1. ความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย
1.1. นาฏศิลป์ก็มีวิวัฒนาการมาจาการเอาชนะธรรมชาติเช่นเดียวกับศิลปะอื่นๆ ซึ่งก็มีวิวัฒนาการเป็น ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์อย่างใดก็แสดงอารมณ์นั้นออกมา เช่น ดีใจก็ตบมือ หัวเราะ เสียใจ ก็ ร้องไห้ ขั้นที่2 เมื่อมนุษย์เจริญขึ้นรู้จักใช้กิริยาแทนคำพูดอย่างที่เรียกว่า “ภาษาใบ้” เช่น กวักมือเข้า หมายถึง ให้เข้ามาหา โบกมือออก หมายถึง ให้ออกไป ขั้นที่3 ต่อมาเหล่านักปราชญ์ได้ดัดแปลงกิริยาเหล่านี้ประดิษฐ์ท่าทางใช้แทนคำพูดให้สวยงามแสดง ความรื่นเริงสนุกสนาน โดยมีกฎเกณฑ์ส่วนสัดงดงามตรึงตาตรึงใจเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นตามยุคตามสมัย และความนิยม
1.2. “นาฏศิลป์”
1.2.1. นาฏศิลป์ประจำชาติไทย ได้แก่ โขน ละคร และระบำ ทั้ง 3 ประเภท นี้เป็นของที่มีมาแต่โบราณรักษา แบบแผนถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีและได้ปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้นตามลำดับ แม้ว่าแต่เดิมเราจะ ได้มาจากชาติอื่นก็ตามแต่ก็ได้รับการปรับปรุงจนเป็นรูปลักษณะของไทย และเข้ากับรสนิยมของคนไทยก็ถือว่าเป็น ของไทย
1.3. ภารตนาฏยัม
1.3.1. เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีส่วนสำคัญในพิธีของศาสนาฮินดูสมัยโบราณ สตรี ฮินดูจะถวายตัวรับใช้ศาสนาเป็น “เทวทาสี” ร่ายรำขับร้อง บูชาเทพในเทวาลัย ซึ่งจะเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ5 ขวบ ศึกษาพระเวท วรรณกรรม ดนตรีการขับร้องของเทวทาสีเปรียบประดุจนางอัปสรที่ทำหน้าที่ร่ายรำบนสวรรค์ ผู้แสดงต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมีแบบแผน ด้วยระยะเวลายาวนานจนมีฝีมือยอดเยี่ยม สามารถเครื่อง ไหวร่างกายได้สอดคล้องกับจังหวะดนตรีเนื้อหาสาระของการแสดง สะท้อนสัจธรรมที่ปลูกฝังยึดมั่นในคำสอนของ ศาสนา แสดงได้ทุกสถานที่ ไม่เน้นเวทีฉาก เพราะความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภารตะนาฏยัม คือ ลีลาการ เต้น และการร่ายรำ
1.4. กถักกฬิ
1.4.1. การแสดงละครที่งดงามด้วยศิลปะการร่ายรำแบบเก่าๆ ผู้แสดงต้องสวมหน้ากาก นับว่าก ถักกฬิของอินเดียเป็นต้นเค้าของนาฏศิลป์ตะวันออก เช่น ละครโนของญี่ปุ่น โขนของไทย และนาฏศิลป์อินโดนีเซีย ส่วนพม่า นิยมแสดงเรื่องรามายณะ และมหาภารตะ
2. นาฏศิลป์กับบทบาททางสังคม
2.1. นาฏศิลป์เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่สร้างสรรค์สุนทรียะด้านจิตใจและอารมณ์ให้กับคนในสังคม และมี อิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่สามารถสะท้อนภาพวิธีชีวิตและกิจกรรมของคนในสังคม ทั้งที่เป็นกิจกรรม ส่วนตัวและกิจกรรมส่วนรวม ดังพิจารณาได้จากบทบาทของนาฏศิลป์ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้าน ต่างๆ ดังนี้
2.1.1. มี6ข้อดังต่อไปนี้
