หยุดทำมากแล้วได้ผลน้อย ด้วยการคัดสรรสิ่งสำคัญตามวิถีชีวิตของเรา

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
หยุดทำมากแล้วได้ผลน้อย ด้วยการคัดสรรสิ่งสำคัญตามวิถีชีวิตของเรา by Mind Map: หยุดทำมากแล้วได้ผลน้อย ด้วยการคัดสรรสิ่งสำคัญตามวิถีชีวิตของเรา

1. ผู้เขียน

1.1. เกรก แมคคีโอว์น

1.1.1. หนึ่งในผู้ร่วมร่างหลักสูตรการออกแบบชีวิตให้กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

1.1.2. ถูกบริษัทชื่อดังหลายแห่งเชิญไปพูด เช่น Apple, Google, Facebook, LinkedIn และ Twitter

1.1.3. เขียนบทความให้กับ Harvard Business Review

2. คนดังๆ พูดถึงหนังสือเล่มนี้กันอย่างไร?

2.1. เจฟฟ์ ไวเนอร์

2.1.1. "หนังสือเล่มนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงพลังของคำว่า ไม่ ในโลกธุรกิจทุกวันนี้"

2.2. คริส กิลเลอเบลอ

2.2.1. "หนังสือเล่มนี้มอบแนวคิดดีๆ และช่วยให้ชีวิตผมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น"

2.3. โรเบิร์ต ซัตตัน

2.3.1. "ขอเพียงคุณอ่านช้าๆ แล้วหยุดคิด จากนั้นก็นำแนวคิดไปปรับใช้กับชีวิตของตัวเอง คุณจะทำงานน้อยลงและทำได้ดีขึ้นด้วย"

3. หนีชีวิตที่ไม่ Productive ด้วยวิถีชีวิตแบบ Essentialism

3.1. ถ้าเราไม่จัดลำดับความสำคัญในชีวิต คนอื่นจะทำแทนเรา

3.1.1. เรามีอะไรให้ทำเยอะมากในแต่ละวัน แต่เราก็มีเวลาจำกัด เราไม่สามารถทำมันทุกอย่างได้

3.1.2. เราจึงควรให้ความสำคัญกับ "งาน" "กิจกรรม" หรือ "เป้าหมาย" ที่สำคัญกับเราจริงๆ ไม่เช่นนั้นเราก็จะทำอะไรไปตามเป้าหมายและคำขอของคนอื่น

3.1.3. เราต้องถามตัวเองว่า...

3.1.3.1. ตอนนี้ฉันเสียเวลาไปกับสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือไม่?

3.1.3.2. ฉันรับปากคนอื่นๆ มากเกินไปหรือไม่?

3.1.3.2.1. รับปากเพราะอยากเอาใจเขาหรือไม่?

3.1.3.2.2. รับปากเพราะอยากหลีกเลี่ยงปัญหาหรือไม่?

3.1.3.3. ฉันรู้สึกว่าตัวเองงานยุ่งทั้งวัน แต่ก็ยังไม่ค่อยมี Productivity เท่าไหร่บ้างไหม?

3.1.4. ถ้าเราตอบ "ใช่" แม้เพียงข้อเดียว วิธีออกจากชีวิตแบบนั้นก็คือ วิถีชีวิตแบบ Essentialism

3.2. ทางออกคือ วิถีชีวิตแบบ Essentialism

3.2.1. วิถีชีวิตแบบ Essentialism คือการใช้ชีวิตที่ใส่ใจทำสิ่งที่ถูกต้องให้สำเร็จ โดยใช้พลังงาน เวลา และความสนใจที่มีจำกัดอย่างชาญฉลาด

3.2.1.1. เราไม่ต้องทำอะไรได้มากขึ้นหรือน้อยลง แต่จะทำในสิ่งที่สำคัญหรือจำเป็นจริงๆ

3.2.1.2. เราจะมีอิสระในการตัดสินใจชีวิตตัวเองและคำร้องขอจากผู้อื่น

3.2.1.3. เราจะมองหาแต่สิ่งที่ดีขึ้นให้กับตัวเอง

3.2.2. วิถีชีวิตแบบนี้คือการควบคุมทางเลือกต่างๆ ในชีวิตให้ตัวเอง

3.2.2.1. เราจะรู้จักแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนสำคัญหรือจำเป็นจริงๆ

3.2.2.2. เราจะรู้จักกำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญออกไป

