รู้ที่มาของนิสัยที่ทำ แก้ไขนิสัยเสีย และเปลี่ยนนิสัยของเราให้ดี

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
รู้ที่มาของนิสัยที่ทำ แก้ไขนิสัยเสีย และเปลี่ยนนิสัยของเราให้ดี by Mind Map: รู้ที่มาของนิสัยที่ทำ แก้ไขนิสัยเสีย และเปลี่ยนนิสัยของเราให้ดี

1. ผู้เขียน

1.1. ชาร์ลส์ ดูฮิก

1.1.1. นักข่าวชื่อดังจากหนังสือพิมพ์ New York Times ซึ่งเคยชนะเลิศรางวัลพูลิตเซอร์มาแล้ว

1.1.2. เขียนหนังสือขายดีอีกเล่มหนึ่งเกี่ยวกับ Productivity เรื่อง Smarter Faster Better

2. ความโด่งดังของหนังสือเล่มนี้

2.1. จิม คอลลินส์

2.1.1. "เนื้อหาเฉียบขาด เร้าใจ และได้ประโยชน์อย่างแท้จริง"

2.2. เดวิด อัลเลน

2.2.1. "ชาร์ลส์เล่าที่มาของนิสัยได้เรียบง่ายและยอดเยี่ยมมาก"

2.3. หนังสือพิมพ์ Financial Times

2.3.1. "หนังสือเล่มนี้ไม่ได้อธิบายแต่ที่มาของนิสัยเท่านั้น ยังบอกวิธีแก้นิสัยแย่ๆ และรักษานิสัยดีๆ ไว้ด้วย"

3. เริ่มสร้างความสำเร็จให้ทุกด้านในชีวิต แค่เปลี่ยนนิสัยเพียง 1%

3.1. นิสัยคือตัวชี้วัดความสำเร็จในชีวิต

3.1.1. พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่เราลงมือทำมักเกิดขึ้นตามนิสัย

3.1.2. นิสัยจึงส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในชีวิต

3.1.2.1. ถ้าเรามีนิสัยชอบออกกำลังกาย เราก็จะเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรงและรู้จักดูแลสุขภาพ

3.1.2.2. ถ้าเรามีนิสัยชอบดื่มเหล้า เราก็มีโอกาสป่วยและอาจตัดสินใจทำอะไรผิดๆ เพราะฤทธิ์แอลกอฮอล์ได้

3.1.3. นอกจากนิสัยจะส่งผลต่อชีวิตเราแล้วยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังส่วนต่างๆ ในชีวิตทั้งอาชีพการงานและความสัมพันธ์ด้วย

3.2. เราแก้นิสัยได้ ถ้ารู้ว่ามันเกิดได้อย่างไร

3.2.1. นิสัยไม่ใช่สิ่งติดตัวเรามาแต่เกิด เราไม่ได้เกิดมามีนิสัยแปรงฟันในตอนเช้า หรือกินกาแฟในตอนบ่ายตั้งแต่เด็ก

3.2.2. เราค่อยๆ สร้างนิสัยขึ้นมาจากการทำพฤติกรรมต่างๆ ซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่งเราติดเป็นนิสัย

3.2.3. พอเราทำอะไรเป็นนิสัยแล้ว เราก็จะทำมันได้โดยอัตโนมัติ โดยที่สมองแทบไม่ต้องคิดอะไรเลย

3.2.3.1. ถ้าเรามีนิสัยกินขนมระหว่างดูซีรีส์ ทุกครั้งเวลาเปิดซีรีส์ เราก็จะเปิดถุงขนมรอ

3.2.3.2. ถ้าเรามีนิสัยชอบปรุงก๋วยเตี๋ยวก่อนชิม ทุกครั้งเวลาพ่อค้ายกชามก๋วยเตี๋ยวมาเสิร์ฟ เราก็จะใส่พริก น้ำตาล และน้ำปลาทันที

3.2.4. เมื่อเราเป็นคนสร้างนิสัยขึ้นมาเอง เราก็สามารถเปลี่ยน แก้ไข และปรับปรุงนิสัยได้ด้วยการทำความเข้าใจว่า "นิสัยเกิดขึ้นได้อย่างไร?"

