บทที่ 4 การทบทวนวรรณกรรมและการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย (Review Literature and Conceptual Frame...

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่ 4 การทบทวนวรรณกรรมและการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย (Review Literature and Conceptual Framework) by Mind Map: บทที่ 4    การทบทวนวรรณกรรมและการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย  (Review Literature and Conceptual Framework)

1. การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย

1.1. ความหมายของกรอบแนวคิดการวิจัย (Meaning of Conceptual framework)

1.1.1. กรอบแนวคิด หมายถึง ทฤษฎี แนวความคิดหรือหลักการที่ใช้อ้างอิง หรือใช้เป็นบรรทัดฐานในการทำวิจัย

1.2. หลักในการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

1.2.1. ประกอบด้วย 3 ประการ คือ

1.2.1.1. 1. ตรงประเด็นกับเรื่องที่ต้องการศึกษามากที่สุด

1.2.1.2. 2. ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ถ้ามีทฤษฎีที่จะนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดหลายทฤษฎีควรเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุด ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้พอๆกัน

1.2.1.3. 3. สอดคล้องกับความสนใจ กรอบแนวคิดที่จะเลือกใช้ ควรมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับตัวแปร หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ที่จะทำวิจัย

1.3. ประโยชน์ของการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย

1.3.1. กรอบแนวคิดที่เขียนขึ้นมีประโยชน์ต่อการทำวิจัยในขั้นตอนมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบการวิจัย การวิเคราะห์ และการตีความหมาย-ผลของการวิเคราะห์

1.4. ขั้นตอนการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย

1.4.1. 1. ทำความเข้าใจชื่อเรื่องการวิจัย

1.4.1.1. วิเคราะห์คำและข้อความในชื่อเรื่อง ผู้วิจัยควรอ่านหรือประเด็นปัญหาที่ ทำวิจัยให้เข้าใจอย่างกระจ่างชัดเจน

1.4.2. 2. กำหนดประเด็นปัญหาหลัก

1.4.2.1. เป็นการระบุว่าการวิจัยเรื่องนั้นต้องการหรือมีคำถามหลักที่ต้องการหาคำตอบในประเด็นอะไร

1.4.3. 3. กำหนดตัวแปร

1.4.3.1. กำหนดได้ชัดเจนว่าอะไรเป็นตัวแปรตาม และอะไรเป็นตัวแปรต้น ต้องกำหนดให้ชัดเจน

1.4.3.1.1. ตัวแปรตาม

1.4.3.1.2. ตัวแปรอิสระ

1.4.4. 4. กำหนดข้อมูลและแหล่งข้อมูล

1.4.4.1. กำหนดข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล (ประชากร) ข้อมูลหมายถึง สัญลักษณ์หรือตัวเลขที่บอกลักษณะอาการหรือปริมาณของตัวแปรที่ศึกษา

1.4.5. 5. กำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบ

1.4.5.1. กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยเหมือนโจทย์หรือข้อสอบแบความเรียง (อัตนัย) ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น การกำหนดประเด็นปัญหาต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ

1.5. วิธีการการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย

1.5.1. 1. แบบพรรณนาความ

1.5.1.1. การเขียนกรอบแนวคิดในลักษณะของการพรรณนาความเป็นการเขียนบรรยายดังนี้

1.5.1.2. 1.1 ในการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้างที่สำคัญเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือประเด็นของการวิจัย

1.5.1.3. 1.2 ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร

1.5.1.4. 1.3 มีเหตุผลหรือทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน

1.5.2. 2. แบบแผนภาพ

1.5.2.1. เป็นการเสนอกรอบแนวคิด โดยใช้แผนภาพ เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

1.5.3. 3. แบบจำลอง

1.5.3.1. เป็นการเสนอกรอบแนวคิดโดยใช้สัญลักษณ์หรือสมการระบุความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม

1.5.4. 4. แบบผสมผสาน

1.5.4.1. เป็นการผสมผสานระหว่างแบบพรรณนากับแบบจำลอง การพรรณนากับแผนภาพ และแผนภาพกับแบบจำลอง