3.2.2.3. เราจะรู้จักกำจัดอุปสรรคต่างๆ ที่คอยขวางเป้าหมายสำคัญออกไป

3.2.2.4. เราจะเลือกเส้นทางที่สนุกและไปถึงเป้าหมายได้ไม่ใช่แค่เส้นทางที่ไปถึงเป้าหมายได้ก็พอ

3.3. วิถีชีวิตแบบ Essentialism คือการคัดสรรสิ่งสำคัญจริงๆ แล้วถ้าเราเลือกทำแต่สิ่งสำคัญจนสำเร็จ เราก็จะสร้างผลลัพธ์ดีๆ ให้เกิดขึ้นในชีวิตได้มากมาย

4. คนแบบ Essentialism VS คนที่ไม่ Essentialism

4.1. ความแตกต่างระหว่างคนแบบ Essentialism และคนที่ไม่ Essentialism

4.1.1. คนที่ไม่ Essentialism = คนที่ให้ความสำคัญกับทุกเรื่อง

4.1.1.1. วิธีคิด

4.1.1.1.1. ฉันต้องทำ

4.1.1.1.2. ทุกอย่างสำคัญหมด

4.1.1.2. การกระทำ

4.1.1.2.1. รับปากคนอื่นง่ายๆ โดยไม่ทันได้ไตร่ตรอง

4.1.1.2.2. พยายามทำงานให้เสร็จจนวินาทีสุดท้าย

4.1.1.3. ผลลัพธ์

4.1.1.3.1. รู้สึกว่าตัวเองควบคุมอะไรไม่ได้

4.1.1.3.2. รู้สึกไม่แน่ใจว่ากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง

4.1.1.3.3. รู้สึกท้อและหมดแรง เพราะต้องทำงานหนักและยาวนาน

4.1.2. คนแบบ Essentialism = คนที่เลือกทำแต่สิ่งที่สำคัญ

4.1.2.1. วิธีคิด

4.1.2.1.1. ฉันเลือกที่จะทำ

4.1.2.1.2. มีไม่กี่อย่างเท่านั้นที่สำคัญจริงๆ

4.1.2.1.3. ฉันจะได้และเสียอะไรจากการเลือกครั้งนี้

4.1.2.2. การกระทำ

4.1.2.2.1. กล้าตอบปฏิเสธกับทุกเรื่องที่ไม่สำคัญกับตัวเอง

4.1.2.2.2. พยายามกำจัดอุปสรรคเพื่อให้ทำงานเสร็จได้ง่ายขึ้น

4.1.2.3. ผลลัพธ์

4.1.2.3.1. รู้สึกว่าตัวเองควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ได้

4.1.2.3.2. ทำสิ่งที่ถูกต้องสำเร็จ

4.1.2.3.3. รู้สึกมีความสุขกับเส้นทางไปสู่เป้าหมายที่เลือกมา

4.2. ทำไมทุกวันนี้เราถึงเจอคนที่ไม่ Essentialism เต็มไปหมด?

4.2.1. เรามีอะไรให้เลือกเยอะเกินไป

4.2.1.1. ปัจจุบันเรามีอะไรให้เลือกในแต่ละวันเพิ่มขึ้นเยอะมากจนน่าตกใจ

4.2.1.2. Ex # ซีรีส์หรือภาพยนตร์

4.2.1.2.1. บางครั้งแค่เราอยากดูหนังสักเรื่อง เรายังเลือกไม่ถูกเลยว่าจะดูอะไรใน Netflix หรือต้องเปลี่ยนไปดู Disney + ดี?

4.2.2. เราโดนสังคมกดดันมากเกินไป

4.2.2.1. อิทธิพลของสังคมมีผลต่อการตัดสินใจของเราเยอะมาก

4.2.2.2. Ex # ซีรีส์หรือภาพยนตร์

4.2.2.2.1. เราอาจไม่ได้อยากดูซีรีส์เกาหลีมากนัก แต่เพื่อนร่วมงานต่างแนะนำและคุยกันทุกสัปดาห์ เราทนอิทธิพลนี้ได้จริงหรือ?

