การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นย่อยๆ เกี่ยวกับปัญหาและคำอธิบาย

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นย่อยๆ เกี่ยวกับปัญหาและคำอธิบาย by Mind Map: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นย่อยๆ  เกี่ยวกับปัญหาและคำอธิบาย

1. 1. กำหนดประเด็นที่จะทำการวิจัย

1.1. ในขั้นนี้ให้กำหนดประเด็นปัญหาที่สนใจทีละหนึ่งประเด็น เช่น

1.1.1. "การประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย"

2. 2. ระบุประเด็นย่อยๆ ในปัญหาที่สนใจ

2.1. ในขั้นนี้พยายามตั้งคำถามประเด็นที่จะทำวิจัย โดยการระบุประเด็นย่อยๆ ของเรื่องนั้นๆ ในรูปของคำถาม เช่น ประเด็นที่จะทำวิจัย คือ การประกันคุณภาพการผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อาจเขียนเป็นประเด็นย่อยในปัญหาที่สนใจได้ดังนี้

2.1.1. 1. ทำไมจึงต้องมี การประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

2.1.2. 2. ถ้าไม่มี การประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จะเกิดผลอย่างไร

2.1.3. 3. มีแนวทางการบริหารจัดการเพื่อ การประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อย่างไร

2.1.4. 4. รูปแบบ การประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีประสิทธิผลควรมีรูปแบบอย่างไร

2.1.5. 5. มีปัจจัยอะไรบ้างที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

2.1.6. 6. บทบาท การผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในอนาคต ควรเป็นอย่างไร

2.1.7. 7. องค์ประกอบที่ส่งผลต่อ คุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

2.1.8. 8. รูปแบบการผลิตครูที่สนองความต้องการของท้องถิ่น ในกรณีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ประสบผลสำเร็จ มีรูปแบบอย่างไร

2.1.9. 9. ความสำเร็จ และความล้มเหลวของการผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำแนกได้ด้วยตัวแปรหรือปัจจัยใดบ้าง

2.1.10. 10. การผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีคุณภาพเพียงใด

2.2. สรุป

2.2.1. ระบุประเด็นย่อยๆ ในปัญหาที่สนใจ เพื่อเพิ่มหรือขยายประเด็นปัญหาวิจัยย่อยๆ ให้ละเอียดและครอบคุมประเด็นที่ควรจะศึกษา ซึ่งถ้ามีเพียงประเด็นปัญหาเดียวในตอนแรกจะรู้สึกว่าทำได้ยาก ในการเขียนประเด็นย่อยๆ ให้เขียนเท่าที่นึกได้ไปก่อน บางประเด็นอาจจะเกี่ยวข้องมากหรือเกี่ยวข้องน้อย ก็ให้ระบุไว้ก่อนแล้วจึงมาพิจารณาตัดออกภายหลัง เพราะว่าการหยุดพิจารณานานๆ ว่าประเด็นที่เขียนมา เกี่ยวข้องหรือไม่ มากน้อยเพียงใดจะทำให้ความคิดไม่ต่อเนื่อง

2.2.1.1. วิธีเขียนประเด็นย่อยในปัญหาที่สนใจนี้ ผู้จัยสามาถด้นหาประเด็นการวิจัยได้ด้วยตนเองโดยพิจารณาจากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น และสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเป็นมาของปรากฏการณ์ สาเหตุของปรากฏการณ์ และผลที่ตามมาของปรากฎการณ์ ซึ่งผู้วิจัยจะพบว่าการระบุประเด็นย่อยสามารถทำได้ไม่ยาก

3. 3. เขียนคำอธิบายในประเด็นย่อย

3.1. ตาราง ประเด็นย่อยย่อยเกี่ยวกับปัญหาและคำอธิบาย

3.1.1. Untitled

3.2. ข้อมูล

3.2.1. 1. ทำไมจึงต้องมีการประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

3.2.1.1. 1. เพื่อสนองนโยบายการปฏิรูปการฝึกหัดครู

3.2.2. 2. ถ้าไม่มีการประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะเกิดผลอย่างไร

3.2.2.1. 2. นักศึกษาที่จบออกไปอาจจะไม่มีคุณภาพ

3.2.3. 3. มีแนวทางการบริหารจัดการเพื่อการประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอย่างไร

3.2.3.1. 3. ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน

3.2.4. 4. รูปแบบการประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีประสิทธิผลควรมีรูปแบบอย่างไร

3.2.4.1. 4. ยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัย

3.2.5. 5. มีปัจจัยอะไรบ้างที่สนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

3.2.5.1. 5. ยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัยที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน

3.2.6. 6. บทบาทการผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในอนาคต ควรเป็นอย่างไร

3.2.6.1. 6. ลดปริมาณการผลิตลง และเพิ่มคุณภาพการผลิต

3.2.7. 7. องค์ประกอบที่ส่งผลต่อคุณภาพการผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

3.2.7.1. 7. น่าจะเป็น 9 องค์ประกอบที่กำหนดในแนวทางการประกันคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา

3.2.8. 8. รูปแบบการผลิตครูที่สนองความต้องการของท้องถิ่น ในกรณีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ประสบผลสำเร็จมีรูปแบบอย่างไร

3.2.8.1. 8. ไม่ได้มีการศึกษาวิจัย

3.2.9. 9. ความสำเร็จ และความล้มเหลวของการผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำแนกได้ด้วยตัวแปรหรือปัจจัยใดบ้าง

3.2.9.1. 9. ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจน

3.2.10. 10. การผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีคุณภาพเพียงใด

3.2.10.1. 10. ยังไม่มีการประเมิน

4. 4. พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นย่อยๆ

4.1. 4. พิจารณาความมพันธ์ระหว่างประเด็นย่อยๆ เกี่ยวกับปัญหาและคำอธิบาย โดยการทบทวนประเด็นย่อยๆ เกี่ยวกับปัญหาอีกครั้งว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาที่สนใจจริงหรือไม่ หากไม่เกี่ยวข้องก็ตัดออก และคำอธิบายสามารถตอบประเด็นย่อยๆ ได้จริงหรือไม่ หรือไม่แน่ใจหรืออธิบายไม่ถูกต้องก็แก้ไขใหม่ ให้นำประเด็นย่อยๆ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ หรือไม่แน่ใจมากำหนดเป็นหัวข้อวิจัย เช่น ประเด็นย่อยในข้อที่ 3 4 5 8 9 และ 10 อาจนำมากำหนดเป็นหัวข้อ วิจัยได้ดังนี้ "แนวทางการบริหารจัดการเพื่อการประกันคุณภาพการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในอนาคต" "การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการผลิตครูที่มีประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" "ปัจจัยที่สนับสนุน และเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" "การนำเสนอรูปแบบการผลิตครูที่สนองความต้องการของถิ่น : กรณีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ประสบผลสำเร็จ" "ปัจจัยที่บ่งชี้ความสำเร็จและความสัมเหลวของการผลิตครู ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย" "การประเมินผลการผลิตครูของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย"