมมากขึ้น

3.1.2.4. ต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงานให้มากขึ้น

3.1.2.4.1. นอนไม่พอ

3.1.2.4.2. ไม่ได้ควบคุมอาหาร

3.1.2.4.3. ไม่ได้ออกกำลังกาย

3.1.2.4.4. พลาดโอกาสใช้เวลากับเพื่อนและคนในครอบครัว

3.1.3. ดังนั้นเราควรเลือกทำสิ่งต่างๆ ให้น้อยลงและเลือกทำแต่สิ่งที่สำคัญแทนที่จะทำมันทุกอย่าง

3.1.4. การจัดลำดับความสำคัญของงานจึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับคนที่อยากสร้าง Productivity และความสำเร็จให้ชีวิต ยิ่งเราหา "หนึ่งเดียว" (The ONE Thing) ที่สำคัญที่สุดเจอแล้วทำมันจนสำเร็จ เรายิ่งมีโอกาสสร้างความสำเร็จได้มากเท่านั้น

3.2. ทุกความสำเร็จมีขั้นตอนของมัน

3.2.1. ปีเตอร์ ดรักเกอร์ สุดยอดนักคิดด้านการบริหารเคยกล่าวไว้ว่า "เราไม่ให้ราคากับความสำเร็จที่ทำได้ใน 5 ปี แต่กลับให้ราคาความสำเร็จที่ทำได้ใน 1 ปีสูงเหลือเกิน เราไม่เคยอดทนกับอะไร"

3.2.1.1. เศรษฐีไม่ได้สร้างความมั่งคั่งในปีเดียว

3.2.1.2. นักกีฬาไม่ได้แชมป์ตั้งแต่วันแรกที่ลงแข่ง

3.2.1.3. ผลไม้ไม่ได้ออกลูกตั้งแต่เดือนแรกที่ปลูก

3.2.1.4. ทุกความสำเร็จมีจุดเริ่มต้น แล้วค่อยๆ ขยับไปทีละขั้นตอน จนกลายเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ในท้ายที่สุด

3.2.2. ทฤษฎีความสำเร็จแบบโดมิโน (Domino Effect)

3.2.2.1. ทฤษฎีนี้บอกว่า โดมิโน 1 ตัวสามารถล้มโดมิโน่ตัวที่ใหญ่กว่ามันได้

3.2.2.2. ถ้าเปรียบโดมิโน่ตัวสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดเป็น "เป้าหมายสำคัญของเรา" เมื่อใดก็ตามที่เราล้มโดมิโน่ตัวนี้สำเร็จ นั่นแปลว่าเราประสบความสำเร็จแล้ว

3.2.2.2.1. สิ่งที่เราต้องทำก่อนจะล้มโดมิโน่ยักษ์ตัวสุดท้ายได้คือ จัดเรียงโดมิโน่แต่ละตัวให้ดี

3.2.2.2.2. เราต้องการเวลาสำหรับเรียงโดมิโน่ เราต้องการตัวโดมิโน่ที่ถูกต้องสำหรับล้มโดมิโน่ตัวถัดไป

3.2.2.2.3. ถ้าเราเรียงโดมิโน่ผิด เราไม่มีทางล้มโดมิโน่ตัวสุดท้ายได้ นั่นแปลว่าเราล้มเหลว

3.2.2.3. โดมิโน่แต่ละตัวจึงเทียบได้กับ "หนึ่งเดียว"

3.2.2.4. ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จ เราต้องจัดเรียง "หนึ่งเดียว" ไปทีละขั้นเหมือนตัวโดมิโน่ เพื่อล้มโดมิโน่ยักษ์ตัวสุดท้ายให้จงได้

3.2.3. Ex # สร้างธุรกิจเฟรนไชส์

3.2.3.1. ถ้าโดมิโน่ยักษ์ตัวสุดท้ายที่เป็นเป้าหมายของเราคือ ขายเฟรนไชส์ร้านเบเกอรี่ให้ได้ 100 สาขา

3.2.3.2. โดมิโน่ตัวแรก = สร้างสูตรเบเกอรี่ให้ดีที่สุด

3.2.3.3. โดมิโน่ตัวที่ 2 = ทำร้านเบเกอรี่สาขาแรกให้ประสบความสำเร็จ

3.2.3.4. โดมิโน่ตัวที่ 3 = สร้างแบรนด์ร้านเบเกอรี่ให้โด่งดัง

3.2.3.5. โดมิโน่ตัวที่ 4 = เปิดร้านสาขาสอง

3.2.3.6. โดมิโน่ตัวที่ 5 = เปิดร้านสาขาที่ 5

3.2.3.7. โดมิโน่ตัวที่ 6 = เปิดขายเฟรนไชส์ร้านเบเกอรี่

3.2.3.8. โดมิโน่ตัวสุดท้าย = ขายเฟรนไชส์ได้ 100 สาขา

4. ตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อตามหา "หนึ่งเดียว"

4.1. ยิ่งเราตั้งคำถามได้ดีเท่าไหร่ เราก็มีโอกาสได้คำตอบที่ดีมากเท่านั้น

4.1.1. การถามตัวเองเพื่อหาคำตอบจึงช่วยกำหนดชีวิตของเราได้

4.1.2. วอลแตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า "จงตัดสินคนจากสิ่งที่เขาถามมากกว่าสิ่งที่เขาตอบ"

4.2. คำถาม = "อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ แล้วจะช่วยให้สิ่งอื่นๆ ในชีวิตง่ายขึ้น"

4.2.1. ใช้เพื่อหา "หนึ่งเดียว" ที่จะเป็นเป้าหมายใหญ่ในชีวิต

4.2.1.1. เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อหา "หนึ่งเดียว" ในชีวิต แล้วใช้มันกำหนดเส้นทางอาชีพ ชีวิต หรือธุรกิจของเรา

4.2.2. ใช้เพื่อหา "หนึ่งเดียว" ที่เป็นงานสำคัญที่สุดที่ควรทำตอนนี้

4.2.2.1. เมื่อแต่ละวันมีอะไรให้ทำเยอะ เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อหา "หนึ่งเดียว" ที่สำคัญที่สุดในวันนี้

4.2.2.2. เราต้องการหา "โดมิโน่" ตัวแรกที่ถ้าทำสำเร็จ มันจะไปล้มโดมิโน่ตัวใหญ่กว่าที่อยู่ถัดไปได้

4.2.2.3. เราควรถามหา "หนึ่งเดียว" ของวันนี้ทุกวันตอนตื่นนอน

4.2.3. ปรับใช้กับทุกด้านในชีวิต

4.2.3.1. เราสามารถปรับใช้กับหลายด้านในชีวิต แค่ใส่หมวดหมู่ลงในคำถาม แล้วต่อท้ายด้วย "...แล้วจะช่วยให้สิ่งอื่นๆ ในชีวิตง่ายขึ้น"

4.2.3.2. ด้านสุขภาพ

4.2.3.2.1. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อให้ตัวเองได้ออกกำลังกาย

4.2.3.2.2. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อให้ตัวเองได้คลายเครียด

4.2.3.3. ด้านความสัมพันธ์

4.2.3.3.1. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อพัฒนาความรักในชีวิตคู่

4.2.3.3.2. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อสร้างครอบครัวที่อบอุ่น

4.2.3.4. ด้านธุรกิจ

4.2.3.4.1. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

4.2.3.4.2. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีที่สุด

4.2.3.5. ด้านการงาน

4.2.3.5.1. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อช่วยให้ขายงานสำเร็จ

4.2.3.5.2. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อพัฒนาทักษะให้ตัวเอง

4.2.3.6. ด้านการเงิน

4.2.3.6.1. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อเคลียร์หนี้บัตรเครดิต

4.2.3.6.2. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้ เพื่อให้ตัวเองมีเงินออมเพิ่มขึ้น

4.2.3.7. หมั่นฝึกถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ตอนเริ่มต้นวันจนเป็นนิสัย แล้วเราจะสร้างความสำเร็จครั้งใหญ่ได้

4.3. เบื้องหลังแนวคิดคำถามเพื่อตามหาหนึ่งเดียว

4.3.1. คำถามนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนง่ายๆ คือ

4.3.1.1. อะไรคือหนึ่งเดียวที่ฉันทำได้...

4.3.1.1.1. คำถามครึ่งแรกนี้จะบีบบังคับให้เราพยายามคิดว่าจริงๆ แล้ว "หนึ่งเดียว" ที่สำคัญที่สุดคืออะไร

4.3.1.1.2. แต่ก่อนจะได้ "หนึ่งเดียว" มา เราจะต้องตัดทางเลือกต่างๆ ที่มีให้เหลือน้อยที่สุด แล้วคำถามในครึ่งหลังจะช่วยบีบให้เราหา "หนึ่งเดียว" จนเจอ

4.3.1.2. ...แล้วจะช่วยให้สิ่งอื่นๆ ในชีวิตง่ายขึ้น

4.3.1.2.1. คำถามครึ่งหลังนี้คือการตามหาหนึ่งเดียวที่เปรียบเหมือนโดมิโน่ตัวแรกสุดที่ถ้าเราทำเสร็จ มันจะค่อยๆ ล้มโดมิโน่ตัวใหญ่ที่อยู่ถัดไปได้

4.3.1.2.2. คำถามครึ่งหลังมีไว้เพื่อช่วยให้เราหาว่า ทางเลือกต่างๆ ที่เราคัดมาแล้ว จริงๆ แล้วอันไหนกันแน่คือ "หนึ่งเดียว"

5. 6 ความเชื่อผิดๆ ที่คอยขวางการสร้าง Productivity

5.1. เราเชื่อว่าทุกเรื่องสำคัญเท่ากัน

5.1.1. เรื่องนี้พิสูจน์ได้ด้วย "กฎของพาเรโต" หรือ "กฎ 80/20"

5.1.1.1. กฎนี้บอกว่า ผลลัพธ์ส่วนใหญ่ (80%) จะเกิดขึ้นจากการลงมือทำส่วนน้อย (20%)

5.1.1.2. เมนูขายดีเพียง 20% จะสร้างยอดขายให้ร้าน 80%

5.1.1.3. Ex # ร้านกาแฟ

5.1.1.3.1. ถ้าร้านคุณมีเมนูเครื่องดื่ม 10 เมนู เมนูกาแฟแค่ 2 ตัว เช่น อเมริกาโนกับคาปูชิโน จะสร้างยอดขายได้ถึง 80%

5.1.1.3.2. ส่วนเมนูอื่นอีก 8 อย่าง เช่น ชานม โกโก้ จะสร้างยอดขายรวมกันได้แค่ 20%

5.1.2. ดังนั้นต่อให้เราจะทำลิสต์งานที่ต้องทำ แต่ถ้าเราเลือกไม่ได้ว่างานไหนที่สำคัญ ลิสต์นั้นก็ไม่มีประโยชน์

5.1.3. วิธีแก้คือ เราจะใช้กฏ 80/20 ซ้ำจนกว่าจะเหลือแค่ "หนึ่งเดียว" ที่สำคัญที่สุด

5.1.3.1. จากลิสต์งานที่ต้องทำ ถามตัวเองต่อว่า "งานชิ้นไหนที่สำคัญจริงๆ"

5.1.3.2. ถามต่อไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายแล้วเหลือแค่ "หนึ่งเดียว" ที่สำคัญที่สุดจริงๆ

5.1.3.3. ลองเปลี่ยนมุมมองจากเดิมเคยเป็น "ฉันต้องทำตามลิสต์" เป็น "ฉันควรทำอะไรในลิสต์"

5.1.3.4. Ex # ลิสต์รายการงานวันนี้ 10 อย่าง

5.1.3.4.1. ก่อนเริ่มวันทำงาน คุณลิสต์งานที่ต้องทำออกมาได้ 10 อย่างด้วยกัน

5.1.3.4.2. ถ้าใช้กฏ 80/20 นั่นแปลว่าในงาน 10 อย่างนั้น จะมีแค่ 2 งานเท่านั้นที่มีความสำคัญสำหรับคุณ