5. คัดสรรสิ่งสำคัญ

5.1. หนีจากความวุ่นวายแล้วหยุดคิด

5.1.1. เราไม่ค่อยมีเวลาส่วนตัวสำหรับคิดเพื่อหาว่าจริงๆ แล้ว สิ่งไหนสำคัญ สิ่งไหนไม่สำคัญและควรกำจัดทิ้งออกไป

5.1.2. ช่วงเวลาสำหรับคิดนี้ไม่มีทางโผล่ขึ้นมาได้เอง แต่เราต้องเป็นคนสร้างช่วงเวลานี้ขึ้นมา

5.1.3. เคล็ดลับลงมือทำ

5.1.3.1. จัดช่วงเวลาสำหรับคิด

5.1.3.1.1. ต่อให้ตารางงานเราจะแน่นและยุ่งแค่ไหน อย่าลืมจัดเวลาสำหรับคิดลงไปในตารางงานด้วย

5.1.3.2. หาเวลาว่างคิดออกแบบชีวิต

5.1.3.2.1. เมื่อเราหาเวลาที่ไร้สิ่งใดรบกวนได้แล้ว เราควรใช้เวลานี้คิดออกแบบชีวิตของตัวเอง

5.1.3.2.2. Ex # อาชีพการงาน

5.1.3.3. หาเวลาอ่านหนังสือบ้าง

5.1.3.3.1. บิล เกตส์ จะมีช่วงเวลาสำหรับคิดและอ่านในแต่ละสัปดาห์

5.1.3.3.2. ส่วนตัวนักเขียนแนะนำให้อ่านวรรณกรรมคลาสสิกตอนเช้า วันละ 20 นาที

5.2. มีเกณฑ์การตัดสินใจเลือกแบบเข้มข้น

5.2.1. เกณฑ์การตัดสินใจที่ชัดเจนจะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกได้ง่าย ยิ่งเรามีเกณฑ์ที่เข้มข้น เราก็ยิ่งตัดสินใจได้เด็ดขาดมากขึ้น

5.2.2. "ถ้าเราไม่กล้าตอบดังๆ ว่า ใช่ เราก็ควรจะตอบปฏิเสธไปเลย"

5.2.3. เคล็ดลับลงมือทำ

5.2.3.1. ใช้กฎ 90%

5.2.3.1.1. กฎ 90% บอกว่าเมื่อใดก็ตามที่ตัวเลือกของเราได้คะแนนต่ำกว่า 90% ให้คุณทิ้งตัวเลือกเหล่านั้นไปได้เลย

5.2.3.1.2. กฎนี้จะช่วยให้เราเลือกแต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ ไม่ติดกับ "สิ่งที่เหมือนจะดี" อีกต่อไป

5.2.3.1.3. Ex # โละเสื้อผ้าในตู้

5.2.3.2. ต้องได้ประโยชน์เต็มที่ถึงจะตอบรับโอกาส

5.2.3.2.1. ชีวิตของเราจะมีโอกาสใหม่เข้ามาเสมอ ดังนั้นเราควรมีเกณฑ์สำหรับตัดสินใจเลือกโอกาสที่เข้ามาด้วย

5.2.3.2.2. วิธีตัดสินใจเลือกว่าเราควรรับหรือไม่รับโอกาสที่เข้ามาทำได้โดย

5.2.3.2.3. Ex # โอกาสขึ้นพูดบนเวทีสัมมนา

5.3. เลือกปกป้องเวลานอนของตัวเอง

5.3.1. คนส่วนใหญ่มักเชื่อว่าถ้าเราอยากประสบความสำเร็จ เราต้องทำงานหนัก พวกเขาจึงเลือกลดเวลานอนของตัวเองเพื่อแลกกับเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้น

5.3.1.1. อดนอน 1 ชั่วโมง = ทำงานได้มากขึ้น 1 ชั่วโมง

5.3.1.2. การนอนทำให้เราขี้เกียจ

5.3.2. ความเชื่อนี้ถูกแค่ครึ่งเดียวคือ เราต้องทำงานหนัก แต่คนแบบ Essentialism จะไม่เลือกทำร้ายตัวเองด้วยการอดนอน

5.3.3. คนแบบ Essentialism จะเลือกปกป้องเวลานอนให้กับตัวเอง เพื่อรักษาทรัพย์สินอันมีค่าที่สุด นั่นก็คือ ตัวเราเอง

5.3.3.1. ยิ่งนอนมากพอ = ทำงานสร้าง Productivity ได้มาก

5.3.3.2. การนอนทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์

5.3.3.3. เจฟฟ์ เบซอส ซีอีโอของอะเมซอนเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า "ผมคิดอะไรได้ชัดเจนมากขึ้นและจะรู้สึกดีไปตลอดทั้งวันเมื่อผมได้นอนครบ 8 ชั่วโมง"