2.1.1.1. 1. บทบาทในพิธีกรรมรัฐพิธีและราชพิธีการแสดงนาฏศิลป์ในพิธีกรรมต่างๆ สามารถแสดงถึงความ เชื่อในพลังเหนือธรรมชาติของภูติฝีปีศาจและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เช่น การฟ้อนรำในพิธีรำผีฟ้า เพื่อรักษาโรค หรือสะเดาะเคราะห์ของภาคอีสาน การฟ้อนผีมดผีเม็งในภาคเหนือ ที่มีผู้หญิงมาเข้าทรงและฟ้อนรำร่วมกันเป็นหมู่ เพื่อการสะเดาะเคราะห์หรือรักษาโรคการแสดงแก้บนในลักษณะละครแก้บน หรือลิเกแก้บน เป็นต้น และยังมีการ ฟ้อนรำบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบูชาครูบาอาจารย์ต่างๆ เช่น การรำไหว้ครูมวยไทย การรำอายุธบนหลังช้าง
2.1.1.2. 2. บทบาทในการสร้างสรรค์มนุษย์มีการพบปะสังสรรค์กันในโอกาสต่างๆ ทั้งในหมู่เครือญาติเพื่อนฝูง และคนในสังคม หรือท้องถิ่นเดียวกัน เช่น ในงานวันเกิด งานประเพณีและงานเทศกาลต่างๆ เป็นต้น ดังเห็นได้ จากงานบุญ ประเพณีสงกรานต์หรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ จะมีการแสดงนาฏศิลป์ต่างๆ เช่น การฟ้อนรำ โขน ลิเก เป็นต้น ซึ่งเป็นโอกาสให้ผู้คนในท้องถิ่นทั้งหญิงและชายได้พบปะสังสรรค์และสนุกสนานกับการแสดงต่างๆ ร่วมกัน
2.1.1.3. 3. การสื่อสาร นาฏศิลป์เป็นกระบวนการหนึ่งทางการสื่อสารที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจกันได้โดยใช้ ภาษาท่าทาง หรือท่ารำที่มีความหมายจากการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบการพูดหรือการเล่าเรื่องต่างๆ หรือ ภาษาท่าทางในละครใบ้ที่สามารถสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจได้โดยการแสดงอองทางสีหน้า อารมณ์และดนตรี ประกอบที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ให้เข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งท่าทางหรือท่ารำต่างๆ
2.1.1.4. 4. บทบาทในทางการศึกษา นาฏศิลป์เป็นการศึกษาทางด้านศิลปะแขนงหนึ่งที่พัฒนา ควบคู่มากับ ความเจริญของมนุษย์โดยเฉพาะความเจริญทางด้านศิลปะวัฒนธรรมที่มีการสร้างสรรค์และทำนุบำรุงศิลปะให้ รุ่งเรืองด้วยการสร้างสถาบันการศึกษาด้านนาฏศิลป์เช่น วิทยาลัยนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ที่เน้นการเรียนการ สอนด้านนาฏศิลป์ให้กับนักเรียนนักศึกษาของไทยและโรงเรียนสอนการแสดงหรือการรำนาฏศิลป์ขององค์กร เอกชนต่างๆ
2.1.1.5. 5. บทบาทในการอนุรักษ์และเผยแพร่เอกลักษณ์ของชาตินาฏศิลป์เป็นการแสดงเอกลักษณ์ ประจำ ชาติอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องหมายแสดงถึงศิลปวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะโดดเด่น หรือแตกต่างจากชนชาติอื่นๆ โดยเฉพาะนาฏศิลป์ไทยที่มีเอกลักษณ์ด้านท่ารำ เครื่องแต่งกาย และดนตรีไทยประกอบการแสดงซึ่งยังมีความ หลากหลายในแต่ละท้องถิ่นของประเทศ ได้แก่ ในภาคกลางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ก็มี การแสดงนาฏศิลป์ที่แตกต่างกันออกไป โดยแต่ละท้องถิ่นใดมีการเผยแพร่งานนาฏศิลป์ของท้องถิ่นออกไปให้ กว้างไกล ทั้งในท้องถิ่นใกล้เคียงและในต่างประเทศที่อยู่ห่างไกล