5.1.3.4.3. คราวนี้คุณต้องถามตัวเองต่อว่า "แล้วในงาน 2 อย่างที่คิดว่าสำคัญที่สุด อะไรคือหนึ่งเดียว"

5.2. คนที่ทำหลายอย่างได้พร้อมกันคือคนเก่ง

5.2.1. เมื่อใดก็ตามที่เราทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน เราจะทำมันไม่ได้ดีสักอย่าง

5.2.2. เราจะทำหลายอย่างพร้อมกันได้ก็ต่อเมื่อมีสิ่งหนึ่งที่เราทำได้ โดยอัตโนมัติแบบไม่ต้องใช้ความคิด

5.2.2.1. เราเดินเล่นและคุยโทรศัพท์ได้

5.2.2.2. เราคุยโทรศัพท์และอ่านหนังสือไปด้วยไม่ได้

5.2.3. งานวิจัยพบว่า คนทำงานจะเสียเวลาทำงาน 28% ต่อวันไปกับการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน แถมงานที่ได้ยังไม่มีประสิทธิภาพด้วย

5.2.4. ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เราจึงควรหันมาสนใจทำ "หนึ่งเดียว" ให้สำเร็จเพื่อสร้าง Productivity

5.3. คนที่ประสบความสำเร็จต้องมีระเบียบวินัยอย่างหนัก

5.3.1. ถ้าคุณมีระเบียบวินัย แปลว่าคุณกำลังฝึกอะไรบางอย่างให้ตัวเองอยู่ ยิ่งคุณทำนานขึ้น นั่นแปลว่าคุณกำลังสร้างสิ่งนั้นให้กลายเป็นนิสัย

5.3.1.1. Ex # การออกกำลังกาย

5.3.1.1.1. คุณบังคับตัวเองให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

5.3.1.1.2. คุณมีวินัยที่ดี คุณจึงออกวิ่งตลอดไม่ขาดตอนเลย

5.3.1.1.3. นั่นแปลว่าถ้าคุณใช้วินัยนี้ต่อไปเรื่อยๆ คุณกำลังสร้างนิสัยออกกำลังกายให้ตัวเองขึ้นมา

5.3.2. ระเบียบวินัยที่เข้มงวดช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้ก็จริง แต่เราจะประสบความสำเร็จได้มากกว่านั้นถ้าเราใช้ระเบียบวินัยมาสร้าง "นิสัย" แทน

5.3.2.1. คุณควรใช้ "ระเบียบวินัย" เพื่อฝึกให้ตัวเองมีนิสัยที่ดี

5.3.2.2. แล้วนิสัยที่ดีจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้

5.3.2.3. งานวิจัยพบว่า คนเราใช้เวลาเฉลี่ยในการสร้างนิสัยใหม่ 66 วัน

5.4. เรามีพลังใจไร้ขีดจำกัด

5.4.1. พลังใจ (Willpower) ก็เหมือนแบตเตอรี่ มันมีจำนวนจำกัด ยิ่งใช้ มันก็จะหมด

5.4.2. ดังนั้นเราต้องรู้จักใช้พลังใจที่มีอย่างกำจัดให้น้อยและชาญฉลาดที่สุด

5.4.2.1. ใช้กับงานที่สำคัญที่สุด

5.4.2.1.1. เลือกทำงานที่ยากและสำคัญที่สุดในตอนเริ่มวัน

5.4.2.1.2. ถ้าคุณทำงานได้ดีที่สุดตอนหัวค่ำ ก็นำงานชิ้นสำคัญไปทำตอนนั้นแทน

5.4.2.2. หมั่นเติมพลังใจให้ตัวเอง

5.4.2.2.1. พักผ่อนให้เพียงพอ

5.4.2.2.2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

5.5. เราต้องรู้จัก Work Life Balance

5.5.1. ทุกคนอยากรักษา Work Life Balance ให้ได้ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เราไม่มีทางทำทั้ง 2 อย่างนี้ให้สมดุลได้

5.5.1.1. Ex # เส้นตายปิดโปรเจกต์วันนี้

5.5.1.1.1. วันนี้คือเส้นตายสุดท้ายของการปิดโปรเจกต์ให้สำเร็จ

5.5.1.1.2. นั่นแปลว่าถ้ายังปิดไม่สำเร็จ คุณก็ต้องลดความสำคัญของเรื่องส่วนตัวลงไปก่อน

5.5.1.1.3. คุณอาจปฏิเสธทานมื้อเย็นพร้อมหน้ากันในครอบครัว เพื่อปิดโปรเจกต์นี้ให้ได้ก่อน

5.5.2. เมื่อใดก็ตามที่เราเลือกจะทำ "หนึ่งเดียว" ให้สำเร็จ นั่นแปลว่าเรากำลังเริ่มจัดลำดับความสำคัญและไม่มีทางจะเกิด Work Life Balance ได้

5.5.3. เปลี่ยนความเชื่อใหม่เป็น แยกงานกับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน

5.5.3.1. กับเรื่องงานก็ให้ใส่ใจกับการทำงานที่สำคัญ แล้วทำใจยอมรับว่าต้องมีส่วนอื่นที่เราไม่ได้ทำ

5.5.3.2. กับเรื่องส่วนตัวก็ให้ใส่ใจกับหนึ่งเดียวที่สำคัญก่อน ถ้ามีเวลาเหลือก็ทำส่วนอื่นๆ

5.6. อย่าคิดฝันใหญ่เกินตัว

5.6.1. วิธีไปสู่ความสำเร็จคือการตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ แล้วเราค่อยสร้างแผนเพื่อทำเป้าหมายนั้นให้เป็นจริง

5.6.1.1. เราจะไม่ตั้งเป้าหมายที่ทำตามได้ง่ายๆ แต่เราจะตั้งเป้าหมายให้ใหญ่แบบต้องพยายามเอื้อมมือจึงจะไปถึง เพื่อผลักดันให้เราพยายามไปถึงจุดนั้น

5.6.1.2. Ex # เป้าหมายเพิ่มยอดขาย

5.6.1.2.1. เราจะไม่ตั้งเป้าหมายเป็นการเพิ่มยอดขาย 5% เพราะมันทำตามได้ง่าย

5.6.1.2.2. แต่เราควรตั้งเป้าหมายให้ใหญ่กว่านั้น เช่น เพิ่มยอดขาย 20%

5.6.2. ฝันใหญ่ เล่นใหญ่ ได้ผลลัพธ์ครั้งใหญ่

5.6.2.1. เมื่อเรามีฝันใหญ่ เวลาเราวางแผนทำฝันนั้นให้สำเร็จ เราจะพบว่ามีงานใหญ่รอให้ทำเยอะมาก

5.6.2.2. แต่ถ้าเรามีฝันเล็ก เราแค่ลงมือทำอะไรไม่มากนัก ฝันนั้นก็อาจเป็นจริงได้แล้ว

5.6.2.3. การคิดฝันใหญ่จึงเหมือนการรีดศักยภาพในตัวเราออกมาให้ได้มากที่สุด เมื่อเราทำตามแผนที่วางไว้สำเร็จแล้ว เราก็จะได้ผลลัพธ์ครั้งใหญ่ตามมา

5.6.2.4. Ex # ฝันใหญ่ของอีลอน มัสก์

5.6.2.4.1. อีลอน มัสก์ ฝันอยากพาคนไปตั้งอาณานิคมที่ดาวอังคาร

5.6.2.4.2. ฝันใหญ่นี้ยากจะเป็นไปได้จริง แต่มันก็ช่วยให้เขาหาวิธีสุดบ้าบิ่นขึ้นมาได้สำเร็จ นั่นคือ การรีไซเคิลจรวดเพื่อลดต้นทุนการสร้างจรวด

5.6.2.4.3. ถ้าอีลอนไม่ได้คิดฝันใหญ่แบบนี้ แต่ฝันเล็กลงมาเหลือแค่อยากเดินทางท่องอวกาศ เขาแค่เก็บเงินให้มากๆ แล้วไปซื้อทัวร์อวกาศจากริชาร์ด แบรนสันเอาก็ได้

5.6.3. เราจะตั้งเป้าหมายใหญ่ได้ เราต้องมี ความกล้าและไม่กลัวความล้มเหลว

5.6.3.1. เราต้องกล้าตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ จากนั้นก็จินตนาการถึงภาพความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น

5.6.3.1.1. ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ให้ลองศึกษาคนที่ประสบความสำเร็จ

5.6.3.1.2. พวกเขามีนิสัยอย่างไร?