5.3.4. ประโยชน์ของการนอนอย่างเพียงพอ

5.3.4.1. เราจะทำงานได้ดีขึ้นเมื่อตื่นขึ้นมา

5.3.4.2. สมองของเราจะปลอดโปร่งขึ้น คิดอะไรได้ดียิ่งขึ้น

6. กำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญ

6.1. รู้จักปฏิเสธ

6.1.1. ทุกคำตอบ YES มีคำว่า NO ตามมาด้วยเสมอ

6.1.1.1. เรารับนัดสังสรรค์กับเพื่อน เราก็อดนอน

6.1.1.2. เรารับปากหัวหน้าว่าจะเร่งงานให้ทัน งานที่ค้างอยู่เดิมก็ต้องช้าออกไป

6.1.1.3. ปีเตอร์ ดรักเกอร์ สุดยอดนักคิดด้านการบริหารเคยกล่าวไว้ว่า "งานทั้งหมดในชีวิตของผมเกิดจากการปฏิเสธไม่ทำงานให้คนอื่น"

6.1.2. เคล็ดลับการปฏิเสธ

6.1.2.1. ปฏิเสธให้นุ่มนวลขึ้น

6.1.2.1.1. "ตอนนี้ผมคงไม่สะดวก เอาไว้ครั้งหน้าแล้วกันครับ"

6.1.2.2. รู้จักถ่วงเวลา

6.1.2.2.1. "ขอเวลาผมคิดสัก 3 วัน แล้วค่อยตอบนะครับ"

6.1.2.3. รับปาก แต่ถามกลับ

6.1.2.3.1. "ผมรับงานนี้ก็ได้ครับ แต่งาน A ขอเลื่อนส่งไปอีก 3 วันแทนได้ไหมครับ?"

6.1.2.3.2. "ถ้าผมรับงานนี้ มีงานไหนพอจะเลื่อนไปก่อนได้บ้างครับ?"

6.1.2.4. เสนอทางเลือกอื่นให้แทน

6.1.2.4.1. "ผมคิดว่าพี่ชัยเหมาะกับงานนี้มากกว่านะครับ"

6.2. ใช้พลังของการแก้ไข

6.2.1. ภาพยนตร์ โฆษณา หรือหนังสือจะถ่ายทอดออกมาได้ดีหรือไม่ คนตัดต่อและแก้ไขเป็นคนที่สำคัญมาก

6.2.1.1. คนตัดต่อและแก้ไขภาพยนตร์จะเลือกตัดสินฉากที่ไม่สำคัญออกไป แล้วเล่าแต่ฉากที่สำคัญ

6.2.1.2. บรรณาธิการจะตัดเนื้อหาที่ไม่จำเป็นและแก้ไขเนื้อหาบางส่วนให้หนังสืออ่านง่ายที่สุด

6.2.2. คนแบบ Essentialism จึงมีทักษะคล้ายๆ กับคนตัดต่อและบรรณาธิการ

6.2.2.1. เข้าใจภาพรวมทั้งหมดของงานก่อนจะแก้ไขและตัดต่อ

6.2.2.2. ไม่จำเป็นต้องแก้ทุกอย่าง แค่รู้ว่าอะไรควรแก้ไม่ควรแก้

6.2.2.3. รวบรัดตัดตอนเป็น

6.2.2.3.1. เช่น จาก 20 นาที รวบเหลือ 5 นาที, จาก 10 ประโยค รวบเหลือ 5 ประโยค

6.2.3. Ex # ทำสไลด์นำเสนองาน

6.2.3.1. คนที่ไม่ Essentialism จะให้ความสำคัญกับทุกอย่างบนสไลด์

6.2.3.1.1. รูปภาพ

6.2.3.1.2. ตัวหนังสือ

6.2.3.1.3. รายละเอียดต่างๆ

6.2.3.2. ทั้งที่จริงๆ แล้วเวลานำเสนอ ภาพควรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะคนเราเรียนรู้จากภาพได้ดีที่สุด

6.2.3.3. ดังนั้นตัวหนังสือในสไลด์ต้องผ่านการแก้ไข

6.2.3.3.1. รวบรัดให้สั้น ไม่ยืดเยื้อ

6.2.3.3.2. คำศัพท์เทคนิคยากๆ ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ หาคำง่ายๆ มาอธิบายแทน