2.1.1.6. 6. บทบาทในการส่งเสริมพลานามัย นาฏศิลป์เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายให้สวยงาม และมีความหมาย ต้องใช้การฝึกหัดและฝึกซ้อมให้จดจำท่าทางต่างๆ ได้จึงเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่มีการใช้กำลังยกแขน ขา มือ หรือเคลื่อนไหวศีรษะและใบหน้า เพื่อให้เกิดท่าทางและความสนุกสนานไปพร้อมๆ กัน เช่น การรำกระบี่ กระบอง เซิ้ง การรำดาบสองมือ การรำพลอง การรำง้าว ก็เป็นการผสมผสานท่าทางนาฏศิลป์กับศิลปะการกีฬา แบบไทยๆ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการเต้นแอโรบิก หรือการเต้นออกกำลังกายประกอบเพลง ซึ่งเป็นการนำ นาฏศิลป์มาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกาย และความแข็งแรงให้กับร่างกาย
3. ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์
3.1. นาฏศิลป์เป็นคำสมาส แยกเป็น 2 คำ คือ “นาฏ” กับคำว่า “ศิลปะ” “นาฏ” (อ่านว่า นาด-ตะ) หมายถึง การฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ นับแต่การฟ้อนรำ พื้นเมืองของชาวบ้าน เช่น รำโทน รำวง ตลอดจนขึ้นไปถึงการฟ้อนที่เรียกว่า ระบำของนางรำ ระบำเดี่ยว ระบำคู่ ระบำชุม
3.2. “ศิลปะ” ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สร้างอย่างประณีต ดีงาม และสำเร็จสมบูรณ์ศิลปะเกิดขึ้นด้วย ทักษะ คือ ความชำนาญในการปฏิบัติ
4. สุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์
4.1. สุนทรียภาพ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง ความงามใน ธรรมชาติหรืองานศิลปะ ที่แต่ละบุคคลสามารถเข้าใจและรู้สึกได้หรือความเข้าใจและรู้สึกของแต่ละบุคคลที่มีต่อ ความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความงามในงานศิลปะทางด้านการแสดงนาฏศิลป์ ในการศึกษาทางด้านสุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์นั้น เป็นไปตามหลักการทางสุนทรียศาสตร์ซึ่ง เป็นวิชาเกี่ยวกับความรู้สึกในการรับรู้ความงาม ได้แก่ หลักเกณฑ์ด้านความงาม ลักษณะต่างๆ ของความงาม คุณค่าต่างๆ ของความงามและรสนิยม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาความเป็นอยู่ พฤติกรรมและจิตใจของมนุษย
4.1.1. มี3ข้อดังต่อไปนี้
4.1.1.1. 2 สุนทรียะทางดนตรีและการขับร้องความงามที่ได้จากดนตรีและการขับร้องนั้นต้องอาศัยทั้งผู้บรรเลง ผู้ร้อง และผู้ฟัง เนื่องจากในเพลงไทยมักจะมีทั้งการบรรเลงดนตรีและการขับร้องไว้ด้วยกัน ตลอดจนมีผู้ฟังเพลง ที่มาช่วยกันสร้างสุนทรียะทางดนตรีและการขับร้องร่วมกัน
4.1.1.2. 3. สุนทรียะของท่ารำ ความงามของท่ารำอย่างมีสุนทรียะนั้นพิจารณาได้จากความถูกต้องตามแบบแผน ของท่ารำ ได้แก่ ท่ารำถูกต้อง จังหวะถูกต้อง สีหน้าอารมณ์ความรู้สึกที่สอดคล้องไปกับท่ารำ ทำนองเพลงและ บทบาทตามเนื้อเรื่อง ท่ารำสวยงาม มีความแตกฉานด้านท่ารำ มีท่วงทีลีลาเป็นเอกลักษณ์ของตน ถ่ายทอดท่ารำ ออกมาได้เหมาะสมตรงตามฐานะและบทบาทที่ได้รับไม่มากหรือน้อยเกินไป
4.1.2. 1. สุนทรียะทางวรรณกรรม หมายถึง ความงามทางตัวอักษร โดยเฉพาะคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ที่มีความงามทางตัวอักษรของกวีหรือผู้ประพันธ์ที่มีศิลปะในการใช้ถ้อยคำ ซึ่งก่อให้เกิดการโน้มน้าว ความรู้สึก ใน
4.1.3. .