4. เปลี่ยนนิสัยด้วยการล้วงลึก เข้าไปแก้ไขวงจรการเกิดนิสัย

4.1. กฏเหล็กของการเปลี่ยนนิสัย

4.1.1. เรากำจัดนิสัยเดิมไม่ได้ แต่เราแทนที่ด้วยนิสัยใหม่ได้

4.1.2. เราต้องรักษาตัวกระตุ้นและรางวัลให้คงเดิม แล้วเปลี่ยนที่กิจวัตร

4.1.2.1. ตัวกระตุ้น (CUE)

4.1.2.1.1. คงเดิม

4.1.2.2. กิจวัตร (ROUTINE)

4.1.2.2.1. เปลี่ยนใหม่

4.1.2.3. รางวัล (REWARD)

4.1.2.3.1. คงเดิม

4.2. ถ้าอยากเปลี่ยนนิสัยสำเร็จ เราต้องเชื่อ ว่าเราเปลี่ยนนิสัยได้

4.2.1. ถ้าเราอยากแก้ไขนิสัยแย่ๆ เสียใหม่ เราต้องมีความเชื่อเสียก่อน

4.2.1.1. เราต้อง "เชื่อ" ว่ามันเป็นไปได้

4.2.1.2. เราต้อง "เชื่อ" ว่าเราเปลี่ยนนิสัยตัวเองได้

4.2.1.3. เราต้อง "เชื่อ" ว่ามันกำลังจะเกิดขึ้น

4.2.2. หลายครั้งความเชื่อนั้นก็เกิดขึ้นได้จากการช่วยเหลือของผู้อื่น

4.2.2.1. Ex # กลุ่มคนอยากเลิกเหล้า

4.2.2.1.1. การเลิกเหล้าไม่ใช่เรื่องง่าย หลายคนพยายามหลายครั้งก็ยังไม่สำเร็จ

4.2.2.1.2. คนส่วนหนึ่งจึงเข้ากลุ่มพวกนี้เพื่อหาคนที่เจอประสบการณ์เหมือนๆ กัน หากำลังใจจากคนที่เจอปัญหาเดียวกัน และพูดคุยเพื่ออัพเดทความคืบหน้าระหว่างกัน

4.2.2.2. Ex # ฉันอยากแก้นิสัยการกินเพื่อลดน้ำหนัก

4.2.2.2.1. การมีเพื่อนสักคนคอยช่วยให้กำลังใจ หรือช่วยเตือนสติเวลาคุณจะหยิบขนมเค้กกินช่วยเพิ่มความมั่นใจและความเชื่อในตัวคุณได้

4.3. 4 ขั้นตอนในการเปลี่ยนนิสัย

4.3.1. ชำแหละวงจรการเกิดนิสัยของตัวเองเพื่อหากิจวัตรที่อยากเปลี่ยน

4.3.1.1. ลองสำรวจพฤติกรรมในแต่ละวันของเรา แล้วระบุสิ่งที่อยากจะเปลี่ยนแปลง

4.3.1.2. จากนั้นถามตัวเองว่า...

4.3.1.2.1. ตัวกระตุ้นให้ทำกิจวัตรนี้คืออะไร?

4.3.1.2.2. รางวัลที่ได้จากการทำกิจวัตรนี้คืออะไร?

4.3.1.3. Ex # ไปซื้อคุกกี้กินตอนบ่าย

4.3.1.3.1. พอทำงานมาถึงช่วงบ่าย เรามีนิสัยชอบเดินออกไปร้านสะดวกซื้อเพื่อซื้อคุกกี้มากิน

4.3.1.3.2. แต่เราก็รู้ว่ากินคุกกี้มันไม่ดีต่อสุขภาพ เราจึงอยากแก้ไขนิสัยนี้ใหม่

4.3.1.3.3. กิจวัตรที่อยากเปลี่ยนคือ กินคุกกี้ช่วงบ่ายในวันทำงาน

4.3.1.3.4. ตัวกระตุ้นคือ เวลาช่วงบ่ายที่เริ่มง่วง

4.3.1.3.5. รางวัลคือ ความผ่อนคลายจากการทำงาน

4.3.2. ทดลองหารางวัลที่อยากได้จริงๆ

4.3.2.1. คุณควรทดลองรางวัลรูปแบบต่างๆ สัก 4-5 รางวัล เพื่อหาว่าจริงๆ แล้ว "คุณอยากได้รางวัลอะไรกันแน่"

4.3.2.2. ทุกครั้งหลังทดลองเปลี่ยนไปแล้ว 15 นาที ให้คุณลองเขียนความรู้สึกที่มีตอนนั้นออกมา

4.3.2.2.1. ที่ควรรอ 15 นาที เพราะบางความรู้สึกอาจถูกเติมเต็มไปแล้ว

4.3.2.2.2. เช่น เราลุกไปซื้อของกินเพราะหิว แต่ถ้าหลัง 15 นาทีก็ยังอยากลุกไปซื้ออีก นั่นแปลว่าจริงๆ แล้วเราไม่ได้หิว เราอยากได้รางวัลอื่น