5.6.3.1.3. พวกเขาทำงานกันอย่างไร?

5.6.3.2. ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

5.6.3.2.1. ความสำเร็จครั้งใหญ่เกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ความล้มเหลวในอดีต

5.6.3.2.2. ทุกคนย่อมเคยล้มเหลว แต่คนที่เรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากความล้มเหลวนั้นจะสร้างความสำเร็จครั้งใหญ่ได้

6. 3 ชิ้นส่วนสำคัญ สำหรับสร้างความสำเร็จให้ชีวิต

6.1. เป้าหมาย (Purpose)

6.1.1. = หนึ่งเดียวที่เป็นเป้าหมายใหญ่ในชีวิต

6.1.2. จงหาว่าอะไรคือแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเรา

6.1.2.1. อะไรคือสิ่งที่เราอยากทำตั้งแต่ตื่นนอน

6.1.2.2. อะไรที่เราอยากทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดเรี่ยวแรง

6.1.2.3. นี่คือการตามหาความหมายในการใช้ชีวิต

6.1.3. Ex # เป้าหมายของชีวิต

6.1.3.1. เป้าหมายในชีวิตของแกรี่คือการช่วยให้คนอื่นๆ มีชีวิตที่ดีขึ้น

6.1.3.2. หนึ่งเดียวของแกรี่จึงเป็น "การสอน"

6.1.3.2.1. แกรี่เริ่มต้นจากการสอนเทคนิคการทำธุรกิจและการขายของ

6.1.3.2.2. แต่ตอนนี้เขาสอนให้คนอื่นมีหลักในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น

6.1.3.2.3. นอกจากสอนคนผ่านการสัมมนาและการพูดบรรยายแล้ว เขายังเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดความรู้อีกทางด้วย

6.1.4. บิงโกขอแนะนำคอร์สอบรมหนังสือเรื่อง Goals ที่จะช่วยให้คุณตั้งเป้าหมายที่สามารถทำตามได้ง่ายและประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

6.2. การจัดลำดับความสำคัญ (Priority)

6.2.1. = หนึ่งเดียวที่สำคัญที่สุดและต้องทำในตอนนี้

6.2.2. เมื่อเรารู้เป้าหมายในอนาคต อันดับถัดมาคือ...

6.2.2.1. เขียนขั้นตอนต่างๆ ที่เราต้องทำ

6.2.2.2. หา "หนึ่งเดียว" ด้วยคำถามว่า...

6.2.2.2.1. "หนึ่งเดียวที่ฉันสามารถทำได้ แล้วมันจะช่วยให้สิ่งอื่นๆ ในชีวิตง่ายขึ้นคืออะไร?"

6.3. การสร้าง Productivity

6.3.1. = การลงมือทำงานเพื่อสร้างผลลัพธ์

6.3.2. เปรียบเหมือนยอดของภูเขาน้ำแข็งที่มีรากฐานเป็นเป้าหมายและการจัดลำดับความสำคัญ

6.4. คนที่สร้าง Productivity ได้มาก คือคนที่มีเป้าหมายชัดเจนและรู้จักจัดลำดับความสำคัญตามเป้าหมายนั้น

