ศาสนาเชน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ศาสนาเชน by Mind Map: ศาสนาเชน

1. นิกาย

1.1. นิกายเศวตัมพร

1.1.1. นำโดยสถูลภัทร ส่วนใหญ่ประจำอยู่ในแคว้นพิหาร นุ่งห่มขาว ที่หน้าสำนักจะติดตั้งรูปตีรถังกรประดับด้วยเครื่องนุ่งห่มและมองตรงไปข่างหน้าปฏิบัติธรรม ถือหลักศีล 5 เป็นพื้น

1.2. นิกายทิฆัมพร

1.2.1. นำโดยภัทรพาหุ ปฏิบัติเคร่งครัดโดยเฉพาะข้อ ยริครหะ คือ ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม มีลักษณะเป็นการทรมานตน ศาสนิกโดยทั่วไปไม่สามารถจะปฏิบัติตามได้ ถือหลักที่สำคัญที่สุด 3 ประการคือ

1.2.1.1. 1) การอดอาหารหรือไม่กินอาหารใดๆแม้แต่น้ำ

1.2.1.2. 2) ไม่มีพันธนาการแม้แต่ผ้านุ่งห่มใดๆ รวมทั้งสมบัติอื่นๆ

1.2.1.3. 3) ไม่อนุญาตให้สตรีบวชและบรรลุธรรม

2. หลักธรรมคำสอน

2.1. ลักธรรมคำสอนของศาสนาเชน แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆ กว้างๆ 3 หลัก

2.1.1. หลักธรรมขั้นพื้นฐาน

2.1.1.1. หลักอนุพรต 5 (ศีล 5 )

2.1.1.1.1. อหิงสา การไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายชีวิต

2.1.1.1.2. สัตยะ พูดความจริง ไม่พูดเท็จ

2.1.1.1.3. อัสเตยะ ไม่ลักขโมย รวมทั้งไม่หลบเลี่ยงภาษีอากร

2.1.1.1.4. พรหมจรยะ อย่างต่ำคือการไม่ประพฤติผิดในกาม

2.1.1.1.5. อปริครหะ การไม่โลภ ไม่ควรมีข้าวของมากเกินจำเป็น

2.1.2. หลักปรัชญา

2.1.2.1. ศาสนาเชนเป็นศาสนาทวินิยม กล่าวคือ มองสภาพความจริงว่ามีส่วนประกอบของสิ่งที่มีอย่างเที่ยงแท้เป็นนิรันดรว่ามีอยู่ 2 สิ่งดังนี้

2.1.2.2. ชญาน

2.1.2.2.1. มติชญาน ความรู้ทางประสาทสัมผัส

2.1.2.2.2. ศรุติชญาน ความรู้เกิดจากการฟัง

2.1.2.2.3. อวธิชญาน ความรู้เหตุที่ปรากฎในอดีต

2.1.2.2.4. มนปรยายชญาน ชญานกำหนดรู้ใจผู้อื่น

2.1.2.2.5. เกวลชญาน ชญานอันสมบูรณ์ซึ่งเกิดขึ้นก่อนบรรลุนิรวาณ

2.1.2.3. ชีวะและอชีวะ

2.1.2.3.1. ชีวะ ได้แก่ วิญญาณ หรือสิ่งมีชีวิต หรือ อาตมัน

2.1.2.3.2. อชีวะ ได้แก่ อวิญญาณ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่วัตถุ

2.1.3. หลักโมกษะ

2.1.3.1. โมกษะคือการหลุดพ้น หรือความเป็นอิสระของวิญญาน คือ การทำให้วิญญานหลุดพ้นจากความไม่บริสุทธิ์ ไม่ต้องมาเกิดอีก

2.1.3.1.1. ข้อปฏิบัติที่จะบรรลุโมกษะฬนศาสนาเชน มีอยู่ 3 ประการ

3. พิธีกรรมทางศาสนา

3.1. พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาเชน

3.1.1. พิธีกรรมเนื่องด้วยการระลึกถึงองค์ศาสดาทุกพระองค์ โดยเฉพาะพิธีกรรมระลึกถึงศาสดามหาวีระ คือ การกระทำใจให้สงบ การอภัย และการเสียสละ อาศัยอยู่เฉพาะที่แห่งเดียวในฤดูฝน มีการบริจาคทานให้คนยากจนในวันสุดท้ายแห่งพิธีกรรม และมีการนำเอารูปองค์ศาสดาไปแห่ตามท้องถนนและในที่ต่างๆ