4.3.2.3. Ex # กิจวัตรคือระหว่างวันฉันจะลุกจากโต๊ะไปห้องนั่งเล่นในออฟฟิศเพื่อกินคุกกี้

4.3.2.3.1. วันแรก แทนที่จะออกไปกินคุกกี้ ลองเปลี่ยนเป็นออกไปเดินเล่นเฉยๆ แล้วกลับมานั่งทำงานต่อ

4.3.2.3.2. วันถัดมา ลองเปลี่ยนอีกเป็นออกไปซื้อไอศกรีมที่เซเว่นแล้วกลับมานั่งทำงานต่อ

4.3.2.3.3. วันต่อมา ลองเปลี่ยนอีกเป็นออกนั่งเล่นคุยกับเพื่อนแล้วกลับมานั่งทำงานต่อ

4.3.2.3.4. การทดลองไปเรื่อยๆ คุณจะรู้ว่าจริงๆ แล้ว คุณอยากได้อะไร

4.3.2.4. คุณอาจต้องใช้เวลาทดลอง 3 วัน 1 สัปดาห์ หรือมากกว่าเดือนก็ได้ ขอแค่อย่ากดดันตัวเองแล้วค่อยๆ หารางวัลที่แท้จริงให้เจอ

4.3.3. แยกตัวกระตุ้นเป็นประเภทต่างๆ เพื่อหาตัวกระตุ้นที่แท้จริง

4.3.3.1. งานวิจัยพบว่าตัวกระตุ้นแบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ

4.3.3.1.1. สถานที่

4.3.3.1.2. เวลา

4.3.3.1.3. อารมณ์

4.3.3.1.4. บุคคล

4.3.3.1.5. การกระทำที่มาก่อนหน้า

4.3.3.2. หลังจากเราระบุกิจวัตรและหารางวัลที่อยากได้จริงๆ เจอแล้ว ให้เราแยกตัวกระตุ้นทั้งหมดออกเป็น 5 ประเภทด้านบน

4.3.3.3. จากนั้นให้ทดลองกับตัวเองสักระยะเพื่อหาคำตอบว่าจริงๆ แล้ว ตัวกระตุ้นคืออะไรกันแน่

4.3.3.4. Ex # พอถึงเวลาที่อยากลุกจากโต๊ะทำงานไปกินคุกกี้ ให้จดโน้ตตัวกระตุ้นเป็น 5 ประเภท

4.3.3.4.1. วันที่ 1

4.3.3.4.2. วันที่ 2

4.3.3.4.3. วันที่ 3

4.3.3.4.4. สรุปตัวกระตุ้นจริงๆ คือ ช่วงเวลาประมาณบ่าย 3-4 โมง

4.3.4. สร้างกิจวัตรใหม่แทนที่ของเดิม

4.3.4.1. เมื่อเราระบุ "รางวัล" และ "ตัวกระตุ้น" ตัวจริงได้แล้ว ขั้นตอนนี้คือการทำกิจวัตรอื่นแทนที่ของเดิม

4.3.4.2. ช่วงแรกเราอาจยังเปลี่ยนไม่ได้ในทันที แต่เราควรลองหาอะไรไว้เตือนตัวเอง เช่น ตั้งเตือนในมือถือ เขียนสิ่งที่ต้องทำแปะติดโต๊ะไว้

4.3.4.3. Ex # เปลี่ยนกิจวัตรลุกออกไปกินคุกกี้

4.3.4.3.1. คุณรู้แล้วว่าช่วงเวลา 3-4 โมงคือสัญญาณเตือนให้คุณลุกออกไปกินคุกกี้ เพราะคุณอยากได้รางวัลก็คือ การเข้าสังคมกับเพื่อนๆ เพื่อพักเบรกระหว่างทำงาน

4.3.4.3.2. คุณเลยอยากแทนที่กิจวัตรกินคุกกี้ด้วยการเดินไปที่โต๊ะของเพื่อนสักคนเลย เพื่อพูดคุยกัน นั่งซุบซิบข่าวคราวกัน แล้วค่อยกลับไปนั่งทำงานต่อ

5. พลังของนิสัยในโลกแห่งธุรกิจ

5.1. สร้างนิสัยเล็กๆ หนึ่งอย่าง เปลี่ยนทุกด้านในบริษัทให้ดีขึ้น

5.1.1. นิสัยที่รี้ด แฮสติ้ง ซีอีโอของ Netflix สร้างให้กับพนักงานก็คือ นิสัยกล้าที่จะพูดความคิดเห็น

5.1.2. สมัยก่อนรี้ดเป็นคนที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก แล้วความมั่นใจนี้ก็เคยทำให้เขาตัดสินใจผิดพลาดจนบริษัทย่ำแย่มาแล้ว

5.1.3. รี้ดมารู้เอาภายหลังว่าการตัดสินใจครั้งนั้นมีพนักงานหลายคนไม่เห็นด้วย แค่ทุกคนไม่กล้าพูดมันออกมา

5.1.3.1. ตั้งแต่นั้นมาเขาจึงให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ ใครที่คิดว่าไอเดียนี้ไม่ดีแล้วไม่ยอมพูด คนนั้นสิทำไม่ถูก

5.1.3.2. นิสัยเล็กๆ นี้ส่งผลกระทบแง่บวกไปถึงด้านต่างๆ ของ Netflix

5.1.3.3. พนักงานรู้สึกมั่นใจที่จะพูดมากขึ้น งานเดินหน้าเร็วขึ้น และบริษัทก็สร้างผลกำไรได้มากขึ้นเรื่อยๆ

5.2. ช่วงวิกฤติคือช่วงที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนนิสัย

5.2.1. สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 อเมริกาเจอปัญหาใหญ่ด้านความมั่นคงทางอาหาร

5.2.2. ปกติแล้วคนอเมริกันชอบกินสเต็กเนื้อมาก แต่ในยามสงครามแบบนี้เนื้อเริ่มเหลือน้อยและกลายเป็นสิ่งที่มีค่ามาก

5.2.3. โจทย์ใหญ่ของประธานาธิบดีคือ "ในเมื่อเนื้ออย่างเดียวอาจมีไม่พอกับความต้องการ เราควรทำอย่างไรให้คนหันมากินเครื่องในบ้าง?"

5.2.3.1. จากนั้นก็เกิดการรณรงค์ว่าพายเครื่องในคืออาหารชั้นเลิศ

5.2.3.2. ร้านขายเนื้อเริ่มปรับวิธีการขายโดยขายรวมเครื่องในด้วย

5.2.3.3. ผลสุดท้ายก็คือ คนอเมริกันเริ่มกินเครื่องในมากขึ้นอย่างชัดเจน

5.2.4. วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เราเปลี่ยนนิสัยได้หลายด้านมาก

5.2.4.1. ด้านสุขอนามัย

5.2.4.1.1. เราล้างมือบ่อยขึ้น เราก็จะเป็นหวัดน้อยลง

5.2.4.2. ด้านการทำงาน

5.2.4.2.1. เราเริ่ม WFH มากขึ้น นิสัยการทำงานก็เปลี่ยนไป

5.2.4.3. ด้านการใช้ชีวิต

5.2.4.3.1. เราใช้เวลาอยู่กับบ้านมากขึ้น กิจกรรมภายในครอบครัวก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

5.3. รู้นิสัยของลูกค้า = รู้วิธีขายและเรียกความสนใจ

5.3.1. ศาสตร์แห่งการจัดวางตำแหน่งสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์นิสัยของลูกค้า

5.3.1.1. หลังเข้าร้าน ลูกค้าชอบเดินเลี้ยวขวาก่อน ร้านค้าจึงชอบวางสินค้าที่ทำกำไรสูงไว้ตรงจุดนี้

5.3.1.2. ซูเปอร์มาร์เก็ตจะจัดวางผักและผลไม้เป็นด้านหน้า เพื่อให้เราหยิบสินค้าที่ดีต่อสุขภาพไปก่อน

5.3.1.2.1. แล้วค่อยจัดวางขนมหรือสินค้าแช่แข็งไว้ทีหลัง

5.3.1.2.2. พอเราเผลอคิดไปว่าเรามีอาหารที่ดีแล้ว เราจะมีแนวโน้มยอมหยิบสินค้าพวกนี้ได้ง่ายขึ้น

5.3.2. ตำแหน่งสินค้าขายดีเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ลูกค้าชอบใช้ประกอบการตัดสินใจ

5.3.2.1. สินค้าที่ติดอันดับต้นๆ มักเรียกความสนใจจากลูกค้าเพิ่มขึ้นได้เสมอ เช่น

5.3.2.1.1. 10 อันดับหนังสือขายดี

5.3.2.1.2. 10 หนังเด่นประจำสัปดาห์

5.3.2.1.3. 10 ร้านอาหารยอดนิยมประจำปี

5.3.2.2. ตำแหน่งในการจัดวางโฆษณาจึงมักอยู่คั่นระหว่างอันดับขายดีเหล่านี้ เช่น

5.3.2.2.1. ถ้ากดเรียงลำดับสินค้าขายดีใน Shopee ตำแหน่งร้านค้าที่จ่ายโฆษณาจะติดอยู่ด้านบนกับสินค้าที่ขายดีที่สุด