2. การทบทวนวรรณกรรม

2.1. ความหมายและความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม

2.1.1. การการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Related literature) หมายถึง การศึกษาเชิงทฤษฎี หรือผลงานวิจัย หรือรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด หรือทฤษฎีในการทำวิจัยจากวารสาร หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

2.1.2. ความสำคัญของวรรณกรมม คือ • เพื่อเลือกและกำหนดปัญหาการวิจัย การศึกษาเอกสารต่าง ๆ ทำให้เกิดแนวคิดในการเลือกปัญหาและหัวข้อการวิจัยได้ง่ายขึ้น ไม่ซ้ำซ้อนกับเรื่องที่ผู้อื่นเคยทำไว้แล้ว • เพื่อแสดงถึงวิวัฒนาการเกี่ยวกับความรู้ของเรื่องที่ทำการวิจัย โดยมีการกล่าวถึงทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไรกับงานวิจัย ข้อค้นพบ ข้อจำกัด และข้อบกพร่องของทฤษฎีหรืองานวิจัยเป็นเช่นไร ซึ่งจะส่งผลให้นักวิจัยมีความรู้เบื้องต้นในเรื่องที่จะวิจัยอย่างเพียงพอ • เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เพราะกรอบแนวคิดในการวิจัยเป็นกระบวนการที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ที่จะศึกษางาน งานวิจัยนั้น ๆ

2.2. จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม

2.2.1. 1. รวบรวมแนวความคิดในการตั้งปัญหาการวิจัย

2.2.2. 2. มีความรอบรู้ในข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับ

2.2.3. 3. การเตรียมกรอบทฤษฎีในการวิจัย

2.2.4. 4. เป็นการประเมินความเป็นไปได้ในการวิจัย

2.2.5. 5.เพื่อรวบรวมข้อมูลรายละเอียดในเรื่องวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

2.2.6. 6. เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในการเปรียบเทียบ การวิเคราะห์และการแปลความหมายของข้อมูลกับข้อสรุปล่าสุดจากงานวิจัยที่คล้ายคลึงกัน

2.2.7. 7. การทบทวนวรรณกรรมจะช่วยให้ผู้อ่านคุ้นเคยกับวิธีการศึกษาและข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

2.3. หลักเกณฑ์การทบทวนวรรณกรรม

2.3.1. 1. เกี่ยวข้อง ใกล้เคียงกับเรื่องที่กำลังทำวิจัย

2.3.2. 2. ครอบคลุมตัวแปรที่จะศึกษามากที่สุด พิจารณาจากปัญหาการวิจัยและผลการวิจัยที่ได้

2.3.3. 3. เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางการพยาบาลหรือศาสตร์สาขาอื่น ๆ

2.3.4. 4. พิจารณางานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยที่ได้เสนอแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่ทำอยู่

2.4. ขั้นตอนทบทวนวรรณกรรม

2.4.1. 1.การค้นหาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.4.2. 2. การอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์

2.4.3. 3. วิธีการเขียนผลการทบทวนวรรณกรรม

2.4.3.1. 3.1 ขั้นตอนการเขียนเรียบเรียบผลการทบทวนวรรณกรรม

2.4.3.1.1. 3.1.1 แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการวิจัย เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้เห็นคือความรู้ และความต่อเนื่องของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานที่นักวิจัยกำลังศึกษา

2.4.3.1.2. 3.1.2 ข้อค้นพบเกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษา หรืองานวิจัยที่สำคัญ ๆ เพื่อให้รู้ถึงสิ่งที่ได้ทำวิจัยไปแล้ว รวมถึงข้อบกพร่องและปัญหาที่ยังคงมีอยู่

2.4.3.1.3. 3.1.3 กล่าวถึงสิ่งที่น่าจะศึกษาหรือทำวิจัยต่อเนื่องจากที่ศึกษา พร้อมจบลงด้วยการกล่าวนำสิ่งที่จะทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้

2.4.3.2. 3.2 วิธีการเขียนผลการทบทวนวรรณกรรม

2.4.3.2.1. 3.2.1 เขียนโดยใช้ชื่อผู้แต่งนำต้นประโยค หรือย่อหน้า แล้วตามด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัยว่า ใคร ทำวิจัยเมื่อไร เรื่องอะไร และค้นพบอะไรบ้าง แล้วต่อด้วยนักวิจัยคนที่สอง คนที่สามและคนที่สี่ตามลำดับ

