ทฤษฎีการเรียนรู้

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
ทฤษฎีการเรียนรู้ by Mind Map: ทฤษฎีการเรียนรู้

1. ทฤษฎีการเรียนรู้คือ สิ่งที่ใช้อ้างอิงถึงงที่มาและสาเหตุของการเกิดการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยได้รับการพิสูจน์และทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จนได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ทฤษฎีการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ตามแนวคิกของนักจิตวิทยาเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1.1. 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

1.1.1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) และมีตัวเสริมแรง (Reinforce) เป็นสิ่งกระตุ้นหรือจูงใจ โดยมีทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มดังนี้

1.1.1.1. 1.1 ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism)

1.1.1.1.1. ธอร์นไดค์ ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา ธอร์นไดค์เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนองบุคคลตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบลองผิดลองถูกและปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบการตอบสนองที่พึงพอใจมากที่สุด ซึ่งกฎการเรียนรู้ที่ธอร์นไดค์ได้กล่าวไว้มี 4 ข้อดังนี้

1.1.1.1.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

1.1.1.2. 1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)

1.1.1.2.1. พาฟลอฟเป็นคนแรกที่ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ พาฟลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข ซึ่งเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและสามารถลดลงหรือหยุดลงหากไม่ได้รับการตอบสนอง แต่นาน ๆ ไปจะกลับมาอีกโดยไม่ได้ใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ

1.1.1.2.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

1.1.1.3. 1.3 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกิลเนอร์ (Operant Conditioning)

1.1.1.3.1. สกิลเนอร์เชื่อว่า การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงการกระทำนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก แต่ถ้าไม่ได้รับการเสริมแรงจะลดลงและหายไป ส่วนการลงโทษจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้เร็วแต่ลืมได้ง่าย

1.1.1.3.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกิลเนอร์

1.2. 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพทธินิยม/ปัญญานิมยม

1.2.1. ทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้การเรียนรู้หรือการแก้ปัญหาเกิดจากความสามารถในการรับรู้ (Perception) และการหยั่งรู้ (Insight) ซึ่งเป็นกระบวนการทางสมอง โดยมีทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มดังนี้

1.2.1.1. 2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Theory)

1.2.1.1.1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลท์ ทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์และสัตว์ชั้นสูงจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในลักษณะเป็นภาพรวมซึ่งมีการจัดระบบความสำคัญไว้เรียบร้อยแล้วโดยการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะดังนี้

1.2.1.1.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มเกสตัลท์

1.2.1.2. 2.2 ทฤษฎีสนามของเคร์ท เลวิน (Field Theory)

1.2.1.2.1. เคร์ท เลวินเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการจะมีพลังเป็นบวก สิ่งที่นอกเหนือความสนใจและความต้องการจะมีพลังเป็นลบ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีแรงขับหรือแรงจูงใจที่จะกระทำพฤติกรรมให้ไปสู่เป้าหมาย

1.2.1.2.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีสนามของเคร์ท เลวิน

1.2.1.3. 2.3 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Intellectual Development Theory)

1.2.1.3.1. เพียเจต์เชื่อว่า การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้นดังนี้

1.2.1.3.2. ซึ่งการเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดเป็นการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการทางสติปัญญาดังนี้

1.2.1.3.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

1.2.1.4. 2.4 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ (Intellectual Development Theory)

1.2.1.4.1. บรุนเนอร์เชื่อว่า มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง โดยการจัดการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละขั้นดังนี้

1.2.1.4.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์

1.2.1.5. 2.5 ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล (A Theory of Meaningful Verbal Learning)

1.2.1.5.1. ออซูเบลเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ จะมีความหมายต่อผู้เรียนหากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผู้เรียนรู้มาก่อน

1.2.1.5.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล

1.3. 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม

1.3.1. ทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่ามนุษย์มีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน ซึ่งหากได้รับอิสรภาพและเสรีภาพมนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยมีทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่ม ดังนี้

1.3.1.1. 3.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow’s Learning Theory)

1.3.1.1.1. มาสโลว์เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น ดังนี้

1.3.1.1.2. การเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน

1.3.1.1.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์

1.3.1.2. 3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของโรเจอร์ (Rogers’s Learning Theory)

1.3.1.2.1. โรเจอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีหากผู้เรียนอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและอิสระ เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะและผู้สอนคอยอำนวยความสะดวก การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเป็นสำคัญ

1.3.1.2.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของโรเจอร์

1.4. 4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน

1.4.1. ทฤษฎีกลุ่มนี้เป็นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม กับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม อาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลายเนื่องจากการเรียนรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง แต่บางประเภทมีความซับซ้อนมากจะต้องใช้ความคิดขั้นสูงซึ่งมีทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มเพียงทฤษฎีเดียวคือ

1.4.1.1. 4.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย (Gange Learning Theory)

1.4.1.1.1. กานเย่ เชื่อว่าประเภทของการเรียนรู้สามารถแบ่งเป็นลำดับขั้นจากง่ายไปยากเป็น 8 ประเภทดังนี้

1.4.1.1.2. สมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการดังนี้

1.4.1.1.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย ใช้ระบบการสอน 9 ขั้นของกานเย

1.5. 5. ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัย

1.5.1. ทฤษฎีกลุ่มนี้เป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ ได้สร้างความรู้ด้วยตนเองซึ่งมีครูทำหน้าที่ส่งเสริม ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวก โดยมีทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มดังนี้

1.5.1.1. 5.1 ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

1.5.1.1.1. คอสไมเออร์ได้ศึกษากระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์เกี่ยวกับการทำงานของสมองโดยมีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอสไมเออร์ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ ดังนี้

1.5.1.1.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล

1.5.1.2. 5.2 ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligence)

1.5.1.2.1. การ์ดเนอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับเชาว์ปัญญาของมนุษย์และนิยามเชาว์ปัญญาไว้ว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างผลงานต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง โดยเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่เท่ากันและไม่คงที่ ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหากสิ่งที่เรียนสอดคล้องกับเชาว์ปัญญาของตนเองโดยการ์ดเนอร์ได้แบ่งเชาว์ปัญญาเป็น 8 ด้าน ดังนี้

1.5.1.2.2. การประยุกต์ทฤษฎีพหุปัญญา

1.5.1.3. 5.3 ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง (Constructism)

1.5.1.3.1. ทฤษฎีนี้มีรากฐานมาจากนักจิตวิทยา 2 คนคือเพียเจต์และวิสก็อทกี้ โดยมีหลักการที่สำคัญว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำและเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นมาเอง และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก็มีความสำคัญต่อการเรียนรู้เช่นกัน

1.5.1.3.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

1.5.1.4. 5.4 ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน (Constructionism)

1.5.1.4.1. ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพอร์ท แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสต ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่าการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน และหากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง

1.5.1.4.2. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน

1.5.1.5. 5.5 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative of Collaborative Learning)

1.5.1.5.1. ผู้เผยแพร่ทฤษฎีนี้คือ โรเบิร์ต สลาวิน เดวิด จอห์นสัน และโรเจอร์ จอห์นสัน การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกมองข้ามทั้ งที่มีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก เพราะการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากอิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน

1.5.1.5.2. การเรียนรู้แบบร่วมมือมีองค์ประกอบดังนี้

1.5.1.5.3. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