5.3.2.2.2. ร้านอาหารที่จ่ายค่าโฆษณาจะแทรกตำแหน่งอยู่ระหว่างร้านอาหารยอดนิยมอันดับต่างๆ

5.3.2.3. ถ้าร้านค้าอยากเน้นการขายให้มากกว่านั้น พวกเขาอาจเลือกวางสินค้าที่ไม่ได้ขายดีอะไรเลย ไว้ในตำแหน่งสินค้าขายดี เพื่อเรียกความสนใจจากลูกค้าด้วยซ้ำ

6. รู้ทันวงจรการเกิดนิสัย เพื่อเปลี่ยนนิสัยตัวเองใหม่ให้ดีขึ้น

6.1. วงจรการเกิดนิสัย

6.1.1. ตัวกระตุ้น (CUE)

6.1.1.1. = ตัวกระตุ้นเพื่อบอกสมองให้รู้ว่า "ตอนนี้เข้าสู่การทำอะไรสักอย่างโดยอัตโนมัติ"

6.1.1.2. งานวิจัยพบว่าตัวกระตุ้นแบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ

6.1.1.2.1. สถานที่

6.1.1.2.2. เวลา

6.1.1.2.3. อารมณ์

6.1.1.2.4. บุคคล

6.1.1.2.5. การกระทำที่มาก่อนหน้า

6.1.1.3. ถ้าเรายังมีตัวกระตุ้น (CUE) คงเดิม เราก็ยังจะทำพฤติกรรมแบบเดิมอยู่ดี ต่อให้เราจะเปลี่ยนสถานที่อยู่ก็ตาม

6.1.1.3.1. Ex # ไปท่องเที่ยว

6.1.2. กิจวัตร (ROUTINE)

6.1.2.1. = ชุดของการกระทำไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์

6.1.3. รางวัล (REWARD)

6.1.3.1. = สิ่งที่เราได้หลังจากทำนิสัยนั้น ซึ่งจะบอกสมองว่า "พฤติกรรมนี้มีค่ามากพอจะจดจำหรือไม่?"

6.1.3.2. รางวัลอาจแบ่งง่ายๆ เป็น

6.1.3.2.1. รางวัลทางกาย

6.1.3.2.2. รางวัลทางใจ

6.1.4. ทุกนิสัยไม่ว่าจะ "ดี" หรือ "ไม่ดี" จะวนตามวงจรการเกิดนิสัยนี้

6.1.4.1. เราถูกอะไรสักอย่างเข้ามากระตุ้น (CUE)

6.1.4.1.1. สัญญาณออดพักเที่ยงดัง

6.1.4.2. พอเราถูกกระตุ้น เราจะลงมือทำอะไรบางอย่าง (ROUTINE)

6.1.4.2.1. รีบลุกออกจากห้องเรียนไปโรงอาหาร

6.1.4.3. หลังจากลงมือทำแล้ว เราก็จะได้รางวัลตอบแทน (REWARD)

6.1.4.3.1. ได้กินข้าวพูดคุยกับเพื่อน รู้สึกได้ความผ่อนคลายและมีความสุขเป็นรางวัล

6.1.4.4. ครั้งถัดไปพอมีอะไรกระตุ้น เราก็จะทำวนไปแบบนี้เป็นวงจรการเกิดนิสัย

6.1.5. Ex # วงจรการเกิดนิสัย

6.1.5.1. เฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์

6.1.5.1.1. ทุกสาขาของแมคโดนัลด์ถูกออกแบบและตกแต่งให้เหมือนๆ กัน วิธีพูดของพนักงานก็เหมือนๆ กัน

6.1.5.1.2. พวกเขาอยากควบคุม "ตัวกระตุ้น" เอาไว้กระตุ้นให้ลูกค้าเกิด "กิจวัตร"

6.1.5.1.3. ลูกค้าจะได้ "รางวัล" เป็นเฟรนช์ฟรายทอดร้อนๆ คลุกเกลือ ที่กินหมดอย่างรวดเร็ว

