ชายไทยอายุ 17 ปี ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนเกาะกลางถนน

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ชายไทยอายุ 17 ปี ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนเกาะกลางถนน by Mind Map: ชายไทยอายุ 17 ปี ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนเกาะกลางถนน

1. วัตถุประสงค์

1.1. มีความสุขสบายขึ้น ปวดแผลผ่าตัดลดลง สามารถนอนหลับพักผ่อนได้

2. ข้อมูลส่วนบุคคล

2.1. เพศ ชาย อายุ 17 ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย สถานภาพ โสด อาชีพ นักเรียน

3. ข้อวินิจฉัยข้อที่ 1 ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผล

3.1. ข้อมูลสนับสนุน

3.1.1. O: สีหน้าไม่สดชื่น มีแผลผ่าตัด Amputation บริเวณใต้เข่าทั้ง 2 ข้าง

3.2. เกณฑ์การประเมินผล

3.2.1. 1. ผู้ป่วยบอกปวดแผลลดลง มีสีหน้าสดชื่นขึ้น

3.2.2. 2. ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของความเจ็บปวด เช่น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กระสับกระส่าย เป็นต้น

3.2.3. 3. ผู้ป่วยสามารถพักผ่อนนอนหลับได้อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมง/วัน

3.2.4. 4. แผลผ่าตัด Amputation ไม่มีเลือดซึม ไม่บวมแดง ไม่มีหนอง

3.3. กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล

3.3.1. 1. ขออนุญาตผู้ป่วย/ให้เหตุผลก่อนให้การพยาบาล

3.3.2. 2. ประเมินอาการทางพยาบาลและลักษณะบาดแผล เพื่อทราบสาเหตุของการปวดแผล และประเมินการติดเชื้อของบาดแผล

3.3.3. 3. ประเมินอาการปวดแผล โดยวิธีประเมินความปวดด้วย pain score เพื่อระบุระดับความปวดและพิจารณาให้การพยาบาลได้อย่างเหมาะสม

3.3.4. 4. จัดท่านอนให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย ยกขาให้สูง เพื่อให้เลือดดำไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ง่าย และเพิ่มการไหลเวียนเลือดบริเวณบาดแผล ช่วยลดอาการปวด

3.3.5. 5. สอนการ Relaxation Technique เพื่อบรรเทาอาการ เช่น การหายใจช้า ๆ เป็นจังหวะ ,การทำ

3.3.6. Therapeutic Technique, การทำสมาธิ เพื่อส่งเสริมการผ่อนคลาย, ลดสิ่งเร้าทางอารมณ์ เบี่ยงเบนความสนใจ

3.4. การประเมินผล

3.4.1. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากไม่ทราบถึงผลของกิจกรรมการพยาบาลว่ามีผลลัพธ์เป็นอย่างไร

4. ข้อวินิจฉัยข้อที่ 2 เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

4.1. ข้อมูลสนับสนุน

4.1.1. O: ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย

4.2. วัตถุประสงค์

4.2.1. ไม่มีภาวะขาดสารอาหาร

4.3. เกณฑ์การประเมินผล

4.3.1. 1. ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น แจ่มใส ไม่มีอาการอ่อนเพลีย

4.3.2. 2. BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ 18.5 - 22.9

4.3.3. 3. ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้ได้มากขึ้น

4.4. กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล

4.4.1. 1. ประเมินภาวะขาดสารอาหาร เช่น อ่อนเพลีย เยื่อบุตาล่างซีด อาการบวมตามแขนขาเพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร

4.4.2. 2. ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลา ไข่ขาวและนม เป็นต้น เพราะโปรตีนเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ร่างกายและการกินโปรตีนคุณภาพสูงทำให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้เต็มที่ลดการทำงานของไตทำให้ของเสียเกิดขึ้นน้อย

4.4.3. 3. ดูแลทำความสะอาดช่องปากก่อนรับประทานอาหาร เพราะเป็นการช่วยเพิ่มความอยากอาหารและรับประทานอาหารได้มากขึ้น

4.4.4. 4. ชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร

4.5. การประเมินผล

4.5.1. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากไม่ทราบถึงผลของกิจกรรมการพยาบาลว่ามีผลลัพธ์เป็นอย่างไร

5. ข้อวินิจฉัยข้อที่ 4 วิตกกังวลเนื่องจากการสูญเสียภาพลักษณ์

5.1. ข้อมูลสนับสนุน

5.1.1. O: ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้า ไม่พูด และเหม่อลอย

5.2. วัตถุประสงค์

5.2.1. ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย

5.3. เกณฑ์การประเมินผล

5.3.1. 1. ความวิตกกังวลลดลง

5.3.2. 2. ผู้ป่วยพูดมากขึ้น

5.4. กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล

5.4.1. 1. จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สอนเทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจต่าง ๆ แก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายความวิตกกังวล

5.4.2. 2. ดูแลอย่างใกล้ชิดให้ความเป็นกันเองกับผู้ป่วยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกถึงการสูญเสียสังเกตลักษณะและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจของผู้ป่วย

5.5. การประเมินผล

5.5.1. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากไม่ทราบถึงผลของกิจกรรมการพยาบาลว่ามีผลลัพธ์เป็นอย่างไร

6. อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล

6.1. 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ใต้เข่าทั้ง 2 ข้าง มองเห็นกระดูกและมีเลือดออกจำนวนมาก

7. สรุปอาการ

7.1. ผู้ป่วยชายวัยรุ่น หลังผ่าตัดขาทั้ง 2 ข้างได้ 2 วัน นั่งเหม่อลอย ไม่ยอมพูด และไม่ยอมขยับตัวช่วยเหลือตนเอง ผู้ป่วยนอนบนเตียง สีหน้าไม่สดชื่น มีแผลผ่าตัด (Amputation) บริเวณใต้เข่าทั้ง 2 ข้าง แผลปิดก๊อซและพัน elastic ไว้ ไม่มีเลือดซึม ไม่มีไข้ สัญญาณชีพ : BT = 37.2 °C, HR = 116 /min, RR = 24/min, BP = 150/100 mmHg

8. ข้อวินิจฉัยข้อที่ 3 เสี่ยงต่อการพลักตกหกล้ม

8.1. ข้อมูลสนับสนุน

8.1.1. O: ไม่ยอมขยับตัวช่วยเหลือตนเองหรือทำกิจวัตรประจำวัน

8.2. วัตถุประสงค์

8.2.1. ผู้ป่วยไม่พลัดตกหกล้ม

8.3. เกณฑ์การประเมินผล

8.3.1. 1. ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้

8.3.2. 2. ไม่มีบาดแผลฟกช้ำ

8.4. กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล

8.4.1. 1. ยกรางกั้นเตียงขึ้นทั้งสองข้างทุกครั้งหลังให้การพยาบาล เพื่อป้องกันผู้ป่วยพลิกตะแคงตัวแล้วตกเตียง

8.4.2. 2. จัดวางสิ่งของใหใกล้มือผู้ป่วยจะได้หยิบได้สะดวก เพื่อจะได้ไม่ต้องเอื้อมหยิบของป้องกันการตกเตียง

8.5. การประเมินผล

8.5.1. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากไม่ทราบถึงผลของกิจกรรมการพยาบาลว่ามีผลลัพธ์เป็นอย่างไร