2.5. หลักเกณฑ์สำคัญในการเขียนผลการทบทวนวรรณกรรมให้มีคุณภาพ

2.5.1. 1. มีการวางแผนที่ดี>>ก่อนเริ่มต้นเขียนต้องวางแผน วางเค้าโครง เขียนโครงเรื่องก่อนกำหนดหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อยแล้วพิจารณาว่าแต่ละหัวข้อจะใส่เอกสารงานวิจัยเล่มใด เรื่องใด จะนำเสนออย่างไร

2.5.2. 2.วิธีการนำเสนอที่ดี>>การเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรเสนอแนวคิด หรือสิ่งที่กว้างเสียก่อน แล้วค่อยๆ แคบลง และเฉพาะเจาะจงในที่สุดตอนสุดท้ายควรเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมากที่สุด

2.5.3. 3.เน้นการเกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยที่ทำต้องพยายามให้ผู้อ่านงานวิจัยตระหนักเสมอว่าผลงานวิจัยที่กำลังกล่าวถึงเกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยที่กำลังทำ

2.5.4. 4. เป็นการทบทวน (Review) ไม่ใช่จำลอง (Reproduce) งานวิจัย การเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการทบทวน สรุปวิเคราะห์ และสังเคราะห์มิใช่การจำลองงานวิจัยที่คิดลอกข้อความยาว ดังนั้นในการเขียนต้องพยายามให้เป็น คำพูดของผู้วิจัยเอง เรียบเรียงให้ชัดเจนและสรุปประเด็นสำคัญ คำกล่าวแต่ละตอนที่เขียนต้องมีการอ้างอิง

2.5.5. 5. มีความต่อเนื่องและมีลำดับ การเขียนต้องมีการเรียงลำดับ และต่อเนื่องไม่วกวน ต้องสรุปให้เห็นจุดเน้นหรือประเด็นสำคัญ และแต่ละตอนที่นำเสนอนั้นเกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยอย่างไรให้ ส่วนท้ายของส่วนนี้ควรมีหัวข้อสรุปด้วย

2.5.6. 6.มีหลักยึดในการเขียนอ้างอิง>>เนื่องจากการเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต้องมีการ อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลต่างๆเป็นจำนวนมากจึงจำเป็นต้องให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งฉบับต้อง ยึดรูปแบบการอ้างอิงแบบใดแบบหนึ่งและคงเส้นคงวาตลอดเล่ม

2.5.6.1. การเขียนอ้างอิง มี 3 แบบ ดังนี้

2.5.6.1.1. 1.อ้างอิงแทรกในเนื้อหา

2.5.6.1.2. 2.การเขียนเชิงอรรถ(Footnote)ตอนล่างของหน้า

2.5.6.1.3. 3.การอ้างอิงอยู่ท้ายบทเรียงตามลำดับการอ้างอิง หรือเรียงตามลำดับตัวอักษร

2.5.7. 7.สาระของการนำเสนอผลการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.5.7.1. 7.1ส่วนที่เป็นองค์ความรู้ของเรื่องตัวแปรที่ศึกษามักเขียนไว้เป็นส่วนแรกของการนำเสนอ

2.5.7.2. 7.2ส่วนที่เป็นผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของเรื่องและตัวแปรที่ศึกษา

2.5.7.3. 7.3การสังเคราะห์ต้องมีความรู้และผลงานวิจัยมาเป็นต้นแบบหรือกรอบแนวคิดของ การศึกษาการสังเคราะห์ต้องมีความรู้และรายงานวิจัยมานำเสนอ จะทำให้เห็นภาพ การเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างแนวคิดของผู้วิจัย เป็นการสรุปและพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัย เหตุผลเชิงตรรกะมีการเชื่อมโยงเป็นระบบถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ และมีเหตุผลสอดรับทางวิชาการเพื่อนำไปใช้ในการทดสอบต่อไป