7. สร้าง Productivity ด้วยเทคนิค Time Block

7.1. เทคนิค Time Block คือการกำหนดเวลาสำหรับทำสิ่งที่เรากำหนดไว้โดยเฉพาะ

7.2. ใช้เทคนิค Time Block กับ 3 สิ่งคือ

7.2.1. กำหนดเวลาพัก

7.2.1.1. เวลาพักสำคัญไม่แพ้เวลาทำงาน

7.2.1.2. ดังนั้นเราต้องกำหนดเวลาพักร้อนและวันหยุดประจำสัปดาห์เอาไว้ตั้งแต่แรก

7.2.1.2.1. เมื่อเราต้องทำงานหนักแล้ว เราก็สมควรได้รับวันหยุดด้วย

7.2.1.2.2. อย่าลืมว่ายิ่งเราทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง เราก็ยิ่งล้าและเครียด สุดท้ายเราก็ทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม

7.2.2. กำหนดเวลาทำ "หนึ่งเดียว"

7.2.2.1. หลังจากกำหนดช่วงพักและวันหยุดแล้ว เราต้องกำหนดช่วงเวลาทำงานที่เราจะลงมือทำ "หนึ่งเดียว"

7.2.2.2. ใช้เวลา 30-60 นาทีในตอนเริ่มวัน จัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำ

7.2.2.3. เริ่มต้นทำ "หนึ่งเดียว" ต่อทันที

7.2.2.4. คำแนะนำคือ เราควรกำหนดเวลาสำหรับทำ "หนึ่งเดียว" ให้ได้อย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวัน

7.2.2.5. Ex # นักเขียนชื่อดัง สตีเฟน คิง

7.2.2.5.1. เวลาช่วงเช้าทั้งหมดคิงจะใช้เขียนหนังสือ

7.2.2.5.2. ช่วงเย็นเป็นเวลาสำหรับการอ่าน ครอบครัว และกีฬาโปรด

7.2.2.5.3. หนึ่งเดียวของคิงก็คือ การเขียนหนังสือ

7.2.2.6. Ex # พอล แกรแฮม ผู้ก่อตั้ง Y Combinator

7.2.2.6.1. พอลจะแบ่งเวลางานเป็น 2 ส่วนคือ

7.2.2.6.2. พอลจะกำหนดให้เวลาสร้างงานเป็นช่วงเวลาที่มากที่สุดในแต่ละวัน

7.2.2.6.3. เขาจะ "สร้างงาน" ในตอนเช้า แล้ว "จัดการงาน" ในตอนบ่าย

7.2.2.7. บิงโกขอแนะนำคอร์สอบรมหนังสือเรื่อง Deep Work ที่จะช่วยให้คุณจัดสรรเวลาสำหรับทำงานอย่างมีสมาธิได้อย่างเต็มที่

7.2.2.7.1. เราสามารถเลือกทำงานแบบ Deep Work ได้ถึง 4 รูปแบบด้วยกัน

7.2.3. กำหนดเวลาสำหรับวางแผน

7.2.3.1. ลำดับสุดท้ายคือช่วงเวลาสำหรับวางแผน

7.2.3.2. ในแต่ละสัปดาห์ กำหนดเวลา 1 ชั่วโมงสำหรับคิดทบทวบสิ่งที่ทำ

7.2.3.2.1. เป้าหมายรายปีกับรายเดือนเป็นอย่างไร?

7.2.3.2.2. เราจะเพิ่มหรือทิ้งเป้าหมายไหนบ้าง?

7.2.3.2.3. เราควรทำอะไรให้เสร็จในเดือนนี้เพื่อทำเป้าหมายรายปีให้สำเร็จบ้าง?

7.2.3.2.4. เราควรทำอะไรให้เสร็จในสัปดาห์นี้เพื่อทำเป้าหมายรายเดือนให้สำเร็จบ้าง?

8. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร?

8.1. ถ้าเราอยากสร้าง Productivity เราต้องทำงานให้เสร็จ แต่ถ้าเราอยากสร้างความสำเร็จ เราต้องรู้จัก "เลือกทำงานสำคัญให้เสร็จ" ด้วย

8.2. แต่คนส่วนใหญ่คิดว่าทุกงานสำคัญเท่ากันจนเลือกไม่ถูกว่า งานไหนกันแน่ที่สำคัญที่สุด

8.3. หนังสือเล่มนี้จึงเสนอแนวคิดสำหรับตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อค้นหาว่า "จริงๆ แล้วงานที่สำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียวของฉันคืออะไร?"