3.2. พิธีกรรมประจำวัน

3.2.1. พิธีชลบูชา

3.2.1.1. การทำความสะอาดองค์ตีรถังกรด้วยน้ำและเช็ดให้แห้งอย่างสำรวมระวังมิให้น้ำหกหยดลงพื้นเด็ดขาด และการถวายอาหาร คือ ข้าว และผลไม้แห้งในเวลาเช้า

3.2.2. พิธีอารติบูชา

3.2.2.1. การแกว่งตะเกียงจากซ้ายไปขวาเบื้องหน้าองค์ตีรถังกรในนิกายเศวตัมพร พิธีชลบูชา นอกจากจะทำสะอาดองค์ตีรถังกรด้วยน้ำสะอาดแล้วยังต้องล้างด้วยน้ำนมอีกแล้วกรองผ้าให้ใหม่ ตกแต่งให้งามด้วยเครื่องประดับ ทำในตอนเย็น

3.3. ข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์

3.3.1. เว้นจากการฆ่าสัตว์

3.3.2. เว้นจากการพูดเท็จ

3.3.3. เว้นจากการลักฉ้อ

3.3.4. สันโดษในลูกเมียตน

3.3.5. มีความปรารถนาพอสมควร

3.3.6. เว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นอาหาร

3.3.7. อยู่ในเขตของตนตามกำหนด

3.3.8. พอดีในการบริโภค

3.3.9. เป็นคนตรง

3.3.10. บำเพ็ญพรตประพฤติวัตรในคราวเทศกาล

3.3.11. รักษาอุโบสถ

3.3.12. บริบูรณ์ด้วยปฏิสันถารต่ออาคันตุ

3.4. ข้อปฏิบัติของบรรพชิต

3.4.1. เพิ่มเติมจากข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือนอีก 3 ข้อ

3.4.1.1. ห้ามเรียกสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นของตนเอง

3.4.1.2. ห้ามประกอบเมถุนธรรม

3.4.1.3. กินอาหารหลังเที่ยงได้ แต่ห้ามกินยามราตรี

4. คัมภีร์

4.1. คัมภีร์อาคมะ

4.1.1. ประกอบด้วยคัมภีร์ 45 เล่ม และแบ่งย่อยออกไปเป็นคัมภีร์ละ 11 ส่วน กับเล่มที่ 12 เรียกว่า ฤทธิวาท เป็นอุปางคะ 11 ส่วน แบ่งเป็นมูลสูตร 4 เล่ม เป็นเจตสูตร 6 เล่ม เป็นคูสิกสูตร 2 เล่ม และเป็นปกิณกะ 10 เล่ม

4.2. คัมภีร์ในปัจจุบันมีอยู่ 37 คัมภีร์

4.2.1. ส่วนใหญ่จะเขียนขึ้นมาภายหลัง กล่าวถึงชีวประวัติของมหาวีระสาวกของศาสนาเชนมีความเห็นในเรื่องคัมภีร์ค่อนข้างแตกต่างกัน

4.2.2. นิกายเศวตัมพรยึดคัมภีร์อาคมะเป็นคัมภีร์ศาสนาของพวกตน โดยมีความเชื่อมั่นว่าสาวกผู้ใกล้ชิดมหาวีระเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์อาคมะขึ้น

4.2.3. นิกายทิคัมพร เชื่อว่าคัมภีร์ดั้งเดิมได้สูญหายไปแล้ว คำสอนของมหาวีระถูกรวบรวม แก้ไข หรือเขียนเพิ่มเติมขึ้นโดยนักบวชสมัยโบราณหลายท่าน

5. สัญลักษณ์

5.1. จุดบนสุด คือ วิญญาณแห่งความหลุดพ้น

5.2. สวัสดิกะ คือ เครื่องหมายแห่งสังสาระ

5.3. รูปกรงจักร คือ ความไม่เบียดเบียน

5.4. จุด 3 จุด คือ สัญลักษณ์แทน ความเห็นชอบ รู้ชอบ ประพฤติชอบ

6. จุดมุ่งหมายสูงสุด

6.1. มีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ นิรวารณะ หรือ โมกษะ (ความหลุดพ้น)