6.2.3.3.3. เนื้อหาไหนไม่สำคัญต้องตัดทิ้งไม่ใส่ลงไปในสไลด์

7. ลงมือทำสิ่งสำคัญให้สำเร็จ

7.1. กำจัดอุปสรรค

7.1.1. คนส่วนใหญ่ถ้าอยากได้ผลงานมาก พวกเขาก็มักลงมือทำให้มากขึ้น

7.1.1.1. อยากเพิ่มยอดขาย ก็หาพนักงานขายมาเพิ่ม

7.1.1.2. อยากทำงานได้มากขึ้น ก็เพิ่มชั่วโมงการทำงาน

7.1.2. แต่คนแบบ Essentialism สามารถทำงานได้มากขึ้นด้วยการทำตรงกันข้าม แทนที่จะเพิ่มทรัพยากร พวกเขาจะมองหาวิธีกำจัดอุปสรรคที่คอยขวาง

7.1.3. วิธีกำจัดอุปสรรค

7.1.3.1. รู้ว่าทำแบบไหนถึงจะเสร็จ

7.1.3.1.1. คุณต้องมีความชัดเจนว่างานที่ทำจะเสร็จได้อย่างไร?

7.1.3.1.2. Ex # เขียนบทความ

7.1.3.2. ระบุอุปสรรคที่แท้จริง

7.1.3.2.1. ลิสต์สิ่งที่เป็นอุปสรรคออกมา จากนั้นค่อยตั้งคำถามว่า "อุปสรรคตัวไหนถ้าถูกกำจัดออกไปแล้วจะทำให้อุปสรรคอื่นๆ หายไปด้วย"

7.1.3.2.2. Ex # เขียนบทความ

7.1.3.2.3. ถ้าอุปสรรคที่แท้จริงเป็นคน เช่น หัวหน้าที่ไม่ยอมให้งานผ่านสักที ฝ่ายบัญชีที่ยังค้างการเบิกจ่าย

7.1.3.3. คิดว่า "ทำให้เสร็จดีกว่าทำให้สมบูรณ์แบบ"

7.2. ใช้พลังแห่งกิจวัตร

7.2.1. การออกแบบกิจวัตรที่ดีจะช่วยให้เราลงมือทำสิ่งสำคัญแบบอัตโนมัติ โดยที่เราแทบไม่ต้องเสียพลังสมองคิดหรือตัดสินใจเลย

7.2.2. Ex # นัดประชุมสำคัญทุกวันจันทร์

7.2.2.1. ซีอีโอคนหนึ่งของบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์จะนัดประชุมทุกวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น.

7.2.2.2. เขายึดมั่นกับกิจวัตรนี้ตลอดเวลา จนผู้บริหารทุกคนรู้ได้เองว่าต้องจัดตารางงานให้มีเวลาสำหรับเข้าประชุมทุกเช้าวันจันทร์

7.2.2.3. กิจวัตรที่ดูน่าเบื่อนี้ไม่ได้ทำให้การทำงานออกมาแย่เลย

7.2.2.3.1. ทุกคนรู้ตัวว่ามีประชุมทุกเช้าวันจันทร์

7.2.2.3.2. พนักงานต่างเตรียมปัญหาที่เจอหรือวิธีแก้ไขปัญหามาพูดคุยกันในห้องประชุมเป็นประจำ

7.2.2.3.3. ทุกคนไม่ต้องคิดเตรียมการประชุมด้วยซ้ำ แต่สามารถวางแผนตัวเองให้เข้ากับกิจวัตรนี้ได้โดยอัตโนมัติ

7.2.3. บิงโกขอแนะนำหนังสือ Power of Habit มาเรียนรู้ที่มาของนิสัย แล้ววิธีแก้ไขนิสัยของเราให้ดีขึ้น เพื่อสร้างกิจวัตรที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการใช้ชีวิต

8. แนวทาง 3 ข้อในการใช้ชีวิตแบบ Essentialism

8.1. เลือกสิ่งที่จะทำด้วยตัวเอง

8.1.1. อย่าคิดไปเองว่า "เรามีทางเลือกแค่อย่างเดียว?"

