รวมความรู้หนังสือ Talent is overrated

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
รวมความรู้หนังสือ Talent is overrated by Mind Map: รวมความรู้หนังสือ Talent is overrated

1. ผู้เขียน

1.1. Geoff Colvin

2. Key Message

2.1. คนที่ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์เสมอไป แต่พวกเขาต้องใส่ใจและจดจ่อกับงานที่ทำมากพอจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญได้จริงๆ

3. อย่ายึดติดกับพรสวรรค์มากเกินไป

3.1. คนที่ประสบความสำเร็จไม่ได้เป็นผลมาจาก "พรสวรรค์" เพียงอย่างเดียว

3.1.1. คนธรรมดาๆ แต่มี "พรแสวง" ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ไม่แพ้คนที่มีพรสวรรค์เลย

3.1.1.1. Ex # Mozart

3.1.1.1.1. คนส่วนใหญ่เชื่อว่าโมสาร์ทคือสุดยอดนักดนตรีผู้เกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์

3.1.1.1.2. แต่จริงๆ แล้วเขาเริ่มฝึกดนตรีตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โดยคุณพ่อซึ่งเป็นครูสอนดนตรี คุณพ่อฝึกเขาหนักมาก

3.1.1.1.3. คุณจะพบว่าโมสาร์ทใช้เวลากว่า 18 ปีนับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฝึกฝนกว่าเขาจะเริ่มสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมออกมาได้

3.1.1.2. Ex # Tiger Woods

3.1.1.2.1. ไทเกอร์เริ่มฝึกเล่นกอล์ฟตั้งแต่อายุ 2 ขวบ ตอนเขาอายุราว 7 ขวบก็เริ่มแข่งขันรายการกอล์ฟเล็กๆ และคว้าชัยแล้ว

3.1.1.3. Ex # Jack Welch

3.1.1.3.1. แจ็คไม่เคยเรียนด้านการบริหารจัดการด้วยซ้ำ แต่เขากลับบริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ให้ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นสุดยอด CEO ระดับตำนานของ GE

3.1.1.4. Ex # Cristiano Ronaldo

3.1.1.4.1. สุดยอดนักฟุตบอลแห่งยุค โรนัลโดทุ่มเทฝึกซ้อมตั้งแต่วัยรุ่นจนได้รับการยกย่องให้เป็น "สุดยอดนักฟุตบอลจากพรแแสวง"

3.2. แต่ต่อให้คุณมี "พรแสวง" ก็ใช่จะประสบความสำเร็จได้

3.2.1. การขยันฝึกฝนเป็นเรื่องดี แต่มันอาจไม่ได้ผลถ้าคุณฝึกผิดวิธี

3.2.1.1. คุณต้องฝึกให้ถูกวิธี ซึ่งวิธีที่คอลวินพูดถึงเรียกว่า Deliberate Practice

3.3. งานวิจัยชิ้นหนึ่งจากสถาบันดนตรีในเยอรมนีที่ศึกษาเกี่ยวกับนักไวโอลินพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วนักไวโอลินคนหนึ่งจะเก่งจนโดดเด่นขึ้นมาได้ต้องผ่านการฝึกมาไม่น้อยกว่า 10,000 ชั่วโมง หรือ 10 ปี

3.3.1. งานวิจัยนี้อยากรู้ว่านักไวโอลิน 3 ระดับคือ สุดยอด, ดี และทั่วไป ต้องอาศัยการฝึกฝนเท่าไหร่?

3.3.1.1. ระดับสุดยอด

3.3.1.1.1. ให้เวลากับดนตรี (ฝึก เรียน เล่น คุย ฯลฯ) 51 ชั่วโมง/สัปดาห์

3.3.1.1.2. ชั่วโมงการฝึกรวมประมาณ 7,400 ชั่วโมง

3.3.1.1.3. ฝึกแบบ Deliberate Practice 24 ชั่วโมง/สัปดาห์

3.3.1.2. ระดับดี

3.3.1.2.1. ให้เวลากับดนตรี (ฝึก เรียน เล่น คุย ฯลฯ) 51 ชั่วโมง/สัปดาห์

3.3.1.2.2. ชั่วโมงการฝึกรวมประมาณ 5,300 ชั่วโมง

3.3.1.2.3. ฝึกแบบ Deliberate Practice 24 ชั่วโมง/สัปดาห์

3.3.1.3. ระดับทั่วไป

3.3.1.3.1. ให้เวลากับดนตรี (ฝึก เรียน เล่น คุย ฯลฯ) 51 ชั่วโมง/สัปดาห์

3.3.1.3.2. ชั่วโมงการฝึกรวมประมาณ 3,420 ชั่วโมง

3.3.1.3.3. ฝึกแบบ Deliberate Practice 9 ชั่วโมง/สัปดาห์

4. การฝึกฝนแบบ Deliberate Practice คืออะไร?

4.1. การฝึกที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้นโดยผู้ฝึกที่มีความรู้

4.2. การฝึกฝนแบบ Deliberate Practice มีหลักการอยู่ 4 ข้อดังนี้

4.2.1. Plan

4.2.1.1. คุณต้องวางแผนให้ดีโดยมีรายละเอียดครบถ้วน สิ่งที่คุณต้องรู้ในแผนของคุณคือ

4.2.1.1.1. คุณกำลังจะทำอะไร?

4.2.1.1.2. คุณจะทำมันอย่างไร?