6.1.5.1.4. สรุปวงจรการเกิดนิสัย

6.1.5.2. นิสัยชอบสูบบุหรี่เวลาคิดงานไม่ออก

6.1.5.2.1. นายเอทำงานออกแบบกราฟิก ทุกครั้งที่เขาคิดงานไม่ออก เขาจะออกไปนั่งสูบบุหรี่สักมวนแล้วค่อยกลับมาทำงานต่อ

6.1.5.2.2. สรุปวงจรการเกิดนิสัย

6.2. นิสัยกับสมองส่วนจดจำพฤติกรรม (Basal Ganglia)

6.2.1. สมองส่วนนี้มีหน้าที่จดจำรูปแบบพฤติกรรม

6.2.1.1. ถ้าเราทำพฤติกรรมอะไรซ้ำๆ มากเท่าไหร่ เส้นประสาทในสมองส่วนนี้ก็จะเข้มแข็งขึ้น

6.2.1.2. ส่งผลให้เราทำพฤติกรรมนั้นได้โดยอัตโนมัติ นั่นก็คือ "นิสัย"

6.2.1.3. Ex # การแปรงฟัน

6.2.1.3.1. พอเราเข้าห้องน้ำแล้วจะแปรงฟัน เราจะหยิบแปรงสีฟัน บีบยาสีฟัน แล้วแปรงฟันได้โดยอัตโนมัติ

6.2.1.3.2. เราไม่ต้องเสียเวลาคิดเลยว่าต้องบีบยาสีฟันก่อนหรือหลังหยิบแปรง

6.2.2. ดังนั้นถ้าสมองส่วนนี้ของเราไม่เสียหายไปเสียก่อน อย่างไรเสียเราก็แก้นิสัยเดิมไม่ได้ ถ้ายังมีตัวกระตุ้นแบบเดิม

6.2.2.1. ต่อให้เราจะไปเที่ยวพักผ่อน แต่เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า เราก็ยังจะมีกิจวัตรตอนเช้าอย่าง อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว เหมือนเดิม

6.2.2.2. ทุกอย่างยังคงเดิม เปลี่ยนแค่สถานที่ที่เราแสดงออกกิจวัตรก็เท่านั้นเอง

6.3. ถ้าอยากมีนิสัยใหม่ ต้องเพิ่ม "ความอยาก" ได้รางวัล

6.3.1. ถ้าเราอยากทำอะไรจนติดเป็นนิสัย เราต้อง "อยาก" ได้รางวัลนั้นตั้งแต่แรก

6.3.2. ถ้าเราไม่อยากได้รางวัล เราจะไม่ลงมือพฤติกรรมนั้นไปเรื่อยๆ จนติดเป็นนิสัย นั่นแปลว่าเราก็สร้างนิสัยไม่สำเร็จ

6.3.3. Ex # คนที่ชอบออกกำลังกาย

6.3.3.1. รางวัลที่คนที่ชอบออกกำลังกาย "อยาก" ได้ก็คือ ความรู้สึกดีหลังจากร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟินออกมา

6.3.3.2. พอพวกเขาอยากได้ความรู้สึกนี้ พวกเขาก็อยากจะออกกำลังกาย

6.3.4. Ex # ยาสีฟันเปปโซเดนซ์

6.3.4.1. ครั้งหนึ่งยาสีฟันเปปโซเดนซ์ใช้การโฆษณาว่า "ยาสีฟันที่แปรงแล้วรู้สึกเย็นและเสียวซ่าในปาก"

6.3.4.2. วิธีนี้สร้างยอดขายได้เยอะมากจนบรรดาบริษัทคู่แข่งต้องหันมาศึกษาว่า "ทำไมโฆษณานี้จึงช่วยให้ยาสีฟันเปปโซเดนซ์ขายดี?"

6.3.4.2.1. คำตอบก็คือ ลูกค้าไม่อยากพลาดความรู้เย็นและเสียวซ่าในปาก

6.3.4.2.2. ยาสีฟันเปปโซเดนซ์ไม่ได้ใช้จุดขายตรงที่แปรงแล้วฟันสะอาด แต่ขาย "ความรู้สึก" ลูกค้าจึง "อยาก" ได้ความรู้สึกนี้

6.3.4.2.3. ลูกค้าเชื่อไปแล้วว่าถ้าไม่มีความรู้สึกนี้ ฟันจะไม่สะอาด จากนั้นการแปรงฟันก็กลายเป็นนิสัยของคนทั่วไป

6.3.5. สรุปวิธีสร้างนิสัยใหม่คือ การสร้างวงจรการเกิดนิสัยที่มีสัญญาณเตือน กิจวัตร และรางวัล โดยที่มีความอยากคอยขับเคลื่อนวงจรนั้น

7. แนวคิดในหนังสือเล่มนี้จะช่วยเราสร้าง Productivity ได้อย่างไร?