8.1.2. ถ้าคุณไม่เลือกเอง คนอื่นจะเลือกให้คุณแทน

8.1.3. พอเรารู้จักเลือก เราจะรู้ว่าเราจะได้หรือเสียอะไรบ้าง

8.1.4. ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ถ้าตอนนี้เราสามารถเลือกทำอะไรได้แค่อย่างเดียว เราจะเลือกทำอะไร?"

8.2. ค้นหาสิ่งสำคัญจริงๆ แค่ไม่กี่อย่างให้เจอ

8.2.1. หลายอย่างในชีวิตเราไม่ได้สำคัญนัก แต่ถ้าเราเก็บมันไว้ เราก็ยิ่งเสียเวลา พลังงาน และความสนใจไปกับมัน

8.2.2. ถ้าเราอยากแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนสำคัญ

8.2.2.1. เราต้องการพื้นที่สำหรับคิด

8.2.2.2. เราต้องการเวลาเพื่อดูหรือฟัง

8.2.2.3. เราต้องมีเกณฑ์สำหรับตัดสินว่าอะไรสำคัญและไม่สำคัญ

8.3. ฉันสามารถทำอะไรก็ได้ แต่ไม่ใช่ทำมันทุกอย่าง

8.3.1. เราไม่มีทางมีของทุกชิ้นหรือลงมือทำทุกอย่างได้

8.3.2. พอเราเลือกที่จะทำ นั่นแปลว่าเรารู้ว่าเราจะได้อะไร แล้วเราจะเสียอะไร

8.3.3. Ex # ชีวิตของเรา

8.3.3.1. ลองนึกภาพว่าคุณมีเงินเก็บ 1 แสนบาท แล้วคุณต้องแบ่งใช้ใน 4 ด้านของชีวิตคือ

8.3.3.1.1. ครอบครัว

8.3.3.1.2. เพื่อน

8.3.3.1.3. สุขภาพ

8.3.3.1.4. การงาน

8.3.3.2. ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในด้านการงาน คุณจะใช้จ่ายเงินอย่างไร?

8.3.3.2.1. ครอบครัว

8.3.3.2.2. เพื่อน

8.3.3.2.3. สุขภาพ

8.3.3.2.4. การงาน

8.3.4. Ex # สายการบินเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ VS คอนติเนนทัลไลท์

8.3.4.1. เดิมทีสายการบินคอนติเนนทัลเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการ แล้วต่อมาก็มีสายการบินน้องใหม่อย่างเซาท์เวสต์แอร์ไลน์เข้ามาแข่งขันด้วย

8.3.4.2. ในฐานะน้องใหม่ สายการบินเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ไม่ได้สามารถแข่งขันในสนามเดียวกับคอนติเนนทัลได้เลย พวกเขาจึงตัดสินใจเริ่มต้นด้วยการทำ "สายการบินราคาประหยัด"

8.3.4.2.1. เซาท์เวสต์ไม่เลือกบินไปทุกจุดหมายเหมือนคอนติเนนทัล แต่เลือกเฉพาะจุดหมายที่สำคัญจริงๆ

8.3.4.2.2. เซาท์เวสต์อยากให้ตั๋วเครื่องบินมีราคาถูกที่สุด พวกเขาจึงไม่เสิร์ฟอาหารบนเครื่องบินเลย

8.3.4.2.3. วิธีนี้ช่วยให้เซาท์เวสต์สามารถขายตั๋วที่ราคาถูกได้จริงๆ แล้วมันก็ช่วยสร้างกำไรให้บริษัทมากมาย

8.3.4.3. สายการบินคอนติเนนทัลมองเห็นความสำเร็จเซาท์เวสต์ในฐานะสายการบินราคาประหยัด พวกเขาจึงสร้างคอนติเนนทัลไลท์ขึ้นมาเพื่อแข่งขันในตลาดนี้

8.3.4.3.1. คอนติเนนทัลไลท์เลือกลดราคาตั๋วให้ถูกลง ด้วยการเลิกเสิร์ฟอาหารและเลิกให้บริการชั้นเลิศบนเครื่อง

8.3.4.3.2. แต่พอถึงหน้างานจริง คอนติเนนทัลไลท์ก็ยังยึดติดอยู่กับวิธีคิดของสายการบินชั้นหนึ่ง พวกเขาจึงทำอะไรออกมาครึ่งๆ กลางๆ เสมอ

8.3.4.4. ผลสุดท้ายของการทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ จะประหยัดก็ไปไม่สุดของคอนติเนนทัลไลท์ก็คือ

