อิสลาม

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
อิสลาม by Mind Map: อิสลาม

1. จุดมุ่งหมายสูงสุด

1.1. การไปอยู่กับพระเจ้าชั่วนิรันดร์(เหมือนศาสนาคริสต์)

1.1.1. พระเจ้าสูงสุดองค์เดียวคือ พระอัลเลาะห์

2. พิธีกรรม

2.1. การปฏิญาณตน

2.1.1. ปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ ถือเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่สุด

2.2. การละหมาด

2.2.1. การแสดงความเคารพต่อพระอัลเลาะห์

2.2.2. วันหนึ่งทำ 5 เวลา คือ ย่ำรุ่ง บ่าย เย็น พลบค่ำ และกลางคือ

2.2.3. โดยหันหน้าไปทางทิศกิบลัต (ทิศของมัสยิดอัลฮาราม ในประเทศซาอุดิอาระเบีย)

2.2.3.1. เมื่อเทียบกับประเทศไทย ทิศกิบลัตหรือทิศของเมืองมักกะฮ์จะอยู่ทางทิศตะวันตก เบนไปทางเฉียงเหนือ

2.3. การบริจาคซะกาต

2.3.1. เป็นการบริจาคทรัพย์ มีจุดประสงค์เพื่อช่วย เหลือเพื่อนมนุษย์ ลดช่องว่างทางชนชั้น ลดความเห็นแก่ตัว และเพื่อเป็นการขัดเกลา จิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์

2.3.2. ผู้ที่มีสิทธิได้รับบริจาคซะกาต: ตามคัมภีร์อัลกุรอาน ได้เเก่

2.3.2.1. คนอนาถา

2.3.2.2. คนขัดสน

2.3.2.3. ทาสที่ต้องการไถ่ตนเอง

2.3.2.4. คนเป็นหนี้จากการประกอบอาชีพสุจริต

2.3.2.5. การใช้จ่ายในแนวทางของพระเจ้า เช่น การสร้างโรงเรียน การสร้างโรงพยาบาล

2.4. การถือศีลอด

2.4.1. เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่ 9 ตามปฏิทินอิสลาม

2.4.2. เพื่อฝึกฝนให้รู้จักความอดกลั้นอดทน มีจิตใจหนักแน่น และไม่ท้อถอยอย่างง่ายดายต่อความยากลำบาก

2.5. พิธีฮัจญ์

2.5.1. การเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ วิหารอัลกะฮ์ และสถานที่ต่างๆในนครมักกะฮ์ ตามวันเวลาที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้

3. คัมภีร์ศาสนา

3.1. อัลกุรอาน (Al-Quran)

3.1.1. คัมภีร์หลัก

3.1.2. บันทึกเป็นภาษาอาหรับ

3.1.3. เป็นพระบัญชาโดยตรงจากพระเจ้า จะทำการแก้ไขหรือตีความมิได้

3.1.4. มีฐานะเป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม

3.1.5. คำว่า "กุรอาน" แปลว่าสิ่งที่ต้องอ่าน หรือสิ่งที่ต้องศึกษาให้เข้าใจ

3.2. อัลฮะดีส (Al-Hadith)

3.2.1. บันทึกคำสอนของนบีมูฮัมหมัด

3.2.2. บทอธิบายพระคัมภีร์อัลกุรอาน

3.2.3. แบบแผนในการประพฤติปฏิบัติอันดีงามของชาวมุสลิม

3.3. แนวทางการปฏิบัติตนตามคัมภีร์ทั้งสอง

3.3.1. วาญิบ

3.3.1.1. สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับรางวัล และผู้ละเว้นจะถูกลงโทษ

3.3.1.1.1. เช่น การเป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ การถือศีลอด

3.3.2. ซุนนะห์

3.3.2.1. สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับรางวัล แต่จะไม่ถูกลงโทษหากละเว้น

3.3.2.1.1. เช่น การอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน

3.3.3. ญาอิช

3.3.3.1. สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะไม่ได้รับรางวัล และจะไม่ถูกลงโทษหากละเว้น

3.3.3.1.1. เช่น การสมรส

3.3.4. มักรูห์

3.3.4.1. สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะได้รับรางวัลเมื่องดเว้น แต่จะไม่ถูกลงโทษหากปฏิบัติ