2.6. การประเมินเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.6.1. ขั้นที่1>>ระบุจุดประสงค์ในการอ่านและประเมินเอกสารนั้นให้กระจ่างชัดโดยการระบุ ให้เฉพาะเจาะจงและแคบเฉพาะกรณีให้มากที่สุดเท่าจะมากได้

2.6.2. ขั้นที่2>>อ่านบทความผ่านๆอ่านหัวเรื่อง บทคัดย่อ ความย่อ ข้อสรุป เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่า หัวข้อวิจัยทำเรื่องอะไร สิ่งค้นพบ และข้อสรุปที่สำคัญ

2.6.3. ขั้นที่3>>ทบทวนจุดยืนของผู้ประเมินเอง ทบทวนจุดประสงค์ในการประเมินให้ชัดเจน ว่าผู้วิจัยคิดอย่างไร

2.6.4. ขั้นที่4>>รวบรวมความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องความรู้ความเข้าใจของ ผู้ประเมินช่วยทำให้พิจารณา การเปรียบเทียบเอกสารที่ประเมินกับสิ่งที่ดำเนินการมานั้นทำให้มีการนำมาใช้โดยไม่ลำเอียง

2.6.5. ขั้นที่5>>ประเมินเอกสารขั้นนี้ต้องอ่านให้ละเอียด พิจารณาอย่างมีเกณฑ์และแยกองค์ประกอบในการประเมิน

2.6.5.1. 5.1 เค้าโครง/คำถามการวิจัยประเมินว่าคำถามการวิจัยง่ายแก่ความเข้าใจ

2.6.5.2. 5.2 การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.6.5.3. 5.3 นิยาม ประเมินว่า นิยามหมายถึงอะไร เฉพาะเจาะจงเพียงพอ ความหมายสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติมีประโยชน์หรือไม่

2.6.5.4. 5.4 กระบวนการวิจัย เป็นส่วนที่อธิบายการได้มาซึ่ง

2.6.5.5. 5.5 ผลการศึกษาและข้อสรุป

2.7. วิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง

2.7.1. การเขียนเอกสารอ้างอิง--เป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ตอนท้ายรายงานการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านทราบรายการหนังสือที่นำมาอ้างอิงไว้ในรายงานการวิจัย วิธีการเขียนมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปแต่ละสถาบัน โดยหลักใหญ่จะคล้ายคลึงกัน แตกต่างในส่วนรายละเอียด

2.8. ข้อผิดพลาดที่มักพบในการทบทวนวรรณกรรม

2.8.1. 1.นักวิจัยรีบร้อนในการทบทวนทำให้ข้ามวรรณกรรมที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย

2.8.2. 2.นักวิจัยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary-Resource) มากไปเนื้อหาบิดเบือนจากความเป็นจริง ทำให้ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ ควรใช้แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Resource) ข้อมูลที่จะได้จะความตรงมากที่สุด

2.8.3. 3. นักวิจัยสนใจเฉพาะสิ่งที่ค้นพบในรายงานวิจัย มองข้ามการวัดหรือวิธีการดำเนินการต่าง ๆ ทำให้ขาดข้อมูลที่จะใช้เป็นแนวทางในการออกแบบวิจัย

2.8.4. 4. นักวิจัยมองข้ามแหล่งข่าวสารอื่นๆ เช่น หนังสือพิมพ์,นิตยสาร เชื่อว่าข้อมูลต้องปรากฏแต่ในตำราหรืองานวิจัยเท่านั้น

2.8.5. 5. นักวิจัยไม่วางขอบเขตการทบทวนวรรณคดี เช่น ความครอบคลุมตัวแปรกว้างหรือแคบไป ทำให้ขาดข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นในการออกแบบการวิจัย

2.8.6. 6.นักวิจัยบันทึกแหล่งข้อมูลที่มาของวรรณคดีไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนทำให้สิ้นเวลาในการเขียนอ้างอิง

2.8.7. 7.นักวิจัยต้องจดข้อความในบัตรบันทึกมากเกินไป และไม่แยกแยะว่าข้อความไหนสำคัญหรือไม่สำคัญ ทำให้ใช้เวลาในการรวบรวมมากไป

3. น.ส.พรชิตา เครือคง 612901059