8.3.4.4.1. พวกเขาสูญเงินมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์กับการสร้างสายการบินราคาประหยัดนี้

8.3.4.4.2. ลูกค้าร้องเรียนปัญหาต่างๆ นับพันครั้งต่อวัน

8.3.4.4.3. เครื่องบินเดินทางล่าช้า

8.3.4.4.4. สุดท้ายซีอีโอของคอนติเนนทัลไลท์ก็ถูกไล่ออก

8.4. 3 ขั้นตอนไปสู่วิถีชีวิตแบบ Essentialism

8.4.1. ลองนึกถึง "ตู้เสื้อผ้า" ที่ไม่ได้จัดระเบียบอะไรเลย เราซื้อเสื้อผ้ามาแล้วก็ยัดๆ ใส่ไว้ในนั้น

8.4.2. คัดสรรสิ่งสำคัญ

8.4.2.1. ถ้าเราอยากจัดระเบียบมัน เราต้องหาให้ได้ว่าเสื้อผ้าตัวไหนสำคัญ

8.4.2.1.1. เราจะได้ใส่มันในอนาคตไหม?

8.4.2.1.2. เราใส่ชุดนี้แล้วดูดีไหม?

8.4.2.1.3. เราใส่ชุดนี้บ่อยแค่ไหน?

8.4.2.2. พอเราหาเจอแล้วว่าชุดไหนสำคัญ เราจะมีเสื้อผ้าอีกกองที่น่าจะต้อง "กำจัด" ออกไป

8.4.2.3. ขั้นตอนนี้คือการคัดสรรแต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ สำหรับเรา

8.4.3. กำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญ

8.4.3.1. พอถึงเวลากำจัดเสื้อผ้ากองที่เราคัดแล้วว่าไม่สำคัญจริงๆ เรากลับรู้สึกทิ้งมันได้ยากเย็น

8.4.3.2. เรามักคิดถึงราคาที่เคยจ่ายเงินซื้อมันมาแล้วเราก็รู้สึกเสียดาย

8.4.3.3. แต่วิถีชีวิตแบบ Essentialism จะสอนให้เรารู้จักวิธีกำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญได้จริงๆ

8.4.3.4. ขั้นตอนนี้คือการกำจัดสิ่งที่ไม่สำคัญ แล้วเอาเวลา พลังงาน และความสนใจไปใช้กับสิ่งที่สำคัญจริงๆ

8.4.4. ลงมือทำสิ่งสำคัญให้สำเร็จ

8.4.4.1. ถ้าเราอยากให้ตู้เสื้อผ้าสะอาดและเป็นระเบียบ เราต้องมีกิจวัตรสำหรับจัดระเบียบตู้

8.4.4.2. เราต้องมีตระกร้าสำหรับคัดแยกเสื้อผ้าที่จะใช้หรือจะทิ้ง

8.4.4.3. เราต้องมีระบบสำหรับกำจัดเสื้อผ้าที่จะทิ้ง

8.4.4.3.1. เราจะไปบริจาคที่ไหน อย่างไร

8.4.4.3.2. เราจะไปขายต่อที่ไหน อย่างไร

8.4.4.4. ขั้นตอนนี้คือการหาระบบเพื่อทำในสิ่งที่สำคัญให้สำเร็จ

8.4.5. ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แต่จะวนไปมาเป็นวงจรของวิถีชีวิตแบบ Essentialism

9. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร?

9.1. หนังสือเล่มนี้จะแนะนำวิธีคิดให้เราคัดสรรแต่สิ่งสำคัญในชีวิต เราจะเลือกมีน้อยลง แต่ทุกสิ่งที่เลือกมาล้วนสำคัญจริงๆ

9.2. แนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตทำงานได้หลายด้านมาก เช่น

9.2.1. ใช้เลือกทำงานที่สำคัญจริงๆ ไม่ใช่ทำมันทุกงาน

9.2.2. ใช้คัดเลือกโอกาสในชีวิต ไม่ใช่ตอบรับมันทุกโอกาส

9.2.3. ใช้ปฏิเสธงาน โอกาส หรือกิจกรรมใดๆ ที่ไม่สำคัญในชีวิต

9.3. ยิ่งเราทำอะไรน้อยลง เรายิ่งมีสมาธิกับมันและจะทำมันได้ดีขึ้น ซึ่งแนวคิด Essentialism จะช่วยให้เราทำแบบนั้นได้