3.3.4.1.1. เช่น การสูบบุหรี่

3.3.5. ฮะรอม

3.3.5.1. สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะถูกลงโทษ และจะได้รับรางวัลหากละเว้น

3.3.5.1.1. เช่น การดื่มของมึนเมา

4. ศาสดา

4.1. นบีมูฮัมหมัด

4.1.1. เป็นชาวชนเป่ากุเรซ เกิดที่เมืองเมกกะ(ซาอุดิอารเบีย)

4.1.2. เมื่ออายุ 40 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาจากพระเจ้าผ่าน ทางมลาอิกะห์ (ทูตสวรรค์)

4.1.3. คำว่า "นบี" คือชื่อตำแหน่ง

5. หลักธรรม

5.1. ศรัทธา 6 (หลักอีมาน)

5.1.1. 👉👉👉

5.1.1.1. 1. ศรัทธาในพระอัลเลาะห์องค์เดียว 2. ศรัทธาในศาสดาองค์ต่างๆ และมีศรัทธาเชื่อมั่นว่าพระมะหะหมัดเป็นศาสดาองค์สุดท้าย 3. ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน 4. ศรัทธาเชื่อมั่นว่า เทพเป็นผู้นำคำสอนจากพระเจ้ามาสู่พระมะหะหมัด 5. ศรัทธาเชื่อในวันพระเจ้าพิพากษาโลก หรือวันสิ้นโลกซึ่งเป็นวันที่วิญญาณจะต้องรับผลกรรมจากการกระทำขณะเมื่อยังมีชีวิตอยู่ 6. ศรัทธาเชื่อว่าสภาวะของโลกและชีวิตเป็นไปตามเจตจำนงของพระอัลเลาะห์

5.2. หลักปฏิบัติ 5 (หลักอีบาดะห์)

5.2.1. 👉👉👉

5.2.1.1. 1. การปฏิญาณตน ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องยืนยันด้วยวาจาว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ และท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์”

5.2.1.2. 2. การละหมาด (นมาซ) เป็นการเคารพกราบไหว้ต่อพระเจ้าด้วยอิริยาบถต่าง ๆ ซึ่งจะต้องปฏิบัติทุกวัน วันละ ๕ เวลา คือ ก่อนฟ้าสาง บ่าย เย็น หัวค่ำ และกลางคืน การละหมาดวันละ ๕ เวลา คือ ก่อนฟ้าสาง บ่าย เย็น หัวค่ำ และกลางคืน การละหมาดวันละ ๕ เวลา จะช่วยสกัดกั้นความคิดและการกระทำที่ไม่ดีงามต่าง ๆ อย่างเป็นระบบต่อเนื่องในรอบวัน

5.2.1.3. 3. การถือศีลอด เป็นการละเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพ การร่วมเพศ การนินทา ตลอดจนการประพฤติทิ่ผิดบาปทุกอย่าง จะกระทำในเดือนรอมฎอนเป็นเวลา ๑ เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ฝึกความอดทนต่อการยั่วยวนของกิเลส

5.2.1.4. 4. การจ่ายซะกาต หมายถึง การบริจาคทานให้แก่คนที่เหมาะสมตามศาสนบัญญัติ

5.2.1.5. 5. ประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง การไปประกอบศาสนกิจ เมืองเมกกะ ประเทศซอุดีอาระเบีย โดยผู้ที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์จะต้องอยู่ในสภาพที่พร้อม กล่าวคือ บรรลุนิติภาวะ มีสุขภาพดี มีทุนทรัพย์เพียงพอ และมีความรู้ความเข้าใจในการทำฮัจญ์

5.3. ข้อห้าม

5.3.1. ห้ามนำสิ่งอื่นขึ้นเทียบเคียงพระเจ้า

5.3.2. ห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุ ตลอดจนวิญญาณต่างๆ

5.3.3. ห้ามเชื่อเรื่องการทำนาย การเสี่ยงทาย การถือเรื่องโชคลาง การมีเครื่องรางของขลัง

5.3.4. ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด

5.3.5. ห้ามกินสัตว์ที่ตายเอง หรือมิได้เชือดโดยกล่าวนามพระอัลเลาะห์

5.3.6. ห้ามเสพสิ่งมึนเมาทุกชนิด

5.3.7. ห้ามผิดประเวณี

5.3.8. ห้ามฆ่าสิ่งมีชีวิตโดยปราศจากความเป็นธรรม

5.3.9. ห้ามประกอบอาชีพที่ผิดศีลธรรม

5.3.10. ห้ามบริโภคอาหารที่รู้ว่ามาจากการทุจริต

5.3.11. ห้ามทำแท้ง ห้ามคุมกำเนิด เว้นแต่มีความจำเป็นที่ชอบด้วยบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม

5.3.12. ห้ามเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยทุกรูปแบบ

5.3.13. ห้ามกักตุนสินค้า ห้ามค้ากำไรเกินควร

5.3.14. ห้ามใช้ภาชนะที่ทำจากทองคำและเงิน

5.3.15. ห้ามเป็นพยานเท็จ

5.3.16. ห้ามเข้าบ้านคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

5.3.17. ห้ามสตรีเปิดเผยอวัยวะที่พึงสงวน เว้นใบหน้าและฝ่ามือ ห้ามแต่งกายด้วยผ้าเนื้อบาง หรือเสื้อผ้ารัดทรวดทรง

5.3.18. ห้ามแต่งงานกับคนนอกศาสนา

5.3.19. ห้ามตัดสัมพันธ์กับญาติพี่น้อง

5.3.20. ห้ามฆ่าตัวตายไม่ว่าวิธีการใดๆ

5.3.21. ห้ามล่วงละเมิดหรือใช้ทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

5.3.22. ห้ามผ่าพิสูจน์ศพ และห้ามเผาศพ

6. นิกาย

6.1. การแยกนิกายของศาสนาอิสลามเกิดจาก ความขัดแย้งทางการเมืองและการปกครองที่หาข้อยุติไม่ได้

6.1.1. 👉

6.1.1.1. 1. นิกายซุนนี (Sunni)

6.1.1.1.1. เป็นนิกายที่ชาวมุสลิมยึดถืออัลกุรอานและจริยาวัฒนของพระมะหะหมัดเป็นหลัก

6.1.1.2. 2. นิกายชีอะห์ (Sheite)

6.1.1.2.1. เป็นนิกายที่มีความเชื่อมั่นในเอกภาพของพระเจ้าในศาสนาทั้งหลาย และในอิหม่ามซึ่งสืบเนื่องจากศาสดาเหล่านั้น

6.1.1.3. 3. นิกายซูฟี (Sufi)

6.1.1.3.1. เป็นนิกายที่เริ่มขึ้นในเปอร์เซีย ปฏิเสธความหรูหราฟุ่มเฟือย เน้นความศรัทธาต่อพระเจ้า ควรจะเป็นผู้เคร่งครัด ไม่ใยดีต่อทรัพย์สมบัติและต่อโลก ควรบำเพ็ญตบะและพรตอย่างสงบ

6.1.1.4. 4. นิกายวาฮาบี (Wahabi)

6.1.1.4.1. เป็นนิกายที่ถือว่าอัลกุรอานเป็นใหญ่และสำคัญที่สุด ไม่เชื่อว่ามีผู้อยู่ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์และประณามการขอพร ณ สุสานของศาสดามะหะหมัด

6.1.1.5. 5. นิกายอิสมาอีลียะห์ (Ismailia)

6.1.1.5.1. เดิมนิกายนี้มีทัศนะเช่นเดียวกับนิกายชีอะห์ทุกอย่าง แต่ต่อมาได้ขัดแย้งกันเรื่องอิหม่าม

6.1.1.6. 6. นิกายคอวาริจ (Kowarige)

6.1.1.6.1. นิกายนี้แยกตัวออกเพราะไม่พอใจในการสิ้นชีวิตของอุสมาน อิหม่ามองค์ที่ 3

7. สัญลักษณ์ทางศาสนา

7.1. รูปดาวกับจันทร์เสี้ยว

7.1.1. ดาว

7.1.1.1. เครื่องหมายนำทาง บอกทิศทางในการเดินทาง

7.1.1.2. มี 5 แฉก ซื่อหมายถึงหลักปฏิบัติ 5 ประการ

7.1.2. เดือน

7.1.2.1. เครื่องหมายของกาลเวลา

7.1.2.2. เสี้ยวจันทร์หมายถึงการยอมรับ

7.1.3. มักติดไว้ที่มัสยิดเพื่อบอกว่า "ณ สถานที่แห่งนี้มีเพื่อให้กระทำการทั้ง 5 ประการ "