4.2.1.1.3. คุณต้องทำมันบ่อยแค่ไหน

4.2.1.1.4. ตรงไหนยังต้องปรับปรุง ตรงไหนต้องทำให้เสร็จบ้าง?

4.2.2. Do

4.2.2.1. พอมีแผนการแล้ว ให้คุณลงมือปฏิบัติจริงๆ

4.2.2.2. การทำซ้ำไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณพัฒนาขึ้น

4.2.3. Review

4.2.3.1. หาโค้ชหรือที่ปรึกษามาคอยให้ feedback

4.2.3.1.1. คอยชี้จุดผิดพลาด

4.2.3.2. นักกีฬา นักดนตรี หรือนักธุรกิจเก่งๆ มักมีโค้ชคอยช่วยอยู่เบื้องหลังเสมอ

4.2.4. Improve

4.2.4.1. หาวิธีพัฒนาแผนของคุณและมองหาข้อผิดพลาดจากการทำงานที่ผ่านมา

4.2.5. Ex # Benjamin Flankin

4.2.5.1. ครั้งหนึ่งเบนจามินเคยพัฒนาทักษะด้านการเขียนของเขาจากนิตยสารที่มีชื่อว่า The Spectator โดยแผนการฝึกที่เขาวางไว้ก็คือ

4.2.5.1.1. อ่าน The Spectator

4.2.5.1.2. จดโน้ตต่างๆ

4.2.5.1.3. หยุดเฉยๆ สักพัก

4.2.5.1.4. กลับมาลองเขียนงานดูใหม่

4.2.5.1.5. เปรียบเทียบงานเขียนของตัวเองกับ The Spectator

4.2.5.1.6. ปรับปรุงจุดที่ยังมีปัญหา

4.2.5.2. แผนฝึกนี้ทำให้เขารู้ตัวว่า "การใช้คำศัพท์" เป็นจุดที่เขาต้องพัฒนา เขาจึงสร้างแผนการฝึกอีกตัวขึ้นมาดังนี้

4.2.5.2.1. อ่านบทความจาก The Spectator

4.2.5.2.2. ลองเขียนบทความเป็นบทกวี

4.2.5.2.3. ลืมสิ่งที่เขียนไปก่อน

4.2.5.2.4. ลองเขียนบทความเป็นร้อยแก้ว

4.2.5.2.5. เปรียบเทียบงานเขียนของตัวเองกับ The Spectator

4.2.5.3. พอเขาเริ่มพัฒนา "การใช้คำศัพท์" ได้ดีขึ้น เขาก็รู้สึกว่าเขายัง "เรียงโครงสร้างในงานเขียน" ได้ไม่ดีนัก เขาจึงสร้างแผนการฝึกขึ้นมาใหม่อีก

4.2.5.3.1. อ่านบทความอื่นๆ ใน The Spectator

4.2.5.3.2. จดโน้ตในแต่ละประโยคด้วยเศษกระดาษหลายๆ ชิ้น

4.2.5.3.3. ผสมโน้ตทั้งหมดรวมกันแล้วลืมมันไปสักวันสองวัน

4.2.5.3.4. กลับมาลองเขียนบทความใหม่

4.2.5.3.5. เปรียบเทียบงานเขียนของตัวเองกับ The Spectator

4.3. สรุปแล้วคุณต้องทำให้เกิดวงจรทั้ง 4 ขั้นตอนไปเรื่อยๆ นั่นคือ

4.3.1. Plan

4.3.1.1. Do

4.3.1.1.1. Review

4.3.2. โดยขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ Plan

5. แรงจูงใจภายใน VS แรงจูงใจภายนอก

5.1. คนเรามีแรงจูงใจอยู่ 2 ประเภท

5.1.1. แรงจูงใจภายใน

5.1.1.1. Ex # ผมเล่นฟุตบอลเพราะรักและสนุกไปกับกีฬาชนิดนี้

5.1.2. แรงจูงใจภายนอก

5.1.2.1. Ex # ผมจะเล่นฟุตบอลเพื่อคว้าแชมป์มาครองให้ได้

5.1.3. ถ้าคุณจะใช้การฝึกแบบ Deliberate Practice ให้ได้ผล คอลวินแนะนำให้คุณนำพลังของแรงจูงใจทั้ง 2 ชนิดมาใช้ร่วมกันเพื่อพัฒนาการฝึกของคุณให้เร็วมากขึ้น

5.2. Ex # Michael Jordan

5.2.1. แรงจูงใจภายใน

5.2.1.1. จอร์แดนรักบาสเก็ตบอลมาก จะให้เล่นทั้งวันก็ไหว

5.2.2. แรงจูงใจภายนอก

5.2.2.1. เขาอยากคว้าแชมป์เพื่อพิสูจน์ให้คนอื่นๆ เห็นว่าพวกเขาคิดผิดที่บอกว่าเขาไม่เก่งมากพอ

6. การฝึกฝนและผลงาน

6.1. "การฝึกฝน" และ "ผลงาน" เป็นของคู่กัน

6.1.1. ถ้าคุณเพิ่มการฝึกฝน คุณก็จะมีผลงานที่ดีขึ้นตามไปด้วย

6.2. ดังนั้นถ้าคุณยังรู้สึกว่าผลงานของตัวเองยังไม่ดีพอ คุณก็แค่ฝึกเพิ่มเติมแล้วคุณจะได้ผลงานที่ดีอย่างที่ต้องการ