7.1. หนังสือเล่มนี้จะเผยถึงที่มาของการเกิดนิสัย วิธีแก้ไขนิสัยใหม่ และพลังของนิสัยที่ส่งผลต่อการทำงานและโลกของธุรกิจด้วย

7.2. แล้วเราก็จะนำวิธีนั้นมาใช้เปลี่ยนนิสัยไม่ดีส่วนตัวให้ดียิ่งขึ้น

8. ใช้พลังแห่งนิสัยสร้างความสำเร็จให้ชีวิต

8.1. สร้างนิสัยหลักแค่อย่างเดียว เปลี่ยนทุกด้านในชีวิตให้ดีขึ้น

8.1.1. นิสัยหลัก (Keystone Habit) = นิสัยหนึ่งอย่างที่จะส่งผลกระทบให้เกิดนิสัยอื่นๆ ตามมา

8.1.2. เราต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ เพื่อค้นหาและสร้างนิสัยหลักที่จะส่งผลกระทบต่อนิสัยด้านอื่นๆ ด้วย

8.1.2.1. แต่ลักษณะหนึ่งของนิสัยหลักนี้คือ มันดูคล้ายกับชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิต

8.1.2.2. แล้วชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ นี้จะช่วยให้เราสร้างนิสัยดีอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น

8.1.3. Ex # งานวิจัยหนึ่งเกี่ยวกับคนที่ชอบออกกำลังกาย

8.1.3.1. คนที่เริ่มมีนิสัยชอบออกกำลังกาย ต่อให้จะไม่สม่ำเสมอขนาดทำทุกวัน แต่เขาจะเริ่มมีนิสัยอื่นๆ ที่ดีในด้านสุขภาพตามมาโดยไม่รู้ตัว

8.1.3.2. พวกเขาจะเริ่มใส่ใจกับโภชนาการอาหารมากขึ้น

8.1.3.3. พวกเขาจะเริ่มสูบบุหรี่และดื่มเหล้าน้อยลง

8.1.3.4. พวกเขามีความอดทนกับงาน เพื่อนร่วมงาน และคนในครอบครัวมากขึ้น

8.1.3.5. แล้วพวกเขาก็รู้สึกเครียดน้อยลง

8.1.4. Ex # สุดยอดนักกีฬาว่ายน้ำ ไมเคิล เฟลปส์

8.1.4.1. บ็อบ โบว์แมน โค้ชของไมเคิลรู้ดีว่าเขามีศักยภาพในตัวมากพอที่จะคว้าเหรียญทองโอลิมปิกในกีฬาว่ายน้ำมาครองได้

8.1.4.2. บ็อบจึงเริ่มจากการสร้างนิสัยและกิจวัตรที่ถูกต้องให้กับไมเคิลตั้งแต่ยังเด็ก

8.1.4.3. นิสัยหลักที่บ็อบปลูกฝังในตัวของไมเคิลก็คือ "จินตนาการถึงการแข่งขันของตัวเอง"

8.1.4.3.1. บ็อบให้เฟลปส์นึกภาพตัวเองกำลังกระโดดลงสระอย่างช้าๆ ว่ายไปข้างหน้า กลับตัว แล้วก็เข้าเส้นชัย

8.1.4.3.2. บ็อบให้เฟลปส์ทำแบบนี้ทุกคืนก่อนเข้านอนและทุกเช้าหลังตื่นนอน

8.1.4.4. พอถึงเวลาฝึกซ้อมจริง เมื่อบ็อบส่งสัญญาณให้ไมเคิลนึกถึงสิ่งที่เคยจินตนาการไว้ ไมเคิลจะเร่งว่ายน้ำจนสุดกำลัง

8.1.4.4.1. ไมเคิลมีภาพในหัวของตัวเองเป็นประจำอยู่แล้ว เขาทำมันได้ซ้ำๆ ทุกวันอยู่แล้ว

8.1.4.4.2. เมื่อไมเคิลได้สัญญาณ เขาก็แค่เร่งความเร็วจนสุดตัวแล้วก็เข้าเส้นชัย

8.1.4.5. เมื่อไมเคิลมีนิสัยหลักนี้แล้ว นิสัยในด้านอื่นๆ ก็เริ่มตามมา

8.1.4.5.1. เขาเริ่มดูแลโภชนาการอาหารมากขึ้น

8.1.4.5.2. มีกิจวัตรการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการนอนหลับ

8.2. ใช้กลยุทธ์ LATTE ของสตาร์บัคส์สร้างนิสัยรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้า

8.2.1. กลยุทธ์ LATTE คือวิธีที่สตาร์บัคส์ใช้ฝึกพนักงานทุกคนให้สามารถรับมือกับปัญหาโดยใช้พลังใจ (Willpower) น้อยมาก

8.2.1.1. Listen = รับฟังลูกค้า

8.2.1.2. Acknowledge = รับรู้ปัญหาและความต้องการของลูกค้า

8.2.1.3. Take action = ลงมือแก้ปัญหา

8.2.1.4. Thank = ขอบคุณลูกค้า

8.2.1.5. Explain = อธิบายให้ลูกค้าเข้าใจว่าทำไมถึงเกิดปัญหา

8.2.1.6. กลยุทธ์นี้ช่วยสร้างวงจรการเกิดนิสัยให้กับพนักงาน โดยมี...

8.2.1.6.1. ตัวกระตุ้น = อาการของลูกค้าที่มีปัญหา

8.2.1.6.2. กิจวัตร = กลยุทธ์ LATTE

8.2.1.6.3. รางวัล = ความพึงพอใจของลูกค้า

8.2.1.6.4. ความอยากได้รางวัล = การบริการลูกค้าให้ดีที่สุด

8.2.2. สตาร์บัคส์รู้ตัวดีว่าการจะให้ลูกค้ายอมจ่ายเงิน 4 ดอลลาร์เพื่อซื้อกาแฟสักแก้วนั้น พวกเขาต้องให้บริการที่ดีควบคู่ไปกับคุณภาพของกาแฟ

8.2.2.1. พวกเขาจึงฝึกฝนให้พนักงานสามารถควบคุมอารมณ์และวินัยของตัวเองให้พร้อมบริการลูกค้าอย่างเต็มที่อยู่เสมอ

8.2.2.2. แต่ปัญหาคือ การให้บริการที่ดีตลอดเวลานั้นแลกมากับการใช้พลังใจ (Willpower) เยอะมาก

8.2.2.3. กลยุทธ์ LATTE จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อฝึกนิสัยให้พนักงานพร้อมรับมือกับปัญหาตรงหน้าได้ทุกเมื่อ โดยใช้พลังใจให้น้อยที่สุด

8.2.3. สตาร์บัคส์จึงเขียนกลยุทธ์ในการรับมือลูกค้าไว้มากมายในหนังสือคู่มือของพนักงาน

8.2.3.1. เมื่อมีตัวกระตุ้นเกิดขึ้น พนักงานจะได้รู้ตัวว่าตัวเองต้องทำอะไรเป็นอันดับถัดไป (Routine)

8.2.3.2. นอกจากนี้ในคู่มือยังมีหน้าว่างไว้สำหรับให้พนักงานเติมข้อมูลใหม่ๆ เข้าไปด้วยตัวเองด้วย

8.2.4. เราสามารถฝึกนิสัยให้ตัวเองและทีมงานพร้อมรับมือกับปัญหาได้ล่วงหน้าโดยใช้พลังใจให้น้อยที่สุดได้ ด้วยการกำหนดกิจวัตร (Routine) ล่วงหน้าเมื่อเกิดตัวกระตุ้น (CUE) แล้วหมั่นฝึกไปตามแผนนี้

8.2.4.1. Ex # ถ้าต้องรับมือกับลูกค้าที่โมโหเวลาเสิร์ฟอาหารช้า

8.2.4.1.1. คุณสามารถกำหนดกิจวัตรที่พนักงานรวมถึงคุณต้องทำไว้ล่วงหน้าได้เวลาเจอปัญหานี้

8.2.4.1.2. เมื่อลูกค้าเรียกพนักงานไปถามเรื่องอาหารที่เสิร์ฟช้า

8.2.4.1.3. พนักงานจะเริ่มจากถามก่อนว่า สั่งอาหารไปนานเท่าไหร่แล้ว? เครื่องดื่มมาครบแล้วหรือไม่?

8.2.4.1.4. จากนั้นจะแก้ปัญหาด้วยการตามคิวอาหาร แล้วย้อนกลับมาแจ้งเวลาที่ชัดเจนกับลูกค้าว่าต้องรออีกนานเท่าไหร่

8.2.4.1.5. เมื่อเสิร์ฟอาหารครบ อย่าลืมขอโทษลูกค้าอีกครั้ง แล้วตอนลูกค้ากินเสร็จต้องย้อนกลับมาพูดคุยสอบถามอีกครั้งด้วย