การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ by Mind Map: การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

1. สรุปหลักการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

1.1. การฟังและการดูเป็นการรับสารที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเสมอผู้ที่จะฟังและดู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนที่ฟังและดูเป็น คือฟังและดูอย่างมี หลักการ มีจุดมุ่งหมาย รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าเรื่องที่ฟังและดู สามารถ แสดงทัศนะในเรื่องที่ฟังและดูได้ ฟังได้อย่างมีวิจารณญาณ สามารถ แยกแยะเรื่องที่ฟัง ได้ถูกต้อง

2. ประเภทของเรื่องที่ฟังและดู

2.1. 1. แบ่งตามเนื้อหาของเรื่อง

2.1.1. 1. เรื่องประเภทข้อเท็จจริง เรื่องประเภทนี้ จะกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลใด บุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรื่องเหล่านั้นสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได

2.1.2. 2. เรื่องประเภทข้อคิดเห็น เรื่องประเภทนี้เป็นเรื่องที่แสดง ความรู้สึก ความเชื่อหรือแนวคิดที่ผู้พูด มีต่อสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ บุคคล วัตถุประพฤติการณ์นั้น

2.1.3. 3. เรื่องประเภทคำทักทายหรือคำปราศัย เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็น ถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม บอก ให้รู้ว่าผู้พูดและผู้ฟังมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ในฐานะใด

2.2. 2. แบ่งตามเจตนาของผู้พูด

2.2.1. 1. เรื่องประเภทให้ความรู้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะช่วยให้ ผู้ฟังผู้ดูเกิดความรู้ความคิด สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

2.2.2. 2. เรื่องประเภทโน้มน้าวใจ เป็นเรื่องที่ผู้พูดมีเจตนาให้ผู้ฟังเชื่อ หรือคล้อยตามข้อความในเรื่องนั้น ๆ เรื่อง ประเภทนี้มีข้อความที่โน้มน้าวใจผู้ฟัง

2.2.3. 3. เรื่องประเภทให้ความเพลิดเพลิน เป็นเรื่องที่ผู้พูดมีเจตนา ให้ผู้ฟังหรือผู้ดูเกิดอารมณ์สนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียดจากการงาน

3. ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ

3.1. 1. ฟังและดูให้เข้าใจเรื่อง เมื่อฟังเรื่องใดก็ตามผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังเรื่องนั้นให้เข้าใจตลอดเรื่อง ให้รู้ว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไรมีสาระสำคัญอะไรบ้างพยายามทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด

3.2. 2. วิเคราะห์เรื่อง จะต้องพิจารณาว่าเรื่องเป็นเรื่องประเภทใดเป็นข่าว บทความ เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทสนทนา สารคดี ละคร และเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองเป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้นต้องวิเคราะห์ลักษณะของตัวละคร และกลวิธีในการเสนอสารของผู้ส่งสารให้เข้าใจ

3.3. 3. วินิจฉัยเรื่อง คือการพิจารณาเรื่องที่ฟังว่าเป็นข้อเท็จจริง ความรู้สึกความคิดเห็นและผู้ส่งสารหรือผู้พูดผู้แสดงมีเจตนาอย่างไรในการพูดการแสดง อาจจะมีเจตนาที่จะโน้มน้าวในจรรโลงหรือแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลมีหลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่และมีคุณค่ามีประโยชน์เพียงใด

4. ความหมาย

4.1. วิจารณญาณ หมายถึงปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง ปัญญาสามารถในการพิจารณาจัดแจง วางแผนสืบสวน แสวงหา ไตร่ตรองเหตุผล

5. หลักการฟังอย่างวิจารณญาณ

5.1. ผู้ฟังพิจารณาว่าฟังเรื่องอะไรเป็นการฟังประเภทบทความ บทสัมภาษณ์การเล่าเรื่องสรุปเหตุการณ์ใคร เป็นคนพูดคนสัมภาษณ์ ใครเป็นคนเขียนบทความและหัวข้อนั้นมีคุณค่าแก่การฟังหรือไม่

6. การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

6.1. 1. การแยกข้อเท็จจริงเป็นข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ เห็นว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จได้จากตัวเลขเชิงปริมาณ ต่างๆ ที่มีอยู่ซึ่งทำการตรวจสอบได้ดังนี้ เช่นประชาหนัก 50 กิโลกรัม ,โอภาสสูงกว่าเสกสรรค์ เป็นต้น

6.2. 2.ความคิดเห็นเป็นเรื่องของการคาดคะเนหรือการทำนายโดยอาศัยเหตุผลส่วนตัวซึ่งควรจะเปิดโอกาสให้ มีการโต้แย้งหรือสนับสนุนเช่นของเก่าดีกว่าของใหม่ มีเงินดีกว่ามีเกียรต